ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ

พิกัด: 13°37′50″N 100°36′44″E / 13.6306875°N 100.6121747°E / 13.6306875; 100.6121747
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ
(บางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์)
Debsirin Samutprakan School
ที่ตั้ง
แผนที่
799 หมู่ 6 ถนนเทพารักษ์ ต.บางเมืองใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10270
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ศ.ส. / DSS
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญบาลี: น สิยา โลกวฑฺฒโน
(ไม่ควรเป็นคนรกโลก)
สถาปนา24 พฤษภาคม พ.ศ. 2521
ผู้ก่อตั้งจรูญ อินทรัมพรรย์
ประชุม อินทรัมพรรย์
ประชิต อินทรัมพรรย์
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
สี   สีเขียว-สีเหลือง
เพลงบทร้องประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ (อโห กุมาร)
ดอกไม้ประจำโรงเรียนดอกรำเพย
เว็บไซต์www.debsirinsp.ac.th

โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ เดิมชื่อว่า โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยการบริจาคที่ดินจำนวน 35 ไร่ ของผู้สืบสกุลอินทรัมพรรย์ คือ รองศาสตราจารย์ลินจง อินทรัมพรรย์, นายจรูญ อินทรัมพรรย์, นายประชิต อินทรัมพรรย์, นายแพทย์ประชุม อินทรัมพรรย์ ให้กรมสามัญศึกษาในขณะนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระจักราวุธ (อินทร์) ต้นตระกูลอินทรัมพรรย์, หลวงสำแดง เดช (เขียน อินทรัมพรรย์), นางเดชสำแดง (ผ่อง อินทรัมพรรย์) ซึ่งเป็น คุณทวด, คุณปู่, คุณย่า ของผู้บริจาค

พ.ศ. 2550 คณะกรรมการบริหารเครือข่ายเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะรรมการบริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณะครู นักเรียน โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ มีฉันทานุมัติ ที่จะเข้าร่วมเครือข่ายเทพศิรินทร์ โดยได้รับความเห็นชอบจาก รองศาสตราจารย์ลินจง อินทรัมพรรย์ (ด้วยท่านเป็นผู้บริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียนในครั้งแรก) ดังนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ จึงได้รับการประกาศชื่อจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยใช้อักษรย่อว่า ท.ศ.ส. มีการบริหารจัดการตามนโยบายของโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ เป็นสถาบันที่มุ่งมั่นในการหล่อหลอมให้เยาวชนของชาติ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ที่มีความรู้ ความสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ อย่างยั่งยืน สืบไป

ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 799 หมู่ 6 ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270 เปิดสอนแบบสหศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 และ 4 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

ผู้อำนวยการ

[แก้]
ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับ รายนาม วาระ ตำแหน่ง
1 นายจารึก อะยะวงค์ พ.ศ. 2521 รักษาการครูใหญ่
2 นายนิยม บูรณะบุตร พ.ศ. 2521-2523 ครูใหญ่
3 นายปรีชา สนแจ้ง พ.ศ. 2523-2525 ครูใหญ่
4 นายบุญรอด วัฒนชัย พ.ศ. 2525-2527 อาจารย์ใหญ่
5 นายบรรเลง รอดแดง พ.ศ. 2527-2532 ผู้อำนวยการ
6 นายสำอาง คำหริ่ม พ.ศ. 2532-2533 ผู้อำนวยการ
7 นายสุทธินันท์ พรหมปลอด พ.ศ. 2533-2535 ผู้อำนวยการ
8 นายสมบัติ คุ้มภู พ.ศ. 2535-2539 ผู้อำนวยการ
9 นายสุรลักษณ์ สื่อสุวรรณ พ.ศ. 2539-2544 ผู้อำนวยการ
10 นางสาวระเบียบ ก่อเกียรติคุณ พ.ศ. 2544-2549 ผู้อำนวยการ
11 นางลัดดา รื่นเริง พ.ศ. 2549-2552 ผู้อำนวยการ
12 นายอภิชาติ พลธรรม พ.ศ. 2552-2559 ผู้อำนวยการ
13 ดร.สถิตย์ สวนพรหม พ.ศ. 2559-2561 ผู้อำนวยการ
14 นายบรรหาร เอี่ยมสอาด พ.ศ. 2561-2565 ผู้อำนวยการ
15 นายศรายุทธ พุทธศรี พ.ศ. 2565-2566 รักษาการผู้อำนวยการ
16 ดร.รุ่งสุรีย์ สิงหราช พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์

[แก้]

สถาปนา

[แก้]

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก โดยการบริจาคที่ดินจำนวน 35 ไร่ ของผู้สืบสกุลอินทรัมพรรย์ คือ นายจรูญ อินทรัมพรรย์ นายแพทย์ประชุม อินทรัมพรรย์ และนายประชิต อินทรัมพรรย์ ให้กรมสามัญศึกษา ในขณะนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ “พระจักราวุธ” (อินทร์) ต้นสกุลอินทรัมพรรย์ หลวงสำแดงเดช (เขียน อินทรัมพรรย์) และ นางสำแดงเดช (ผ่อง อินทรัมพรรย์) คุณทวด คุณปู่ คุณย่า ของผู้บริจาค

เปลี่ยนชื่อเป็นเทพศิรินทร์

[แก้]

คณะกรรมการบริหารเครือข่ายเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณะครู นักเรียนโรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ มีฉันทานุมัติ ที่จะเข้าร่วมเครือข่ายเทพศิรินทร์ โดยได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจากรองศาสตราจารย์ ลินจง อินทรัมพรรย์ (ด้วยท่านผู้บริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียนในครั้งแรกเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์)

โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ ได้รับการประกาศชื่อจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยใช้อักษรย่อว่า ท.ศ.ส. มีการบริหารจัดการตามนโยบาย และปรัชญาของโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ ตามพุทธสุภาษิตที่ว่า “น สิยา โลกวฑฺฒโน” แปลว่า ไม่ควรเป็นคนรกโลก เป็นสถาบันที่มุ่งมั่นในการหล่อหลอมให้เยาวชนของชาติ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ที่มีความรู้ ความสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืนสืบไป[1]

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • รางวัลเกียรติคุณสัญญาธรรมศักดิ์ดีเด่น โครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่สร้างคนดีให้สังคมรับ พระราชทานรางวัล จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [2]
  • รางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศจากการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนนักศึกษาชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 30 ประจำปีการศึกษา 2554 ได้รับ ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[ต้องการอ้างอิง]
  • โล่ประท
  • สถานศึกษาดีเด่นระดับเขตตรวจราชการ "ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน" ตามโณงเรียนสานสายใจดูแลศิษย์[ต้องการอ้างอิง]
  • รองชนะเลิศการประกวดพูดสุนทรพจน์ รณรงค์การเลือกตั้งระดับประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลผลงานยอดเยี่ยม Trining The Trainer Tam Camp 2006 จากสำนักงานคณะกรรมการอุตสาหกรรมชอฟต์แวร์แห่งชาติ[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลชนะเลิศ นักเรียนคุณธรรมจริยธรรมดีเด่นระดับประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนรางวัลพระราชทาน เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 [ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลเกียรติยศครูยอดนักอ่านระดับประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลชนะเลิศระดับภาค การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับภาคระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยศูนย์ภาคกลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]
  • รางวัลชนะเลิศการประกวดแบบจำลองสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีของคณะวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°37′50″N 100°36′44″E / 13.6306875°N 100.6121747°E / 13.6306875; 100.6121747