โรงเรียนอยุธยานุสรณ์
โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ | |
---|---|
Ayutthaya Nusorn School | |
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ | |
ที่ตั้ง | |
9/80 หมู่ที่ 10 ถนนอู่ทอง ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | อ.ย.ส. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คติพจน์ | |
สถาปนา | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
ผู้ก่อตั้ง | นายวิโรจน์ กมลพันธ์ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1006140103 (ใหม่) 06140103 (เก่า) |
ผู้อำนวยการ | นายถาวร ทิพย์โสต |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น |
สี | สีแดง-สีขาว |
เพลง | มาร์ช อยุธยานุสรณ์ |
เว็บไซต์ | http://www.ays.ac.th |
โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บริเวณถนนอู่ทอง ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา[1]
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ ก่อตั้งโดยนายวิโรจน์ กมลพันธ์ อดีตศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสถานะเป็นโรงเรียนราษฎร์ โดยใช้สถานที่ตั้งเดิมของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยหลังจากที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยได้ย้ายไปยังที่ตั้งแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2483 และเปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 และต่อมาในปี พ.ศ. 2487 ได้ได้ย้ายนักเรียนหญิงและจัดตั้ง โรงเรียนสตรีอยุธยานุสรณ์ เพื่อขยายกิจการ
ในปี พ.ศ. 2494 นายวิโรจน์ กมลพันธ์ ได้จัดตั้งมูลนิธิอยุธยานุสรณ์ และโอนกิจการโรงเรียนให้กับมูลนิธิ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนทั้งสองแห่งเป็น โรงเรียนอยุธยานุสรณ์มูลนิธิ และ โรงเรียนสตรีอยุธยานุสรณ์มูลนิธิ ตามลำดับ
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้ย้ายสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รวมกิจการโรงเรียนทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน และใช้ชื่อว่า โรงเรียนอยุธยานุสรณ์[1]
ผลงานดีเด่น ได้รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ข. จากการแข่งขันวงโยธวาทิตครั้ง ที่ 30
อาคาร
[แก้]- อาคาร 1 เป็นอาคาร 2 ชั้น เป็นอาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน
- ชั้น 1 ห้องสมุด ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
- ชั้น 2 ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องประชุมกมลพันธุ์ ห้องวิชาการ 2 ห้องเรียนประวัติศาสตร์ ห้องเรียนนาฏศิลป์
- อาคาร 2 เป็นอาคาร 4 ชั้น
- ชั้น 1 ห้องฝ่ายบริหาร ห้องผู้อำนวยการ ห้องเกษตร ห้องวิชาการ
- ชั้น 2 ห้องคอมพิวเตอร์ 3 ห้อง
- ชั้น 3 ห้อง ICT ห้องคอมพิวเตอร์นักเรียน ม.1 ห้องเรียนรวม
- ชั้น 4 241 ห้องเรียนพิเศษ ม.1 242ห้องเรียนรวม 243ห้องเรียนรวม 244ห้องเรียนพิเศษ ม.4 245ห้องเรียนรวม 246ห้องเรียนรวม
- อาคาร 3 เป็นอาคาร 5 ชั้น มี 3 ตอน
ตอน a
- ชั้น 1 ห้องดนตรีไทย ห้องกิจการนักเรียน ห้องฝ่ายบริหารทั่วไป
- ชั้น 2 321ห้องเรียนนักเรียนอัจฉริยะภาษาอังกฤษ 322ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- ชั้น 3 ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ห้องเรียนโสตทัศนศึกษา
- ชั้น 4 ห้องเรียนหมวดสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
- ชั้น 5 ห้องเรียนหมวดสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น
ตอน b
- ชั้น 1 ห้องพยาบาล ห้องการศึกษาผู้ใหญ่
- ชั้น 2 ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ห้องเรียนแนะแนว ห้องเรียนนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/8 - 3/10 ห้องน้ำนักเรียน
- ชั้น 3 ห้องเรียนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มัธยมศึกษาตอนต้น ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ห้องเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ห้องจริยธรรมศึกษา ห้องเรียนวิชาดาราศาสตร์ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องน้ำครู
- ชั้น 4 ห้องเรียนนักเรียนหมวดสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมทั้งชั้น ห้องเรียนฟิสิกส์
- ชั้น 5 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ห้องเรียนอัจฉริยะคณิตศาสตร์ มุมในสุดทางเดินมีสิ่งลี้ลับ ที่พิสูจน์ไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์ซ่อนอยู่ ห้องเรียนหมวดคณิตศาสตร์ 3 ห้อง
ตอน c
- ชั้น 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ห้องคหกรรม
- ชั้น 2 ห้องเรียนไฟฟ้า ห้องอุตสาหกรรม ห้องวงโยธวาทิต
- ชั้น 3 ห้องเรียนเคมี ห้องเรียนชีววิทยา ห้องวิทยาศาสตร์กายภาพ ห้องเรียนอิเล็กทรอนิควิทยาศาสตร์
- ชั้น 4 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น
- ชั้น 5 ห้องเรียนหมวดคณิตศาสตร์ทั้งชั้น
- อาคาร 4 เป็นอาคาร 2 ชั้น อาคารเรียนภาษาไทย
- ชั้น 1 ห้องธนาคารโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ ห้องพักนักการภารโรง ห้องเรียนนักเรียนวิชาภาษาไทย 2 ห้อง
- ชั้น 2 ห้องเรียนนักเรียนภาษาไทย 6 ห้อง
แผนการเรียน
[แก้]- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 11 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน (gifted)
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 11 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน (gifted)
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 11 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน (gifted)
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน (gifted)
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 2 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ 2 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาไทย-สังคมศึกษา 3 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - จีน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - ญี่ปุ่น 1 ห้องเรียน
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน (gifted)
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 2 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ 2 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาไทย-สังคม 3 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - จีน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - ญี่ปุ่น 1 ห้องเรียน
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน (gifted)
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 2 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ 2 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาไทย - สังคม 2 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - จีน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - ญี่ปุ่น 1 ห้องเรียน
คณะสี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-10-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนอยุธยานุสรณ์
- โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์