ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนห้วยกรดวิทยา

พิกัด: 15°05′45″N 100°12′45″E / 15.095784°N 100.212584°E / 15.095784; 100.212584
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ชัยนาท
Huaikrot Wittaya School
ตราประจำโรงเรียนฯ
ตราประจำโรงเรียนฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

17140
ข้อมูล
ชื่ออื่นหก.ว. (HK.W.)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คติพจน์“อตตา หเว ชิตํ เสยโย” ชนะตนนั่นแหละเป็นดี
สถาปนา14 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อำนวยการดร.สุวารีศิริ ภู่เปี่ยมสินธุ์
ระดับปีที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3 และ 4
(มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย)
จำนวนนักเรียน318 (2567)
สี  ขาว   ฟ้า
เพลงเพลงประจำโรงเรียนห้วยกรดวิทยา,
เพลงมาร์ชห้วยกรดวิทยา
ต้นไม้ต้นตาลโตนด
เว็บไซต์www.huaikrot.ac.th

โรงเรียนห้วยกรดวิทยา (อังกฤษ: Huaikrot Wittaya School; อักษรย่อ: หก.ว./HK.W.) ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17140 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2519[1] โดยการดำเนินการของคณะกรรมการจัดตั้งโรงเรียนติดต่อประสานงาน กับเจ้าอาวาสวัดดอนโพธิ์ศรี ขอใช้ที่ดินของวัดซึ่งรกร้างว่างเปล่าอยู่ (เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ เดิมเป็นที่ก่อตั้งวัดดอนโพธิ์ศรี แต่ย้ายไปก่อตั้งที่แห่งใหม่) มีเนื้อที่ 33 ไร่ 12 ตารางวา ต่อมาโรงเรียนได้รับบริจาคจากคนในชุมชนอีก 3 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวารวมเป็น 36 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา

ในปี พ.ศ. 2519 เปิดสอนครั้งแรกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.ศ.1) จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 80 คน โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดบำเพ็ญบุญ เป็นสถานที่เรียน เมื่อได้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวบนที่ดินที่ขอใช้จากวัดดอนโพธิ์ศรีเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้ย้ายมาเรียน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2519

ต่อมาปี พ.ศ. 2526 ได้รับการคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท รุ่นที่ 2 (มพชส. 2) พ.ศ. 2537 ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ[2]

รายนามผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]

ผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันคือ[3]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายประกอบ แสงสุวรรณ พ.ศ. 2519 - 2530
2 นายสรรเสริญ อ่ำบุญ พ.ศ. 2530 - 2535
3 นายอนุสรณ์ รักษ์มณี พ.ศ. 2535 - 2540
4 นายอุดม ภู่ประดิษฐ พ.ศ. 2540 - พ.ย. 2546
5 นางสาวเฉิดฉัน จันทร์งาม พ.ศ. 2546 - ก.พ. 2551
6 นายสง่า โพธิ์กลีบ พ.ศ. 2551 - ก.ย. 2561
7 นางสาวสุวารีศิริ ภู่เปี่ยมสินธุ์ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

ข้อมูลอาคารเรียน อาคารประกอบ[4]

[แก้]
  • อาคารตาลคู่วชิระ (อาคารเรียน แบบ 216 ค) ใช้เป็นห้องเรียน และห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น
อาคารตาลคู่วชิระ
    • ศูนย์ภาษาไทย
    • ห้องจริยธรรม
    • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิคศาสตร์
    • ห้องโสตทัศนศึกษา
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา)
    • ห้องสำนักงาน
  • อาคารเรียนแบบกึ่งถาวร ใช้เป็นห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • หอสมุดสำนึกรักบ้านเกิด[5]
หอสมุดสำนึกรักบ้านเกิด
  • อาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • โรงฝึกงานแบบมาตรฐาน (เกษตรกรรมและดนตรีสากล)
  • โรงฝึกงานช่างอุตสาหกรรม และคหกรรม
  • บ้านพักครู 3 หลัง
  • อาคารอเนกประสงค์
  • โรงอาหาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08.
  2. ประกาศรายชื่อโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับมัธยมศึกษา [1] เก็บถาวร 2020-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08.
  4. ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง (B-OBEC) โรงเรียนห้วยกรดวิทยา[2]
  5. https://www.youtube.com/watch?v=_M6zVapSkfo

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

15°05′45″N 100°12′45″E / 15.095784°N 100.212584°E / 15.095784; 100.212584