ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
Hatyaiwittayalaisomboonkulkanya School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นญ.ส. /Yorsor/YS
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์วิชาการเลิศ เทิดคุณธรรม นำกีฬา ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยี
สุสฺสูสา สุตวฑฺฒน
(การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้)
สถาปนา17 มกราคม พ.ศ. 2534
ผู้ก่อตั้งจันทร์ สมบูรณ์กุล
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
รหัส1003901102
ผู้อำนวยการดร.กมลาศน์ ศรประสิทธิ์
สีกรมท่า-เหลือง
เพลงมาร์ช ญ.ส.
ต้นไม้ต้นไทร
เว็บไซต์www.yorsor.ac.th

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2 ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันมี ดร.กมลาศน์ ศรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา มีครูทำการสอนประมาณ 170 คน นักเรียนประมาณ 3,518 คน

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ประกาศจัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 โดยพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น โดยใช้ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ซึ่งมีพื้นที่ 10 ไร่ 3 งาน 25.6 ตารางวาเป็นที่ก่อตั้ง โดยสถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนสตรีประจำอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งจันทร์ สมบูรณ์กุล นายอำเภอหาดใหญ่สมัยนั้นเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นไปในปี พ.ศ. 2487 เพื่อเป็นสถานศึกษาของเด็กผู้หญิงในอำเภอหาดใหญ่ โดยมี อาจารย์ฉลวย ตะวันฉาย เป็นครูใหญ่คนแรก และในปี พ.ศ. 2497 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา เพื่อเป็นเกียรติแก่นายจันทร์ สมบูรณ์กุล

ในปี พ.ศ. 2509 ได้มีการผนวก โรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา และ โรงเรียนมัธยมชายเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน โดยจัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จนปัจจุบัน

สถานที่ตั้งของโรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา ส่วนหนึ่งนั้นใช้เป็นบ้านพักครูโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และอีกส่วนหนึ่งสร้างเป็นอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน เพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชน กอปรกับอำเภอหาดใหญ่ เป็นอำเภอที่ประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและมีการตื่นตัวทางการศึกษา ทำให้โรงเรียนมัธยมที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนเข้าใหม่ได้ ส่งผลให้ผู้ปกครองเดือดร้อนเรื่องโรงเรียนของบุตร

กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศจัดตั้งโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ขึ้น และให้ใช้บริเวณพื้นที่ของ โรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยาเป็นสถานที่ก่อตั้ง กรมสามัญศึกษาจึงแต่งตั้ง นายวิรัช บุญนำ ผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมัยนั้น ไปรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่คนแรก

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยาเริ่มรับนักเรียนรุ่นแรก 4 ห้องเรียน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยได้จักการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2534 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายสงบ มณีพรหม อาจารย์ใหญ่ระดับ 7 โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ มารักษาการแทนครูใหญ่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา โดยจัดสรรอัตากำลังให้ 6 อัตรา มีครูมาช่วยราชการ 10 อัตรา รวมทั้งสิ้น 16 อัตรา โดยที่การเรียนการสอนยังจัดร่วมกับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ในปีการศึกษา 2535 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ได้แยกการบริหารงบประมาณอาคารสถานที่ และบุคลากร ออกจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โดยที่งานวิชาการ ยังจัดร่วมกับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และได้แยกงานบริหารทุกด้านในปีการศึกษา 2539

ปัจจุบัน ดร.กมลาศน์ ศรประสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนปัจจุบัน โดยมีครู 180 คน โดยประมาณ และนักเรียน 3,200 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัยมศึกษาตอนต้นและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอาคารเรียนประกอบด้วย 5 อาคาร ได้แก่ อาคารกุลกันยาผดุงเกียรติ เป็นอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น โดยจัดสรรพื้นที่เป็นสำนักงานและห้องประชุม 2 ชั้น และห้องเรียน 4 ชั้น อาคารปิ่นเกรียงไกร เป็นอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น โดยจัดสรรพื้นที่ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร และห้องเรียน 5 ชั้น อาคารฉลองชัยกาญจนาภิเษก เป็นอาคารอเนกประสงค์ 4 ชั้น โดยจัดสรรพื้นที่เป็นห้องสมุด ห้องเรียนอุตสาหกรรม ห้องโสตทัศนูปกรณ์ และโรงยิมเนเซียม อาคารศูนย์ศิลป์ฯ เป็นอาคารอเนกประสงค์ 2 ชั้น โดยจัดสรรพื้นที่เป็นห้องเรียนหมวดศิลปะ และหอประชุม อาคารพยาบาล เป็นอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น โดยมีโครงการจัดสรรพื้นที่เป็นห้องพยาบาล และห้องสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ศิษย์เก่าทีมีชื่อเสียง

[แก้]

อาคารเรียน

[แก้]

อาคารกุลกันยาผดุงเกียรติ

[แก้]

อาคารกุลกันยาผดุงเกียรติ เป็นอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น มีการจัดสรรพื้นที่ ดังนี้

  • ชั้นที่ 1 สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน, ห้องเรียน, สำนักงานกิจกรรมนักเรียน, ห้องซ้อมวงดนตรีโรงเรียน และโถงโล่งสำหรับนักเรียน
  • ชั้นที่ 2 สำนักงานผู้อำนวยการ, สำนักงานฝ่ายธุรการ, สำนักงานทะเบียนและประเมินผล, สำนักงานวิชาการ และห้องแนะแนว
  • ชั้นที่ 3 ห้องพักครูหมวดคณิตศาสตร์, ห้องเรียนหมวดคณิตศาสตร์
  • ชั้นที่ 4 ห้องพักครูหมวดภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียนหมวดภาษาต่างประเทศ
  • ชั้นที่ 5 ห้องพักครูหมวดสังคมศึกษาฯ, ห้องเรียนหมวดสังคมศึกษาฯ
  • ชั้นที่ 6 ห้องพักครูหมวดภาษาไทย, ห้องพักครูหมวดการงานอาชีพและเทคโนโลยี แผนกคอมพิวเตอร์, ศูนย์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน, ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และห้องเรียนภาษาจีน

อาคารปิ่นเกรียงไกร

[แก้]

อาคารปิ่นเกรียงไกร เป็นอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น มีการจัดสรรพื้นที่ ดังนี้

  • ชั้นที่ 1 โรงอาหาร และร้านค้าสวัสดิการ
  • ชั้นที่ 2 ห้องพักครูหมวดวิทยาศาสตร์ แผนกวิชาชีววิทยา และ แผนกวิชาฟิสิกส์, ห้องเรียนหมวดวิทยาศาสตร์
  • ชั้นที่ 3 ห้องพักครูหมวดวิทยาศาสตร์ แผนกวิชาเคมี และห้องเรียนหมวดวิทยาศาสตร์
  • ชั้นที่ 4 ห้องพักครูหมวดวิทยาศาสตร์ ,สำนักงานโครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMA), ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ERIC) และห้องเรียนหมวดภาษาต่างประเทศ
  • ชั้นที่ 5 ห้องเรียนหมวดสังคมศึกษาฯ และห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMA)
  • ชั้นที่ 6 ห้องเรียนหมวดภาษาไทย

อาคารฉลองชัยกาญจนาภิเษก

[แก้]

อาคารฉลองชัยกาญจนาภิเษก เป็นอาคารอเนกประสงค์ 4 ชั้น โดยจัดสรรพื้นที่ ดังนี้

  • ชั้นที่ 1 ห้องเรียนหมวดสุขศึกษา, ร้านค้าสวัสดิการ และลานกิจกรรมสำหรับนักเรียน
  • ชั้นที่ 2 ห้องพักครูหมวดการงานอาชีพและเทคโนโลยี, ห้องเรียนหมวดการงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • ชั้นที่ 3 ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ, ห้องโสตทัศนูปกรณ์
  • ชั้นที่ 4 โรงยิมเนเซียม, ห้องพักครูหมวดสุขศึกษาและพลศึกษา, ห้องออกกำลังกาย, ห้องเรียนหมวดสุขศึกษา

อาคารศูนย์ศิลป์ฯ

[แก้]

อาคารศูนย์ศิลป์ฯ เป็นอาคารอเนกประสงค์ 2 ชั้น โดยจัดสรรพื้นที่ ดังนี้

  • ชั้นที่ 1 ห้องพักครูหมวดศิลปศึกษา, ห้องเรียนหมวดศิลปศึกษา (ศิลปะ และ นาฏศิลป์)
  • ชั้นที่ 2 หอประชุมโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา (หอประชุมศูนย์ศิลป์), ห้องเรียนหมวดศิลปศึกษา (ดนตรีสากล)

อาคารลานไทรเกื้อกูล

[แก้]

เป็นอาคารเอนกประสงค์ จำนวน 6 ชั้น เป็นห้องเรียนทั้งหมด สร้างขึ้นโดยมีการเชื่อมต่อจากอาคารกุลกันยาผดุงเกียรติ

เป็นอาคารส่วนต่อขยายของอาคารกุลกันยาผดุงเกียรติ สร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายเพิ่มของจำนวนนักเรียน ซึ่งจำเป็นต้องมีการเพิ่มห้องเรียนให้สอดรับกับจำนวนนักเรียน และชั้นเรียนที่เพิ่มขึ้น โดยอาคารลานไทรเกื้อกูลเป็นอาคารที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินส่วนหนึ่ง และได้รับการสนับสนุนจากการสรรหารายได้จากการจัดการแข่งขันวิ่ง มาเป็นรายได็ในการก่อสร้าง จึงเป็นที่มาของการใช้ชื่อตึก ลานไทรเกื้อกูล เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเกื้อกูลของทุกภาคส่วน ที่ทำให้การก่อสร้างอาคารนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

อาคารเรือนพยาบาล

[แก้]

อาคารพยาบาลเป็นอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น โดยจัดสรรพื้นที่ดังนี้

  • ชั้นที่ 1 ห้องพยาบาล
  • ชั้นที่ 2 ห้องเรียนหมวดการงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • ชั้นที่ 3 สำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]