ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา

พิกัด: 17°39′10″N 100°08′27″E / 17.652807°N 100.14084°E / 17.652807; 100.14084
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนวัดคุ้งตะเภา)
โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา
Ban Khung Taphao School
สพฐ.
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นค.ภ.
ประเภทโรงเรียนรัฐ สพฐ.อต.เขต 1
สถาปนาพ.ศ. 2465
ผู้อำนวยการนายสุชีพ เสาเกิด
สี  สีเขียว หมายถึง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม เลิศล้ำวิชาการ
คำขวัญสิกขา กาโม ภวํ โหติ
ผู้ใฝ่การศึกษา เป็นผู้เจริญ
เว็บไซต์โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา

โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา เป็น โรงเรียนประจำหมู่บ้านคุ้งตะเภา ตั้งอยู่ที่ บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภาเป็นโรงเรียนในกลุ่มคุ้งตะเภา-ถ้ำฉลอง แบ่งการเปิดการสอนเป็น ระดับประถมศึกษา และระดับก่อนประถมศึกษา

ที่ตั้ง

[แก้]

โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา ตั้งอยู่ที่ บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุมีพื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา เริ่มทำการเปิดการเรียนการสอนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2465 โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาเป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน[1] โดยเริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 - 5 และเมื่อปี พ.ศ. 2475 ได้ปิดโรงเรียนไปชั่วคราว เนื่องจากขาดงบประมาณ พร้อมกับทำการเปิดสอนอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2476 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภาหลังเก่า สถานที่ทำการเรียนการสอนในอดีต

1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 โรงเรียนได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2523 ได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

ในปี พ.ศ. 2513 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป. 1ฉ ขนาด 4 ห้องเรียน งบก่อสร้าง 120,000 บาทและได้ย้ายนักเรียนจากศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา มาเรียนอาคารหลังใหม่ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2514 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนวัดคุ้งตะเภา" ต่อมาได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา" เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2514 และในปี พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ เพิ่มเติมอีก 2 ห้องเรียน รวมเป็น 6 ห้องเรียน

ในปี พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเอนกประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกในกิจการต่าง ๆ สะดวกขึ้น พร้อมทั้งได้งบประมาณสร้างห้องสุขาแบบสามัญ จำวนวน 1 หลัง และในปีเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2538 ที่ประชุมหมู่บ้านคุ้งตะเภาครั้งที่ 1/2538 กรรมการหมู่บ้านได้ประชุมกัน มีมติมอบที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 10 ไร่ ให้กับโรงเรียน เพื่อสร้างสนามกีฬา

ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนเงิน 1,940,000 บาท โดยการสนับสนุนจาก ส.ส. กนก ลิ้มตระกูล และในปีนี้ได้สร้างถนนคอนกรีตผ่านหน้าอาคารเรียน ป.1 ฉ เป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการ

โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยทำการสอนครั้งแรก ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มี นายเอี่ยม ศาสตร์จำเริญ เป็นครูใหญ่คนแรก ปัจจุบันเปิดทำการสอนเป็น 2 ระดับชั้น คือระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา มีนายสุชีพ เสาเกิด ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา

ภาพพาโนรามาภายในโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา

รายนามผู้บริหาร

[แก้]
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ผู้บริหารโรงเรียน วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายเอี่ยม ศาสตร์จำเริญ พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2475
2. นายชิต เปรมวิชัย 1 กันยายน พ.ศ. 2476 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
3. นายเฮ ประมวลทรัพย์ 8 กันยายน พ.ศ. 2504 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
4. นายฟุ้ง ปิ่นรัตน์ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2487
5. นายอินทร์ สังขโอภาส 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 - 1 กันยายน พ.ศ. 2489
6. นายทอด แก้วรอด 8 กันยายน พ.ศ. 2489 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2489
7. นายชิต เปรมวิชัย 1 กันยายน พ.ศ. 2476 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
8. นายพร บุตรวงศ์ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 - 30 กันยายน พ.ศ. 2519
9. นายศักดิ์ถวัลย์ ศัลย์พงษ์ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
10. นายสว่าง รักดี 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2530
11. นายอาเร็น พรหมน้อย 15 มิถุนายน พ.ศ. 2531 - 24 เมษายน พ.ศ. 2545
12. นายปิยะ ปัญญา 25 เมษายน พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2551
13. นายสุชีพ เสาเกิด พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน

สีประจำโรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา

[แก้]
  • ██ สีเขียว หมายถึง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม เลิศล้ำวิชาการ

อาคารสถานที่

[แก้]
  • อาคารเรียน แบบ ป.1 ฉ จำนวน 1 หลัง
  • หอประชุม จำนวน 1 หลัง
  • อาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ จำนวน หลัง
  • หอประชุมโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง
  • บ้านพักครู จำนวน 1 หลัง
  • ห้องน้ำ ห้องสุขา จำนวน 1 หลัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติวัดคุ้งตะเภา - ศาลาการเปรียญวัดคุ้งตะเภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 2007-05-21.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

17°39′10″N 100°08′27″E / 17.652807°N 100.14084°E / 17.652807; 100.14084