โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร | |
---|---|
Phibunmangsahan School | |
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 15°14′34″N 105°13′49″E / 15.2426509°N 105.2303536°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พ.ม. / P.M. |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนรัฐบาลในสังกัด อบจ.อุบลราชธานี |
เขตการศึกษา | ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี |
สี | เทา แดง |
คำขวัญ | ความรู้ดี มีจรรยา พลานามัยสมบูรณ์ เกื้อกูลสังคม |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนพิบูลมังสาหาร (มาร์ช พ.ม.) |
เว็บไซต์ | http://www.phibun.ac.th |
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร (อักษรย่อ : พ.ม. / P.M.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา สายสามัญ ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัด (โรงเรียนยอดนิยม) และเป็นโรงเรียนอันดับ 1 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เเละปัจจุบันมีนักเรียนเกือบ 4,000 คน
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ตั้งอยู่เลขที่ 29/3 ถนนเทศบาล 2 ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ 51 ไร่
- สถานที่ใกล้โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
- ตลาดสดเทศบาลพิบูลมังสาหาร
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พิบูลมังสาหาร
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอพิบูลมังสาหาร
- สนามกีฬากลางพิบูลมังสาหาร
ประวัติ
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/14/PM04.jpg/220px-PM04.jpg)
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร[1] ได้รับอนุมัติจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ 6816/2506 เริ่มเปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 49 คน เป็นนักเรียนชาย 24 คน นักเรียนหญิง 25 คน ซึ่งการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สายสามัญ ประจำอำเภอ เป็นความคิดเริ่มของคณะกรรมการการศึกษาอำเภอพิบูลมังสาหาร โดยมีผู้ปกครองนักเรียน ข้าราชการครู พ่อค้า และประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 4 ห้องเรียน รวมเป็นเงินก่อสร้าง 90,000 บาท ทั้งนี้ไม่ได้รับเงินสมทบจากทางราชการเลย โดยบริเวณสถานที่ตั้งของโรงเรียนเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ มีเนื้อที่ 51 ไร่ และอีกหนึ่งแปลงบริเวณพื้นที่สาธารณประโยชน์หนองโจด ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร มีเนื้อที่ 58 ไร่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้โรงเรียนใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา
ในปี พ.ศ. 2506 เดิมโรงเรียนมีชื่อว่า "โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์" เริ่มเปิดทำการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2506 และถือว่าเป็นวันสถาปนาโรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2507 นายเชื้อ สาริมาน รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนพิบูลราษฏร์รังสรรค์"'
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ea/PM05.jpg/220px-PM05.jpg)
ในปี พ.ศ. 2511 กรมสามัญศึกษา ได้กำหนดให้โรงเรียนในสังกัด ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ให้ใช้ชื่ออำเภอเป็นชื่อโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนพิบูลมังสาหาร"
ในปี พ.ศ. 2512 โรงเรียนเข้าโครงการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนมัธยมแบบประสมแบบที่ 2 (คมส.2) รุ่นที่ 5
ในปี พ.ศ. 2514 โรงเรียนเข้าโครงการมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (คมช.) รุ่นที่ 8 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
ในปี พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในปี พ.ศ. 2526 สภาตำบลโพธิ์ไทร ได้รับบริจาคที่ดินบริเวณหนองโจด บ้านสนามชัย ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ให้โรงเรียน 58 ไร่
ในปี พ.ศ. 2545 เปิดการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในปี พ.ศ. 2547 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/97/PM07.jpg/220px-PM07.jpg)
ในปี พ.ศ. 2549 ถ่ายโอนภารกิจไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ในปี พ.ศ. 2550 ถ่ายโอนโรงเรียนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ในปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนพิบูลมังสาหารเข้ารับการประเมินการประกันคุณภาพภายนอก และผ่านการประเมินรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ในปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนพิบูลมังสาหารจัดหลักสูตรการเรียนการสอน โดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
[แก้]สัญลักษณ์ของโรงเรียนพิบูลมังสาหารคือ "หินพระปรมาภิไธย"[2] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเสด็จเยือนอำเภอพิบูลมังสาหาร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 อันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสิริมงคลของชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร วงกลม เป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สลักชื่อ โรงเรียนพิบูลมังสาหาร และคติพจน์ อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา มีความหมายว่า ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน ดอกบัวบาน เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นเป็นเครื่องหมายแห่งการเกิดของความรู้
ตราสัญลักษณ์และความหมาย สะท้อนให้เห็นแนวปรัชญาการศึกษาของสถาบันแห่งนี้ ซึ่งมุ่งฝึกฝนอบรมเด็กและเยาวชนที่เข้ามาเป็นศิษย์ ให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษา มีจิตใจที่หนักแน่น มีสติปัญญา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อันได้แก่ ความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ มีความรู้คู่คุณธรรม รู้รักสามัคคีเกื้อกูลสังคม มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เสมือนหินพระปรมาภิไธยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานไว้
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e8/PM06.jpg/220px-PM06.jpg)
- "พระศรีทศพลญาณ" จัดสร้างในโอกาสครบรอบ 30 ปี วันสถาปนาโรงเรียนพิบูลมังสาหาร ในปี พ.ศ. 2536
สีประจำโรงเรียน
[แก้]- สีเทา หมายถึง ความเฉลียดฉลาดและสติปัญญา
- สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและเข้มแข็ง
อักษรย่อ
[แก้]- พ.ม. หมายถึง โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
คติพจน์
[แก้]- "อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา"
ความหมาย : ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน
ปรัชญา
[แก้]- "การศึกษาเป็นการพัฒนาชีวิตและสังคม"
ความหมาย : นักเรียนโรงเรียนพิบูลมังสาหารทุกคน ต้องได้รับการฝึกฝนตนเอง ให้เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาชีวิตและสังคมที่ดีต่อไป
คำขวัญ
[แก้]อัตลักษณ์
[แก้]- "เก่งสื่อสาร ขยันออม พร้อมรักษ์สะอาด งามมารยาทไทย"
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
[แก้]- ต้นไทรเงิน, ต้นกันเกรา
เพลงประจำโรงเรียน
[แก้]ผู้ประพันธ์ คำร้อง-ทำนอง : คุณครู วีระพล เวชพันธุ์ (ปี พ.ศ. 2515)
- "...พิบูลมังสาหารลั่นลือชื่อกระเดื่อง
เป็นนามเมืองแก่งงามตระการสดใส
แดนอุดมสมชื่อระบือไกล
ทั่วทุกเขตเทศไทยได้รู้นาม
- "...พิบูลมังสาหารลั่นลือชื่อกระเดื่อง
- ...การศึกษาการเรียนพากเพียรมั่น
การกีฬาครบครันช่วยเกื้อหนุน
สถาบันงามสง่าน่าเทิดทูน
พลีวิชาเพิ่มพูนแด่ผองเรา
- ...การศึกษาการเรียนพากเพียรมั่น
- ...เหล่าน้องพี่เทาแดง
ขอร่วมแรงร่วมสมัครรักผูกพัน
เราน้องพี่ร่วมกัน
ช่วยสร้างสรรค์ให้กระเดื่องลือชา
- ...เหล่าน้องพี่เทาแดง
- ...แม้ชีวิตยอมพลีวจียึดมั่น
กายและใจมิหวั่นยอมท้อถอย
ขอเทิดเกียรติสถาบันอันเลิศลอย
ให้อยู่สูงสุดสอยชั่วนิรันดร์..."
- ...แม้ชีวิตยอมพลีวจียึดมั่น
อาคารเรียนและอาคารอื่นๆ
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f5/PM16.jpg/220px-PM16.jpg)
- อาคาร 1 ทองกวาว
- อาคาร 2 พุทธรักษา
- อาคาร 3 ภูแก้ว
- อาคาร 4 นวรัช
- อาคาร 5 กันเกรา
- อาคาร 6 พิกุลแก้ว
- อาคาร 7 เพชรบงกช
- อาคาร 8 โกมุท
- อาคาร 9 อุบลมาศ
- อาคาร 10 อุบลมณี
- อาคารห้องสมุด IT
โดมอเนกประสงค์ ลานกิจกรรม - อาคารอุตสาหกรรม
- อาคารคหกรรม
- อาคารศิลปะ
- อาคารพยาบาล
- อาคารหอประชุมราษฎร์รังสรรค์
- อาคารหอประชุมศรีวนาลัย
- อาคารหอประชุมหลังใหม่
- อาคารโรงอาหาร
- โดมอเนกประสงค์
- ศาลาแห่งความฮักแพง
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร มีรายนามผู้บริหารดังต่อไปนี้
ที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | นายวิเชียร วรรณพงศ์ | รักษาการครูใหญ่ | พ.ศ. 2506-2506 |
2 | นายไสว ทองรอง | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2506-2512 |
3 | นายสัมฤทธิ์ มุสิกสวัสดิ์ | รักษาการครูใหญ่ | พ.ศ. 2512-2512 |
4 | นายณรงค์ ไชยกาล | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2512-2512 |
5 | นายมนูญ ส่งเสริม | ครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่, ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2512-2525 |
6 | นายทองขาว โคตรโยธา | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2525-2527 |
7 | นายสมพงษ์ โลมะรัตต์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2527-2530 |
8 | นายพงษ์ศักดิ์ คูณเรือง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2530-2537 |
9 | นายเกษม คำทวี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2537-2539 |
10 | นายพิชัย พิทยาธรพิทักษ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2539-2542 |
11 | นายวิชัย ศิริบูรณ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542-2543 |
12 | นายวิโรจน์ บรรดาศักดิ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2543-2554 |
13 | นายลำพอง ทองปน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2554-2556 |
14 | นาเกษม เพชรดี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2556-2560 |
15 | นายสงวน แสงชาติ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2560-2565 |