วิทยาลัยเทคโนโลยีธัญลักษณ์
ชื่อย่อ | ว.ท.ธ. / T.T.C. |
---|---|
คติพจน์ | มีคุณธรรม นำความรู้ สู่อาชีพ |
ประเภท | วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน |
สถาปนา | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | ดร.ชุติมา รายะนาคร |
ผู้อำนวยการ | ดร.ธัญลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ |
ที่ตั้ง | |
สี | ชมพู ม่วง |
เว็บไซต์ | Facebook Official |
วิทยาลัยเทคโนโลยีธัญลักษณ์ (อังกฤษ: Tanyalak Technological College) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[1][2] (เดิมสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน) เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่ทำการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ประวัติ
[แก้]วิทยาลัยเทคโนโลยีธัญลักษณ์ ก่อตั้งขึ้นโดยเจตนารมณ์ของ ดร.ชุติมา รายะนาคร ซึ่งได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญทางการศึกษาของเยาวชนในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอย่างมาก ในอันที่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้ปกครอง ทำให้เกิดเป็นแรงผลักดันให้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญลักษณ์แห่งนี้ขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และยังเป็นการยกระดับการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้มีความก้าวหน้าและยังเป็นการพัฒนาเยาวชนตลอดจนสังคมให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย
ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดย ดร.ชุติมา รายะนาคร เป็นผู้รับใบอนุญาต ได้เช่าพื้นที่จำนวน 2 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือ "อาคารบุญเรือน" และ "อาคารโดม" เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ห้องสมุด ห้องผู้อำนวยการ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอเนกประสงค์ และอื่นๆ โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 (สพป.อบ.1) ให้เปิดทำการเรียนการสอนเป็นวันแรกในวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 โดยมีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 21 คน จำนวนผู้บริหารทั้งสิ้น 3 คน และครูบรรจุ 3 คน
ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยได้รับอนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 (สพป.อบ.1) ให้เปิดทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการบัญชีและประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และยังได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการและประเภทอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม จำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 23 คน จำนวนผู้บริหารทั้งสิ้น 3 คน ครูบรรจุ 3 คน ครูพิเศษ 1 คน และบุคลากรทางการศึกษา 1 คน
ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 31 คน จำนวนผู้บริหารทั้งสิ้น 3 คน ครูบรรจุ 6 คน ครูพิเศษ 2 คน และบุคลากรทางการศึกษา 1 คน
อาคารสถานที่
[แก้]ชื่ออาคาร | ห้องภายในอาคาร |
---|---|
อาคารบุญเรือน |
|
อาคารโดม |
|
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญลักษณ์ | |||
---|---|---|---|
ประเภทวิชา | ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) | ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) | |
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม |
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
|
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
| |
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
|
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
| |
ประเภทวิชาคหกรรม |
ประเภทวิชาคหกรรม
|
ประเภทวิชาคหกรรม
|
ทำเนียบผู้อำนวยการ
[แก้]- รักษาการแทนผู้อำนวยการ
ลำดับที่ | รายนาม | วาระดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
- | ดร.ชุติมา รายะนาคร (ผู้รับใบอนุญาต) |
4 พฤศจิกายน 2557 - 2 มีนาคม 2558 (0 ปี 118 วัน) |
1 | ดร.ธัญลักษณ์ ศรีสวัสดิ์ | 2 มีนาคม 2558 - 2564 |
2. ดร.สะอาด ศรีวรรณ 16 พฤษภาคม 2564
3.ดร.นุสรา สมศรีโหน่ง 2564-2566
4.นายภัทธิยาวุฒิ บุญจอม 2566-ปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘/๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๔๙ ง หน้า ๓ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การโอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ และอัตรากำลังของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (บัญชีรายชื่อโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา จำแนกรายโรง และรายเขตพื้นที่การศึกษา ลำดับที่ 206) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๘๒ ง หน้า ๗ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙