โรงพยาบาลอินโดนีเซีย
โรงพยาบาลอินโดนีเซีย المستشفى الإندونيسي | |
---|---|
Medical Emergency Rescue Committee | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | บัยต์ลาฮิยา, เขตผู้ว่าการกาซาเหนือ, ฉนวนกาซา, รัฐปาเลสไตน์ |
พิกัด | 31°32′6.7290″N 34°30′41.6884″E / 31.535202500°N 34.511580111°E |
หน่วยงาน | |
รูปแบบทุน | ไม่แสวงผลกำไร |
ประเภท | ไม่แสวงผลกำไร |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 110 |
ประวัติ | |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2554 |
เปิดให้บริการ | 9 มกราคม พ.ศ. 2559 |
โรงพยาบาลอินโดนีเซีย (อาหรับ: المستشفى الإندونيسي, อักษรโรมัน: al-Mustashfá al-Indūnīsī) เป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในเมือง บัยต์ลาฮิยา (بيت لاهيا) เขตผู้ว่าการกาซาเหนือ ฉนวนกาซา รัฐปาเลสไตน์
โรงพยาบาลเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2554 บนพื้นที่ขนาด 16,000 ตารางเมตรซึ่งได้รับบริจาคจากรัฐบาลของกาซา[1][2] โครงการมีมูลค่า 1.26 แสนล้านรูปียะฮ์ โดยได้รับทุนจากการบริจาคของประชาชนและจากองค์กรในประเทศอินโดนีเซีย เช่น สภากาชาดอินโดนีเซียและสมาคมมูฮัมมาดียะฮ์ (อินโดนีเซีย: Persyarikatan Muhammadiyah) รวบรวมผ่านคณะกรรมการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ (Medical Emergency Rescue Committee, MER-C) ซึ่งเป็นองค์กรมนุษยธรรมในอินโดนีเซีย[3][4] มูฮัมมัด จูซูฟ กัลลา (Muhammad Jusuf Kalla) รองประธานาธิบดีอินโดนีเซียทำพิธีเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559[1]
โรงพยาบาลมีเตียงผู้ป่วย 100 เตียง ห้องผ่าตัด 4 ห้อง และหออภิบาลผู้ป่วยหนัก 10 เตียง[2][5] เจ้าหน้าที่ประกอบด้วยชาวปาเลสไตน์ประมาณ 400 คน ซึ่งได้รับค่าจ้างจากกระทรวงสาธารณสุขของฉนวนกาซา และอาสาสมัครชาวอินโดนีเซียจำนวนหนึ่ง[1]
สงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566
[แก้]ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ปิดล้อมโรงพยาบาลอย่างสมบูรณ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานฉนวนกาซา ในสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566[6][7]
อิสราเอลอ้างว่านักรบฮะมาสใช้โรงพยาบาลเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร แม้ว่าประเด็นนี้จะถูกโต้แย้งก็ตาม[8][9][10]
ภายหลังการจู่โจม รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เริตโน มาร์ซูดี (Retno Lestari Priansari Marsudi) ออกแถลงการณ์ "ประณามอย่างรุนแรงที่สุด" ซึ่งเป็นความพยายามในการผลักดันให้มีการหยุดยิงเพื่อคำนึงถึงจริยธรรม[11] โดยได้แถลงระหว่างการเยือนทางการทูตในประเทศจีน ซึ่งจีนดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Benamara, Nadia. "Indonesia Hospital saves lives in Gaza - OPEC Fund for International Development". The OPEC Fund for International Development (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
- ↑ 2.0 2.1 "Indonesia Hospital Opens in Gaza Strip". Hospimedica.com. 11 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
- ↑ "OPT: RI to build hospital in Gaza - occupied Palestinian territory". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). 4 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Indonesia Hospital in Gaza denotes Indonesians solidarity with Palestinians: VP - Vice President of The Republic of Indonesia". Wakil Presiden Republik Indonesia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Kementerian Sekretariat Negara Republik Indonesia. 9 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Gaza Strip gets first new hospital in a decade, two more due this year". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 6 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
- ↑ Dadouch, Sarah (20 พฤศจิกายน 2023). "Another Gaza hospital caught in fighting, as storms deepen civilian misery". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Gritten, David (20 พฤศจิกายน 2023). "Israeli tanks surround north Gaza's Indonesian Hospital". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Mahfouz, Heba; Dadouch, Sarah. "Another Gaza hospital caught in fighting, as storms deepen civilian misery". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ "Deadly Strike Rocks a Hospital in Gaza, Where Few Are Still Working". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ AFP. "IDF says Hamas using Indonesian Hospital to hide terror base; Jakarta pushes back". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Tanamal, Yvette. "Indonesia incensed by Israeli attack on Gaza hospital". thejakartapost.com. The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรงพยาบาลอินโดนีเซีย ที่เฟซบุ๊ก (ในภาษาอาหรับ)