โรงงานเทสลาฟรีมอนต์
เทสลา โมเดล S เริ่มผลิตที่โรงงานเทสลา | |
อุตสาหกรรม | โรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ |
---|---|
ก่อนหน้า |
|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2553 (อายุ 15 ปี) |
สำนักงานใหญ่ | , |
ผลิตภัณฑ์ | เทสลา Model S เทสลา Model 3 เทสลา Model X เทสลา Model Y |
เจ้าของ | เทสลามอเตอร์ส (Tesla motors, Inc.) |
พนักงาน | 10,000[1] |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
37°29′41.12″N 121°56′41.16″W / 37.4947556°N 121.9447667°W โรงงานเทสลา เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ในเมืองฟรีมอนต์รัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นโรงงานผลิตหลักของบริษัทเทสลามีอีลอน มัสก์เป็นกรรมการผู้จัดการในอดีตนั้นเป็นที่รู้กันคือเป็นโรงงานนิวยูไนเต็ดมอเตอร์ (NUMMI) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันลงทุนระหว่างบริษัทเจเนรัลมอเตอร์ และโตโยต้า[2] โดยเทสลาเป็นเจ้าของโรงงานนี้ในปี พ.ศ. 2553[3] โรงงานตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกของเมืองฟรีมอนต์ระหว่างทางหลวงหมายเลข 880 กับ 680 ปัจจุบันโรงงานผลิตรถรุ่น โมเดลเอส, โมเดลเอ็กซ์ และโมเดลสาม และมีลูกจ้างประมาณ 10,000 คนในเดือนมิถุนายน ปี 2561[1]
ภูมิหลัง
[แก้]บริษัทเทสลาวางแผนสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในเมืองแอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางสำหรับการขนส่งสินค้า[4][5] การก่อสร้างควรจะเริ่มในเดือนเมษายน 2550 แต่ถูกยกเลิกไป[6] ได้มีการประกาศตั้งโรงงานแยกต่างหากในโครงการกรีนฟิลด์ที่จะสร้างในเมืองซานโฆเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย[7] อย่างไรก็ตามงบประมาณการก่อสร้างถูกระงับ บริษัทจึงได้มองหาทางเลือกใหม่ Tesla ยังยกเลิกการเลือกโรงงาน NUMMI เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไปและมีราคาแพง[8]
บางส่วนของโรงงานในปัจจุบันได้เปิดดำเนินการเป็นโรงงานประกอบรถยนต์ฟรีมอนต์ของ GM ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ถึง 2525 และระหว่าง พ.ศ. 2527-2552 ใช้เป็นโรงงานผลิตของบริษัท นิวมอเตอร์ยูไนเต็ดแมนูแฟคเจอริง (NUMMI)[9] อันเป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทเจเนรัลมอเตอร์ และโตโยต้า[2][10] ผลิตรถยนต์ส่วนบุคคลและรถบรรทุกได้ 428,633 คันในปี พ.ศ 2549[11] มีความพยายามในการใช้สถานที่นั้นต่อหลังปี 2553 รวมไปถึงการประกาศข้อเสนอของบริษัทสตาร์ตอัพ ออริกามอเตอร์ส (Aurica Motors) รัฐได้ประกาศให้สิ่งจูงใจแก่โตโยต้า รวมทั้งการสร้างสนามฟุตบอล แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จใด ๆ นายกเทศมนตรีเมืองฟรีมอนต์มองว่าพื้นที่ดังกล่าวร้างแล้ว[12]
โรงงานตั้งอยู่ที่เขตฟรีมอนต์ใต้ระหว่างสถานี Warm Springs BART[13] และทางหลวงรัฐแคลิฟอร์เนียหมายเลย 262 เชื่อมต่อหมายเลย I880 กับ I680 ทางรถไฟของยูเนียนแปซิฟิก (Union Pacific) มีรางยาวไปถึงโรงงาน[14][15] สำหรับส่งมอบรถที่ประกอบเสร็จแล้ว[16] การขนส่งสินค้าทางรถไฟยังถูกใช้รับแบตเตอรี, ชุดชิ้นส่วนส่งกำลังขับเคลื่อนล้อ (drivertrains) ของรุ่นโมเดล 3 และชิ้นส่วนอื่น ๆ มาจากโรงงานกิกะแฟกตอรี (Gigafactory)[17]
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 บริษัทเทสลา และโตโยต้า ประกาศเป็นหุ้นส่วนกันที่จะทำการพัฒนายานพาหนะไฟฟ้า และร่วมมือกันบนโครงการ "การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วน และระบบการผลิต และการสนับสนุนด้านวิศวกรรม" รวมไปถึงเทสลาได้ซื้อบางส่วนของพื้นที่โรงงานเก่าของ NUMMI โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารโรงงาน[18][19] ในราคา 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[20]
เทสลาเข้าครอบครองพื้นที่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553[12] และเปิดดำเนินการวันที่ 27 ตุลาคม[3] ทางการรัฐแคลิฟอร์เนียได้สนับสนุนการรื้อฟื้นดังกล่าวโดยคาดหวังรายได้ภาษีจากงานที่ได้สนับสนุนไป[21][22] การส่งมอบรถเทสลารุ่น S ครั้งแรกแบบค้าปลีกจัดขึ้นระหว่างการจัดงานพิเศษที่โรงงานเทสลาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555[23]
เครื่องจักรอำนวยความสะดวก
[แก้]NUMMI ปิดประมูลสายการผลิต[24] มีหุ่นยนต์และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อย้ายไปยังโรงงานอื่น ๆ ของโตโยต้าในสหรัฐ[25][26] ขณะที่เทสลาซื้ออุปกรณ์และชิ้นส่วนอะไหล่มือสองมากกว่า 17 ล้านเหรียญสำหรับการผลิตในปี 2554 ซึ่งมีส่วนลดมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ใหม่[27] เทสลาซื้อสายการผลิตปั๊มไฮดรอลิกเก่าของ Schuler SMG มา 50 ล้านเหรียญจากดีทรอยต์มูลค่า 6 ล้านเหรียญรวมค่าจัดส่ง[28]
โรงงานกินขนาดพื้นที่ 10 เท่าของพื้นที่ที่ต้องการเริ่มต้น[8][29][30] และจำนวนมากของพื้นที่ 370 เอเคอร์ที่ยังไม่ถูกใช้งานในปี 2556 อาคารหลักที่ผลิตขั้นตอนสุดท้ายของการประกอบยานพาหนะพร้อมด้วยกิจกรรมส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 5,500,000 ตารางฟุต[12]
ส่วนต่าง ๆ ของโรงงาน NUMMI มีการวางแผนที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ของเทสลา ตัวอย่างเช่นอุปกรณ์พ่นสีห้องโดยสารจะต้องได้รับการแก้ไขหลายอย่างตลอดปี พ.ศ. 2554[12] สีเปลี่ยนจากแบบสารละลายไปเป็นสีรองพื้นแบบน้ำของบริษัทบีเอเอสเอฟ (BASF)[28] ไลน์พ่นสี 2 เครื่อง (หนึ่งตัวรถ หนึ่งส่วนประกอบ) ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2558[31][32][33] โดยในปี พ.ศ. 2557 มีการใช้งานครึ่งหนึ่งของพื้นที่โรงงาน[30]
พื้นโรงงาน ผนัง และเพดานถูกทาด้วยสีขาว หลังคาติดกระจกรับแสงสว่างจากแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะสร้างสภาพแวดล้อมคล้ายกับห้องปฏิบัติการ[34][35] และสภาพแวดล้อมในการผลิตมีความสะอาดและเงียบมากกว่าของ NUMMI[9]
เทสลากำลังก่อสร้างเครื่องหล่อในเมืองลาทรอป (Lathrop) เพื่อสนับสนุนการผลิตในเมืองฟรีมอนต์[36][37][38] และเช่าพื้นที่โกดัง 1.3 ล้านตารางฟุตในเมืองลิเวอร์มอร์ (Livermore) ในปี พ.ศ. 2560[39]
ในปี 2559 มีพื้นที่จอดรถ 4,500 คัน[40] และเทสลาซื้อที่ 25 เอเคอร์ที่อยู่ข้างเคียงจากบริษัทพัฒนาที่อยู่อาศัยชื่อ Lennar[41][42] เทสลาประกาศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ว่าได้รับการอนุมัติจากสภาเทศบาลเมืองฟรีมอนต์ เพื่อเพิ่มขนาดประมาณ 4.6 ล้านตารางฟุตของพื้นที่ใหม่สำหรับเครื่องจักรอำนวยความสะดวกต่าง ๆ[43] เทสลายังวางแผนที่จะขยายการผลิตห้าเท่าถึง 500,000 คันในปี 2561[43] หรือ 10,000 คันต่อสัปดาห์[44]
พนักงาน
[แก้]เทสลาเริ่มต้นการผลิตกับพนักงาน 1,000 คน[45] โดยปี พ.ศ. 2556 ได้เพิ่มขึ้นถึง 3,000 คน[46] และ 6,000 คนในมิถุนายน 2559[47] ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2560 เทสลาว่าจ้างพนักงาน 10,000 คนที่โรงงานในฟรีมอนต์[48]
นอกจากพนักงานของเทสลาแล้ว บริษัท ยังใช้ผู้รับเหมาในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2561 อีลอน มัสก์ มีเป้าหมายชัดเจนในการลดข้อติดขัด และเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพภายในการดำเนินงาน โดยตัดสินใจตัดผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วง และสั่งให้พนักงานแสดงเหตุผลและรับรองผู้รับเหมาที่มีความคุ้มค่า[49][50]
การผลิต
[แก้]การผลิตยานพาหนะชุดแรกของโรงงานเป็นเทสลา รุ่น S รถยนต์ซีดานใช้ไฟฟ้าแบตเตอรีล้วน ในปี พ.ศ. 2554 เทสลาเปลี่ยนจากรุ่นที่ประกอบด้วยมือ 20 "alpha builds" ไปเป็น 50 "beta builds"[51] การผลิตและการตรวจสอบการสร้างรถยนต์ทั้งหมดทำที่โรงงานเทสลา รถเหล่านั้นยังใช้ระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การทดสอบทางวิศวกรรม และการทดสอบการชนและได้รับการรับรองโดยรัฐบาลกลาง[52] เทสลาคาดหวังที่จะผลิตรุ่น S ซีดาน ประมาณ 5,000 คันในปี พ.ศ. 2555 พร้อมด้วยการผลิตอย่างก้าวกระโดดไปที่ 20,000 คันในปี 2556 ถ้าจำเป็น[53][54] ครั้งแรกของการจำหน่ายปลีกได้ส่งมอบรถรุ่น S ในระหว่างการจัดงานพิเศษที่โรงงานเทสลา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555[23]
การผลิตเติบโตขึ้นจากการผลิตได้ 15-20 คัน ต่อสัปดาห์ในเดือนสิงหาคม 2555[55] เพิ่มขึ้นเป็น 200 คันในเดือนพฤศจิกายน[56] และ 400 คันในปลายเดือนธันวาคม[57][58] และในปลายเดือนนั้นเทสลาได้ปรับลดการส่งมอบในปี 2555 ของพวกเขาลงเหลือ 2,500 คัน[59]
การส่งมอบรถอยู่ที่ 6,892 คันในสามเดือนสุดท้ายของปี 2556[60] ในเดือนธันวาคมปี 2556 รัฐแคลิฟอร์เนียประกาศให้เทสลาลดหย่อนภาษี 34.7 ล้านได้ สำหรับการขยายการผลิตไปที่ประมาณ 35,000 คันต่อปีจากโรงงานในฟรีมอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[61]
เทสลาประกาศว่าการผลิตได้รับการคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 600 คันต่อสัปดาห์ในต้นปี 2557 เป็นประมาณ 1,000 คันต่อสัปดาห์ภายในสิ้นปี[62] เทสลาผลิตได้ 7,535 คันในระหว่างไตรมาสแรกของปี 2557 และคาดว่าจะผลิตได้ 8,500 คันถึง 9,000 คันในไตรมาสที่สองของปี 2557 ซึ่งต้นเดือนพฤษภาคมปี 2557 อัตราการผลิตเป็น 700 คันต่อสัปดาห์[63]
ปี 2558 ผลิตได้ประมาณ 1,000 คันต่อสัปดาห์[64][65] ส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อล่วงหน้า มัสก์บอกว่าเฉลี่ยพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงเป็นรุ่น S ประมาณ 20 คำสั่งต่อสัปดาห์[66]
การผลิตรถรุ่น X รวมกับรุ่น S ในระหว่างปี 2558[67] หลังจากการปรับโครงสร้างใหม่ของสายการผลิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557[68] รถโมเดล X รุ่นแรกที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขได้รับการผลิตในเดือนเมษายน 2559[69] เทสลาย้ายเครื่องมือหนักบางส่วนของโรงงานไปยัง Tilburg ซึ่งเป็นโรงงานประกอบขั้นสุดท้ายในเนเธอร์แลนด์ในปี 2558[70]
ในเดือนกรกฎาคมปี 2558 เทสลาประกาศว่าโรงงานส่งมอบได้ทั้งหมดรวม 21,537 คันในครึ่งแรกของปี 2558 ยานพาหนะทั้งหมดถูกผลิตขึ้นที่โรงงานฟรีมอนต์[71]
ในเดือนพฤษภาคมปี 2559 เทสลาซึ่งบริษัทมีมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 1.46 พันล้านเหรียญ ได้ลงทุน 1.26 พันล้านเหรียญเพื่อเตรียมการผลิตรถในรุ่นโมเดล 3 โดยกำหนดไว้ปลายปี 2560[72][73] เปลี่ยนแปลงจากการผลิตเป็นแบบซีรีส์โมเดล S และโมเดล X ไปเป็นแบบการผลิตแบบจำนวนมาก (mass production) คือโมเดล 3 ซึ่งถูกมองโดยผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญ[74] เทสลาระบุไว้ในเดือนพฤษภาคม ปี 2559 ว่ายังไม่มีศักยภาพถึงขั้นนั้นและจำเป็นที่จะต้องหามา[75] ซึ่งส่วนหนึ่งได้เข้าซื้อกิจการของ Grohmann Automation ในปี 2559[76] ในขณะที่รถยนต์เปิดประทุนต้องล่าช้าไป 9 เดือน รถโมเดล S ช้าไปมากกว่า 6 เดือน และโมเดล X ช้าไปมากกว่า 18 เดือน[77] นักวิเคราะห์ประมาณการว่าในเดือนธันวาคม ปี 2559 การเตรียมการผลิตรถโมเดล 3 น่าจะได้กำหนดการในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2560[78]
ในวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปี 2559 เทสลาประกาศว่ามันได้ผลิตอย่างสม่ำเสมอที่ 2,000 คันต่อสัปดาห์ในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2559[79][80] พนักงานประมาณ 2,500 คนทำงานกะกลางวันและ 2,000 คนเข้ากะกลางคืน[40]
เทสลาผลิตชิ้นส่วนเองหลายส่วน ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปรกติในธุรกิจรถยนต์ เทสลายังทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ 300 รายทั่วโลก ในจำนวนนั้นมีซัพพลายเออร์ 50 รายในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ และ 10 รายในบริเวณเขตอ่าวซานฟรานซิสโก[81] ซัพพลายเออร์ SAS ผู้ผลิตแผงควบคุมของเทสลา เช่าอาคารขนาด 142,188 ตารางฟุตใกล้โรงงาน เริ่มต้นในเดือนมกราคมปี 2560 โดยมีพนักงาน 200 คน[82] ซัพพลายเออร์อื่น ๆ เปิดโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียงกับเทสลารวมถึงบริษัท Eclipse Automation และ Futuris Automotive Group[83] เทสลาผลิตเบาะที่นั่งจำนวนมากที่โรงงานผลิตเบาะที่นั่งของตัวเองห่างจากโรงงานหลักไม่กี่ไมล์[84]
ในปี 2563 เทสลาได้ดำเนินการลดการผลิตในโรงงานเซี่ยงไฮ้และฟรีมอนต์เนื่องจากเป็นช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา โรงงานที่เซี่ยงไฮ้กลับมาผลิตอีกครั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ในขณะที่โรงงานที่ฟรีมอนต์และนิวยอร์กลดกิจกรรมลงในวันที่ 24 มีนาคม[85][86][87] ในวันที่ 9 พฤษภาคมเทสลาฟ้องเขตอาลาเมดาเพื่อบังคับให้เปิดโรงงานที่ฟรีมอนต์อีกครั้ง[88] เทสลาบอกพนักงานว่าได้รับการอนุมัติให้เริ่มการผลิตใหม่ในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ของวันที่ 18 พฤษภาคม[89] และมีการยื่นฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม[88]
กระบวนการผลิตเทสลาโมเดล S
[แก้]ภาพรวม
[แก้]กระบวนการผลิตใช้หุ่นยนต์ที่มีความชำนาญเฉพาะงานมากกว่า 160 ตัว รวมถึงหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 10 ตัว[90] ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามตัวละครจากเรื่องเอ็กซ์เมน (X-Men)[91][92][93] ส่วนประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของรถโมเดล S มีมากมาย รวมถึงแพ็คแบตเตอรี โมดูลแบตเตอรี และหน่วยขับเคลื่อนถูกผลิตในโรงงาน โรงงานมีการบูรณาการระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานประกอบรถยุคใหม่แห่งอื่น ๆ พร้อมด้วยกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ภายในโรงงาน รวมไปถึงเครื่องปั้มโลหะและเครื่องกลึง เครื่องพ่นสี และการเคลือบสี เครื่องปั้มไฮดรอลิกถูกใช้ปั้มขึ้นรูปตัวถังรถ 5,000 ชิ้นต่อวันมีแรงกดที่ 10,000 ตัน[94] ซึ้งเป็นตัวที่ใหญ่ที่สุดในอะเมริกาเหนือและใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก[28] ประมาณ 60% ของชิ้นส่วนรถมีที่มาจากทวีปอเมริกาเหนือ[95] ในเดือนมีนาคม ปี 2558 ประเทศญี่ปุ่นเป็นแหล่งที่มาของชิ้นส่วนมากเป็นอันดับ 2[96] และวิศวกรออกแบบยังทำงานที่โรงงานแทนที่จะเป็นสถานที่แยกต่างหาก[10][97]
รถแต่ละคันจะถูกผลิตตามคำสั่งซื้อใช้เวลา 2-3 เดือนสำหรับการส่งมอบ[98] แม้ว่ายานพาหนะส่วนบุคคลจะใช้เวลาเพียงสามถึงห้าวันเพื่อให้กระบวนการประกอบเสร็จสิ้น[90] สายการประกอบจะเดินเครื่องที่ความเร็วของ 5 ซม./วินาที[99] เทสลาส่งมอบได้อย่างสมบูรณ์โดยใช้รถไฟแทนที่จะเป็นรถบรรทุก เนื่องจากค่าใช้จ่ายและความเสียหายน้อยกว่า[16]
การผลิตส่วนของการขับเคลื่อน
[แก้]การผลิตมอเตอร์
[แก้]การผลิตมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบมอเตอร์เหนี่ยวนำถูกผลิตขึ้นเองในโรงงาน ส่วนประกอบหลักของมอเตอร์คือสเตเตอร์ (ส่วนโครง) และโรเตอร์ (ส่วนหมุน)[100] เบื้องต้นของการผลิตมอเตอร์ หุ่นยนต์จะนำลวดทองแดงจากม้วนความยาวกว่าครึ่งไมล์ มาพันเป็นขดลวดทองแดงของมอเตอร์ แล้วใส่ขดลวดทองแดงไว้ในชั้นเก็บรอสำหรับขั้นตอนต่อไป เนื่องจากเป็นมอเตอร์สามเฟส ดังนั้นมอเตอร์หนึ่งตัวจึงต้องมีขดลวดทองแดงสามชุด[100] พนักงานจะถ่างและยืดแต่ละกลุ่มของลวดทองแดงและใส่รถยกไฮดรอลิกเพื่อส่งต่อมอเตอร์ไปยังแผนกต่อไป
พนักงานจะหอหุ้มแต่ละกำของขดลวดทองแดงไว้ในซองพลาสติกเพื่อป้องกันขดลวดจากการสัมผัสกัน ปลายสุดของขดลวดจะถูกตัดเพื่อให้ได้ความยาวที่ถูกต้อง พนักงานจะทำการย้ำโลหะจุดเชื่อมต่อขดลวดเพื่อใช้สำหรับมอเตอร์สามเฟส[100] หุ่นยนต์เย็บอัตโนมัติชนิดพิเศษจะมัดขดลวดทองแดงเข้าด้วยกันเพื่อยึดพวกมันให้เข้าที่ การมัดให้แน่นขึ้นโดยหุ่นยนต์เครื่องเย็บทำให้มอเตอร์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ตัวสเตเตอร์ยังถูกเคลือบด้วยอีพอกซีเรซิน (epoxy resin) สองชั้นเพื่อช่วยการกระจายความร้อนของมอเตอร์อย่างเท่าเทียมกัน ตัวสเตเตอร์เมื่อเมื่อทำเสร็จแล้วจะถูกใส่ลงไปในเคสโลหะที่ถูกทำให้ร้อน เพื่อให้เกิดการการล็อกตัวสเตเตอร์ภายในเคสเมื่อเย็นตัวลง[100]
พนักงานใช้รอกยกเพื่อที่จะใส่ตัวโรเตอร์ลงไปในตัวสเตเตอร์ ซึ่งการผลิตมอเตอร์ก็จะเสร็จสิ้น
ส่วนประกอบของหน่วยขับเคลื่อน
[แก้]คนงานจะติดตั้งเฟืองต่าง ๆ และส่วนอื่น ๆ ของกระปุกเกียร์ ประกบเข้าด้วยกันโดยใช้น็อต จากนั้นจะมีการทดสอบการรั่วไหลของอากาศ แล้วจะมีการติดตั้งอินเวอร์เตอร์สามเฟสไปที่ด้านบนของมอเตอร์ เพื่อแปลงกระแสไฟตรงจากแบตเตอรีไปเป็นกระแสสลับสำหรับมอเตอร์ใช้ จากนั้นมอเตอร์จะผ่านการทดสอบโดยอัตโนมัติโดยใช้เวลา 4 นาทีเพื่อให้แน่ใจว่าทำงานได้ถูกต้อง แล้วจึงย้ายไปที่บริเวณประกอบทั่วไปเพื่อที่จะติดตั้งลงในรถ[100]
อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ในช่วงแรกนั้น เทสลาใช้อุปกรณ์ควบคุมประเภท IGBT ต่อมาได้มีการเปลี่ยนมาใช้เป็น SiC เพาเวอร์มอสเฟต แทนสำหรับการติดตั้งในรถยนต์ตั้งแต่ปี 2561[101]
การผลิตแบตเดอรีแพ็ค
[แก้]รถโมเดล S แพ็คแบตเตอรีบรรจุแบตเตอรีลิเทียมไอออน 7,104 เซลล์ใน 16 โมดูล[102] ผูกเข้าในชุด (14 โมดูล ในส่วนแบนราบใต้ท้องรถและ 2 โมดูลซ้อนกันอยู่ด้านหน้ารถ)[103] แต่ละโมดูลบรรจุ 6 กลุ่มของ 74 เซลล์เรียงแนบขนานกัน[104][105] 6 กลุ่มจะถูกร้อยเป็นชุดภายในโมดูล (74 เซลล์ x 6 กลุ่ม = 444 เซลล์) = (444 เซลล์ x 16 ชุดภายในโมดูล = 7,104 เซลล์)[105][106] ในเดือนมิถุนายน 2555 แพ็คแบตเตอรีเป็นการใช้แบตเตอรีพานาโซนิค NCR18650A ขนาด 3100 mAh ที่มีแคโทดเป็นนิกเกิลโคบอลต์อะลูมิเนียม โดยมีการปรับแต่ง[107][108]
การเลือกใช้งานเซลล์แบตเตอรีที่ซื้อขายกันทั่วไปเช่นเดียวกับที่พบในโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ เป็นความแตกต่างจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของเจ้าอื่น ๆ ที่ใช้เซลล์แบตเตอรีลิเทียมพิเศษขนาดใหญ่[109] แพ็คแบตเตอรีระบายความร้อนด้วยของเหลว และใช้เจล intumescent เพื่อช่วยในการป้องกันไฟไหม้และการกระจายความร้อน[110]
การผลิตตัวรถ
[แก้]การทำฝาจากม้วนแผ่นอะลูมิเนียม
[แก้]98% ของตัวรถเทสลาโมเดล S ถูกผลิตโดยใช้อะลูมิเนียม[100] และจะถูกผลิตเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของแต่ละคันจากม้วนแผ่นอะลูมิเนียมระหว่าง 50 ถึง 60 ม้วน โดยม้วนแผ่นอะลูมิเนียมจะถูกคลายออก ทำให้แบนและตัดในเครื่องปั้มเจาะ (blanking machine) ในการตัดเพิ่มเติมเทสลายังใช้เครื่องตัดเลเซอร์ น้ำหนักรวมของอะลูมิเนียมที่ใช้ในรุ่น S อยู่ที่ประมาณ 410 ปอนด์ (190 กิโลกรัม)[90]
สายการผลิตต่อเนื่อง
[แก้]หุ่นยนต์ถ่ายโอนแผ่นโครงอะลูมิเนียมเข้าไปยังสายการผลิตต่อเนื่อง ซึ่งแผ่นอะลูมิเนียมจะถูกปั้มขึ้นรูปเป็นชื้นส่วนต่าง ๆ ของรถ เครื่องปั้มไฮดรอลิกของบริษัท Schuler SMG เป็นเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือและใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก[28] มีแรงกดได้ถึง 11,000 ตันเพื่อสร้างแผงตัวถังรถ[100] โดยส่วนบนให้แรงกดได้ถึง 1,400 ตัน และส่วนล่างของเครื่องให้แรงกด 130 ตัน แผ่นอะลูมิเนียมจะถูกยืดออกเหนือแม่พิมพ์ (draw die) ที่ส่วนล่างของเครื่อง และช่องเปิดจะถูกเจาะโดยหุ่นยนต์ในระหว่างส่งแผงตัวถังไปต่อในกระบวนการ คนงานตรวจสอบแต่ละแผงเพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้อง ชิ้นส่วนจะถูกซ้อนกันในเฟรมและเก็บไว้ เครื่องปั้มกดชิ้นส่วน 1 ชิ้นในทุก 6 วินาทีและผลิตได้ 5,000 ชิ้นต่อวัน[90]
การติดตั้งส่วนของการขับเคลื่อน
[แก้]รถจะถูกยกขึ้นและส่วนของการขับเคลื่อนถูกติตตั้งเข้ากับแกนล้อหลัง ส่วนของการขับเคลื่อนจะให้กำลังโดยตรงไปยังล้อโดยปราศจากเพลาส่งกำลัง[100]
การติดตั้งแพ็คแบตเตอรี
[แก้]แพ็คแบตเตอรีหนักเกือบ 1,200 ปอนด์ (540 กิโลกรัม) ซึ่งถูกส่งไปยังบริเวณติดตั้ง จะถูกติดตั้งในรถโดยใช้อุปกรณ์ยกทำการวางแบตเตอรีบนพื้นห้องโดยสาร ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแรงและความแข็งแกร่งให้กับรถและลดจุดศูนย์ถ่วงของรถลงถึง 18 นิ้ว (46 ซม.)[100][111][112] แผ่นไทเทเนียมติดตั้งอยู่เหนือแพ็คแบตเตอรีซึ่งช่วยป้องกันได้ในกรณีที่มีการชนกันที่ความเร็วสูง และเพื่อป้องกันเศษชิ้นส่วนที่กระเด็นมาจากถนน[113][114]
เหตุการณ์ความปลอดภัย
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน 2556 เกิดอุบัติเหตุเมื่อการกดขึ้นรูปอะลูมิเนียมความดันต่ำล้มเหลว การล้นหกของโลหะหลอมละลายถูกคนงานสามคนและทำให้เสื้อคลุมของพวกเขาเกิดลุกไหม้ เทสลาถูกลงโทษปรับ 89,000 เหรียญสหรัฐ โดยองค์กรความปลอดภัยและสุขอนามัยของการทำงานแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียสำหรับการละเมิดความปลอดภัย 7 ครั้ง และ 7 ข้อพิจารณาร้ายแรง[115]
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เทสลาบรรลุข้อยุติกับสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) เกี่ยวกับความบกพร่องในการจัดการขยะอันตรายในปี 2560 โดยเทสลาปล่อยให้ขยะอันตรายสะสมในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตเกิน 90 วัน EPA พบว่าเทสลาล้มเหลวในการ "ทำความสะอาดสีที่ติดไฟได้ง่ายและ/หรือส่วนผสมของตัวทำละลาย" ทิ้งถังสำหรับขยะอันตรายขนาด 55 แกลลอน (US-Gallon) สองถังไว้ในที่เปิดโดย "ไม่มีปะเก็นหรือกลไกการปิดล็อก" และละเมิดมาตรฐานการปล่อยมลพิษทางอากาศ ในสามเส้นทางที่ขยะเคลื่อนที่ผ่าน[116]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Baron, Ethan (2018-06-04). "Tesla fails in bid to push racism lawsuit into arbitration". The Mercury News. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
- ↑ 2.0 2.1 Sibley, Lisa (2010-10-27). "Tesla officially replaces NUMMI in Fremont".
- ↑ 3.0 3.1 "Tesla Motors Opens Tesla Factory - Home of the Model S" (Press release). Tesla Motors. 2010-10-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-18.
- ↑ "Tesla Motors press release - announcement of Albuquerque plant". Teslamotors.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
- ↑ Severns, Dave. "Tesla Motors blog post regarding Albuquerque decision". Teslamotors.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-17. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
- ↑ "The Albuquerque Tribune Editorial: Don't hold your breath on Tesla Motors plant". Abqtrib.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
- ↑ "Tesla to build electric car factory in Bay Area - San Jose Mercury News". Mercurynews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-20. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
- ↑ 8.0 8.1 O'Dell, John (2010-03-11). "Would-Be EV Maker's 'Plan' to Save NUMMI Auto Plant a Long Shot at Best". Green Car Advisor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-15. สืบค้นเมื่อ 2010-04-02.
Tesla had been wooed as a NUMMI tenant by politicians and economic development people .. But Tesla - which has all of about 550 employees and plans to ramp up to around 2,000 when it starts building its next vehicle in 2012, the Model S electric sedan - took a look at the costs involved and rejected the idea out of hand. The plant, said Straubel, is about 10 times the size of a facility Tesla would need to build even 20,000 cars a year.
- ↑ 9.0 9.1 Martin, Murilee (2017-03-08). "We visit the Tesla Factory, formerly Fremont Assembly and NUMMI". Autoweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 2017-04-08.
I spent a fair amount of time at NUMMI, and it seemed like a rackety, chaotic place on the production line .. Fast-forward 28 years, and the same facility is a brightly-lit, no-earplugs-needed, high-tech operation
- ↑ 10.0 10.1 "How Tesla Builds Electric Cars , Tesla Motors Part 2 (WIRED)". YouTube. WIRED. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
- ↑ "GM Nummi Plant". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-09.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 PUI-WING TAM (2010-10-21). "Idle Fremont Plant Gears Up for Tesla". Wall Street Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
Parts of the Fremont facility will be mothballed since Tesla is only using a fraction of the space. "When Nummi said it would close, the land was dead," says Fremont Mayor Bob Wasserman. When Tesla announced its Nummi deal in May, he says, "the land became alive" again
- ↑ Donato-Weinstein, Nathan (2016-06-15). "Toll Brothers buys land near Fremont Warm Springs BART station". Silicon Valley Business Journal. US. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ "Mission/Warren Area Improvements". Santa Clara Valley Transportation Authority. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ Donato-Weinstein, Nathan (2013-07-19). "Tesla Motors buys test track in 35-acre deal". Silicon Valley Business Journal. US. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ 16.0 16.1 "Tesla Motors (TSLA) Earnings Report: Q1 2015 Conference Call Transcript". TheStreet. 2015-05-07. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
- ↑ BUREAU, SEAN WHALEY LAS VEGAS REVIEW-JOURNAL CAPITAL (2016-03-18). "Tesla officials show off progress at Gigafactory in Northern Nevada". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-03.
- ↑ Lindsay Riddell (2010-04-20). "Tesla to buy NUMMI plant, build cars with Toyota". San Francisco Business Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-21.
- ↑ "Tesla Wants NUMMI Operational By 2012". KVTU.com. 2010-05-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-23. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ Baker, David R. (2010-04-28). "Tesla paid only $42 million for Nummi plant". San Francisco Gate.
- ↑ Jerry Hirsch (2015-05-30). "Three companies, $4.9 billion in government support". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
- ↑ "Musk defends receiving $4.9 billion in government support for Tesla, SolarCity and SpaceX". RT English. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
- ↑ 23.0 23.1 John Boudreau (2012-06-22). "In a Silicon Valley milestone, Tesla Motors begins delivering Model S electric cars". San Jose Mercury News. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
- ↑ "New United Motor Manufacturing Appraisals". Maynards. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
- ↑ Ohnsman, Alan (2011-09-18). "Toyota gave old robots new tools to trim U.S. Camry price 2%". Automotive News. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
Along with the production robots transferred to Toyota's Georgetown, Ky., plant that makes most of the Camrys sold in North America, Nummi equipment was also acquired by Toyota's San Antonio plant and electric-car maker Tesla Motors Inc.
- ↑ Hull, Dana (2010-09-16). "2010: Tesla gets ready to take over the former NUMMI auto plant in Fremont". The Mercury News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-05.
The entire NUMMI facility covers about 370 acres. Tesla is buying 210 acres, a parcel that contains several buildings that have approximately 4.7 million square feet of floor space. NUMMI’s existing press line will be taken apart and sent to Toyota’s plant in Blue Springs, Miss.
- ↑ "Tesla Motors Reports Fourth Quarter And Full Year 2010 Results". TheStreet. 2011-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2018. สืบค้นเมื่อ 2014-09-18.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 "Can Tesla become a bigger company with Model S electric car? That's Elon Musk's gamble". Autoweek.com. Autoweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.
- ↑ "Tesla Inside Out — Tesla History From 7-Year Insider". CleanTechnica. 9 November 2019.
2012, he noted how empty and “post-apocalyptic” the Fremont factory seemed. Tesla was only using about 10% of the space
- ↑ 30.0 30.1 Loveday, Eric (2014-04-28). "Tesla Motors Fremont Factory Usage Now Almost At 50%". InsideEVs (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Tesla Motors building the world's most advanced paint shop – with Eisenmann technology" (Press release). Eisenmann. 2015-03-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-05. สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
- ↑ "Tesla Motors Model 3 Equipment "Already Online" at Fremont Factory". The Country Caller. 2016-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-13. สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
- ↑ "Paint Shop Detection and Suppression Systems - 3S Incorporated". สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
- ↑ "Tesla Factory". Teslamotors.com. สืบค้นเมื่อ 2015-03-08.
- ↑ "Brand New Tesla Factory". National Geographic. 2012. สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.
- ↑ Loveday, Eric (2014-04-22). "Tesla Acquires 431,000 Square Foot Facility In Lathrop, California - Begins "Manufacturing Modifications" Of Site". InsideEVs (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Tesla Motors (TSLA) Earnings Report: Q1 2015 Conference Call Transcript". TheStreet. 2015-05-07. p. 12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
- ↑ "Tesla Motors (TSLA) Elon Reeve Musk on Q1 2015 Results - Earnings Call Transcript". Seeking Alpha. 2015-05-07. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ Lucas, Scott (2017-03-24). "Tesla seals the deal on East Bay's largest industrial lease ever". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.
It leased 1.3 million square feet spread across three buildings
- ↑ 40.0 40.1 Master plan Tesla, Warm Springs. Summer 2016 Archive
- ↑ "Tesla's new long-range plan could double size of Fremont factory". San Francisco Chronicle. 2016-10-07. สืบค้นเมื่อ 2016-10-08.
- ↑ "Lennar plans huge R&D, housing complex at Warm Springs 'innovation district' near Tesla plant in Fremont". San Francisco Business Times. 2016-04-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-13. สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
- ↑ 43.0 43.1 "Tesla factory launches expansion that could double its size". East Bay Times. 2017-08-11. สืบค้นเมื่อ 2017-08-21.
- ↑ Stumpf, Rob. "Tesla Continues Growth to Double its Fremont Plant in Size". The Drive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-21.
- ↑ Baker, David R. (2012-06-22). "Tesla starts delivery out of former Nummi plant". The San Francisco Chronicle.
- ↑ "Peek Inside Tesla's Robotic Factory". Wired. 2013-07-16. สืบค้นเมื่อ 2014-12-31.
- ↑ Campbell, Angela (2016-06-09). "Tesla Motors Inc Workers Being Contacted by UAW For Union Formation". The Country Caller. US. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-16. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ Hansen, Louis (2017-10-13). "Tesla fires hundreds after company-wide performance reviews". The Mercury News. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
- ↑ Dellinger, AJ. "Tesla Will Lock Out Contractors on Monday Unless Employees Vouch For Them". Gizmodo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
- ↑ Lambert, Fred (2018-05-06). "Tesla starts brutal review of contractors, firing everyone that is not vouched for by an employee". Electrek. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
- ↑ "PHOTOS: Inside Tesla's Model S Alpha Workshop". gigaom.com. 2011-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-04. สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.
- ↑ Squatriglia, Chuck (2011-01-06). "Tesla Wants Some Engineering Cred". Wired.com.
- ↑ Ohnsman, Alan (2010-03-07). "Tesla Model S Assembly to Begin With Highest-Priced Version". Bloomberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
- ↑ "Tesla Model S assembly to begin with highest-priced version". Automotive News. 2011-03-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-09. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
- ↑ Blankenship, George (2012-08-21). "Inside Tesla". Tesla Motors. สืบค้นเมื่อ 2012-08-24.
- ↑ Tesla Motors (2012-11-05). "Tesla Motors, Inc. – Third Quarter 2012 Shareholder Letter". Tesla Motors. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2016. สืบค้นเมื่อ 2012-12-01.
- ↑ Domenick Yoney (2013-02-20). "Tesla delivered 2,650 Model S EVs last year, Musk confident of profit in Q1 and beyond". Autoblog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-17. สืบค้นเมื่อ 2013-03-10. Around 2,650 Model S cars were delivered in the U.S. during 2012.
- ↑ Michael Graham Richard (2013-01-30). "Tesla Reaches 20,000 Unit Production Rate Annually for Model S". treehugger.com. สืบค้นเมื่อ 2013-02-05.
- ↑ "Make Way for Kilowatts: A Growing-Up Year for Plug-Ins". New York Times. 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ 2012-12-24.
- ↑ Ashlee Vance (2014-02-19). "Tesla's Stock Remains Electric on Higher Sales Forecast". Bloomberg Businessweek. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19.
- ↑ Antony Ingram (2013-12-18). "Tesla To Add Production Capacity For 35,000 More Electric Cars". greencarreports.com. สืบค้นเมื่อ 2013-12-18.
- ↑ Jerry Hirsch (2014-02-19). "Tesla Motors ends year with higher sales but still a big loss". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-24. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19. A total of 22,477 Model S sedans were sold in 2013.
- ↑ Tesla Motors (2014-05-07). "First Quarter 2014 Shareholder Letter" (PDF). Tesla Motors. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-01.
- ↑ Gordon-Bloomfield, Nikki (2015-05-06). "Tesla Motors Posts Q1 2015 Losses, Due to Strong Dollar, High Capital Expenditures. Hits 1,000 Car/Week Model S Production". Transport Evolved. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ Murph, Darren (2010-05-20). "Tesla lands sudden deal with Toyota, will build Model S sedan in Fremont NUMMI plant". Engadget. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
- ↑ Reynolds, Kim (2014-11-03). "2015 Tesla Model S P85D First Test". Motor Trend. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "Tesla Motors (TSLA) Earnings Report: Q1 2015 Conference Call Transcript". TheStreet. 2015-05-07. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
- ↑ "Tesla idles Fremont production line for Model X upgrade". San Jose Mercury. 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ 2014-12-31.
- ↑ Blanco, Sebastion (2016-05-05). "With Model 3, Tesla will approach manufacturing in a new way". Autoblog. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ Field, Kyle (2015-12-19). "Tantalizing Tour of Tesla in Tilburg". CleanTechnica. สืบค้นเมื่อ 2017-01-08.
- ↑ "Tesla Delivers 11,507 Vehicles in Q2 of 2015". Tesla Motors. 2015-07-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-08.
- ↑ Lampert, Fred (2016-05-06). "Tesla's new Model 3 production plan will optimize access to the federal tax credit". Electrek. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ Lampert, Fred (2016-05-16). "Tesla applied for a $106 million tax break on $1.26 billion expansion of Fremont Factory for the Model 3". Electrek. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ Hogg, Rachael (2016-07-26). "Tesla's supply chain set for a surge". Automotive Logistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-12-20.
Getting from something like 50,000 to 500,000 units is a big, big step
- ↑ Hogg, Rachael (2016-05-11). "Tesla warns supply chain issues could scupper its growth plans". Automotive Logistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-12-20.
it has no experience in manufacturing vehicles at the volumes anticipated for the Model 3.. ..will need to develop “efficient, automated, low-cost manufacturing capabilities, processes and supply chains necessary to support such volumes”
- ↑ Tredway, Gareth (2016-11-08). "Tesla buys automated manufacturing specialist Grohmann". Automotive Logistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-12-20.
- ↑ Hogg, Rachael (2016-05-06). "Tesla: ramping up and stepping down". Automotive Logistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-17. สืบค้นเมื่อ 2016-12-20.
- ↑ Lambert, Fred (2016-12-20). "Tesla Model 3 on track for H2 2017, Model X production 'inconsistent', says TSLA analyst after meeting with management". Electrek. สืบค้นเมื่อ 2016-12-20.
- ↑ "Tesla Second Quarter 2016 Update" (PDF). shareholder.com. 2016-08-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2016-08-03.
- ↑ Wang, Robert Ferris, Christine (2016-08-03). "Tesla misses Wall Street targets, but logs gains in vehicle production". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2016-08-03.
- ↑ Hoge, Patrick (2016-08-04). "The Tesla Effect: How the cutting edge company became the most powerful engine in Bay Area manufacturing". BizJournal. สืบค้นเมื่อ 2016-08-05.
- ↑ Truong, Kevin (2016-11-11). "German automotive supplier signs massive lease near Tesla". San Francisco Business Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-11. สืบค้นเมื่อ 2016-11-11.
- ↑ McCall, Mark (January 2016). "Driving Economic Growth: ADVANCED TECHNOLOGY VEHICLES MANUFACTURING" (PDF).
- ↑ Shahan, Zachary (2019-04-22). "Tesla's Seat Heaven — Home Of Tesla's Cloud-Like Seats". CleanTechnica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-23.
- ↑ "China Focus: Back to work, enterprises gradually resume operation amid epidemic outbreak - Xinhua | English.news.cn". www.xinhuanet.com. Xinhua News Agency. 2020-02-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-19. สืบค้นเมื่อ 2020-07-16.
- ↑ Alvarez, Simon (17 March 2020). "Tesla China shares Giga Shanghai safety measures against COVID-19 virus". TESLARATI.
- ↑ Lambert, Fred (19 March 2020). "Tesla announces factory shutdown starting on March 24". Electrek.
- ↑ 88.0 88.1 "Tesla drops lawsuit against Alameda County over Fremont factory reopening". TechCrunch (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-20. สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Tesla tells employees Fremont factory has approval to restart this week". SFChronicle.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-18. สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
- ↑ 90.0 90.1 90.2 90.3 "How the Tesla Model S is Made , Tesla Motors Part 1". Wired.com. WIRED. สืบค้นเมื่อ 2015-04-01.
- ↑ Richard, Michael Graham (2014-11-21). "Tesla's factory upgrade: X-Men characters, climbing plants, giant robots, murals, etc". TreeHugger. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
- ↑ Shahan, Zachary (2014-11-18). "Tesla Robots Get X-Men Names". Clean Technica. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "At Tesla, Workers Team Up With Robot Superheroes". The Wall Street Journal. 2015-04-15. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ Rundle, Michael (2016-01-12). "Building Tesla: inside Elon Musk's car factory of the future". Wired. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
- ↑ "Tesla Motors (TSLA) Earnings Report: Q1 2015 Conference Call Transcript". TheStreet. 2015-05-07. p. 14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
- ↑ Edelstein, Stephen (2015-03-30). "Tesla pushes investors for a gigafactory in Japan". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 2015-05-21.
- ↑ "During summer factory upgrade, Tesla installed 10 of the largest robots in the world". electrek.co. Electrek. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.
- ↑ "Electric Car Quality Tests , Tesla Motors Part 3 (WIRED)". wired.com. WIRED. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
- ↑ Muoio, Danielle (2016-10-27). "Elon Musk: Tesla's factory will be an 'alien dreadnought' by 2018". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
- ↑ 100.0 100.1 100.2 100.3 100.4 100.5 100.6 100.7 100.8 "How Its Made Dream Cars Season 02 Episode 10 Tesla Model S". How Its Made. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
- ↑ Avron, Alex (11 February 2019). "Is Tesla's production creating a SiC MOSFET shortage?". PntPower. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
- ↑ Musk, Elon (2013-10-04). "Model S Fire". Tesla Motors. สืบค้นเมื่อ 2014-02-20.
- ↑ Cunningham, Wayne (2010-10-06). "Tesla Model S: The battery pack". C|Net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-02-20.
- ↑ stopcrazypp. "NHTSA Opened Up the Model S Battery Pack – Pics". Tesla Motors Club Forum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2015. สืบค้นเมื่อ 2014-02-20.
We know from the diagnosis screen that the 85 kWh pack has 16 modules with 6 groups in series (so 96 groups in series)
- ↑ 105.0 105.1 US8,286,743 (2012-10-16) Rawlison, Peter Dore, Vehicle Battery Pack Ballistic Shield.
- ↑ Beltran, Balbino A.; Dunlap, Michael L.; Richardson, Frank D. (2013-08-07). "REPORT NUMBER: NCAP305I-KAR-13-054 NEW CAR ASSESSMENT PROGRAM (NCAP) FMVSS NO. 305 INDICANT TEST TESLA MOTORS, INC. 2013 TESLA MODEL S 5-DOOR HATCHBACK NHTSA NUMBER: MD5001". U.S. Department of Transportation, National Highway Safety Adminitstration. p. A-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-26. สืบค้นเมื่อ 2014-02-20.
- ↑ "Charge your Model S - Adapter Guide, High Power Charging, and Supercharge". Tesla Motors. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
- ↑ Chris Woodyard (2012-06-23). "First Drive: Tesla's Model S electric is spectacular". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2012-06-24.
- ↑ Fisher, Thomas. "What Goes Into A Tesla Model S Battery--And What It May Cost". www.greencarreports.com. Green Car Reports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 2015-03-25.
- ↑ "US8263254B2 – Cell with an outer layer of intumescent material". 2012-09-11.
- ↑ Roper, L. David. "Tesla Model S Data". สืบค้นเมื่อ 2015-04-05.
- ↑ Biello, David (2013-09-23). "How Tesla Motors Builds One of the World's Safest Cars [Video]". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
- ↑ George, Patrick (2014-03-28). "The Tesla Model S: Now With Road Debris-Crushing Titanium!". Jalopnik. Gawker Media. สืบค้นเมื่อ 2014-03-31.
- ↑ Blanco, Sebastian (2014-03-28). "Tesla adds free titanium underbody shields to Model S to prevent fires". Autoblog Green. AOL Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-03-31.
- ↑ "Tesla Motors faces $89,000 in fines for incident that injured workers at Fremont facility". San Jose Mercury News. 2014-05-01. สืบค้นเมื่อ 2014-12-31.
- ↑ "Tesla / EPA settlement for hazardous materials violation | Resource Conservation And Recovery Act | Hazardous Waste". Scribd (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 3, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Tesla Factory
- "Brand New Tesla Factory" โดยเนชั่นแนลจีโอกราฟิกแชนแนล