ข้ามไปเนื้อหา

โรคนิวโมคอคคัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรคนิวโมคอคคัส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี” ซึ่งทำให้มีอัตราการเกิดโรคปอดบวมสูง ชื่อของเชื้อนี้ถูกค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881 ต่อมาได้มีการค้นพบยาเพนนิซิลิน ที่ใช้รักษาโรคนี้ได้เป็นอย่างดีในปี 1940 แต่ในระยะหลังเชื้อเกิดอาการดิ้อยาชนิดนี้ และยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆด้วย ทำให้ยากต่อการรักษา เชื้อนิวโมคอคคัส สามารถพบได้ทุกแห่ง ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในโพรงจมูกและคอของคนทั่วไป บางคนอาจจะมีเชื้อนี้แต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งเรียกว่าพาหะ เชื้อสามารถแพร่กระจายสู่บุคคลอื่นได้ เหมือนโรคไข้หวัด โดยการ ไอ จาม หรือทางอื่นๆที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายออกมาเป็นละออง สิ่งสำคัญที่เป็นตัวการในการติดเชื้อส่วนใหญ่คือ มือ ดังนั้น การล้างมือบ่อยๆก็เป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง ชื้อนิวโมคอคคัส สามารถทำให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่างๆได้ อาทิเช่น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดบวม โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายมากในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เป็นต้น กลุ่มบุคคลส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้จะเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ที่ตัดม้ามออกหรือม้ามทำงานผิดปกติ

โรคนี้สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาเพนนิซิลิน แต่ปัจจุบันเชื้อดื้อยามากขึ้น ทำให้การรักษาโดยใช้ยาตัวใหม่จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ดังนั้น การป้องกัน ไม่ให้ร่างกายได้รับเชื้ออาจเป็นวิธีที่ได้ผลสูง และ อีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้ก็คือ การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

อ้างอิง

[แก้]
  • วารสารแจกฟรีโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์, สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, ศูนย์ภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน