โมฮัมเมดัน
โมฮัมเมดัน (อังกฤษ: Mohammedan บางครั้งสะกดเป็น Muhammadan, Mahommedan, Mahomedan หรือ Mahometan) เป็นคำเรียกผู้ติดตามมุฮัมมัด ศาสดาในศาสนาอิสลาม[2] มันถูกใช้ทั้งคำนามและคำคุณศัพท์ที่หมายถึงสิ่งที่อยู่ในหรือมีความสัมพันธ์กับมุฮัมมัด หรือศาสนา หลักคำสอน สถาบัน และการปฏิบัติที่ท่านก่อตั้งขึ้น[3][4] คำนี้เคยใช้โดยทั่วไปในอดีต แต่ปัจจุบันใช้คำว่า มุสลิม และ ศาสนาอิสลาม แทน แม้ว่าบางครั้งมุสลิมบางคนใช้คำนี้ ส่วนใหญ่พิจารณาว่าคำนี้เป็นการเรียกชื่อผิด (misnomer)
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดได้บันทึกคำนี้ใน ค.ศ. 1663 การสะกดแบบเก่าว่า มาโฮเมตัน (Mahometan) สามารถสืบได้ถึง ค.ศ. 1529 คำนี้มาจากภาษาละตินใหม่ว่า Mahometanus ที่มาจากภาษาละตินยุคกลางว่า Mahometus แปลว่า ผู้ติดตามมุฮัมมัด[5]
ในยุโรปตะวันตกช่วงศตวรรษที่ 13 หรือใกล้เคียง ชาวคริสต์บางส่วนเชื่อว่ามุฮัมมัดอาจเป็นได้ทั้งชาวคริสต์ที่เป็นพวกนอกรีตหรือเป็นพระเจ้าที่สักการะโดยมุสลิม[6] วรรณกรรมยุโรปในยุคกลางบางส่วนกล่าวถึงมุสลิมว่าเป็น "พวกนอกศาสนา" หรือตามชื่อเล่น เช่น "paynim foe" (ศัตรู) เช่นใน Song of Roland แสดงภาพมุสลิมอธิษฐานต่อ "เทวรูป" ได้แก่ อะพอลโล, ลูซิเฟอร์, เทอร์มาแกนต์ (Termagant)[7] และมาเฮาน์ด (Mahound) เมื่ออัศวินเทมพลาร์ถูกกล่าวว่าเป็นพวกนอกรีต เพราะมักมีการอ้างว่าพวกเขาสักการะปีศาจบาโฟเมต ซึ่งมีชื่อคล้ายกับ "มาโฮเหม็ด" (Mahomet) เป็นชืื่อมุฮัมมัดที่ถูกแปลงเป็นอักษรละติน และอักษรละตินเป็นภาษากลางของยุโรปส่วนใหญ่เป็นเวลาอีก 500 ปี[6]
ตัวอย่างเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นใน "ช่วงเวลาแห่งความโกรธ" ของข้อขัดแย้งระหว่างมุสลิม–คริสเตียน ในขณะที่ยุโรปยุคกลางเริ่มกังวลเกี่ยวกับศัตรูที่ยิ่งใหญ่ซึ่งประสบความสำเร็จในการพิชิดดินแดนหลังจากจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย เช่นเดียวกันกับการไม่มีข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับฝั่งตะวันออกที่ลึกลับของชาวตะวันตก[8]
เลิกใช้
[แก้]คำนี้ถูกแทนที่ด้วยคำว่า มุสลิม (Muslim, อดีตเคยทับศัพท์เป็น Moslem) หรือ อิสลามิก (Islamic) โมฮัมเมดัน เคยใช้ในวรรณกรรมยุโรปโดยทั่วไปจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960[9] มุสลิม เป็นคำที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และคำว่า โมฮัมเมดัน ส่วนใหญ่ถือว่าเป็นคำโบราณหรือในบางเคสถือเป็นคำที่น่ารังเกียจ[10]
การคัดค้านของมุสลิม
[แก้]มุสลิมสมัยใหม่บางคนคัดค้านคำนี้[11] โดยกล่าวว่ามุฮัมมัดไม่ได้เรียกตนหรือผู้ติดตามช่วงแรกด้วยคำนี้ และศาสนาสอนให้สักการะพระเจ้าเพียงองค์เดียว (ดู ชิรก์ กับ เตาฮีด) ไม่ใช่มุฮัมมัดหรือศาสดาคนอื่นของพระเจ้า ดังนั้น มุสลิมสมัยใหม่เชื่อว่า "โมฮัมเมดัน" เป็นการเรียกชื่อผิด "ซึ่งพวกเขาคิดว่าเป็นการสักการะโมฮัมเหม็ด เหมือนกับชาวคริสต์ที่สักการะพระคริสต์"[12] เช่นเดียวกันกับคำว่า อัลมุฮัมมะดียะฮ์ (ภาษาอาหรับของคำว่าโมฮัมเมดัน) มักใช้ในบางกลุ่มลัทธิในศาสนาอิสลามที่ถือว่าเป็นพวกนอกรีต[13][14]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Error's chains: how forged and broken. A complete, graphic, and comparative history of the many strange beliefs, superstitious practices, domestic peculiarities, sacred writings, systems of philosophy, legends and traditions, customs and habits of mankind throughout the world, ancient and modern". archive.org.
- ↑ John Bowker. "Muhammadans". The Concise Oxford Dictionary of World Religions. 1997. p. 389.
- ↑ -Ologies & -Isms. Copyright 2008 The Gale Group, Inc.
- ↑ Webster's Revised Unabridged Dictionary, edited by Noah Porter, published by G & C. Merriam Co., 1913
- ↑ A concise etymological dictionary of the English language, By Walter William Skeat
- ↑ 6.0 6.1 Kenneth Meyer Setton (1 July 1992). "Western Hostility to Islam and Prophecies of Turkish Doom". DIANE Publishing. ISBN 0-87169-201-5. pg 4–15 – "Some Europeans believed that Moslems worshipped Mohammed as a god,[...]" (4)
- ↑ Brewer's Dictionary of Phrase and Fable, "Termagant
- ↑ Watt, Montgomery,Muhammad: Prophet and Statesman. Oxford University Press, 1961. from pg. 229
- ↑ See for instance the second edition of A Dictionary of Modern English Usage by HW Fowler, revised by Ernest Gowers (Oxford, 1965)
- ↑ The American Heritage Dictionary of the English Language, Fourth Edition (2000) annotates the term as "offensive". The OED has "its use is now widely seen as depreciatory or offensive", referring to English Today no. 39 (1992): "The term Mohammedan [...] is considered offensive or pejorative to most Muslims since it makes human beings central in their religion, a position which only Allah may occupy". Other dictionaries, such as Merriam-Webster, do not label the term as offensive.
- ↑ see e.g. Mohammedanism a Misnomer[ลิงก์เสีย], by R. Bosworth Smith, Paul Tice; Definition of Mohammedanism, เก็บถาวร 7 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Farlex Encyclopedia; What does Islam mean?, Islamic Bulletin
- ↑ Gibb, Sir Hamilton (1969). Mohammedanism: an historical survey. Oxford University Press. p. 1.
Modern Muslims dislike the terms Mohammedan and Mohammedanism, which seem to them to carry the implication of worship of Mohammed, as Christian and Christianity imply the worship of Christ.
- ↑ JOHN BOWKER. "Muhammadans." The Concise Oxford Dictionary of World Religions. 1997. Retrieved 8 June 2012
- ↑ Strothmann, R.. " al-Muḥammadīya." Encyclopaedia of Islam, First Edition (1913-1936). Brill Online, 2012. 8 June 2012