ข้ามไปเนื้อหา

โพลาไรเซชันแบบเส้นตรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงสนามไฟฟ้าของคลื่นแสง (สีน้ำเงิน) ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเส้นตรงเมื่อมองบนรถนาบที่ตั้งฉากกับทิศการแผ่ (เส้นสีม่วง) และประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วนซึ่งตั้งฉากกันและเฟสตรงกัน (คลื่นสีแดงและสีเขียว)

ในทางทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า โพลาไรเซชันแบบเส้นตรง หรือ โพลาไรเซชันเชิงเส้น (polarización lineal) ของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นโพลาไรเซชันในกรณีที่การสั่นของเวกเตอร์สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กอยู่ในแนวระนาบที่ตั้งฉากกับทิศทางของการแผ่

ทิศทางการจัดเรียงตัวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการโพลาไรซ์เป็นแบบเส้นตรงนั้นจะถูกนิยามโดยทิศทางของเวกเตอร์สนามไฟฟ้า[1] ตัวอย่างเช่น ถ้าเวกเตอร์สนามไฟฟ้าอยู่ในแนวตั้ง (ชี้ขึ้นและลงสลับกันเมื่อคลื่นเคลื่อนที่) รังสีนี้จะเรียกว่าโพลาไรซ์ในแนวตั้ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Jackson, John D. (1998). Classical Electrodynamics (3rd ed.). Wiley. ISBN 0-471-30932-X.
  • แอนิเมชันของโพลาไรเซชันแบบเส้นตรง (บน YouTube )
  • การเปรียบเทียบโพลาไรเซชันแบบเส้นตรงกับแบบวงกลมและวงรี
  1. Shapira, Joseph; Shmuel Y. Miller (2007). CDMA radio with repeaters. Springer. p. 73. ISBN 0-387-26329-2.