ข้ามไปเนื้อหา

โพรงกระต่ายวิกิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพอธิบายโพรงกระต่ายวิกิในเรื่องเกี่ยวกับทีเชิร์ต

โพรงกระต่ายวิกิ (อังกฤษ: wiki rabbit hole) หรือ หลุมดำวิกิ (อังกฤษ: wiki black hole)[1] เป็นเส้นทางการเรียนรู้ที่ผู้อ่านเดินทางด้วยการนำทางจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งขณะค้นหาในวิกิพีเดียและวิกิอื่น อุปมาของโพรงกระต่ายมาจากวรรณกรรม อลิซในแดนมหัศจรรย์ ใน ค.ศ. 1865 โดยลูอิส แคร์รอล ที่อลิซเริ่มต้นการผจญภัยด้วยการตามกระต่ายขาวเข้าไปในโพรง ส่วนอุปมาหลุมดำมาจากแนวคิดที่ว่า ผู้อ่านถูกดึงดูดเข้าไปในหลุมอย่างรุนแรงโดยที่พวกเขาหนีออกไปไม่ได้

หลังเรียนรู้หรือศึกษานอกวิกิพีเดีย ผู้คนจำนวนมากเข้าไปที่สารานุกรมออนไลน์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ดู จากนั้นจึงไปยังหัวข้อที่ห่างออกจากจุดเริ่มต้นเรื่อย ๆ[2] ภาพยนตร์ที่อิงจากบุคคลหรือเหตุการณ์ตามประวัติศาสตร์มักกระตุ้นผู้ชมให้สำรวจไปในโพรงกระต่ายวิกิ[3]

การแสดงภาพข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบทความวิกิพีเดียที่แสดงให้เห็นเส้นทางที่ผู้อ่านสามารถใช้นำทางจากหัวข้อหนึ่งไปอีกหัวข้อหนึ่ง[4] มูลนิธิวิกิมีเดียเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีที่ผู้อ่านเข้าสู่โพรงกระต่าย[5] พฤติกรรมการสืบค้นโพรงกระต่ายเกิดในวิกิพีเดียหลายภาษา[6]

ผู้ใช้วิกิพีเดียแบ่งปันประสบการณ์โพรงกระต่ายว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวิกิพีเดีย และในสื่อสังคม[7][8] ผู้คนบางส่วนเข้าไปในวิกิพีเดียเพื่อความสนุกในการหาโพรงกระต่าย[9][10] การสำรวจโพรงกระต่ายสามารถเป็นส่วนหนึ่งของวิกิเรสซิง[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stockton, Chrissy (January 4, 2014). "The 10 Best Wikipedia Black Holes For Curious People (Who Have No Impulse Control)". Thought Catalog.
  2. Yahr, Emily (January 4, 2018). "Do you fall down a Wikipedia rabbit hole after each episode of 'The Crown'? You're not alone". Washington Post.
  3. Beck, Lia (August 23, 2018). "13 Movies Based On True Stories With Wikipedia Rabbit Holes You'll Spend Hours On". Bustle.
  4. Li, Shirley (December 12, 2014). "WikiGalaxy: A Visualization of Wikipedia Rabbit Holes". The Atlantic.
  5. Allemandou, Joseph; Popov, Mikhail; Taraborelli, Dario (January 16, 2018). "New monthly dataset shows where people fall into Wikipedia rabbit holes – Wikimedia Blog". Diff, a Wikimedia community blog.
  6. Wang, Shan (March 16, 2018). "Why do people go to Wikipedia? A survey suggests it's their desire to go down that random rabbithole". Nieman Lab. Nieman Foundation for Journalism.
  7. "On Wikipedia's 15th birthday, Ars shares the entries that most fascinate us". Ars Technica. January 16, 2016.
  8. Howard, Dorothy (July 22, 2015). "Feed my Feed: Radical publishing in Facebook Groups". Rhizome. สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
  9. Bosch, Torie (January 25, 2018). "Rabbit Holes: Exploring the Wikipedia Page of "People Who Disappeared Mysteriously."". Slate Magazine.
  10. "10 Outrageous Wikipedia Articles That Will Send You Down a Rabbit Hole". Thrillist. April 30, 2020.
  11. "Down the Wikipedia Rabbit Hole: The Game! - On The Media - WNYC Studios". WNYC Studios. February 5, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]