ข้ามไปเนื้อหา

โปเกมอน ซอร์ด และ ชิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โปเกมอน ซอร์ดและชีลด์)


  • โปเกมอน ซอร์ด
  • โปเกมอน ชีลด์
หน้าปกกล่องเกมภาษาอังกฤษ แสดงภาพโปเกมอนในตำนานซาเซียนและซามาเซ็นตะ
ผู้พัฒนาเกมฟรีก
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท โปเกมอน จำกัด
นินเท็นโด
กำกับชิเงรุ โอโมริ
อำนวยการผลิตจุนอิจิ มาซูดะ
ศิลปินเจมส์ เทอร์เนอร์
แต่งเพลง
  • มินาโกะ อาดาจิ
  • โก อิจิโนเซะ
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นนินเท็นโด สวิตช์
นินเท็นโด สวิตช์ไลต์ [1]
วางจำหน่าย
แนววิดีโอเกมสวมบทบาท
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน

โปเกมอน ซอร์ด และ ชิลด์ (อังกฤษ: Pokémon Sword and Shield) หรือในชื่อภาษาญี่ปุน พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ซอร์ด และ ชิลด์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ソード・シールドโรมาจิPoketto Monsutā Sōdo Shīrudo) เป็นเกมสวมบทบาทที่พัฒนาโดยเกมฟรีกและจัดจำหน่ายโดยเดอะโปเกมอนคอมพานีร่วมกับนินเทนโดเมื่อ ค.ศ. 2019 จัดเป็นเกมตัวแรกในเกมชุดหลักรุ่นที่แปด และเป็นเกมที่สองที่จำหน่ายบนเครื่องวิดีโอเกมที่ไม่ใช่แบบพกพา ต่อจากโปเกมอน Let's Go! พิคาชู และ Let's Go! อีวุย วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 โดยแบ่งเป็น 2 เวอร์ชันด้วยกันคือ โปเกมอน ซอร์ด (อังกฤษ: Pokémon Sword) และ โปเกมอน ชิลด์ (อังกฤษ: Pokémon Shield)

ประวัติ

[แก้]

โปเกมอน ซอร์ด และ ชิลด์ เปิดตัวแบบชิมลางในงาน E3 2017 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการจากคลิป Pokémon Direct เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 โดยเครื่องหมายโลโก้ของ โปเกมอน ของเกมนี้ได้ใช้แบบอักษรเดียวกับเครื่องหมายโลโก้ของเวอร์ชันต่างประเทศ

นอกจากนี้ได้มีส่วนภาคเสริมสำหรับดาวน์โหลดอีก 2 ภาค ผ่านระบบเอ็กซ์แพนชันพาส ได้แก่ เกาะโดดเดี่ยวแห่งเกราะ (ญี่ปุ่น: 鎧の孤島โรมาจิYoroi no Kotō) และ ทุ่งหิมะแห่งมงกุฎ (ญี่ปุ่น: 冠の雪原โรมาจิKanmuri no Setsugen)

ระบบการเล่น

[แก้]

เนื้อหาใหม่

[แก้]
ไดแม็กซ์ และ เคียวไดแม็กซ์ (ダイマックスとキョダイマックス, Dynamax and Gigantamax)
ปรากฏการณ์แปลกประหลาดที่เกิดขึ้นในสถานที่เฉพาะของภูมิภาคกาลาร์ มันมีความสามารถที่จะทำให้โปเกมอนขยายร่างใหญ่มหึมาด้วย ไดแม็กซ์แบนด์ เป็นสายรัดข้อมือที่ทำให้เทรนเนอร์สามารถใช้ไดแมกซ์ได้ แต่หลังจาก 3 ตาผ่านไปโปเกมอนจะกลับไปอยู่ในร่างปกติ นอกจากนี้มีท่าไม้ตายเฉพาะของไดแม็กซ์เรียกว่า ท่าไดแมกซ์ (ダイマックスわざ, Max Move) ท่าพิเศษที่จะเปลี่ยนท่าปกติให้ทรงพลังยิ่งขึ้น[2]
ส่วนเคียวไดแม็กซ์เป็นปรากฏการณ์พิเศษที่มีความสามารถที่จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ของโปเกมอนให้แตกต่างจากร่างปกติ ซึ่งจะคล้ายกับวิวัฒนาการร่างเมก้า แต่โปเกมอนที่อยู่ในร่างเคียวไดแมกซ์นั้นจะตัวใหญ่ขึ้นอยู่เช่นเดียวกับไดแมกซ์ โปเกมอนหายากและโปเกมอนบางชนิดเท่านั้นที่จะใช้เคียวไดแม็กซ์ได้ และมีท่าไม้ตายเฉพาะเรียกว่า ท่าเคียวไดแม็กซ์ (キョダイマックスわざ, G-Max Move) ซึ่งเป็นท่าพิเศษเฉพาะของโปเกมอนที่อยู่ในร่างเคียวไดแม็กซ์เท่านั้น ซึ่งไดแม็กซ์ไม่สามารถใช้ได้[3]
ไวลด์แอเรีย (ワイルドエリア)
พื้นที่หนึ่งในภูมิภาคกาลาร์ที่ผู้เล่นสามารถบังคับทิศทางกล้องได้อย่างอิสระและเต็มไปด้วยโปเกมอนป่า ซึ่งโปเกมอนป่าเหล่านี้จะเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ เช่น เมื่อฝนตกผู้เล่นจะได้เห็นโปเกมอนธาตุน้ำจำนวนมาก, เมื่อพายุฟ้าคะนองจะพบเจอกับโปเกมอนธาตุสายฟ้า เป็นต้น[4]
แม็กซ์เหรดแบทเทิล (マックスレイドバトル, Max Raid Battle)
ระบบโปเกมอนแบทเทิลรูปแบบใหม่ ในโหมดนี้ผู้เล่นจะสามารถร่วมมือกับผู้เล่นอื่นจำนวน 3 คนเพื่อทำการต่อสู้กับโปเกมอนป่าที่อยู่ในร่างไดแมกซ์ ซึ่งโปเกมอนป่าดังกล่าวนี้จะอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า โปเกมอนเดน มันจะเป็นตัวปล่อยเสาแสงสีแดงที่อยู่ในพื้นที่ไวลด์แอเรีย ผู้เล่นจะต้องโต้ตอบกับเสาแสงนั้นเพื่อเริ่มแม็กซ์เหรดแบตเทิล[5][6][7]
โปเกมอนแคมป์ (ポケモンキャンプ, Pokémon Camp)
ผู้เล่นสามารถตั้งค่ายไปพร้อมกับโปเกมอนที่ผู้เล่นมีอยู่ รวมทั้งทำแกงกะรี่เข้ามา ซึ่งรสชาติและผลของแกงนี้จะเปลี่ยนไปตามส่วนผสมที่ใช้ และยังมีหนังสือภาพแกงกะหรี่อีกด้วย และในไวลด์แอเรียสามารถเข้าร่วมในแคมป์ของผู้เล่นคนอื่นและเพลิดเพลินกับการโต้ตอบกับผู้คนได้ถึง 4 คน [8]
โปเกจ็อบ (ポケジョブ, Poké Job)
ผู้เล่นสามารถส่งโปเกมอนไปทำงานเพื่อหาประสบการณ์และไอเทมหายาก[9]
การ์ดเมคเกอร์ (カードメーカー)
ผู้เล่นสามารถสร้างการ์ดของผู้เล่นได้ โดยการ์ดผู้เล่นถูกเรียกว่าลีคการ์ด โดยเป็นการ์ดที่โปเกมอนเทรนเนอร์ในภูมิกาลาร์มีอยู่ติดตัว มีความคล้ายคลึงกับเทรนเนอร์การ์ดและเทรนเนอร์พาสปอร์ตที่อยู่ในภูมิภาคอื่น ผู้เล่นสามารถปรับแต่ง, สะสมการ์ดจากเทรนเนอร์ในเกมและแลกเปลี่ยนการ์ดกับผู้เล่นคนอื่น โดยการ์ดเหล่านี้จะแสดงตอนที่ลิงก์แบทเทิลกับผู้เล่นอื่น[10]

ความเข้ากันได้

[แก้]

โปเกมอนที่อยู่ในภูมิภาคกาลาร์จะสามารถถ่ายโอนไปยังเกมจากนินเท็นโด 3ดีเอส โปเกมอน แบงก์, โปเกมอน โก, โปเกมอน เล็ตส์โกพิคาชู!, และโปเกมอน เล็ตส์โกอีวุย ผ่านบริการโปเกมอน โฮม[11][12]

เอ็กแพนชันพาส

[แก้]

สำหรับเกมโปเกมอนได้มีส่วนของ เนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้ (DLC) โดยเพิ่มส่วนเนื้อหาของเกม, เพิ่มพื้นที่ในแต่ละสถานที่ และ โปเกมอนที่ปรากฏตัว

เกาะโดดเดี่ยวแห่งเกราะ (鎧の孤島)
เปิดดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2020 เพิ่มพื้นที่ใหม่คือ เกาะโยโรอิ (ヨロイ島) และได้พบตัวละครในเนื้อหานี้นั่นก็คือ มัสตาร์ด อดีตแชมป์เปี้ยนภูมิภาคกาลาร์
ทุ่งหิมะแห่งมงกุฎ (冠の雪原)
เปิดดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2020 เพิ่มพื้นที่ใหม่คือ ทุ่งหิมะคันมุริ (カンムリせつげん) และได้พบตัวละครในเนื้อหานั่นก็คือ ชาคุยะ และ พิโอนี

ตัวละคร

[แก้]

ตัวละครหลัก

[แก้]
ตัวเอก
ศจ. แม็กโนเลีย (マグノリア博士)
โซเนีย (ソニア)
แดนดี้ (ダンデ)
ฮ็อป (ホップ)
แมรี่ (マリィ)
บีท (ビート)

ยิมลีดเดอร์

[แก้]
ยาโร (ヤロー)
รูรินะ (ルリナ)
คาบู (カブ)
ไซโต (サイトウ)
ออเนียน (オニオン)
โปปุระ (ポプラ)
มาคุวะ (マクワ)
เมลอน (メロン)
เนสึ (ネズ)
คิบานะ (キバナ)

ตัวละครอื่นๆ

[แก้]
โรส (ローズ)
โอลีฟ (オリーヴ)
ช็อด & ชิลดี้ (ソッド&シルディ)
ดร. วาคัทส์ (ウカッツ博士)

ตัวละครที่มาจากเนื้อหาเสริม

[แก้]
มัสตาร์ด (マスタード)
คุราระ (クララ)
เซย์โบลี่ (セイボリー)
มิสึบะ (ミツバ)
พิโอนี (ピオニー)
ชาคุยะ (シャクヤ)

โครงเรื่อง

[แก้]

ฉาก

[แก้]

ซอร์ด และ ชีลด์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคกาลาร์ (ญี่ปุ่น: ガラル地方โรมาจิGalar-chihō; อังกฤษ: Galar) ดินแดนกว้างใหญ่ที่ครอบคลุมไปด้วยภูเขาและปกคลุมไปด้วยเมฆซึ่งเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ภูมิภาคในโลกของโปเกมอน ชิเงรุ โอโมริได้บรรยายว่าเป็นฉากที่ทันสมัยมากขึ้น[13]ภูมิภาคและสถานที่สำคัญหลายแห่งดูเหมือนจะได้รับแรงบันดาลใจจากเกาะบริเตนใหญ่เช่น บิกเบน, พระราชวังเวสต์มินสเตอร์, และเนินเขาที่คล้ายกับยักษ์เซิร์นอับบาส[14][15] หมู่บ้านและเมืองในภูมิภาคมีโปเกมอนยิมที่เหมือนสนามฟุตบอล ภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะล้อมรอบพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของภูมิภาค[13]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ผู้เล่นเริ่มต้นการเดินทางเพื่อที่จะเป็นผู้ฝึกโปเกมอนที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคกาลาร์ด้วยกันกับเพื่อนบ้านและคู่แข่งทั้งสามคนตามลำดับ ฮอป[a] เป็นน้องชายของแชมเปียนแดนดี้ เขามีเป้าหมายที่จะจะเป็นแชมเปียนให้ได้เหมือนพี่ชาย[16], บีต[b] เป็นคู่แข่งที่เชียวชาญในโปเกมอนแบตเทิลและนอกจากอยากจะเป็นแชมเปียนยังมีเป้าหมายอื่นแอบแฝงอยู่[17], มารี[c] เป็นคู่แข่งที่คำนวณกลยุทธ์ในการแบตเทิลและมีนิสัยที่เยือกเย็นเลยทำให้มีกลุ่มแฟนคลับคอยติดตามที่เป็นกลุ่มองค์กรชั่วร้ายที่ชื่อ แก๊งเยลล์[d][18] ซึ่งจะออกเดินทางเพื่อจะที่เป็นแชมเปียนไปพร้อมกับโปเกมอนคู่ใจโมรุเปโกะ[e][19] ตอนเริ่มต้นผู้เล่นและฮอปจะได้รับหนึ่งในสามโปเกมอนจากศาสตราจาร์ยแมกโนเลีย[f][20] หลังจากนั้นผู้เล่นและคู่แข่งทั้งสามจะได้รับจดหมายรับรองจากแชมเปียนแดนดี้[g] ซึ่งจะสามารถเข้าร่วม "ยิมชาเลนจ์"[h] เป็นมหกรรมของโปเกมอนแบตเทิลอย่างแท้จริง ผู้เล่นกับคู่แข่งต้องเผชิญหน้ากับยิมลีดเดอร์ในแต่ละเมืองที่เป็นผู้เชี่ยวชาญโปเกมอนในแต่ละชนิดเช่น ยาร์โรว[i], รูรินะ[j], ไซโต[k][Sword 1] และโอเนี่ยน[l][Shield 1][21][22] และมีเป้าหมายที่จะเข้าร่วมในการแข่งขัน "แชมเปียนคัพ"[m] ในแต่ละปีในภูมิภาคกาลาร์เพื่อเฟ้นหาผู้ที่จะคุณสมบัติที่จะท้าประลองแชมเปียนและเอาแชมป์ไปครอง เทรนเนอร์ที่จะเข้าร่วมได้ต้องสะสมเหรียญตราให้ครบ 8 ชิ้น ซึ่งการแข่งขันจะถูกถ่ายถอดสดไปทั่วภูมิภาคกาลาร์[21][23]

ประธานโรส[n] เป็นประธานของกาลาร์โปเกมอนลีกและยังเป็นประธานของกลุ่มธุรกิจในเครือขนาดใหญ่ เขาเป็นคนที่ทำให้ภูมิภาคกาลาร์มีชื่อเสียงไปทั่วโลกโดยการทำให้ยิมแบตเทิลเต็มไปด้วยปรากฏการณ์ไดแมกซ์[23] โอลีฟ[o] เป็นรองประธานของบริษัทประธานโรสซึ่งส่วนใหญ่เธอเป็นผู้ดูแลการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละวันและก่อนหน้านี้เธอเคยเป็นนักวิจัยที่คิดค้นไดแมกซ์แบนด์[23][24]

การพัฒนา

[แก้]

การพัฒนาของเกม โปเกมอน ซอร์ดและชีลด์ ได้เริ่มขึ้นทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการพัฒนาเกมโปเกมอน ซันและมูน ในปี พ.ศ. 2559 เริ่มต้นด้วยช่วงแนวคิดที่ใช้เวลาประมาณ 1 ปีหลังจากนั้นย้ายไปสร้างอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งหมดนี้รวมไปถึงขั้นตอนการแก้จุดบกพร่องใช้เวลาประมาณ 3 ปี[25] ความคิดของการเป็นยิ่งใหญ่ที่สุดหรือแข็งแกร่งที่สุดคือหนึ่งในธีมหลักที่เกมฟรีกใช้ในการออกแบบเกม โดยสื่อให้เห็นผ่านสวิตช์ที่เป็นเครื่องเล่นเกมที่ทรงพลังที่สุดที่เกม โปเกมอน เคยมีมาในแง่ของประสิทธิภาพด้านกราฟิกและข้อกำหนดฮาร์ดแวร์ ที่เกี่ยวโยงไปถึง ไดแมกซ์ และการอ้างอิงถึงคติชนบริติช[25] เพลงประกอบของเกมได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงร็อกบริติช[25]

การเปิดตัว

[แก้]

ในระหว่างงานอีทรีปี พ.ศ. 2560 สึเนคาซุ อิชิฮาระประธานบริษัท โปเกมอน จำกัดได้ประกาศว่าเกมฟรีกกำลังพัฒนาเกมชุดหลักสำหรับเครื่องเล่นเกมลูกผสมนินเท็นโด สวิตช์[26] ณ งานโปเกมอนวิดีโอเกมเพรสคอนเฟอร์เรนซ์ในระหว่างการแถลงข่าวที่จัดขึ้นโดยบริษัท โปเกมอน จำกัด เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จุนอิจิ มาซูดะได้ยืนยันว่าเกมชุดหลักจะออกวางจำหน่ายในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2562[27]

โปเกมอน ซอร์ดและชีลด์ ได้เปิดเผยอย่างเต็มรูปแบบผ่านวิดีโอนำเสนอพิเศษโปเกมอนไดเรกต์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 โดยในวิดีโอจะนำเสนอภูมิภาคของเกม "กาลาร์" และโปเกมอนเริ่มต้น "ฮิบันนี"[p] เป็นโปเกมอนเริ่มต้นธาตุไฟที่คล้ายกับกระต่าย "เมสซอน"[q] เป็นโปเกมอนเริ่มต้นธาตุน้ำที่คล้ายกับกิ้งก่า "ซารุโนริ"[r] เป็นโปเกมอนเริ่มต้นธาตุพืชที่คล้ายกับชิมแปนซี[28] การนำเสนอครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกันกับ วันโปเกมอน เป็นวันที่แฟนฉลองครบรอบการเปิดตัวของโปเกมอน เรดและกรีน[29] ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเกมผ่านโปเกมอนไดเรกต์ครั้งทีสอง โดยในครั้งนี้จะแสดงตัวละครใหม่, โปเกมอนสายพันธุ๋ใหม่, ลูกเล่นใหม่, และโปเกมอนในตำนาน"ซาเซียน"[s] และ"ซามาเซ็นตะ"[t] มีกำหนดออกวางจำหน่ายทั่วโลกในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[30][31]

ณ งานอีทรีได้มีการเปิดให้ผู้เข้าร่วมได้เล่นตัวเกมในฉบับเดโม ซึ่งในเดโมนั้นจะมีโปเกมอนสายพันธ์ใหม่เช่น "วานปาจิ"[u] คล้ายสุนัขพันธุ์คอร์กี้[32] ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้เปิดเผยโปเกมอนสายพันธ์ใหม่, ลูกเล่นใหม่, และคู่แข่งใหม่ผ่านโปเกมอนไดเรกต์ครั้งที่สาม ซึ่งจะคล้ายกับภูมิภาคอโลลาในภูมิภาคกาลาร์จะมีร่างเฉพาะที่มีรูปลักษณ์ภายนอกแตกต่างกันออกไปจากภูมิภาคอื่น[33][34] ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลของเกมอีกครั้งผ่านนินเท็นโดไดเรกต์ ซึ่งในวิดีโอจะแสดงโปเกมอนสายพันธ์ใหม่, ระบบปรับแต่งตัวละคร, และลูกเล่นใหม่[35][36]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ホップ Hoppu, อังกฤษ: Hop
  2. ビート Bīto, อังกฤษ: Bede
  3. マリィ Mary, อังกฤษ: Marnie
  4. エール団 Yell-dan, อังกฤษ: Team Yell
  5. モルペコ Morupeko, อังกฤษ: Morpeko
  6. マグノリア博士 Dr. Magnolia, อังกฤษ: Professor Magnolia
  7. ダンデ Dande, อังกฤษ: Leon
  8. ジムチャレンジ Jimu charenji, อังกฤษ: Gym Challenge
  9. ヤロー Yarrow, อังกฤษ: Milo
  10. ルリナ Rurina, อังกฤษ: Nessa
  11. サイトウ Saitō, อังกฤษ: Bea
  12. オニオン Onion, อังกฤษ: Allister
  13. チャンピオンカップ Chanpion Kappu, อังกฤษ: Champion Cup
  14. ローズ Rōzu, อังกฤษ: Chairman Rose
  15. オリーヴ Olive, อังกฤษ: Oleana
  16. ヒバニー Hibanny, อังกฤษ: Scorbunny
  17. メッソン Messon, อังกฤษ: Sobble
  18. サルノリ Sarunori, อังกฤษ: Grookey
  19. ザシアン Zacian, อังกฤษ: Zacian
  20. ザマゼンタ Zamazenta, อังกฤษ: Zamazenta
  21. ワンパチ Wanpachi, อังกฤษ: Yamper

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nintendo reveals special Pokémon edition of newly announced Nintendo Switch Lite system". 10 กรกฎาคม 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Pokémon become huge with the Dynamax phenomenon". Pokemon.
  3. "Gigantamaxing changes a Pokémon's size and appearance!". Pokemon.
  4. "Check out the natural beauty of the Wild Area". Pokemon.
  5. "Participate in Max Raid Battles with other Trainers". Pokemon.
  6. How to take on Max Raid Battles!, สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Take on powerful Dynamax Pokémon, สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "Play with Pokémon in your Pokémon Camp". Pokémon Sword and Shield Gameplay. The Pokémon Company. September 5, 2019. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
  9. "Poké Jobs". Pokémon Sword and Shield Gameplay. The Pokémon Company. August 7, 2019. สืบค้นเมื่อ August 7, 2019.
  10. Make your very own unique League Card, 5 กันยายน 2562, สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. Knezevic, Kevin (2019-06-12). "E3 2019: You Can't Transfer Every Old Pokemon To Sword And Shield". GameSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  12. Plagge, Kallie (2019-05-29). "Pokemon Home, A Service Like Pokemon Bank, Coming To Nintendo Switch". GameSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  13. 13.0 13.1 Frank, Allegra (February 27, 2019). "Pokémon Sword and Pokémon Shield are the series' new games for Switch". Polygon. Vox Media. สืบค้นเมื่อ July 14, 2019.
  14. Watts, Steve (February 27, 2019). "Pokemon Sword & Shield's New Galar Region Looks Very Familiar". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2019. สืบค้นเมื่อ February 28, 2019.
  15. Radulovic, Petrana (February 27, 2019). "Is Pokémon Sword and Shield's region based on the UK?". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
  16. "Hop". The People and Pokémon of the Galar Region. Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ July 14, 2019.
  17. "Bede". The People and Pokémon of the Galar Region. Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "Meet Team Yell". Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "Marnie". The People and Pokémon of the Galar Region. Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "Professor Magnolia". The People and Pokémon of the Galar Region. Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ July 14, 2019.
  21. 21.0 21.1 "Strive to Become the Next Champion of the Galar Region". Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ July 14, 2019.
  22. "Gym Leaders". Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. 23.0 23.1 23.2 "The Galar Pokémon League Provides Entertainment that Ignites the Whole Region!". Pokémon. 2019. สืบค้นเมื่อ July 14, 2019.
  24. "Looking forward to battling with Dynamax Pokémon". Pokemon. 14 กรกฎาคม 2562. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. 25.0 25.1 25.2 "We Interview Junichi Masuda and Shigeru Ohmori about Pokémon Sword and Pokémon Shield". The Pokémon Company. June 13, 2019. สืบค้นเมื่อ June 16, 2019.
  26. Goldfarb, Andrew (2017-06-13). "E3 2017: A Core Pokemon RPG Is in Development for Nintendo Switch". IGN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-03-20.
  27. Life, Nintendo (2018-05-30). "Pokémon Core Series RPG Will Arrive In The Second Half Of 2019". Nintendo Life (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-03-20.
  28. Nintendo (February 27, 2019). Pokémon Direct 2.27.2019. YouTube: Nintendo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2019. สืบค้นเมื่อ February 27, 2019.
  29. Newsbeat (February 27, 2019). "Pokemon: Nintendo announces two new games, Sword and Shield, for the Switch". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2019. สืบค้นเมื่อ February 27, 2019.
  30. Pokémon Direct 6.5.2019, 5 มิถุนายน 2562
  31. OcelotBoy (6 มิถุนายน 2562). "รวมข้อมูลเกม Pokemon: Sword and Shield จาก Nintendo Direct". GameFever. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  32. https://www.polygon.com/e3/2019/6/11/18661721/pokemon-yamper-corgi-e3-2019-sword-shield-demo
  33. "A New Team and New Rivals in Pokémon Sword and Pokémon Shield! ⚔️🛡️". Pokemon. 7 สิงหาคม 2562.
  34. "【公式】『ポケットモンスター ソード・シールド』NEWS #02 ガラルのすがた・新たなライバル篇". Pokemon. 7 สิงหาคม 2562.
  35. Camp like never before in Pokémon Sword and Pokémon Shield! ⚔️🛡️, 9 กันยายน 2562, สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. Nintendo Direct 9.4.2019, 5 กันยายน 2562, สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]