โดนต์เซย์ยูเลิฟมี
"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" | |
---|---|
ซิงเกิลฉบับสหราชอาณาจักร/ยุโรป | |
เพลงโดยเอ็มทูเอ็ม | |
จากอัลบั้มอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ และ เชดส์ออฟเพอร์เพิล | |
ด้านบี | "The Feeling Is Gone" |
วางจำหน่าย | 26 ตุลาคม 1999 |
บันทึกเสียง | 1999 |
แนวเพลง | บับเบิลกัมป็อป[1] |
ความยาว | 3:46 |
ค่ายเพลง | แอตแลนติก |
ผู้ประพันธ์เพลง |
|
โปรดิวเซอร์ |
|
"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" (อังกฤษ: Don't Say You Love Me) เป็นซิงเกิลเปิดตัวของวงเอ็มทูเอ็ม ดูโอแนวป็อปจากนอร์เวย์ที่ประกอบด้วยสมาชิกคือ เมเรียน เรเวน และ มาริต ลาร์เซน เพลงออกอากาศครั้งแรกทางเรดิโอดิสนีย์ ก่อนที่จะออกอากาศอย่างเป็นทางการทางสถานีวิทยุอเมริกันและออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999 โดยยังบรรจุอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู ออกจำหน่ายเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999 และยังอยู่ในอัลบั้มเปิดตัวของเอ็มทูเอ็มชุด เชดส์ออฟเพอร์เพิล (2000) นอกจากนั้นยังรวมอยู่ในอัลบั้มรวมเพลงของวงชุด เดอะเดย์ยูเวนต์อะเวย์: เดอะเบสต์ออฟเอ็มทูเอ็ม (2003)
เพลงได้รับเสียงวิจารณ์ด้านบวก ชัค เทย์เลอร์ จากนิตยสาร บิลบอร์ด เขียนไว้ว่า "น่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง" และสามารถเข้าถึงกลุ่มคนฟังทั้งวุ่ยรุ่นและรุ่นใหญ่ เพลงขึ้นอันดับ 2 ในนอร์เวย์, อันดับ 4 ทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์, อันดับ 16 ในสหราชอาณาจักร และอันดับ 21 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100 ซิงเกิลได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐและออสเตรเลีย และยังคงเป็นเพลงฮิตที่สุดของเอ็มทูเอ็ม วงยังได้แสดงเพลงนี้ในตอนของรายการ วันเวิลด์, ท็อปออฟเดอะป็อปส์ และ ดิสนีย์แชนเนลอินคอนเสิร์ต มีมิวสิกวิดีโอที่คล้ายคลึงกันออกมา 2 ตัว โดยมีตัวหนึ่งมีภาพจาก โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู ด้วย
เบื้องหลังและการแต่งเพลง
[แก้]เมเรียน เรเวนและมาริต ลาร์เซนมาจากโลเรินสกูก เขตทางทิศตะวันออกของกรุงออสโล[2] ทั้งคู่พบกันตั้งแต่อายุ 5 ขวบ[3] และได้กลายมาเป็นเพื่อนรักกัน ทั้งคู่ค้นพบในความสนใจด้านดนตรีเหมือนกัน และเริ่มร้องเพลงด้วยกันรวมถึงแสดงในงานดนตรี[2][4] ได้ออกอัลบั้มสำหรับเด็กด้วยกันในฐานะคู่ดูโอ ชื่อชุด Synger Kjente Barnesanger (อังกฤษ: Sing Famous Children's Songs) ในปี ค.ศ. 1996 ภายใต้ชื่อวงว่า มาริตแอนด์เมเรียน[2] เมื่อลาร์เซนอายุ 11 และเรเวนอายุ 12 ปี[4] อัลบั้มได้การเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล สเปลมานไพรเซน[5] หลังจากออกอัลบั้มนี้พวกเธอก็เริ่มแต่งเพลงป็อปด้วยกันหลายเพลง[4] แล้วได้ส่งเดโมให้ค่ายเพลง หนึ่งในนั้นส่งไปยังแอตแลนติกเรเคิดส์ จนพวกเธอได้เซ็นสัญญาครอบคลุมทั่วโลกในปี ค.ศ. 1998[6] พวกเธอยังให้แฟนเพลงส่งชื่อวงใหม่ในการแข่งขัน มีหญิงคนหนึ่งแนะนำชื่อวงว่า เอ็มทูเอ็ม[3] เรเวนและลาร์เซนอายุ 14 และ 15 ปี ตามลำดับ ขณะกำลังบันทึกเสียงอัลบั้มเปิดตัวชุด เชดส์ออฟเพอร์เพิล รวมถึงซิงเกิลเปิดตัว "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี"[2][7]
ดนตรีและเนื้อร้องประพันธ์โดยเรเวน, ลาร์เซน, ปีเตอร์ ซิซโซ และจิมมี บราโลเออร์[8][9] ผลิตเพลงโดยซิซโซและบราโลเออร์ และผสมเสียงโดยทอม ลอร์ด-อัลเจ[2] เพลง "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" มีอัตราจังหวะ 4/4 เทมโปค่อนข้างช้า ด้วยจังหวะ 100 ครั้งต่อนาที[10] เรเวนและลาร์เซนแยกกันร้องนำในท่อนเวิร์ส 2 ท่อนแรก และร้องประสานเสียงด้วยกันในท่อนคอรัส[11] เกือบแทบทั้งเพลงท่อนเวิร์สมีคีย์ซีชาร์ปไมเนอร์ (C♯ minor) และท่อนคอรัสมีความสัมพันธ์ทางกุญแจเสียงกับคีย์ อีเมเจอร์ (E major)[10] คอรัสสุดท้าย เปลี่ยนคีย์มาเป็น เอฟชาร์ปเมเจอร์ (F♯ major)[10] เครื่องดนตรีหลักของเพลงประกอบด้วย เปียโนไฟฟ้าและกีตาร์โปร่ง[10] มีเสียงสะดุดที่ซ้อนทับในคอรัส ในลักษณะแบบเพลง "อืมม์บ็อป" ของวงแฮนสัน[11] คอรัสสุดท้าย ร้องซ้ำแบบบิดโน้ต (แอดลิบ) เป็นเสียงฉากหลังจนกระทั่งเพลงเบาลง[10]
เนื้อเพลงพูดถึง "การบอกกฎความสัมพันธ์ในระยะแรก เพลาลงและอย่าพูดว่าฉันรักเธอ จนกว่าเธอจะให้เวลาฉันและรู้จักฉันดีพอ"[8]จากความเห็นของนักดนตรีวิทยา จอน มิกเคล พรอช อัลวิก (Jon Mikkel Broch Ålvik) "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" คือเพลงทีนป็อปของคนที่มีเหตุผล[11] อัลวิกไม่ยอมรับการตีความอย่างผิวเผินที่เนื้อเพลง "ส่งสาส์นด้านศีลธรรม ให้งดเว้นเพศสัมพันธ์" เขาถกเถียงแทนว่า เอ็มทูเอ็ม "ส่งสัญญาณท่าทีว่า ให้พิจารณาและให้ความมั่นใจ แทนที่จะแสดงความเคร่งครัด[11] อาจอธิบายเพลงนี้ได้ว่าเป็นแนวบับเบิลกัมป็อป[1] ที่ดูคล้าย ๆ กับเนื้อเพลงของวงเกิร์ลกรุ๊ปหลายวงในคริสต์ทศวรรษ 1960 ขณะเดียวกันก็ได้รับอิทธิพลจากเพลงร็อกมากกว่าและแนวเพลงที่เขียนโดนักร้อง-นักแต่งเพลง มากกว่าเพลงทีนป็อปทั่ว ๆ ไป ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990[8][11]
ยังมีเนื้อเพลงที่แตกต่างกันเล็กน้อยระห่างฉบับในภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู กับฉบับที่ออกในอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล ในฉบับ เชดส์ออฟเพอร์เพิล มีท่อนร้องที่ว่า "then you start kissing me, what's that about?"[12] ส่วนในฉบับ โปเกมอน ใช้เนื้อร้อง "then you said you love me, what's that about?"[13] เมื่อถามว่าเหตุใดจึงเปลี่ยนเนื้อเพลง เอ็มทูเอ็ม ตอบว่า "ในฉบับ Pokémon คนจะคิดว่าไม่เหมาะสมที่จะให้มีการจูบในเนื้อเพลง เพราะเป็นเพลงสำหรับเด็ก เราคิดว่าการเปลี่ยนเนื้อแบบนี้ค่อนข้างงี่เง่า ฉบับดั้งเดิมใน เชดส์ออฟเพอร์เพิล คือสิ่งที่เราต้องการ"[14] เอ็มทูเอ็มไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับ โปเกมอน มาก่อนจนกระทั่งได้รับเลือกให้มาทำเพลงประกอบ เพราะยังไม่ได้รับความนิยมในนอร์เวย์[14]
การออกขายและการปรากฏเพลง
[แก้]"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ปรากฏอยู่ในตอนที่ชื่อ "เดอะลิสต์" ของซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง เฟลิซิตี ที่ออกอากาศในสหรัฐเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1999 และมีคนดูถึง 5 ล้านคน ได้ช่วยทำให้เพลงนี้เริ่มเป็นที่สนใจ[8][15] ต่อมา 10 ตุลาคม ปรากฏอยู่ในตอนของซีรีส์เรื่อง แจ็กแอนด์จิลล์ ชื่อตอน "มูฟวิงออน"[16] เพลงได้รับการเปิดออกอากาศทางเรดิโอดิสนีย์อยู่แล้ว ก่อนที่จะเปิดเล่นอย่างเป็นทางการในสหรัฐเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1999 โดยซิงเกิลออกจำหน่ายทั้งในรูปแบบซีดีและตลับเทป[15] ภายในเดือนนั้น มีสถานีวิทยุในรูปแบบยูเอสท็อป 40 มากกว่า 100 สถานีเล่นเพลงนี้[2] โดยในวันที่ 10 พฤศจิกายน เป็นเพลงที่ถูกขอมากที่สุดอันดับ 6 ทางสถานีวิทยุของนิวยอร์ก[17] เพลงยังปรากฏในช่วงเครดิตท้ายของภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู และบรรจุอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์และอัลบั้มออกในสหรัฐเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 โดย "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" เป็นเพลงเปิดตัวของอัลบั้ม[2] ซิงเกิลเข้าชาร์ตในสหรัฐเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน[2] โดยตอนนั้นมียอดส่งมากกว่า 400,000 ชุดไปยังร้านแผ่นเสียง[18]
แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในสหรัฐ แต่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 มีรายงานว่าซิงเกิลจะไม่ได้ออกขายในประเทศบ้านเกิดของวงที่นอร์เวย์จนในปีถัดไป วอร์เนอร์มิวสิกนอร์เวย์ต้องการที่จะรอให้ทั้งภาพยนตร์ โปเกมอน และอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ออกในยุโรปเสียก่อนเพื่อให้ได้การตอบรับอย่างเต็มรูปแบบจากการเปิดตัวหนัง[2] ซิงเกิลออกในสถานีวิทยุในนอร์เวย์ในวันที่ 24 พฤศจิกายน[19] และ 11 มกราคม ออกวางขายในนอร์เวย์และอีก 25 ประเทศในยุโรป อเมริกา เอเชีย และโอเชียเนีย และคาดไว้ว่าจะออกในประเทศที่เหลือในยุโรปในปลายเดือน[20] แม้จะยังไม่ออกขายในยุโรปแต่เพลงก็ถูกเปิดเล่นออกอากาศทางสถานีวิทยุแล้ว[21] เพลงได้รับความนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการออกอากาศบ่อยในเกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์[22] รวมถึงในอเมริกาใต้ ในปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000 ที่เม็กซิโก ถือเป็นเพลงต่างชาติที่มียอดขายดีที่สุด และเป็นอันดับ 2 ของเพลงขายดีที่สุดหากรวมทั้งหมด[23] ต่อมา 12 มกราคม เพลงปรากฏในซีรีส์ เบเวอร์ลีฮิลล์, 90210 ตอน "เทนเทดเลิฟ"[24] เพลงออกขายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ในสเปนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์[20] และในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 20 มีนาคม โดยสังกัดอีสต์เวสต์เรเคิดส์[25] เพลงบรรจุอยู่ในอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล วางขายในยุโรป กลางเดือนกุมภาพันธ์และในสหรัฐวันที่ 7 มีนาคม[25] และยังบรรจุอยู่ในอัลบั้มรวมเพลงฮิต เดอะเดย์ยูเวนต์อะเวย์: เดอะเบสต์ออฟเอ็มทูเอ็ม[26]
การตอบรับ
[แก้]รอเบิร์ต คริสต์เกา นักข่าวดนตรีให้คำวิจารณ์ด้านบวก โดยเรียกเพลงนี้ว่าเป็นหนึ่งในเพลง "ซาบซึ้งอย่างไม่น่าทำได้" จากอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล โดย "สร้างมาตรฐาน" ให้กับเพลงที่เหลือของอัลบั้ม[27] ชัค เทย์เลอร์จากนิตยสาร บิลบอร์ด กล่าวว่าเพลงนี้จะดึงดูทั้งกลุ่มคนฟังวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดย "เดินไปในทาง ระหว่างป็อปบริสุทธิ์กับจุดปลายสุดของเพลงอะดัลต์ท็อป 40" เขายังบอกว่าเพลงนี้ "น่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง ทั้งจากเสียงร้องวัยรุ่นและท่อนฮุกที่มาโดนเต็ม ๆ"[8] ไมเคิล เพาเลตทาจากนิตยสาร บิลบอร์ด เช่นกัน เรียกเพลงนี้ว่า "นักร้องเพลงป็อปร็อกที่ติดต่อกันได้" และบอกว่า "สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดของเพลงนี้คือ เสียงร้องที่มีชีวิตชีวาจากการประสานเสียงของสาว ๆ"[9] ฮีเทอร์ ฟาเรส จากออลมิวสิก บอกว่าเพลงนี้ "เป็นเพลงป็อปหวาน ๆ แต่อยู่ในโลกแห่งความจริง"[28] มาเรียส ลิลเลเลียน ผู้บริหารจากสถานีวิทยุนอร์เวย์ เอ็นอาร์เค พี 3 พุดว่า "เพลงแต่งได้ดีมาก เป็นเพลงป็อปที่ผลิตออกมาดี พวกเธอทั้งยังเด็กและเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นศิลปินชาวนอร์เวย์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพลงยังเหมาะที่สุดกับกลุ่มคนฟังอายุ 10–16 ปี แต่ความเห็นของฉันคือ เพลงนี้ก็ไม่ทิ้งกลุ่มคนฟังที่อายุมากกว่า"[25] "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ได้รับการเสนอชื่อเป็นเพลงดีที่สุดแห่งปี 2000 จากรางวัลสเปลมานไพรเซน (Spellemannprisen) แต่พ่ายให้ "พรอพากันดา" (Propaganda) ของบริสเคบี (Briskeby)[29]
ในสหรัฐ "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" เข้าชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 ที่อันดับ 72[30] ต่อมาไต่ชาร์ตสูงสุดอันดับ 21 และยังขึ้นชาร์ตอันดับ 40 ทั้งในชาร์ตละตินป็อปแอร์เพลย์และทรอพิคอลซองส์[31] ซิงเกิลขายได้ 39,000 ชุด ในสัปดาห์ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน[2] และขายได้ 580,000 ชุด ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000[32] ขึ้นชาร์ตที่อันดับ 2 ในนอร์เวย์และอันดับ 4 ทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[33][34][35] ยังติดท็อป 10 ในฟินแลนด์[36] ติดใน 20 อันดับแรกในแคนาดา สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ สวีเดน และเนเธอร์แลนด์[37][38][39][40] ติดใน 40 อันดับแรกในอิตาลีและเบลเยียม[41][42] ติด 80 อันดับแรกในเยอรมนี ฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์[43][44][45] ได้รับการยืนยันแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐเมื่อ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1999[46] และในออสเตรเลียในปี 2000[47]
"โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" เป็นเพลงที่ฮิตที่สุดของเอ็มทูเอ็ม และเป็นเพลงที่คุ้นหูที่สุดของวง ขณะที่ซิงเกิลถัดมา "มิรเรอร์มิรเรอร์" ติดท็อป 40 ในออสเตรเลีย[48] และแคนาดา และสูงสุดอันดับ 62 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100[31] "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ยังคงเป็นเพลงติดใน 40 อันดับแรกเพลงเดียวของวงในสหรัฐ และเป็นเพลงฮิตเพลงเดียวของวงในหลายประเทศ ยังเรียกเพลงนี้ว่าเป็นเพลง วันฮิตวันเดอร์[49] เมื่อถามถึงเพลงโปรดของวงใน ค.ศ. 2014 แอบบี เดวอราจากเอ็มทีวี ให้เพลงนี้ติดอันดับ 2 ของเธอในอันดับ "9 เพลงวันฮิตวันเดอร์จากวงเกิร์ลกรุ๊ปที่คุณต้องจดจำตอนนี้"[50] เจสซิกา บูทจากเกิร์ล.คอม (Gurl.com) ให้วงและเพลงนี้อยู่ในรายชื่อในปี 2012 ในหัวเรื่อง "ย้อนอดีต: 15 นักร้องสาววัยมัธยมที่คุณคิดถึง" และเรียกเพลงนี้ว่า "ติดหูอย่างน่าขัน"[51] เคตลิน คูเบรีย จากทีน.คอม (Teen.com) ให้วงและเพลงนี้ติดอยู่ในรายชื่อปี 2014 ในหัวเรื่อง "12 วงเกิร์ลกรุ๊ปที่คุณอาจลืมจากยุค 90/00 ที่ควรค่ากับการสละเวลา"[52] ในปี 2014 นาธาน จอลลีจากช่องแมกซ์ กล่าวว่า เพลงเป็น "เพลงป็อปเพลงหนึ่งที่ความสุขถือกำเนิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นเพลงสดุดีว่า 'ไปให้ไกล ๆ เลยเพื่อน'"[53]
มิวสิกวิดีโอ
[แก้]มิวสิกวิดีโอกำกับโดยไนเจล ดิก ถ่ายทำระหว่าง 4 ถึง 6 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ที่มิชชันทิคิ จอภาพยนตร์ที่ชมจากรถในเมืองมอนต์แคลร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[54] ในวิดีโอนี้ราเวนร้องเพลงขณะอยู่ในรถกับเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ขณะที่ลาร์เซนร้องและเล่นกีตาร์หน้ารถอีกคัน ใช้ภาพตัดสลับเอ็มทูเอ็มร้องด้วยกันบริเวณจอภาพยนตร์ ผู้คนเต้นรำ ผู้ฉายภาพยนตร์ที่กำลังยุ่งอยู่กับอุปกรณ์ที่เสีย และคนขายขนมกับเครื่องทำข้าวโพดคั่วที่ล้นออกมา เมื่อข้าวโพดคั่วระเบิดออกมา เอ็มทูเอ็มยังคงแสดงอยู่ท่ามกลางผู้คนและมีข้าวโพดคั่วโปรยลงมา มีการใช้ปืนอัดอากาศให้เกิดไฟราวขนาดเท่า 200 ถุงขยะ ทำให้ข้าวโพดคั่วโปรยปรายสู่อากาศ[54] ในสหรัฐ มิวสิกวิดีโอนี้ออกฉายปฐมทัศน์ 24 ตุลาคม ทางช่องเดอะดับเบิลยูบีหลังซีรีส์ เซเวนท์เฮเวน[15] และเริ่มออกอากาศทางเดอะบอกซ์และมัชมิวสิก ต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999[55] ออกอากาศทางช่องเอ็มทีวี 15 พฤศจิกายน[2][18][56]
มิวสิกวิดีโอมี 2 ฉบับที่คล้าย ๆ กัน ฉบับแรกมีภาพจากหนังเรื่อง โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู เล่นอยู่บนจอภาพยนตร์ อีกฉบับหนึ่งมีภาพบนจอภาพยนตร์น้อยกว่า และแทนที่ภาพหนัง โปเกมอน ด้วยภาพเรเวนกับลาร์เซนร้องเพลง หรือคำว่า "M2M" และ "Intermission" บนจอภาพ ในฉบับ โปเกมอน มีการเซ็นเซอร์เนื้อเพลง ขณะที่อีกฉบับใช้เนื้อเพลงเหมือนกับในอัลบั้ม และฉบับ โปเกมอน มีบรรจุอยู่ในดีวีดีของภาพยนตร์ด้วย[57] ส่วนอีกฉบับบรรจุแถมในแผ่นโบนัสของ เดอะเดย์ยูเวนต์อะเวย์: เดอะเบสต์ออฟเอ็มทูเอ็ม[26]
แสดงสดและคัฟเวอร์
[แก้]ในการประชาสัมพันธ์ซิงเกิล เรเวนและลาร์เซน ออกทัวร์ 6 ที่ในศูนย์การค้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ[2] ระหว่าง 21 สิงหาคมถึง 2 ตุลาคม[58] ถือเป็นทัวร์แรกกับวงเอ็มทูเอ็ม[59] วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ก่อนที่ภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ จะออกฉาย เอ็มทูเอ็มแสดงสดเพลงนี้ที่ร้านวอร์เนอร์บราเธอส์สตูดิโอ บนถนนสายที่ 5 ในแมนแฮตตัน ต่อหน้าแฟนเพลงและสื่อมวลชนจำนวนมาก[15][17] ในการประชาสัมพันธ์ซิงเกิลนั้น เอ็มทูเอ็มยังออกทัวร์ที่สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น ก่อนที่จะกลับมายังนอร์เวย์ในวันที่ 24 พฤศจิกายน[19] พวกเธอแสดงเพลงในตอน "แบนด์ออนเดอะรัน" ของซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง วันเวิลด์ ที่ออกอากาศ 27 พฤศจิกายน[60] และวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2000 วงแสดงในรายการ ท็อปออฟเดอะป็อปส์[20][61][62] เอ็มทูเอ็มแสดงสดเพลงนี้ที่สวนสนุกเอปคอตของวอลต์ดิสนีย์เวิลด์ เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000[63] การแสดงสดครั้งนี้ มีการบันทึกเทปและปรากฏในตอนหนึ่งของรายการ ดิสนีย์แชนเนลอินคอนเสิร์ต เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่เน้นไปที่วงเอ็มทูเอ็มและบีบีแมก[64] จนเมื่อเพลงฮิต "โดนต์เซย์ยูเลิฟมี" ได้รับความนิยมในระหว่างการแสดง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 วงแสดงเพลงอีกครั้งตอนอองคอร์ ร่วมกับเพลง "เอเวอรีติงยูดู" (Everything You Do) ต่อหน้าผู้ชม 4,000 คน ในคอนเสิร์ตเอ็มทูเอ็มที่กรุงกัวลาลัมเปอร์[22]
เรเวนและลาร์เซนหยุดการแสดงในฐานะเอ็มทูเอ็มในปี 2002 ทั้งคู่ออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว[1] ลาร์เซนแสดงเพลงนี้เดี่ยว ๆ ในฉบับคันทรี[65][66] ยังมีคู่ดูโอแนวป็อปสัญชาติฟิลิปปินส์ ที่ชื่อ คริสซีแอนด์เอริกกา นำเพลงนี้มาคัฟเวอร์ในปี 2009 กับอัลบั้มในชื่อวง[67]
รายชื่อเพลง
[แก้]ซิงเกิลในฉบับยุโรปมีเพลงหน้าบี คือเพลง "เดอะฟีลลิงอีสกอน" (The Feeling is Gone) หนึ่งใน 3 เพลงที่ไม่มีในอัลบั้ม เชดส์ออฟเพอร์เพิล ฉบับอเมริกา[14] ส่วนฉบับมาตรฐานในสหรัฐมีเพลงบรรเลง โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ที่ชื่อ "มิวทูสไตรก์แบ็กสวีต" (Mewtwo Strikes Back Suite) ในหน้าบี[15]
ซีดีซิงเกิลฉบับออสเตรเลีย[68]
ซิงเกิลฉบับสหรัฐ[69]
แมกซีซิงเกิลฉบับสหรัฐ[70]
|
แมกซีซิงเกิลฉบับญี่ปุ่น[71]
แมกซีซิงเกิลฉบับยุโรป[72]
|
ชาร์ตและการรับรอง
[แก้]
ชาร์ตสัปดาห์[แก้]
|
ชาร์ตสิ้นปี[แก้]
การรับรอง[แก้]
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Nelson, Michael (มีนาคม 26, 2016). "30 Essential Max Martin Songs". Stereogum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Taylor, Chuck (27 November 1999). "Atlantic's M2M aims for kid, adult appeal". Billboard. Nielsen N.V. 111 (48): 15, 98.
- ↑ 3.0 3.1 "Sounds From the Big Room". The Sunday Mail. Brisbane. 30 June 2002. p. Brisbane.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Disney Channel in Concert: BBMak & M2M in Concert (Television program). Disney Channel. 29 April 2000.
- ↑ "M2Ms favoritt-gutter". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 30 December 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ "Biography". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2002. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ "Storsalg kan gi ny gullkontrakt". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มีนาคม 1, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Taylor, Chuck (30 October 1999). "New & noteworthy: M2M: Don't Say You Love Me". Billboard. Nielsen N.V. 111 (44): 19. สืบค้นเมื่อ 22 September 2015.
- ↑ 9.0 9.1 Paoletta, Michael (11 March 2000). "M2M: Shades of Purple". Billboard. Nielsen N.V.: 26.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Marit Larsen, Jimmy Bralower, Peter Zizzo, and Marion Raven (1999), Don't Say You Love Me (sheet music), musicnotes.com
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Ålvik, Jon Mikkel Broch (2014). "Don't Say You Love Me". Scratching the Surface: Marit Larsen and Marion Ravn: Popular Music and Gender in a Transcultural Context (Ph.D.). University of Oslo. pp. 47–55. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2016.
- ↑ M2M (7 March 2000). Shades of Purple (studio album). Atlantic Records.
- ↑ M2M (10 November 1999). Pokémon: The First Movie (soundtrack). Atlantic Records.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 "M2M chats with fans on AllPop". Canoe.com. 3 April 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 "M2M Set to Thrill Fifth Ave. Throngs; NYC Flagship Warner Bros. Studio Store Performance to Mark Pokemon Album Release/Film Opening". Business Wire. ตุลาคม 28, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
- ↑ Jack & Jill: Moving On (Television episode). The WB. 10 October 1999. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 15:41.
- ↑ 17.0 17.1 "Tar New York med storm". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). พฤศจิกายน 10, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 18.0 18.1 "M2M selger hurtigst". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 17 November 1999. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 19.0 19.1 "M2M tilbake i Norge". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). พฤศจิกายน 24, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 "2000 News Archive". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2002.
- ↑ "Hjemme – men ikke lenge". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มกราคม 13, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 22.0 22.1 Gerald, Chuah (10 December 2001). "Angels from Norway". New Straits Times (2nd ed.). p. 3.
- ↑ "M2M-eventyret fortsetter". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). 27 May 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2017. สืบค้นเมื่อ 6 January 2017.
- ↑ Beverly Hills, 90210: Tainted Love (Television episode). Paramount Domestic Television. 12 January 2000. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 4:33.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Arnesen, Jon (กุมภาพันธ์ 5, 2000). "M2M make their name via Atlantic". Music & Media. 17 (6): 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.
- ↑ 26.0 26.1 Brown, Marisa. "The Day You Went Away: The Best of M2M". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ Christgau, Robert. "M2M". Robert Christgau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ Phares, Heather. "M2M: Shades of Purple". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ "Herborg ble Årets spellemann". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มีนาคม 2, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ Silvio, Pietroluongo (20 November 1999). "Hot 100 Spotlight". Billboard. Nielsen N.V.: 129.
- ↑ 31.0 31.1 "M2M: Awards". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ "Nedtur for M2M". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). พฤษภาคม 12, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 33.0 33.1 "M2M – Don't Say You Love Me". ARIA Top 50 Singles. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 34.0 34.1 "M2M – Don't Say You Love Me". VG-lista. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 35.0 35.1 "M2M – Don't Say You Love Me". Top 40 Singles. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 36.0 36.1 "M2M: Don't Say You Love Me" (in Finnish). Musiikkituottajat. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 37.0 37.1 "Top RPM Singles: Issue 9690." RPM. Library and Archives Canada. สืบค้นเมื่อ 6 May 2018.
- ↑ 38.0 38.1 "Official Singles Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 39.0 39.1 "Nederlandse Top 40 – week 8, 2000" (in Dutch). Dutch Top 40. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 40.0 40.1 "M2M – Don't Say You Love Me". Singles Top 100. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 41.0 41.1 "M2M – Don't Say You Love Me" (in Dutch). Ultratop 50. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 42.0 42.1 "M2M – Don't Say You Love Me" (in French). Ultratop 50. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อgermancharts
- ↑ 44.0 44.1 "M2M – Don't Say You Love Me" (in French). Les classement single. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 45.0 45.1 "M2M – Don't Say You Love Me". Swiss Singles Chart. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ 46.0 46.1 "American single certifications – M2M – Don't Say You Love Me". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ 47.0 47.1 "ARIA Charts – Accreditations – 2000 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ "M2M". australian-charts.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 1 October 2015.
- ↑ "One-hit Wonder Wednesday: Don't Say You Love Me – M2M". MetroLyrics. สิงหาคม 10, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ Devora, Abby (กันยายน 25, 2015). "9 Girl Group One-Hit Wonders You Need To Remember Right Now". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2016. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ Booth, Jessica (20 June 2012). "Flashback: 15 Old-School Girl Singers We Miss". Gurl.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-04. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ Cubria, Kaitlin (2 March 2014). "12 Forgotten Girl Groups From the 1990s/2000s". Teen.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-05. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ Jolly, Nathan (ตุลาคม 10, 2014). "'90s News: Coolio Fought Boyz II Men, M2M Update, Hootie and the What now?". MAX. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ 54.0 54.1 Nigel, Dick. "DICKFILMS 1". Nigel Dick. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ "The Clip List". Billboard. Nielsen N.V.: 99. 13 November 1999.
- ↑ "The Clip List". Billboard. Nielsen N.V.: 120. 20 November 1999.
- ↑ McCormick, Moira (22 January 2000). "Warner Unleashes Massive Campaign for Pokémon release". Billboard. Nielsen N.V.: 108.
- ↑ "North-East Mall Tour". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2002. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ "Frequently Asked Questions". M2M Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2002. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ One World: Band on the Run (Television episode). Universal Television. 27 November 1999. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 3:44.
- ↑ "Plateselskap avviser pengekrav". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). มีนาคม 27, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ Top of the Pops (Television episode). BBC One. 31 March 2000.
- ↑ "M2M møtte sine fans". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). กุมภาพันธ์ 14, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ Hay, Carla (13 May 2000). "M2M Crosses Atlantic". Billboard. Nielsen N.V.: 149.
- ↑ "Festival-prinsessen". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). สิงหาคม 12, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ Elliott, Kevin J. (มีนาคม 28, 2007). "Interview: Marit Larsen". Stylus Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 September 2015.
- ↑ "Krissy & Ericka album launched". The Philippine Star. พฤศจิกายน 21, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
- ↑ "Don't Say You Love Me". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ "Don't Say You Love Me / Mewtwo Strikes Back Suite". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ M2M (1999). "M2M – Don't Say You Love Me" (Single). Atlantic Records. PRCD 300019.
- ↑ "Don't Say You Love Me". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ "Don't Say You Love Me Pt.1". Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ "Top RPM Adult Contemporary: Issue 10024." RPM. Library and Archives Canada. สืบค้นเมื่อ 6 May 2018.
- ↑ "The Irish Charts – Search Results – M2M". Irish Singles Chart. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
- ↑ "M2M – Don't Say You Love Me". Top Digital Download. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ "M2M – Don't Say You Love Me" (in Dutch). Single Top 100. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
- ↑ "Official Scottish Singles Sales Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ "M2M Chart History (Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ "M2M Chart History (Latin Pop Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ "M2M Chart History (Tropical Airplay)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
- ↑ "ARIA Charts – End Of Year Charts – Top 100 Singles 2000". ARIA Charts. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.