โตโยต้า เซลิก้า
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Toyota Celica | |
---|---|
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | โตโยต้า |
เริ่มผลิตเมื่อ | ธันวาคม 2513[1] – เมษายน 2549 |
รุ่นปี | 2514–2549 |
แหล่งผลิต | ประเทศญี่ปุ่น: โทะโยะตะ, Aichi (Tsutsumi plant) ทาฮาระ, Aichi (Tahara plant) Susono, Shizuoka (Higashi-Fuji plant) |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถสปอร์ต |
รูปแบบตัวถัง | 2 ประตู นอทช์แบ็ก คูเป้ 2 ประตู เปิดประทุน (คอนเวอร์ติเบิล) 3 ประตู ลิฟต์แบ็ก |
โครงสร้าง | เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง (2514–2528) เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหน้า (2528–2549) เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนสี่ล้อ (2528–2542) |
โตโยต้า เซลิก้า (อังกฤษ: Toyota Celica; ญี่ปุ่น: トヨタ・セリカ) เป็นรถสปอร์ตของบริษัทโตโยต้าจากประเทศญี่ปุ่น
การออกแบบเซลิก้าทั้ง 7 รุ่นที่ผ่านมาผ่านการออกแบบมามากมาย ซึ่งรวมถึงเป็นต้นฉบับของ โตโยต้า เซลิก้า ซูปร้า (ภายหลังใช้ชื่อว่า โตโยต้า ซูปร้า) และโตโยต้า เซลิก้า คัมรี่ (ภายหลังใช้ชื่อว่า โตโยต้า คัมรี่) โดยมีระบบที่โดดเด่นคือ ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ เทอร์โบชาร์จเจอร์ ระบบเปิดประทุน
เซลิก้าเป็นที่รู้จักกันดีในการแข่งรถแรลลี คำว่า"เซลิก้า" เป็นภาษาสเปนมีความหมายว่า ท้องฟ้า หรือสวรรค์
สายการผลิตเซลิก้าได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรุ่นปี พ.ศ. 2529 เมื่อมีการเปลี่ยนจากระบบขับเคลื่อนล้อหลังเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า กับแบบขับเคลื่อนสี่ล้อ โดยเปลี่ยนจากเครื่องSOHC 20Rในรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้า มาเป็น22R
ในช่วงรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้าเซลิก้ามาพร้อมกับ เทอร์โบชาร์จเจอร์และระบบแวเรียเบิลวาล์วไทมิง (variable valve timing)
ปัจจุบัน โตโยต้า เซลิก้า ได้เลิกผลิตไปแล้ว โดยรถเซลิก้ารุ่นสุดท้ายเป็นรถรุ่นปี พ.ศ. 2548 แต่ผลิตข้ามปีไปจนถึงปี พ.ศ. 2549 ก่อนจะเลิกผลิตไปในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2549
เซลิก้า โฉมที่ 1 มีรหัสตัวถัง A20 กับ A35 ออกสู่ตลาดในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2513 โดยใช้เครื่องคาบิวเรเตอร์สี่สูบ 1600, 1900, 2000 และ 2200 ซีซี
มีลักษณะตัวถัง 2 แบบ คือ liftback 3 ประตู และ hardtop 2 ประตู เซลิก้าโฉมนี้ได้ชื่อว่าเป็นรุ่นที่มีคุณลักษณะและรายละเอียดเทียบเท่ากับรถ ฟอร์ด มัสแตง ของสหรัฐอเมริกา (ฟอร์ด มัสแตง ในอเมริกา เป็นรถที่โด่งดังและประสบความสำเร็จสูงมาก ซึ่งเป็นรถที่ครองสถิติประสบความสำเร็จในระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์วงการรถ) จนได้รับฉายาว่า "มัสแตงญี่ปุ่น" (Japanese Mustang)
มีระบบเกียร์ให้เลือกซื้อ 3 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด, ธรรมดา 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด
เซลิก้า โฉมที่ 2 มีรหัสตัวถัง A40 ออกสู่ตลาดครั้งแรกในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2520 แต่ได้ขึ้นแท่นแทนโฉมที่ 1 ใน พ.ศ. 2521 โดยมีทริมแบบ ST และ GT
มีเครื่องยนต์ 4 ขนาด คือ 1600, 1800, 2000, 2200 ซีซี ซึ่งพัฒนาระบบความปลอดภัยและการประหยัดน้ำมันมากกว่ารุ่นแรก และรุ่นนี้มีตัวถัง 2 แบบคือ coupe 2 ประตู และ liftback 3 ประตู
เซลิก้า โฉมที่ 2 ได้รางวัล "รถยนต์นำเข้าประจำปี" ในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2521 ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 โตโยต้าได้ผลิตรถบ้านที่ผสมผสานเทคโนโลยีรถสปอร์ตเข้าไปด้วย เป็นรถ 4 ประตู ชื่อรุ่น "โตโยต้า เซลิก้า คัมรี่" หรือ "โตโยต้า คารีนา" ซึ่งขายดีมาก ทำให้สองปีต่อมา โตโยต้าได้มีการแยกเอารุ่นคัมรี่ออกจากตระกูลเซลิก้า และตั้งเป็นรถตระกูลใหม่ในชื่อ โตโยต้า คัมรี่
เซลิก้ายุค 3 มีรหัสตัวถัง A60 ออกมาเปิดตัวครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์และใช้เครื่องยนต์ 4 ขนาด คือ 1600 1800, 2000 และที่เด่นที่สุดคือเครื่องแบบ 22RE 2400 ซีซี ขับเคลื่อนล้อหลัง
ในรุ่นปี พ.ศ. 2526 โตโยต้า ได้เพิ่มทริม GT-S สำหรับรถสปอร์ต ซึ่งรวมขนาดล้อที่ใหญ่ขึ้น แก้มล้อที่ใหญ่ขึ้น independent rear suspension และการตกแต่งภายในแบบรถสปอร์ต ได้แก่ เบาะรถสปอร์ต พวงมาลัยหุ้มด้วยหนัง และกระปุกเกียร์แบบรถสปอร์ต
โฉมนี้ มี 3 รูปแบบตัวถัง คือ liftback 3 ประตู, coupe 2 ประตู และ convertible 2 ประตู
เซลิก้ายุค 4 มีรหัสตัวถัง T160 ออกมาเปิดตัวครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการเปลี่ยนโฉมใหม่หมด โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า กับแบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ตัวถังรถเริ่มลดความเหลี่ยมลงเมื่อเทียบกับโฉมก่อนๆ และเครื่องยนต์สี่สูบ 1600, 1800 และ 2000 ซีซี ในรุ่นนี้มีทริมแบบ ST, GT และ GT-S โดยในรุ่นทริม GT เปิดประทุนมีหลังคาแบบอ่อนขึ้น รุ่นทริม ST และ GT มากับเครื่อง 2S-E SOHC 8 วาล์ว 2000 ซีซี 92 แรงม้า และได้เปลี่ยนเป็นเครื่องเครื่อง 3S-FE DOHC 116 แรงม้า ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ร่วมกับแคมรี รุ่นทริม GT-S ใช้เครื่อง 3S-GE DOCH 2000 ซีซี 135 แรงม้า
ในปี พ.ศ. 2531 โตโยต้าได้แนะนำเครื่อง GT-Four (ชื่อในสหรัฐว่า All-Trac) โดยเป็นรถขับเคลื่อนทุกล้อพร้อมกับเทอร์โบชาร์จ ภายใต้เครื่อง 3S-GTE 190 แรงม้า 2000 ซีซี ซึ่งได้กลายมาเป็นรถแรลลีอย่างเป็นทางการของโตโยต้า
โฉมนี้ มีตัวถัง 3 แบบ คือ liftback 3 ประตู, coupe 2 ประตู และ convertible 2 ประตู ระบบเกียร์มีให้เลือกซื้อ 2 ระบบ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด
โฉมที่ 5 เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2532 มีรหัสตัวถัง T180 โฉมนี้ได้ปรับเปลี่ยนรูปทรงไป โดยให้รถโค้งมนตลอดคัน แทนที่จะเหลี่ยมๆ เหมือนรุ่นก่อน และพัฒนาล้อและยาง โดยในอเมริกาเหนือ ทริม GT และ GT-S ใช้เครื่อง 5S-FE 2200 ซีซี ขณะที่ทริม ST สปอร์ต ใช้เครื่อง 4AFE 1600 ซีซี โดยทั้งหมดเป็น DOHC 16 วาล์ว โดยในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องเล็กน้อยเป็น 135 และ 145 แรงม้า
ในรุ่น GT และสูงกว่าได้มีการนำมาใช้ระบบเบรกแอนตีล็อก รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆเพิ่มความหรูหราให้กับเซลิก้า
รถโฉมนี้มีระบบเกียร์ให้เลือกซื้อ 2 ระบบ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด วงการรถไทยนิยมเรียกว่า "โฉม Pop-Up"
เซลิก้าโฉมที่ 5 | |||||
---|---|---|---|---|---|
รหัสตัวถัง | ทริม | เครื่องยนต์ | แรงม้า | ทอร์ก | ตลาด |
AT180 | ST | 4A-FE | 103HP@6000RPM | 102ft-lb@3200RPM | อเมริกา |
ST182 | GT-i | 3S-GE | 158HP@6600RPM | 140ft-lb@2800RPM | ญี่ปุ่น, ยุโรป |
ST183 | GT-R | 3S-GE | 162HP@6600RPM | 147ft-lb@2800RPM | ญี่ปุ่น, ยุโรป |
ST184 | GT,GT-S | 5S-FE | 130HP@5400RPM | 140ft-lb@4400RPM | อเมริกา |
ST185 | All-Trac,GT-Four | 3S-GTE | 210HP@5400RPM | 200ft-lb@4400RPM | ทุกที่ |
เซลิก้าโฉมที่ 6 มีรหัสตัวถัง T200 เริ่มต้นผลิตในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และส่งเข้าตลาดแทนที่โฉมที่ 5 ในรุ่นปี พ.ศ. 2537
เซลิก้าโฉมนี้ รุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ จะมีรหัสตัวถัง ST202-ST204 และรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ จะมีรหัสตัวถัง ST205
มีตัวถัง 3 รูปแบบ ได้แก่ liftback 3 ประตู, notchback 2 ประตู และ convertible 2 ประตู ความจุถังน้ำมันประมาณ 60.2 ลิตร
มีระบบเกียร์ 2 ระบบ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด ขนาดเครื่องยนต์ 3 ขนาด คือ 1800, 2000, 2200 ซีซี โฉมนี้วงการรถในไทยมักเรียกว่า "โฉมตากลม"
เซลิก้าโฉมที่ 7 มีรหัสตัวถัง T230 เริ่มต้นผลิตเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 ส่งเข้าตลาดแทนโฉมที่ 6 ในรุ่นปี พ.ศ. 2543
มีตัวถัง 1 รูปแบบ คือ liftback 3 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 1 ขนาด คือ 1800 ซีซี ยกเลิกตัวถังและเครื่องยนต์สำหรับขับเคลื่อนสี่ล้อ คงเหลือแต่ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
ระบบเกียร์ 3 ระบบ คือ อัตโนมัติ 4 สปีด, ธรรมดา 5 สปีด และธรรมดา 6 สปีด
รุ่นปีสุดท้ายของรถตระกูลเซลิก้า คือ รุ่นปี พ.ศ. 2548 ก่อนจะถูกโตโยต้าสั่งปิดตัวการผลิตรถตระกูลเซลิก้าลงในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2549
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Toyota Vehicle Identification Manual. Japan: Toyota Motor Corporation – Overseas Parts Department. 1984. Catalog No.97913-84.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เซลิก้าไทยแลนด์ เก็บถาวร 2014-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Celica-GTS.com - เว็บไซต์กลุ่มเซลิก้ารุ่น 3 (อังกฤษ)
- Classic-Celica.com -เว็บไซต์กลุ่มเซลิก้ารุ่น 1 - 2 (อังกฤษ)
- CelicaTech เก็บถาวร 2005-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - ข้อมูลทางเทคนิคเกี่ยวกับเครื่องของเซลิก้ารุ่นต่างๆ (อังกฤษ)