โตมือริส
โตมือริส | |
---|---|
โตมือริสตามจินตนาการของกัสตัญโญ คริสต์ศตวรรษที่ 15 | |
ราชินีแห่ง Massagetae | |
ครองราชย์ | ไม่ทราบ – ป. ทศวรรษ 520 ปีก่อน ค.ศ. |
ก่อนหน้า | พระราชสวามีไม่ทราบพระนาม |
ถัดไป | สกุนคา (?) |
สวรรคต | ป. ทศวรรษ 520 ปีก่อน ค.ศ. |
คู่อภิเษก | พระราชสวามีไม่ทราบพระนาม |
พระราชบุตร | สปาร์กาปิแซส |
ศาสนา | ศาสนาซิเทีย |
โตมือริส (กรีกโบราณ: Τομυρις; ซากา: *Taumuriyaʰ; ละติน: Tomyris)[1][2] บางครั้งเรียกว่า ธอมีริส, ตอมริส หรือ ตอมิริเด รู้จักกันเฉพาะจากเฮโรโดตุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก โดยเขารายงานว่า พระนางครองราชย์เหนือกลุ่ม Massagetae ชาวซากาแห่งอิหร่านในเอเชียกลาง[3] โตมือริสนำกองทัพป้องกันการโจมตีของพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด แล้วเอาชนะกับปลงพระชนม์พระองค์เมื่อ 530 ปีก่อน ค.ศ. พระนางให้นำพระเศียรของพระองค์ที่ถูกตัดขาดใส่ไว้ในถุงหรือชามที่เต็มไปด้วยเลือด พร้อมพูดกับเศียรนั้นว่า "นี่ไง เสวยเลือดให้อิ่มหนำสำราญเสีย!"
พระนางไม่ได้รับการกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลสมัยต้นไม่กี่แห่งที่ครอบคลุมช่วงเวลาดังกล่าว แม้แต่ Ctesias ก็ไม่ได้กล่าว
โตมือริสกลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมพอสมควรในงานศิลปะและวรรณกรรมยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ในงานศิลปะ หัวข้อที่มักพบเห็นบ่อยคือภาพที่พระนางได้รับพระเศียรของไซรัส หรือภาพที่พระนางใส่พระเศียรลงในภาชนะที่เต็มไปด้วยเลือด สิ่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Power of Women กลุ่มสตรีที่เอาชนะผู้ชายด้วยวิธีต่าง ๆ
พระนาม
[แก้]พระนาม Tomyris เป็นรูปภาษาละตินจากพระนามภาษากรีกโบราณว่า Tomuris (Τομυρις) ซึ่งเป็นรูปแผลงเป็นกรีกจากพระนามภาษาซากาว่า *Taumuriyaʰ หมายถึง "ของครอบครัว" มีรากศัพท์จากคำร่วมเชื้อสายในภาษาอเวสตะว่า taoxman (𐬙𐬀𐬊𐬑𐬨𐬀𐬥) และศัพท์ภาษาเปอร์เซียเก่าว่า taumā (𐎫𐎢𐎶𐎠) หมายถึง "เมล็ด," "หน่อ" และ "เครือญาติ"[1][2]
พระประวัติ
[แก้]ภูมิหลัง
[แก้]โตมือริสเป็นมเหสีหม้ายในกษัตริย์แห่ง Massagetae ที่พระนางขึ้นครองราชย์เป็นราชินีของชนเผ่าหลังจากที่พระองค์สวรรคต[4]
สงครามกับเปอร์เซีย
[แก้]เมื่อไซรัส ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิอะคีเมนิดของเปอร์เซีย ของอภิเษกสมรสกับพระนางโตมือริสเพื่อหวังจะครอบครองอาณาจักร แต่พระนางเข้าใจจุดมุ่งหมายของไซรัสและปฏิเสธคำขอของพระองค์ ไซรัสถึงตอบสนองต่อการปฏิเสธด้วยการรุกราน Massagetae ตามคำแนะนำของCroesusแห่งลิเดีย[3][5][4]
เมื่อไซรัสสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ Araxes เพื่อจะโจมตี Massagetae โตมือริสแนะนำให้พระองค์พอพระทัยกับการปกครองอาณาจักรของพระองค์เอง และปล่อยให้พระนางปกครองอาณาจักรของพระนางไป การโจมตีครั้งแรกของไซรัสถูกพวก Massagetae กำจัด หลังจากนั้น พระองค์ได้จัดงานเลี้ยงหรูหราพร้อมไวน์จำนวนมากในเต็นท์ค่ายของเขาเป็นที่ซุ่มโจมตีและถอนทัพออกไป[6][7][4]
การสิ้นพระชนม์ของสปาร์กาปิแซส
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสวรรคตของไซรัส
[แก้]ในรายงานของเฮโรโดตุส (ขัดแย้งกับข้อมูลอื่น ๆ หลายแห่ง) โตมือริสเป็นผู้นำทัพ Massagetae เข้าสู่สงคราม และระหว่างการสู้รบครั้งต่อไปเพื่อต้านทานกองทัพไซรัส โตมือริสก็เอาชนะชาวเปอร์เซียและทำลายกองทัพของพวกเขาไปเกือบหมด ไซรัสถูกปลงพระชนม์ในสงคราม และโตมือริสพบพระศพ ตัดพระเศียรและนำไปใส่ในถุงที่บรรจุเลือดพร้อมตรัสถึงไซรัสว่า "จงดื่มเลือดให้เต็มที่!"[3][6][5][8]
ภายหลัง
[แก้]ส่วนรายงานการสวรรคตของไซรัสอีกแบบที่บันทึกโดย Ctesias ระบุว่า ไซรัสสวรรคตขณะสู้รบกับพวก Derbices ที่อาจดูเหมือนกับพวก Massagetae หรือเป็นเผ่าย่อยของ ในฉบับนี้ พระองค์บาดเจ็บอย่างหนักจากการสู้รบกับพวก Derbices และพันธมิตรอินเดีย จากนั้น พระเจ้า Amorges แห่ง Amyrgians ผู้เป็นพันธมิตรกับไซรัส เข้าแทรกแซงด้วยกองทัพของพระองค์และช่วยทหารเปอร์เซียเอาชนะ Derbices หลังจากนั้น ไซรัสยังคงทนอยู่เป็นเวลาสามวัน ในช่วงนั้นพระองค์จัดระเบียบอาณาจักรและแต่งตั้ง Spitaces โอรสใน Sisamas เป็นเซแทร็ปเหนือพวก Derbices ก่อนที่จะสวรรคต[9][10][1]
ข้อมูลเกี่ยวกับโตมือริสหลังทำสงครามกับไซรัสมีเพียงอีกเล็กน้อย เมื่อประมาณ 520 ปีก่อน ค.ศ. หรืออาจเป็นก่อนหน้านั้น เผ่าของพระนางอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์นามสกุนคาผู้ก่อกบฏต่อจักรวรรดิเปอร์เซีย จนกระทั่งพระเจ้าดาไรอัสที่ 1 แห่งอะคีเมนิด หนึ่งในผู้สืบทอดของไซรัส นำทัพไปปราบพวกซากาใน 520 ถึง 518 ปีก่อน ค.ศ. โดยพระองค์พิชิต Massagetae จบกุมสกุนคา และแทนที่พระองค์ด้วยผู้ปกครองที่จงรักภักดีต่ออะคีเมนิด[11][12]
สื่งสืบทอด
[แก้]ประวัติของโตมือริสได้รับการผนวกเข้ากับธรรมเนียมศิลปะตะวันตก ศิลปินที่วาดภาพเหตุการณ์ในชีวิตของโตมือริสและการเอาชนะไซรัสกับกองทัพของพระองค์ได้แก่ รือเบินส์,[13] อัลเลกรีนี,[14] Luca Ferrari,[15] Mattia Preti, Gustave Moreau และ Severo Calzetta da Ravenna ประติมากร[16]
ประเทศคาซัคสถานรับโตมือริสเป็นวีรสตรีแห่งชาติและออกเหรียญเพื่อเป็นเกียรติแด่พระนาง[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Schmitt, Rüdiger (2003). "Die skythischen Personennamen bei Herodot" [Scythian Personal Names in Herodotus] (PDF). Annali dell'Università degli Studi di Napoli l'Orientale (ภาษาเยอรมัน). 63: 1–31.
- ↑ 2.0 2.1 Bukharin, Mikhail Dmitrievich (2011). "Колаксай и его братья (античная традиция о происхождении царской власти у скифов" [Kolaxais and his Brothers (Classical Tradition on the Origin of the Royal Power of the Scythians)]. Аристей: вестник классической филологии и античной истории (ภาษารัสเซีย). 3: 20–80. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Schmitt 2018.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Gera, Deborah Levine (2018). Warrior Women: The Anonymous Tractatus De Mulieribus. Leiden, Netherlands; New York City, United States: Brill. p. 187-199. ISBN 978-9-004-32988-1.
- ↑ 5.0 5.1 Rollinger 2003.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Mayor 2017.
- ↑ Mayor 2014.
- ↑ Faulkner, Robert (2000). "CYRUS iiia. Cyrus II as Portrayed by Xenophon and Herodotus". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 8 August 2011.
- ↑ Francfort 1988, p. 171.
- ↑ Dandamayev 1994.
- ↑ Schmitt, Rüdiger (1994). "AMORGES". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 2022-07-12.
- ↑ Shahbazi, A. Shapur (1994). "DARIUS iii. Darius I the Great". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
- ↑ "Питер Пауэль Рубенс (Peter Paul Rubens). Queen Tomyris before the Head of Cyrus. Масло на холсте. The Museum of Fine Arts, Boston, MA, USA". staratel.com (Russian). 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
- ↑ "Francesco Allegrini, attrib. to Italian, 1587 – 1663, Tomyris and Cyrus, 17th century". Fine Arts Museums of San Francisco. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
- ↑ "Queen Tomyris with the head of Cyrus the Great by Ferrari, Luca (1605–54)". Bridgeman Art Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
- ↑ "The Frick Collection". collections.frick.org. 1998–2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
ข้อมูล
[แก้]- Dandamayev, M. A. (1994). "Media and Achaemenid Iran". ใน Dani, Ahmad Hasan; Harmatta, János; Puri, Baij Nath; Etemadi, G. F.; Bosworth, Clifford Edmund (บ.ก.). The Development of Sedentary and Nomadic Civilizations: 700 B.C. to A.D. 250. History of Civilizations of Central Asia. Vol. 2. Paris, France: UNESCO. pp. 35–64. ISBN 978-9-231-02846-5.
- Francfort, Henri-Paul (1988). "Central Asia and Eastern Iran". ใน Boardman, John; Hammond, N. G. L.; Lewis, D. M.; Ostwald, M. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History. Vol. 4. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-22804-6.
- Mayor, Adrienne (2014). The Amazons: Lives and Legends of Warrior Women across the Ancient World. Princeton, United States: Princeton University Press. pp. 143–144. ISBN 978-0-691-14720-8.
- Mayor, Adrienne (2017). "AMAZONS IN THE IRANIAN WORLD". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 20 July 2022.
- Rollinger, Robert (2003). "HERODOTUS iv. CYRUS ACCORDING TO HERODOTUS". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 20 July 2022.
- Schmitt, Rüdiger (2018). "MASSAGETAE". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.