ข้ามไปเนื้อหา

โซจะ

พิกัด: 34°40′22″N 133°44′47″E / 34.67278°N 133.74639°E / 34.67278; 133.74639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซจะ

総社市
ศาลาว่าการนครโซจะ
ศาลาว่าการนครโซจะ
ธงของโซจะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโซจะ
ตรา
ที่ตั้งของโซจะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโอกายามะ
ที่ตั้งของโซจะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโอกายามะ
แผนที่
โซจะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โซจะ
โซจะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 34°40′22″N 133°44′47″E / 34.67278°N 133.74639°E / 34.67278; 133.74639
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูโงกุ, ซังโย
จังหวัด โอกายามะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีโซอิจิ คาตาโอกะ (片岡 聡一; ตั้งแต่ตุลาคม ค.ศ. 2007)
พื้นที่
 • ทั้งหมด211.90 ตร.กม. (81.82 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 สิงหาคม ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด69,158 คน
 • ความหนาแน่น326 คน/ตร.กม. (840 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
ที่อยู่ศาลาว่าการ1-1-1 ชูโอ นครโซจะ จังหวัดโอกายามะ 719-1192
รหัสท้องถิ่น33208-9
เว็บไซต์www.city.soja.okayama.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกกระเรียนมงกุฎแดง
ดอกไม้Astragalus
ต้นไม้เมเปิล

โซจะ (ญี่ปุ่น: 総社市โรมาจิSōja-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดโอกายามะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 211.90 ตารางกิโลเมตร (81.82 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2024 โซจะมีจำนวนประชากรประมาณ 69,158 คน มีความหนาแน่นของประชากร 326 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

นครโซจะตั้งอยู่ในทางตอนกลาง-ใต้ของจังหวัดโอกายามะ มีแม่น้ำทากาฮาชิไหลผ่านเมืองจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศใต้ ทางตอนเหนือและตะวันตกตั้งอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของที่ราบสูงคิบิ ส่วนทางตอนใต้เป็นพื้นที่เนินเขา พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำทากาฮาชิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมือง

ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณใจกลางเมืองของนครโซจะ ถ่ายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2007

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

แม่น้ำ

[แก้]

ภูเขา

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

โซจะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในโซจะอยู่ที่ 14.7 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,392 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ประมาณ 26.6 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 3.5 °C[3]

สถิติประชากร

[แก้]

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] ประชากรของโซจะเพิ่มขึ้นในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 38,074—    
1930 38,148+0.2%
1940 38,119−0.1%
1950 49,227+29.1%
1960 47,564−3.4%
1970 48,444+1.9%
1980 56,865+17.4%
1990 61,459+8.1%
2000 66,201+7.7%
2010 66,216+0.0%

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ศาลเจ้าโซจะ

พื้นที่ที่เป็นนครโซจะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นในอดีตที่ชื่อแคว้นบิตจู และเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคิบิ โบราณสถานจากยุคนี้ ได้แก่ สุสานสึกูริยามะ ซึ่งเป็นเนินฝังศพที่ใหญ่เป็นอันดับ 10 ของญี่ปุ่น และปราสาทคิ ซึ่งเป็นป้อมปราการที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ต่อมาในยุคนาระ ศาลเจ้าบิตจูโคกูบุนจิและศูนย์กลางของแคว้นตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นนครโซจะในปัจจุบัน พื้นที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองในยุคมูโรมาจิในฐานะที่เป็นเมืองวัด ที่มาของชื่อโซจะ มาจากชื่อของศาลเจ้าบิตจูโนะคูนิโซจะ

หลังการปฏิรูปเมจิ เมื่อมีการใช้ระบบเทศบาล หมู่บ้านโซจะได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 และได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1954 และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2005 หมู่บ้านยามาเตะและหมู่บ้านคิโยเนะ (เทศบาลทั้งสองมาจากอำเภอสึกูโบะ) ได้ถูกยุบรวมเข้ากับนครโซจะ

การเมืองการปกครอง

[แก้]

นครโซจะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 22 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครโซจะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดโอกายามะจำนวน 2 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครโซจะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดโอกายามะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

นครโซจะเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจแบบผสมผสาน อุตสาหกรรมในท้องถิ่นจะเป็นการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปอาหาร และภาคการเกษตร

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยจังหวัดโอกายามะ

โรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนครโซจะ ประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษา 13 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ 1 แห่ง และโรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอกายามะ ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 แห่ง นอกจากนี้ โซจะยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยจังหวัดโอกายามะอีกด้วย

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]
สถานีรถไฟโซจะ

ทางหลวง

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

เมืองแฝด

[แก้]

นครโซจะเป็นเมืองแฝดกับนครชิโนะ ในจังหวัดนางาโนะ ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1984[5]

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

[แก้]
บิตจูโคกูบุนจิ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "統計分析課" [กองวิเคราะห์สถิติ]. จังหวัดโอกายามะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2024.
  2. "สถิติทางการของนครโซจะ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.
  3. ข้อมูลภูมิอากาศโซจะ
  4. สถิติประชากรโซจะ
  5. 総社市について [เกี่ยวกับนครโซจะ] (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]