ข้ามไปเนื้อหา

โชโพรินโปเช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โชโพรินโปเช ประกิษฐานภายในวัดโชคัง ภาพถ่ายปี 1999

โชโพศากยมุนี (อักษรโรมัน: Jowo Shakyamuni) หรือ โชโพรินโปเช (ทิเบต: ཇོ་བོ་རིན་པོ་ཆེ།, ไวลี: jo bo rin po che, พินอินทิเบต: qo po rin bo qê) เป็นพุทธประติมาขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7 ประดิษฐานอยู่ภายในอารามโชคัง ลาซ่า ทิเบต โชโพรินโปเช และพุทธประติมาอีกองค์ คือ โชโพมีเกยอโตเจ (ทิเบต: ཀརྨ་པ་མི་བསྐྱོད་རྡོ་རྗེ་, พินอินทิเบต: qo po mi gyö do jê, Jowo Mikyö Dorje) ในวัดราโมเช เป็นสองพระพุทธรูปที่เป็นที่สักการะสูงสุดในทิเบต

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ตามตำนานของทิเบตว่ากันว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าทนงดำริให้เทวประติมากรสร้างรูปเหมือนของพระองค์เพื่อนำมาประดิษฐานในดินแดนทิเบต พุทธประติมาองค์นี้ต่อมาเป็นสมบัติของกษัตริย์แห่งมคธ ผู้มอบต่อให้กับจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง ลูกสาวของคนใกล้ชิดจักรพรรดิคนหนึ่ง เจ้าหญิงเหวินเฉิง[1] ได้อัญเชิญพระรูปไประดิษฐานที่ลาซ่าในฐานะสินสอดแก่กษัตริย์ทิเบตองค์ที่ 33 พระเจ้าซงแจ็นกัมโป[2] ในรัชสมัยของ พระเจ้ามังซงมังแจ็น (649-676) ภายใต้คำขู่ว่าชาวจีนจากราชวงศ์ถังอาจจะรุกรานและขโมยพระรูปนี้ไป เจ้าหญิงเหวินเฉิงได้นำเอาพระรูปโชโพนี้ไปซ่อนในห้องลับใน Tsuglakhang ในอารามราโมเช ต่อมา เจ้าหญิงอีกนางจากจีนจึงได้นำพระรูปกลับขึ้นมา และประดิษฐานไว้ที่อารามโชคังในช่วงหลังปี 710 เป็นต้นมา ที่อารามราโมเชได้มีการอัญเชิญพุทธประติมานามว่าโชโพมีเกยอโตเจ สร้างจากทองสัมฤทธิ์ ว่ากันว่าเป็นพระรูปแสดงพระพุทธเจ้าขณะพระชนมายุ 8 พรรษา และสร้างขึ้นโดยพระวิศวกรรม และอัญเชิญมายังลาซ่าโดยเจ้าหญิง Bhrikuti แห่งเนปาล พระรูปโชโพมิกเยอดอร์เจถูกทำลายเสียหายอย่างหนักโดยยุวชนแดงในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม[3] อย่างไรก็ตาม ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ราวทศวรรษที่ 60 วิหารราโมเชถูกไฟเผลาผลาญ เสียหายไปส่วนหนึ่ง ขณะที่พระพุทธปฏิมาสูญหายไป กระทั่งในปี 1983 มีผู้พบส่วนครึ่งล่างขององค์พระอีกครั้ง กล่าวกันว่าถูกทิ้งไว้ในกองขยะแห่งหนึ่งในกรุงลาซ่า และต่อมาพบครึ่งองค์ส่วนบนที่กรุงปักกิ่ง จึงนำกลับมาซ่อมแซมในปี 1986 แต่ฝีมือซ่อมไม่ละเอียดนัก จึงยังเห็นร่องรอยของความเสียหายอยู่ จนกระทั่งถึงปี 1993 ปัจจุบัน โจโว รินโปเช ได้รับการซ่อมแซมจนงดงามเกือบดังเดิม [4] [5]

ในช่วงศตวรรษที่ 14 จงคาปา ผู้ก่อตั้งนิกายเกลุก หรือนิกายหมวกเหลืองของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานแบบทิเบต ได้ถวายเครื่องทรงสัมโภคกายแก่พระพุทธปฏิมา ซึ่งแต่ก่อนทรงจีวรธรรมดา ในภาคนิรมานกาย ทั้งนี้ สัมโภคกาย คือ กายละเอียดเป็นทิพย์ภาวะสูงสุดอันดับ 2 รองจากธรรมกาย ตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน/วัรยาน พระพุทธรูปที่ปรากฏพระองค์ในภาคนี้ มักทรงเครื่องทรงอย่างวิจิตรงดงาม ส่วนภาคนิรมานกาย คือภาคที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตรพระกายเป็นมนุษย์สามัญ มีเกิด แก่ เจ็บ ตายไปตามอนิจลักษณ์ [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Warner, Cameron David. 2011. "A Miscarriage of History : Wencheng Gongzhu and Sino-Tibetan Historiography." Inner Asia 13 (2): 239-264.
  2. Warner, Cameron David. 2008. "The Precious Lord: The History and Practice of the Cult of the Jowo Śākyamuni in Lhasa, Tibet." Ph.D. Dissertation, Department of Sanskrit and Indian Studies, Harvard University.
  3. Tibet (6th edition), p. 104. (2005) Bradley Mayhew and Michael Kohn. Lonely Planet. ISBN 1-74059-523-8.
  4. Dorje, Gyume (1999), p. 92.
  5. ibet (6th edition), p. 104.
  6. History of the Jowo Rinpoche จาก http://jokhang.org/history.html เก็บถาวร 2013-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

บรรณานุกรม

[แก้]