ข้ามไปเนื้อหา

โฉมฉาย อรุณฉาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฉมฉาย อรุณฉาน
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด19 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
นิตยา อรุณวงศ์
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ปีที่แสดง2512 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นสมมติว่าเขารัก ภวังค์รัก คอยหามาหาย น้อยใจ คอยรักคืนรัง รอคนรัก

โฉมฉาย อรุณฉาน นักร้องประจำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์และวงดนตรีสุนทราภรณ์ผู้มีน้ำเสียงหวานเป็นเอกลักษณ์

ประวัติ

[แก้]

โฉมฉาย อรุณฉาน มีชื่อจริงว่า นิตยา อรุณวงศ์ เป็นนักร้องเพลงลูกกรุงประจำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณนิรันดร์ อรุณวงศ์ และ คุณเรณู ปทีปเสน จบการศึกษาที่โรงเรียนสารสาส์นพิทยา จากนั้นได้เข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2542 ศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชามานุษยดุริยางค์) สำเร็จการศึกษาเมื่อ (พ.ศ. 2547 )และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (ปร.ด.) เมื่อ พ.ศ. 2556 (มีผลงานวิจัย เรื่องการบริหารจัดการวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์, และศึกษาชีวประวัติและวิธีการขับร้องของ รวงทอง ทองลั่นธม)

ชีวิตนักร้อง

[แก้]

เริ่มชีวิตการเป็นนักร้องเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2512 โดย คุณคณิต ประทีปะเสน ซึ่งเป็นคุณตา เป็นผู้นำมาฝากกับครูเอื้อ สุนทรสนาน และวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ก็ได้รับเลือกให้แสดงเป็นนางฟ้า ในการแสดงจินตลีลาชุด "คนธรรพ์ พิณทิพย์" ที่ไทยทีวีช่อง 4 ภาคดึก เนื่องในวันฉลองครบรอบ 30 ปี ของ วงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยใช้ชื่อโฉมสุรางค์ อรุณวงศ์

ต่อมาได้เป็นนักเรียนฝึกการขับร้องที่โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี(รุ่นเดียวกับดาวใจ ไพจิตร)ได้สักพักหนึ่ง ก็ได้ด้รับคัดเลือกให้บันทึกเสียงเพลงสมมุติว่าเขารักเป็นเพลงแรกในชีวิต เมื่อปีพ.ศ. 2512 และมีผลงานอื่น ๆ ตามมา และหลังจากครูเอื้อ สุนทรสนาน เสียชีวิต โฉมฉายได้โด่งดังกับการร้องเพลงร่วมกับน้องสาวคือ วไลลักษณ์ อรุณฉาน และ ลัดดาวัลย์ อรุณฉาน ในชื่อ สามกัลยาขับร้องเพลงให้กับวงสังคีตสัมพันธ์ของวินัย จุลละบุษปะและศรีสุดา รัชตะวรรณ

ปัจจุบันโฉมฉาย อรุณฉาน เกษียณอายุราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานศิลปิน 8 ผู้อำนวยการส่วนบริหารการดนตรี กรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การควบคุมของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์พิเศษ ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และยังเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในหน่วยงานต่าง ๆ

ส่วนงานทางด้านบันเทิงนั้น เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก ในรายการเสียงสวรรค์เมื่อวันวาน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และรายการวันอาทิตย์คิดถึงกัน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อีกด้วย

ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • สมมุติว่าเขารัก
  • ถ้าเธอจะรักฉันก็จะรอ
  • ภวังค์รัก
  • คอยรักคืนรัง
  • รอคนรัก
  • คอยหามาหาย
  • หนาวนี้เมื่อปีก่อน
  • งามลำปางเขลางค์นคร
  • ล่องเจ้าพระยา (คู่กับ นพดฬ ชาวไร่เงิน)
  • หัวใจเอ๋ย
  • ถ้าเธอยังรอฉันก็ยังรัก
  • ฝันรัญจวน
  • นางนอน
  • อินทนนท์
  • อินทนนท์รำพึง
  • คอยรวีวันใหม่
  • ทะเลมาลี
  • ลุ่มเจ้าพระยา
  • คลื่นโลมทราย
  • สุโขทัย (นำหมู่)
  • ฉัตรเเก้ว (นำหมู่) คู่กับ วรนุช อารีย์
  • บ้านเกิดเมืองนอน (คู่กับ ศรีสุดา รัชตะวรรณ วรนุช อารีย์ มาริษา อมาตยกุล)

และบทเพลงในแนวลูกกรุงอีกมากมาย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๔, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๕, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]