ข้ามไปเนื้อหา

โฆษณาชวนเชื่อในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพโปสเตอร์แมนจูกัวส่งเสริมความสามัคคีระหว่างญี่ปุ่น จีน และแมนจู คำบรรยายภาพกล่าวว่า: "ด้วยความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น จีน และแมนจูกัว โลกก็จะสงบสุขได้" ธงที่แสดงคือ ซ้ายไปขวา: ธงของแมนจูกัว; ธงชาติญี่ปุ่น และ ธงห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ ซึ่งเป็นธงชาติจีนในขณะนั้น

การโฆษณาชวนเชื่อของประเทศญี่ปุ่นมีจุดเริ่มต้นมาจากก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นสามารถเอาชนะจักรวรรดิรัสเซียในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1905 และได้ทำการผนวกเกาหลีในปี ค.ศ. 1910 ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจในทวีปเอเชีย รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มปลูกฝังความชาตินิยมให้กับชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะลัทธิบูชิโด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชาวญี่ปุ่นหรือทหารญี่ปุ่นที่ถูกปลูกฝังในเรื่องชาตินิยมสุดโต่งซึ่งมีความเชื่อว่า"ญี่ปุ่นจะไม่ยอมแพ้ต่อจักรวรรดินิยมหรือฝ่ายสัมพันธมิตร แม้จะต้องถวายชีวิตจนตัวตาย" ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ในหลายสมรภูมิรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นมักจะออกรบแบบถวายชีวิตหรือสู้จนตัวตายหรือที่เราเรียกว่า บันไซชาร์จ คือกลยุทธ์นึงที่ใช้การรบแบบคลื่นมนุษย์เป็นหลัก โฆษณาชวนเชื่อญี่ปุ่นยังถูกใช้อย่างมากในช่วงปลายสงครามหลักๆที่เห็นได้ชัดคือ ยุทธการไซปัน และ ยุทธการที่โอกินาวะ ที่มีประชาชนหรือชาวบ้านญี่ปุ่นกระทำการฆ่าตัวตายเพราะเชื่อว่าฝ่ายสหรัฐจะทำมิดีมิร้ายต่อตนเอง.

อ้างอิง

[แก้]
  • Jansen, Marius B. (2002). The Making of Modern Japan. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-00991-2; OCLC 52086912