ข้ามไปเนื้อหา

โคลงเคลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โคลงเคลง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับชมพู่
วงศ์: วงศ์โคลงเคลง
สกุล: Melastoma

L.
สปีชีส์: Melastoma malabathricum
ชื่อทวินาม
Melastoma malabathricum
L.
ชื่อพ้อง
  • Melastoma affine D.
  • Melastoma candidum D. Don
  • Melastoma cavaleriei H. Lév. & Vaniot
  • Melastoma esquirolii H. Lév.
  • Melastoma malabathricum var. normale (D. Don) R.C. Srivast.
  • Melastoma malabathricum subsp. normale (D. Don) K.Mey.
  • Melastoma normale D. Don
  • Melastoma polyanthum Blume [1]

โคลงเคลง หรือ สำเหร่ (อังกฤษ: Malabar melastome หรือ Indian rhododendron) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ประเภท ไม้ดอกล้มลุกในวงศ์ โคลงเคลง (Melastomataceae) ลักษณะกิ่งสี่เหลี่ยมมักมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวคู่ตรงข้าม เรียงแบบสลับน้อย เส้นใบ 3-9 ออกจากจุดเดียวกันตรงฐานใบ แล้วเบนเข้าหาปลายใบ เส้นใบย่อยเรียงแบบขั้นบันได ไม่มีหูใบ ออกดอกเป็นช่อ สมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยง 3-6 (ส่วนใหญ่ 5) กลีบดอก 5 เรียงเกยซ้อนกันในดอกอ่อน เกสรเพศผู้ (ก้านชูอับละอองเรณู) มีประมาณ 10 เกสรเรียงเป็น 2 วงและมีรยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลเมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เป็นพืชพิ้นเมืองในบริเวณชีวภูมิภาค อินโดมาลายา, ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย พบได้ทั่วไปในทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ที่ความสูงระหว่าง 100 ถึง 2,800 เมตร[2] มีสรรพคุณเป็นยาพื้นบ้านในหลายพื้นที่ของโลก[3] แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด รากใช้เป็นยา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แต่ได้ถูกระบุว่าเป็นวัชพืชที่เป็นภัยคุกคามในสหรัฐอเมริกา[4] โคลงเคลงสามารถสะสมธาตุอะลูมิเนียมโดยการดูดซืมทางรากได้มาก จึงสามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมด้วยพืช[5]

ชื่อท้องถิ่น

[แก้]
  • กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี)
  • กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี)
  • โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด)
  • ซิซะโพะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
  • ตะลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
  • เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร (ภาคใต้)
  • มายะ (ชอง-ตราด)
  • อ้า, อ้าหลวง (ภาคเหนือ)

อนุกรมวิธาน

[แก้]

อนุกรมวิธานของสกุล Melastoma ต้องการข้อสรุปของการทบทวน[6] ซึ่งการศึกษาพันธุกรรมในเบื้องต้นได้รับการตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544[7] แต่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขจากข้อมูลดังกล่าว[8] ในปีเดียวกัน Karsten Meyer เสนอการแก้ไขให้สปีชีส์ Melastoma affine และสายพันธุ์อื่น ๆ รวมอยู่ในสปีชีส์ M. malabathricum[9]

ในออสเตรเลียปัจจุบันหน่วยงานส่วนใหญ่ไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ โดยสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, รัฐควีนส์แลนด์ และบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ยังคงแยกเป็นสปีชีส์ M. affine[10][11] ยกเว้นหน่วยงานในรัฐควีนส์แลนด์[12][13] สายพันธุ์ที่ขึ้นในออสเตรเลียในลักษณะวัชพืชมีรูปแบบดอกหลายแบบ ในทางทิศใต้กว่าการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของ M. affine ได้รับการยอมรับว่าเป็นสปีชีส์ M. malabathricum L.[14]

ลักษณะ

[แก้]

โคลงเคลง เติบโตบนดินหลากหลายตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงกว่า 3,000 เมตร เป็นไม้พุ่มตั้งตรงและออกดอกชุก ที่เติบโตได้สูงถึง 3 เมตร มีการแตกแขนงและมีลำต้นสีแดงที่ปกคลุมด้วยเกล็ดและขนสั้น ๆ ใบมีรูปไข่แกมใบหอกที่มีฐานกลมมีความยาวได้ถึง 7 ซม. ลำต้นมีท่อลำเลียงหลักสามท่อยาวตลอดจากฐานถึงปลายยอด ดอกเกิดเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ ยาว 2 ถึง 8 ซม. ผลเป็นชนิดเบอร์รี่ซึ่งเมื่อสุกจะแตกอย่างไม่สม่ำเสมอเผยให้เห็นเนื้อผลสีฟ้าเข้มและเมล็ดสีส้ม[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Melastoma malabathricum L. — the Plant List".
  2. "Melastoma malabathricum". Flora of China. pp. 364–365.
  3. S. Mohd. Joffry; N. J. Yob; และคณะ. "Melastoma malabathricum (L.) Smith Ethnomedicinal Uses, Chemical Constituents, and Pharmacological Properties: A Review". doi:10.1155/2012/258434.
  4. "Melastoma malabathricum". Germplasm Resources Information Network (GRIN) online database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-02. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
  5. Toshihiro Watanabe; Seiji Misawa; Mitsuru Osaki (November 2005). "Aluminum accumulation in the roots of Melastoma malabathricum, an aluminum accumulating plant". Canadian Journal of Botany. 83 (11): 1518–1522.
  6. Whiffin, Trevor (1990). "Melastoma". Flora of Australia: Volume 18: Podostemaceae to Combretaceae. Flora of Australia series. CSIRO Publishing / Australian Biological Resources Study. pp. 247–248. ISBN 978-0-644-10472-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  7. Clausing, G.; Renner, Susanne S. (2001). "Molecular phylogenetics of Melastomataceae and Memecylaceae: implications for character evolution". American Journal of Botany. 88 (3): 486–498. doi:10.2307/2657114. JSTOR 2657114. PMID 11250827. – see also the erratum.
  8. Michelangeli, Fabián A.; Guimaraes, Paulo J. F.; Penneys, Darin S.; และคณะ (2013). "Phylogenetic relationships and distribution of New World Melastomeae (Melastomataceae)". Botanical Journal of the Linnean Society. 171 (1): 38–60. doi:10.1111/j.1095-8339.2012.01295.x. ISSN 1095-8339.
  9. Meyer, Karsten (2001). "Revision of the Southeast Asian genus Melastoma (Melastomataceae)". Blumea. 46 (2): 351–398.
  10. "Vascular Plants". Australian Plant Name Index (APNI), Integrated Botanical Information System (IBIS) database (listing by % wildcard matching of all taxa relevant to Australia). Centre for Plant Biodiversity Research, Australian Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  11. Wilson, Peter G. (July 2001). "Melastoma affine D.Don – New South Wales Flora Online". PlantNET - The Plant Information Network System. 2.0. Sydney, Australia: The Royal Botanic Gardens and Domain Trust. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  12. Hyland, B. P. M.; Whiffin, T.; และคณะ (December 2010). "Factsheet – Melastoma malabathricum subsp. malabathricum". Australian Tropical Rainforest Plants (6.1 [RFK 6.1] ed.). Cairns, Australia: Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO); the Australian Tropical Herbarium, James Cook University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-28. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  13. Bostock, P.D.; Holland, A.E., บ.ก. (2010). Census of the Queensland Flora 2010. Brisbane: Queensland Herbarium, Department of Environment and Resource Management. p. 101. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  14. Hosking, J. R.; Conn, B. J.; Lepschi, B. J.; Barker, C. H. (2011). "Plant species first recognised as naturalised or naturalising for New South Wales in 2004 and 2005" (PDF). Cunninghamia. 12 (1): 85–114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 April 2014. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
  15. Samy, Joseph (2005). Herbs of Malaysia: An Introduction to the Medicinal, Culinary, Aromatic and Cosmetic Use of Herbs. Times Editions. pp. 144–145. ISBN 978-9833001798.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]