ข้ามไปเนื้อหา

โคลงนิราศหริภุญชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โคลงนิราศหริภุญไชย)
วัดพระธาตุหริภุญชัย ภาพถ่ายโดย Ritthichai Siangdee

โคลงนิราศหริภุญชัย เป็นกวีเก่าที่มีประมาณ 720 บรรทัด เดิมแต่งเป็นภาษาไทยถิ่นเหนือ โดยคำว่า นิราศ มาจากคำศัพท์ภาษาสันสกฤตแปลว่า “ไม่มี” เป็นแนวการแต่งกวีที่มีการเดินทางไกลและแยกจากผู้เป็นที่รัก[1] หริภุญชัยเป็นอาณาจักรโบราณที่มีศูนย์กลางที่จังหวัดลำพูน โดยพญามังรายทรงผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 กวีนี้กล่าวถึงการเดินทางจากเชียงใหม่ไปยังลำพูนเพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุหริภุญชัย โดยไปเยี่ยมชมวัดและข้างทางประมาณ 20 แห่ง ในระหว่างการเดินทาง ผู้แต่งรู้สึกคร่ำครวญถึงการแยกจากนางศรีทิพ ผู้เป็นที่รักของเขา การเดินทางใช้เวลาสองถึงสามวัน กวีนี้จบลงที่เทศกาลพระบรมสารีริกธาตุที่ราชินีกับพระราชโอรสเสด็จมาด้วย เนื้อเรื่องเดิมสืบไปได้ถึง ค.ศ. 1517-1518 บทกวีได้รับการชื่นชมเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้เนื่องจากความยากของภาษาเก่า

เอกสารตัวเขียนและการเผยแพร่

[แก้]

มีข้อความเจ็ดข้อความที่เขียนบนใบลานด้วยภาษาไทยถิ่นเหนือ ซึ่งพบในจังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน และพะเยา ส่วนอีกข้อความหนึ่งที่เขียนบนสมุดข่อยในภาษาไทยถูกเก็บอยู่ในสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีสี่ฉบับที่มีเนื้อหาคล้ายกัน เชื่อกันว่าเอกสารตัวเขียนอาจนำมาจากล้านนาไปที่อาณาจักรอยุธยาตอนสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2204 แล้วไปแปลเป็นภาษาไทย แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้[2][3]

ข้อความฉบับภาษาไทยได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติใน พ.ศ. 2467 ที่มีคำนำโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ผลงานนี้ “อาจเป็นต้นแบบของนิราศที่แต่งในอยุธยาและส่งลงมาถึงกรุงเทพ”[4] อย่างไรก็ตาม ผลงานนี้มีคนอ่านน้อยเพราะใช้ภาษาที่คลุมเครือ ใน พ.ศ. 2486 ประเสริฐ ณ นครเริ่มถอดความอักษรล้านนาไปเป็นอักษรไทย ทำให้มีการตีพิมพ์ใช้งานเป็นการส่วนตัวและเป็นหนังสืองานศพในปีถัดมา ในช่วง พ.ศ. 2502 พระยาอนุมานราชธนส่งเสริมให้ประเสริฐแปลเพิ่มและตีพิมพ์ผลงานนี้ ทำให้มีการตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมภาษาและวรรณคดีไทยใน พ.ศ. 2503 ใน พ.ศ. 2516 ประเสริฐตีพิมพ์ฉบับขยายที่มีอักษรล้านนา อักษรไทย คำอธิบาย และภาคผนวกของคำและสถานที่โดยวิจิตร ยอดสุวรรณ (Wijit Yodsuwan)[5]

ใน พ.ศ. 2532 ลมูล จันทน์หอม จบการศึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำการเปรียบเทียบข้อความฉบับล้านนาหกบรรทัดที่เขาอ้างว่า “ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด”[6]

ใน พ.ศ. 2535 ทิว วิชัยขัทคะ กับไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว ตีพิมพ์ฉบับอักษรล้านนาอีกฉบับที่พวกเขากล่าวว่าเป็น “ฉบับลำพูน”[7] และใน พ.ศ. 2562 วินัย พงศ์ศรีเพียร เรียบเรียงนิราศแบบใหม่เสร็จที่มีการเทียบกับภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมกับงานวิจัยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับภูมิหลังของนักกวี[8]

ชื่อ นิราศหริภุญชัย อาจมาหลังจากกวีแนว นิราศ ได้พัฒนาแล้ว[1] เช่นในเอกสารตัวเขียนหนึ่งจากวัดเจดีย์หลวงกวีนี้มีชื่อว่า ลำลพุน[9]

ปีที่แต่งและผู้ประพันธ์

[แก้]

บทเปิดกวีให้ปีหนไทว่า “ปีเมิงเป้า” ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2000, 2060, 2120, 2180 เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คาดการณ์ว่าอยู่ใน พ.ศ. 2180 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองหรือก่อนหน้านั้น[4]

ประเสริฐ ณ นคร กล่าวว่ากวีนี้เขียนใน พ.ศ. 2060-2061 โดยในกวีกล่าวถึงพระแก้วมรกต ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจริงเฉพาะในช่วง พ.ศ. 2011 ถึง 2091 และพระพุทธสิหิงค์ประทับที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจริงเฉพาะใน พ.ศ. 1950 ถึง 2091 ดังนั้น ช่วงปีที่ตรงกับปีนักษัตรนี้คือ พ.ศ. 2060/2061[10] แต่มีนักวิชาการบางส่วนตั้งข้อสงสัยถึงวันที่เริ่มเขียน[11]

เมื่อดูคำศัพท์ในกวี จึงเป็นที่กระจ่างว่าผู้แต่งกับผู้เป็นที่รักเป็นเชื้อพระวงศ์[12] เช่น เขากล่าวถึงของถวายของตนว่า ราชกุศล (“ผลงานที่ดีของกษัตริย์” (v.126)) และกล่าวถึงผู้เป็นที่รักว่า อัคคชา (“มเหสีหลัก/ราชินี” (v.127))

วินัย พงศ์ศรีเพียรเสนอว่าผู้แต่งคือพระเมืองแก้ว (ครองราชย์ พ.ศ. 2038–2068) กษัตริย์ล้านนาใน เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2060 และศรีทิพดำรงตำแหน่งเป็นพระมเหสี[13] ในขณะที่อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวเสนอว่าผู้แต่งคือศิริยวาปีมหาอำมาตย์ ขุนนางชั้นมหาอำมาตย์จากลำปาง และศรีทิพคือภรรยาของเขา ส่วนโป่งน้อยคือพระราชมารดาของพระเมืองแก้ว[14]

เรื่องย่อ

[แก้]

เริ่มบทบูชาพระรัตนตรัย บอกวันเวลาที่แต่ง แล้วกล่าวถึงการที่ต้องจากนางที่เชียงใหม่ไปบูชาพระธาตุหริภุญชัยที่เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ก่อนออกเดินทางได้นมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ ณ วัดพระสิงห์ ผ่านวัดทุงยู วัดศรีเกิด วัดผาเกียร (ชัยพระเกียรติ) วัดอูปแป้น ขอพรพระมังราชหรือพระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลเทพารักษ์ ผ่านหอพระแก้ว (กุฏาราม) นมัสการลาพระแก้วมรกต ณ วัดเจดีย์หลวง ผ่านวัดช่างแต้ม วัดเจ็ดลิน วัดเสฏฐา (วัดเชษฐา) วัดฟ่อนสร้อย วัดเชียงสง ออกประตูเชียงใหม่ ผ่านวัดศรีมหาทวาร (วัดเชียงของ) วัดพันงอม วัดเถียงเส่า วัดกุฎีคำ (วัดธาตุคำ) วัดน่างรั้ว ออกประตูขัวก้อม ขึ้นขบวนเกวียน ผ่านวัดกู่คำหลวง (วัดเจดีย์เหลี่ยม) วัดพระนอนป้านปิง (วัดพระนอนหนองผึ้ง) วัดยางหนุ่ม (วัดกองทราย) หยุดพักนอนที่กาดต้นไร (ตลาดต้นไทร) 1 คืน เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณนาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอดทางจนถึงเมืองหริภุญชัย ได้นมัสการพระธาตุหริภุญชัยสมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ก่อนแวะไปนมัสการพระที่วัดพระยืน ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับเชียงใหม่

รูปแบบ

[แก้]

โคลงนี้มีโคลงสี่สุภาพ 181 โคลงที่มีทำนองและน้ำเสียงต่างกัน และไม่มีการเชื่อมโคลง[15]

สถานที่ในโคลงนิราศหริภุญชัย

[แก้]
สถานที่ในนิราศหริภุญชัย[16][17][11]
โคลงบทที่ ชื่อ ปัจจุบัน ที่อยู่ ตำแหน่ง
10 พระวรเชษฐช้อย ศรีสิงห์ วัดพระสิงห์ ถนนสามล้าน 18.7884, 98.9818
12 ทุงยู วัดทุงยู ถนนราชดำเนิน 18.7887, 98.9842
12 ศรีเกิด วัดศรีเกิด ถนนราชดำเนิน 18.7882, 98.9840
12 ปราเกียร วัดชัยพระเกียรติ ถนนราชดำเนิน 18.7886, 98.9859
14 หอมังราชเจ้า หอผีพระญามังราย ถนนพระปกเกล้า 18.7888, 98.9882
15 กุฏาราม หอพระแก้ว (หายไป)[18]
15 อุปแป้น วัดอูปแป้น (หายไป)
16 มหาอาวาสสร้อย ศรีสถาน วัดเจดีย์หลวง ถนนพระปกเกล้า 18.7869, 98.9865
19 เสฐฐา วัดเสฏฐา (เชษฐา) ร้าง ในโรงเรียนพุทธิโศภณ 18.7858, 98.9891
19 ช่างแต้ม วัดช่างแต้ม ถนนพระปกเกล้า 18°47'07.2"N 98°59'18.0"E
20 เจ็ดลิน วัดเจ็ดลิน ถนนพระปกเกล้า 18.7837, 98.9880
21 ฟ่อนสร้อย วัดฟ่อนสร้อย ถนนพระปกเกล้า 18.7825, 98.9885
23 เชียงสง วัดเชียงสงร้าง ถนนพระปกเกล้า 18.782204, 98.988426
24 เชียงใหม่หม้า ทวารทอง ประตูเชียงใหม่ ถนนบำรุงบำรี 18.7813, 98.9890
27 ศรีมหาทวาร วัดศรีมหาทวาร (วัดเชียงของ) ร้าง[19] ถนนช่างหล่อ 18.780952, 98.988473
28 พันงอม หายไป
29 เถียงเส่า อาจเป็นวัดแสนเส่า ถนนสุริวงศ์ 18.7786, 98.9885
30 กุฎีคำ วัดธาตุคำ ถนนสุริวงศ์ 18.7774, 98.9886
31 น่างรั้ว วัดยางกวง ถนนสุริวงศ์ 18.7760, 98.9890
32 ทวารทอง ประตูขัวก้อม ถนนสุริวงศ์ 18.772330521074743, 98.99004477434806
45 กู่คำหลวง วัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม 18.7539, 98.9959
49 พระขวาง อาจเป็นวัดพระนอนหนองผึ้ง หนองผึ้ง 18.7386, 99.0124
67 ยางหนุ่ม วัดกองทราย หนองผึ้ง 18.7304, 99.0205
73 หัวฝาย วัดหัวฝาย ตำบลหนองผึ้ง 18.7133, 99.0362
77 กาดต้นไร ตลาดต้นไทร ไม่ทราบ
104 พระธาตุเจ้า จอมจักร วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน 18.5772, 99.0082
146 พระพุทธเจ้า จตุตน วัดพระยืน จังหวัดลำพูน 18.5763, 99.0193

ตัวอย่าง

[แก้]

ในโคลงที่ 31 เขายกย่องวัดที่ปัจจุบันคือวัดยางกวงริมถนนสุริวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่ และคิดถึงผู้เป็นที่รักว่า:

อารามเรียงรุ่นหั้น เงางาม
เป็นปิ่นบุรีนาม น่างรั้ว
บเห็นนาฏนงราม บวรสวาท สยบเอย
ทังขื่อชีพิตกั้ว โลกนี้นามนิพาน

ในโคลงที่ 161 เขายกย่องราชินีตอนมาถึงวัดพระธาตุหริภุญชัยว่า:

ธาดาอห่อยเนื้อ ทิพมาล
ไทงาศสันเฉลิมปาน แต่งแต้ม
อานาศาสตร์พันพาน เพิงแพ่ง งามเอย
ยลยิ่งนางฟ้าแย้ม ย่างย้ายลดาวัลย์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Manas Chitakasem 1972.
  2. Winai Pongsripian 2019, p. 24.
  3. Prasert na Nagara 1973, p. [10-12].
  4. 4.0 4.1 Vajirayana Library 1924.
  5. Prasert na Nagara 1973.
  6. Lamoon Janhom 1989.
  7. Thiu Wichaikhatkha 1992.
  8. Winai Pongsripian 2019.
  9. Lamoon Janhom 1989, p. 26.
  10. Prasert na Nagara 1973, p. [12].
  11. 11.0 11.1 Lagirarde 2004.
  12. Winai Pongsripian 2019, p. 33-36.
  13. Winai Pongsripian 2019, p. 27-36.
  14. Aroonrat Wichienkeeo 2019.
  15. Kreangkrai Kirdsiri 2010, p. 6.
  16. Aroonrat Wichienkeeo 1996.
  17. Kreangkrai Kirdsiri 2010.
  18. https://www.silpa-mag.com/history/article_6726
  19. https://www.matichonweekly.com/column/article_77971

ข้อมูล

[แก้]
  • Aroonrat Wichienkeeo (2019). 500 phi khlong nirat hariphunchai [500 years of Nirat Hariphunchai]. Chiang Mai: Airada Copytex.
  • Aroonrat Wichienkeeo (1996). Wat rang nai wiang chiang mai [Abandoned monasteries in Chiang Mai]. Chiang Mai: Suriwong Book Center.
  • Kreangkrai Kirdsiri (2010). "Khlong nirat hariphunchai: mueang chiang mai lae mueang lamphun nai wannakhadi lanna" [Nirat Hariphunchai: Chiang Mai and Lamphun in Lan Na literature]. ใน Winai Pongsripian (บ.ก.). 100 ekkasan samkhan: sappasan prawatisat thai lem thi 3 [100 key documents: essence of Thai history, volume 3]. Bangkok: Thailand Research Fund. pp. 5–43.
  • Lagirarde, François (2004). "Un pèlerinage bouddhique au Lanna entre le XVIe et le XVIIe siècle d'après le Khlong Nirat Hariphunchai". Aséanie. 14: 69-107.
  • Lamoon Janhom (1989). Khlong nirat hariphunchai kan winitchai ton chabap [Nirat Hariphunchai: a critical study of the text] (MA). Chiang Mai University.
  • Lamoon Janhom (1995). Wannakam thongthin lanna [Local literature of Lan Na] (วิทยานิพนธ์). Chiang Mai: Suriwong Book Center.
  • Manas Chitakasem (1972). "The emergence and development of the Nirat genre in Thai poetry". Journal of the Siam Society. 60, 2: 135-168.
  • Prasert na Nagara (1973). Khlong Nirat Hariphunchai [Nirat Hariphunchai]. Bangkok: Phrajan.
  • Suttinee Tongsa-ard (1988). Kan sueksa rongroi thang nam kao khong maenam ping nai boriwen thi rap chiang mai lamphun [The study of Mae Ping river’s old channel traces in Chiang Mai-Lamphun Basin] (MS). Chiang Mai University.
  • Thiu Wichaikhatkha; Phaithun Dokbua (1992). Nirat Hariphunchai (chabap lamphun) [Nirat Hariphunchai, Lamphun version]. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.
  • Vajirayana Library (1924). Khlong Nirat Hariphunchai [Nirat Hariphunchai]. Bangkok: Bamrung Nukunkit.
  • Winai Pongsripian (2019). Ruthirat ramphan (khlong nirat hariphunchai) lae jaruek wat phra yuen morakot khwam songjam haeng aphinawaburi-si hariphunchai [Rudhirāja Ramban (Nirat Hariphunchai). Heritage of Chiang Mai–Lamphun)]. Bangkok: Mulnithi Phrathep Ratthanaratchasuda.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]