ข้ามไปเนื้อหา

กลการ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โกลการ์)

กลการ์ หรือ พรรคของกลุ่มทำงาน (Party of the Functional Groups; ภาษาอินโดนีเซีย: Partai Golongan Karya) เป็นพรรคการเมืองในอินโดนีเซีย เป็นพรรคที่มีอำนาจปกครองในสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต (พ.ศ. 2509 – 2541) และเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในสมัยประธานาธิบดีฮาบิบี (พ.ศ. 2541 – 2542) และประธานาธิบดีสุศีโล บัมบัง ยูโดโยโน (พ.ศ. 2547 – 2552)

จุดกำเนิด

[แก้]

กลการ์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2507 โดยใช้ชื่อว่าเซกบาร์ กลการ์ โดยเป็นสหพันธ์ของหน่วยงานเอกชน 97 แห่ง และเติบโตขึ้นเป็น 220 แห่ง องค์กรเหล่านี้มีเจ้าหน้าที่ทหารหนุนหลังเพิ่มต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียที่เพิ่มความสำคัญขึ้น

ซูฮาร์โตและกลการ์

[แก้]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511 ซูฮาร์โตได้เป็นประธาธิบดีคนที่ 2 ของอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองเพราะเป็นทหารมาก่อนและไม่ได้สนใจพรรคการเมือง ในตอนแรก ซูฮาร์โตสนใจเข้าร่วมพรรคแห่งชาติอินโดนีเซียซึ่งเป็นพรรคของซูการ์โน แต่เมื่อเขาต้องการให้ตัวเองแตกต่างจากระบอบเก่า เขาจึงต้องหาพรรคการเมืองใหม่

ซูฮาร์โตได้สั่งให้อาลี มุรโตโป ให้เปลี่ยนรูปกลการ์มาเป็นเครื่องมือในการเลือกตั้ง กลการ์จึงเปลี่ยนรูปจากสหพันธ์ของหน่วยงนเอกชนไปเป็นพรรคการเมืองโดยมีนโยบายเน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงมากกว่าแนวคิดทางการเมือง มุรโตโปกล่าวว่าคนงานเป็นส่วนหนึ่งของกลการ์ดังคำขวัญที่ว่าทุกสหภาพรวมกันเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นคำตอบสำหรับรัฐ มุรโตโปใช้ทหารช่วยในการจำกัดการแข่งขันของคู่แข่งทางการเมือง

กลการ์ได้ประกาศในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 ว่าจะเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2514 ซึ่งกลการ์ชนะการเลือกตั้ง ได้คะแนน 62% ทำให้ซูฮาร์โตได้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2516 การควบคุมได้เข้มงวดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยระบบบริหารพรรคถูกรวบเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น และซูฮาร์โตควบคุมการตั้งหัวหน้าพรรคโดยตรง กลการ์เป็นองค์กรที่โดดเด่นภายใต้การควบคุมของซูฮาร์โตและกองทัพ มีทหารเป็นสมาชิกส่วนใหญ่

การเลือกตั้งในยุคระเบียบใหม่

[แก้]
แผนที่ของคะแนนเสียงสูงสุดแบ่งตามจังหวัดในการเลือกตั้งในอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2514 - 2552 ซึ่งกลการ์เป็นพรรคเด่น (สีเหลือง)

กลการ์เป้นพรรคการเมืองสำคัญในอินโดนีเซียตลอดสมัยซูฮาร์โต ชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2520 2525 2530 2535 และ 2540 หลัง พ.ศ. 2516 ซูฮาร์โตให้ยุบพรรคการเมืองจำนวนมากให้มีเพียงพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียและพรรคสหพัฒนาการเป็นพรรคถูกกฎหมาย แต่พรรคกลการ์ได้เปรียบมากในการเลือกตั้ง เพราะรัฐบาลคุมสื่อโทรทัศน์ในอินโดนีเซีย

องค์กรและส่วน

[แก้]

องค์กรเริ่มต้นนั้น กลการ์มี 7 กลุ่มซึ่งกำหนดเมื่อ พ.ศ. 2508 และ พ.ศ. 2510 และเรียกกลุ่มแกนองค์กร ส่วนในยุคระเบียบใหม่ กลการ์แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1. ส่วน ABRI ประกอบด้วยสมาชิกของกองทัพอินโดนีเซียที่อยู่ภายใต้การควบคุมของซูฮาร์โต เป็นกลุ่มที่มีบทบาทเด่นทางการเมือง บางครั้งเรียกส่วน A 2. ส่วนขุนนาง ประกอบด้วยสมาชิกกลการ์ที่อยู่ในระบบเจ้าขุนมูลนายของรัฐบาล นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย บางครั้งเรียกส่วน B 3. ส่วนอื่นๆ เป็นสมาชิกกลการ์ที่ไม่ใช่ส่วน Aและ B นำโดยประธานกลการ์ บางครั้งเรียก ส่วน G ทั้งสามส่วนภายในพรรคไม่ได้ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง แต่สนับสนุนซูฮาร์โตเป็นประธานาธิบดี ทั้งสามส่วนสลายไปเมื่อสิ้นสุดยุคระเยียบใหม่

หลังจากยุคซูฮาร์โต

[แก้]

เมื่อซูฮาร์โตลงจากอำนาจในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 กลการ์ได้ปฏิรูปตัวเองอย่างรวดเร็ว ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 ได้จัดการประชุมระดับชาติรอบพิเศษเพื่อเลือกประธานคนใหม่ ซูฮาร์โตไม่ได้เข้าร่วมการประชุม อักบาร์ ตันยุงได้เป็นประธานคนใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผู้นำพรรคมาจากการเลือกตั้ง คณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคถูกยกเลิกกลายเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา

ใน พ.ศ. 2542 กลการ์พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้ของเมกาวตี ซูการ์โนปุตรี โดยกลการ์ได้คะแนนเสียงเพียง 20% กลการ์สนับสนุนให้อับดุลเราะห์มาน วาฮิดเป็นประธานาธิบดี แต่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 ก็เข้าร่วมในการปลดประธานาธิบดีวาฮิดและเลือกเมกาวตีเป็นประธานาธิบดี

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 กลการ์ได้คะแนนเสียง 21% และได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนสุศีโล ยูโดโยโนขึ้นเป็นประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2547

ผลกการเลือกตั้ง

[แก้]

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา

[แก้]
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่งที่ชนะ คะแนนทั้งหมด ส่วนแบ่งคะแนน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำในการการเลือกตั้ง
2514
236 / 360
34,348,673 62.80% พรรคใหม่ อาลี มุรโตโป
2520
232 / 360
39,750,096 62.11% ลดลง 4 ที่นั่ง อามีร์ มุรโตโน
2525
242 / 360
48,334,724 64.34% เพิ่มขึ้น10 ที่นั่ง อามีร์ มุรโตโน
2530
299 / 400
62,783,680 73.11% เพิ่มขึ้น57 ที่นั่ง ซูดาร์โมโน
2535
282 / 400
66,599,331 68.10% ลดลง17 ที่นั่ง วาโฮโน
2540
325 / 400
84,187,907 74.51% เพิ่มขึ้น43 ที่นั่ง ฮาร์โมโก
2542
120 / 500
23,741,749 22.46% ลดลง205 ที่นั่ง อักบาร์ ตันยุง
2547
128 / 550
24,480,757 21.58% เพิ่มขึ้น8 ที่นั่ง อักบาร์ ตันยุง
2552
106 / 560
15,037,757 14.45% ลดลง22 ที่นั่ง พรรคร่วมรัฐบาล (Demokrat-Golkar-PKS-PAN-PPP-PKB) ยูซุฟ กัลลา
2557
91 / 560
18,432,312 14.75% ลดลง15 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน (Gerindra-Golkar-Demokrat-PPP-PKS-PAN) อาบูริซัล บักรี

ผลการเลือกประธานาธิบดี

[แก้]
การเลือกตั้ง ตัวแทน การจับคู่ รอบแรก
(คะแนนทั้งหมด)
ส่วนแบ่งคะแนน ผล รอบสอง
(คะแนนทั้งหมด)
ส่วนแบ่งคะแนน ผล
2541 ซูฮาร์โต บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี 1000 (โดยอ้อม) 100% ชนะ Y
2542 ไม่เข้าร่วม 0 (โดยอ้อม)
2547 วิรันโต ซาลาฮุดดีน วาฮิด 26,286,788 22.15% ถูกคัดออก N สิ้นสุด
2552 ยูซุฟ กัลลา วิรันโต 15,081,814 12.41% แพ้ N
2557 โจโก วีโดโด (PDI-P) ยูซุฟ กัลลา 70,997,833 53.15% ชนะ Y

อ้างอิง

[แก้]
  • Elson, Robert (2001). Suharto: A Political Biography. UK: The Press Syndicate of the University of Cambridge. ISBN 0-521-77326-1.
  • Nishihara, Masashi (1972). Golkar and the Indonesian elections of 1971. Ithaca, N.Y: Modern Indonesia Project, Cornell University. ISBN 978-0877630043.
  • Ricklefs, MC (1982), A History of Modern Indonesia (reprint ed.), Southeast Asia: Macmillan, ISBN 0-333-24380-3
  • Vickers, Adrian (2005). A Modern History of Indonesia. UK: Cambridge University Press. p. 162. ISBN 0-521-54262-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]