ข้ามไปเนื้อหา

พรรคสหพัฒนาการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคสหพัฒนาการ
Partai Persatuan Pembangunan
ชื่อย่อPPP, พีตีกา (สาม P)
ผู้ก่อตั้งอิดฮัม คาลิด
โมฮัมมัด ชาฟาอัต มินตาเรอจา
อา. จกโรอามีโนโต
รุสลี ฮาลีล
มัชกูร์
สมัชชาชะรีอะฮ์ชุกร็อน มะอ์มูน
ประธานซูฮาร์โซ โมโนอาร์ฟา
เลขาธิการอาร์ซุล ซานี
คำขวัญMoving with the people (อินโดนีเซีย: Bergerak Bersama Rakyat)
ก่อตั้ง5 มกราคม 1973; 52 ปีก่อน (1973-01-05)
รวมตัวกับนะฮ์เฎาะตุลอุละมาอ์
ปาร์มูซี
พรรคสมาคมอิสลามแห่งอินโดนีเซีย
Perti
ที่ทำการจาการ์ตา
ฝ่ายเยาวชนKaaba Youth Movement
อุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบอิสลาม
ชาตินิยมอิสลาม[1]
ปัญจศีล
อนุรักษนิยม[2]
ศาสนาอิสลาม
เพลง"Mars PPP"
("PPP March")
หมายเลขบัตรเลือกตั้ง10
สภาผู้แทนราษฎร
19 / 575
[3]
สภาผู้แทนราษฎรประจำจังหวัด
92 / 2,207
เว็บไซต์
www.ppp.or.id แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

พรรคสหพัฒนาการ (United Development Party; อินโดนีเซีย: Partai Persatuan Pembangunan; PPP) เป็นพรรคการเมืองนิยมอิสลามในอินโดนีเซีย หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ สุรยาดาร์มา อาลีก่อตั้งเมื่อเดือกนมกราคม พ.ศ. 2516 เกิดจากการรวมตัวของพรรคมุสลิม 4 พรรคที่เข้าร่วมการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 เพื่อให้พรรคการเมืองเหล่านี้เข้ามาอยู่ในระบบใหม่ของซูฮาร์โต โดยต้องไม่ใช้กะอ์บะห์เป็นเครื่องหมายในการเลือกตั้ง และยอมรับหลักปัญจศีล บทบาทของพรรคลดลงใน พ.ศ. 2527 เมื่อนาห์ดาตุล อูลามา ถอนตัวออกจากพรรคและเลิกเล่นการเมือง ทำให้พรรคได้รับเลือกตั้งน้อยลงในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2530

เมื่อซูฮาร์โตหมดอำนาจใน พ.ศ. 2541 พรรคนี้ต้องแข่งขันกับพรรคนิยมอิสลามที่เกิดใหม่หลายพรรค แต่ก็เป็นพรรคที่มีบทบาทมากที่สุด ในการต่อต้านการชิงตำแหน่งของเมกาวตี ซูการ์โนบุตรีที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าข้างชาวคริสต์ และผลักดันให้อับดุลเราะห์มัน วาฮิดได้เป็นประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2542 หลังจากนั้น หัวหน้าพรรคคือ ฮัมซะห์ ฮัซ ได้เป็นรัฐมนตรีประสานงานสวัสดิการประชาชนแต่ก็ลาออกในปีเดียวกันนั้น

จุดกำเนิด

[แก้]

มีพรรคการเมือง 10 พรรคเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นจำนวนที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โตเห็นว่ามากเกินไป และต้องการลดให้เหลือ 2-3 พรรค การรวมตัวของพรรคการเมืองเหล่านี้ทำให้เกิดพรรคสหพัฒนาการ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของพรรคนิยมอิสลาม 4 พรรค ได้แก่ นะห์ดาตุล อูลามา พรรคมุสลิมแห่งอินโดนีเซีย พรรคสมาคมอิสลามแห่งอินโดนีเซีย และขบวนการการศึกษาอิสลาม การรวมตัวเกิดขึ้นเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2516

ฝ่ายค้านของระเบียบใหม่

[แก้]

พรรคสหพัฒนาการได้กลายเป็นฝ่ายค้านในสภา ทำให้ถูกซูฮาร์โตจับตา และมีการจับกุมประชาชนด้วยข้อหาว่าเกี่ยวข้องกับจีฮัด ทำให้ประชาชนมีความกังวลในการลงคะแนนให้พรรคสหพัฒนาการเพราะเกรงจะถูกข้อหาสนับสนุนกองกำลังจีฮัด พรรคโกลการ์ของรัฐบาลจึงชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2520 ได้คะแนน 62% ส่วนพรรคสหพัฒนาการได้คะแนนเพียง 27%

แม้จะพ่ายแพ้ แต่พรรคสหพัฒนาการยังคงต่อสู้ต่อไป ใน พ.ศ. 2521 ชาลิด มาวาร์ดี สมาชิกพรรคได้ออกมาโจมตีรัฐบาลว่าเป็นพวกต่อต้านมุสลิม และโจมตีการใช้ความรุนแรงของรัฐบาล พรรคสหพัฒนาการถือว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านที่เข้มแข็งที่สุด แต่พรรคได้คะแนนเสียงน้อยลงในพ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2530 ใน พ.ศ. 2527 นะห์ดาตุล อูลามา ที่มีอับดุลเราะห์มาน วาฮิดเป็นหัวหน้าได้แยกตัวออกไปในที่สุดพรรคตัดสินใจแทนที่อุดมการณ์อิสลามนิยมด้วยแนวคิดชาตินิยมในการต่อสู้กับรัฐบาล และหยุดใช้สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม

ยุคปฏิรูป

[แก้]

พรรคสหพัฒนาการจัดเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในยุคระเบียบใหม่ ซึ่งมีเพียง 3 พรรค หลังจากที่ซูฮาร์โตหมดอำนาจใน พ.ศ. 2541 พรรคกลับไปใช้แนวคิดอิสลามนิยมและได้คะแนนเสียง 11% ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542 ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย-การต่อสู้ของเมกาวตีได้คะแนนสูงและคาดว่าเมกาวตีจะได้เป็นประธานาธิบดี แต่กลุ่มของพรรคมุสลิมไม่ต้องการประธานาธิบดีหญิง จึงสนับสนุนอับดุลเราะห์มาน วาฮิดขึ้นเป็นประธานาธิบดี พรรคสหพัฒนาการเป็นพรรคแรกที่ถอนการสนับสนุนวาฮิด และต่อมามีผู้ถอนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 พรรคสหพัฒนาการเข้าร่วมในการถอดถอนวาฮิดออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และเสนอเมกาวตีเป็นประธานาธิบดี

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 พรรคสหพัฒนาการได้คะแนน 8.1% และสนับสนุนเมกาวตีเป็นประธานาธิบดี แต่ในที่สุด สุสีโล ยุโดโยโน ได้เป็นประธานาธิบดี ส่วนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2552 พรรคได้ 5.3% และได้ 37 ที่นั่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Al-Hamdi, Ridho. (2017). Moving towards a Normalised Path: Political Islam in Contemporary Indonesia. JURNAL STUDI PEMERINTAHAN (JOURNAL OF GOVERNMENT & POLITICS). Vol. 8 No. 1, February 2017. p.53, pp.56-57, p.62.
  2. https://carnegieendowment.org/2013/10/24/indonesia-s-political-parties-pub-53414#PPP
  3. "REKAPITULASI HASIL PEMILU LEGISLATIF DPR RI 2019". KPU RI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.
  • ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]