ข้ามไปเนื้อหา

แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์คิว-11 เรฟเวน
อากาศยานไร้คนขับอาร์คิว-11 ในเที่ยวบิน
หน้าที่ อากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมจากระยะไกล[1]
ผู้ผลิต แอโรไวรอนเมนต์
เที่ยวบินแรก ตุลาคม ค.ศ. 2001
เริ่มใช้ พฤษภาคม ค.ศ. 2003
สถานะ ประจำการ
ผู้ใช้หลัก กองทัพบกสหรัฐ
กองทัพอากาศสหรัฐ, เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ, กองทัพบกสหรัฐ, กองกำลังทางบกทั่วโลก
การผลิต ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน
จำนวนที่ถูกผลิต มากกว่า 19,000 ลำ
ค่าใช้จ่ายต่อลำ
173,000 ดอลลาร์ต่อระบบ (รวม 4 อากาศยานไร้คนขับ, 2 สถานีควบคุมภาคพื้นดิน และชิ้นส่วนอะไหล่)[2]
พัฒนาจาก เอฟคิวเอ็ม-151 พอยเตอร์

แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน (อังกฤษ: AeroVironment RQ-11 Raven) เป็นอากาศยานไร้คนขับทางไกลที่ควบคุมด้วยมือ (หรืออากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก)[3] ซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับกองทัพสหรัฐ แต่ปัจจุบันได้รับการนำมาใช้โดยกองกำลังทหารของประเทศอื่น ๆ อีกมาก

อาร์คิว-11 เรฟเวน ได้รับการนำมาใช้ครั้งแรกในฐานะเอฟคิวเอ็ม-151 ใน ค.ศ. 1999 แต่ใน ค.ศ. 2002 ได้รับการพัฒนาเป็นรูปแบบปัจจุบัน[4] คล้ายกับเครื่องบินโมเดลฟรีไฟลต์ รุ่นเอฟ1ซี ของสหพันธ์กีฬาทางอากาศโลกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อากาศยานชนิดนี้ได้รับการปล่อยตัวด้วยมือและขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าในรูปแบบของการผลัก เครื่องบินสามารถบินได้สูงถึง 6.2 ไมล์ (10.0 กม.) ที่ระดับความสูงอย่างคร่าว ๆ 500 ฟุต (150 ม.) เหนือระดับพื้นดิน (AGL) และมากกว่า 15,000 ฟุต (4,600 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ที่ความเร็วการบินที่ 28–60 ไมล์ต่อชั่วโมง (45–97 กม./ชม.)[5] ทั้งนี้ กองทัพบกสหรัฐใช้เรฟเวนในระดับกองร้อย[6]

การออกแบบและพัฒนา

[แก้]

เรฟเวนอาร์คิว-11บี ยูเอเอส ผลิตโดยแอโรไวรอนเมนต์ มันเป็นผู้ชนะโครงการอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กของกองทัพบกสหรัฐใน ค.ศ. 2005 และเข้าสู่การผลิตแบบเต็มอัตรา (FRP) ในปี ค.ศ. 2006 หลังจากนั้นไม่นาน มันก็ได้รับเป็นของตนโดยเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ และกองทัพอากาศสหรัฐสำหรับโครงการเอฟแพสที่กำลังดำเนินอยู่ มันได้รับการรับรองโดยกองกำลังทหารของหลาย ๆ ประเทศ (ดูด้านล่าง) มีการส่งมอบเรฟเวนมากกว่า 19,000 ลำให้แก่ลูกค้าทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เรฟเวนเวอร์ชันที่เปิดใช้งานลิงก์ข้อมูลดิจิทัลใหม่ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการผลิตสำหรับกองกำลังสหรัฐและพันธมิตร โดยได้ปรับปรุงความทนทาน ท่ามกลางการปรับปรุงอื่น ๆ อีกนานัปการ[ต้องการอ้างอิง]

เรฟเวนสามารถควบคุมได้จากระยะไกลจากสถานีภาคพื้นดินหรือบินภารกิจอิสระอย่างสมบูรณ์โดยใช้การนำทางด้วยจีพีเอส ทั้งสามารถสั่งให้อากาศยานไร้คนขับนี้กลับสู่จุดเริ่มต้นได้ทันทีเพียงกดปุ่มคำสั่งเดียว[1] ส่วนวัตถุของยวดยานภารกิจมาตรฐาน ได้แก่ กล้องถ่ายวิดีโอสีซีซีดี และกล้องส่องกลางคืนอินฟราเรด[ต้องการอ้างอิง]

อาร์คิว-11บี เรฟเวน ยูเอ มีน้ำหนักประมาณ 1.9 กก. (4.2 ปอนด์) มีความทนทานต่อเที่ยวบิน 60–90 นาที และรัศมีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพประมาณ 10 กม. (6.2 ไมล์)[7]

อาร์คิว-11บี เรฟเวน ยูเอ ปล่อยตัวด้วยมือ โดยกว้างไปในอากาศเหมือนเครื่องบินจำลองเที่ยวบินฟรี เรฟเวนลงจอดด้วยตัวเองโดยการขับอัตโนมัติไปยังจุดลงจอดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จากนั้นทำการเอียง 45 องศา (ลง 1 ฟุตทุก ๆ 1 ฟุตไปข้างหน้า) ซึ่งควบคุมการเคลื่อนลงมาของระบบ "การลงจอดอัตโนมัติ" (Autoland) ระบบอากาศยานไร้คนขับนี้สามารถจัดหาข่าวกรอง, เฝ้าตรวจ, ค้นหาเป้าหมาย และลาดตระเวนทางอากาศ ทั้งกลางวันและกลางคืน[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงกลาง ค.ศ. 2015 เหล่านาวิกโยธินสหรัฐได้ทดสอบลิงก์ข้อมูลปลอดภัยขนาดเล็กของแฮร์ริสคอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิทยุที่พอดีกับหัวเครื่องบินของเรฟเวนเพื่อให้การสื่อสารที่เหนือกว่าแนวสายตาสำหรับนาวิกโยธินจนถึงระดับหมู่ การทำหน้าที่เป็นสถานีเชื่อมโยงการสื่อสารสำหรับกองกำลังภาคพื้นดินได้กลายเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับ แต่ถูกจำกัดให้ใช้กับแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เช่น อาร์คิว-4 โกลเบิลฮอว์ก หรืออาร์คิว-21 แบล็กแจ็ก มันได้รับการรับรองการจำแนกประเภท 'ความลับ' และมีขนาดเพียง 25 ลูกบาศก์นิ้ว (410 ลบ.ซม.) (3 นิ้ว× 5.3 นิ้ว× 1.6 นิ้ว) และน้ำหนัก 18 ออนซ์ (510 กรัม) ซึ่งลิงก์ข้อมูลปลอดภัยขนาดเล็กของแฮร์ริสคอร์ปอเรชันช่วยให้ระบบอากาศยานไร้คนขับเรฟเวนขนาดเล็กสามารถขยายการสื่อสารสำหรับทหารในสนามได้[8]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 หน่วยที่ได้รับเลือกได้เริ่มได้รับการอัปเกรดเซ็นเซอร์เรฟเวน เรฟเวนกิมบอลเป็นกล้องที่หมุนได้พร้อมกิมบอล 360 องศา ซึ่งแทนที่กล้องติดตายตัวที่ต้องใช้การหลบหลีกอากาศยานเพื่อสังเกตการณ์ กล้องใหม่สามารถสลับระหว่างการตั้งค่ากลางวันและกลางคืนได้โดยไม่ต้องลงจอดและเปลี่ยนเซ็นเซอร์[9] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 ทางเบลเยียมได้ซื้อโดรนเรฟเวน 32 ระบบ ส่วนลักเซมเบิร์กซื้อ 16 ระบบ[ต้องการอ้างอิง]

รุ่น

[แก้]

ประจำการ

[แก้]
ทหารเตรียมปล่อยตัวเรฟเวนในอิรัก
เรฟเวนเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้ว
ส่วนควบคุมการบิน

ประจำการปัจจุบัน

[แก้]
แผนที่ประจำการแอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน ในทางทหาร เป็นสีน้ำเงิน
ธงของประเทศลิทัวเนีย ลิทัวเนีย
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
ธงของประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย
ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย
ธงของประเทศเอสโตเนีย เอสโตเนีย
ธงของประเทศสเปน สเปน
ธงของประเทศฮังการี ฮังการี
ธงของประเทศอิรัก อิรัก
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ธงของประเทศเคนยา เคนยา
ธงของประเทศเลบานอน เลบานอน
ธงของประเทศลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
ธงของประเทศมาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนียเหนือ
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส
ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
 ไทย
ธงของประเทศยูกันดา ยูกันดา
ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
 สหรัฐอเมริกา
 ยูเครน
ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน
ธงของประเทศเยเมน เยเมน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 "RQ-11 Raven". GlobalSecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-01-09.
  2. "RQ-11B Raven". United States Air Force.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16.
  4. Tomlinson, Cpl Ryan L (2008-05-14). "Gunfighter debuts Raven". IIMEF, Official Site US Marine Core, 2nd Light Armored Reconnaissance Bn. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23. [ลิงก์เสีย]
  5. "RQ-11 Raven". Army-technology.com. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
  6. Mini Drones Win Soldier Praise at Army Experiment - Kitup.Military.com, 6 March 2015
  7. "RQ-11 Raven datasheet" (PDF). AeroVironment. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-08.
  8. Data link lets small UAVs serve as secure comm nodes เก็บถาวร 2015-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Defensesystems.com, 1 July 2015
  9. Troopers receive new Raven UAS camera upgrade เก็บถาวร 2015-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Army.mil, 21 August 2015
  10. Solar Raven เก็บถาวร 2012-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – SUASNews.com, November 17, 2012[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
  11. http://landforce.mod.bg/Pokaz-na-novo-oborudvane-v-61-mbr/11:1145.html
  12. "www.defensenews.com/article/20140513/DEFREG02/305130034/Canadian-Army-Navy-Develop-Ambitious-Plans-AF-Fights-Delays". www.defensenews.com. 2014-05-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-14. สืบค้นเมื่อ 2014-05-14.
  13. Colombia; US donates ScanEagle UAV's to FAC เก็บถาวร 2014-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Dmilt.com, March 19, 2013
  14. "Czech military to buy two MUAVs for Afghanistan". ČTK (Czech Press Agency, www.ctk.cz). October 2, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-10-02.
  15. http://index.hu/kultur/media/2015/09/21/benko_tibor_terkep_hadmuveleti/
  16. "Iraqi Army's UAVs give troops the big picture". Army.mil. สืบค้นเมื่อ 2010-03-28.
  17. "Lebanon to receive US-built UAV's". defence.professionals (defpro). April 16, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-04-16.
  18. "Heavy U.S. Military Aid to Lebanon Arrives ahead of Elections". Naharnet Newsdesk. April 9, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
  19. "Lebanon gets Raven mini UAV from U.S." United Press International. March 23, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
  20. US delivers military vehicles to Lebanese Army. Daily Star, March 24, 2009.
  21. [1] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Drones from Washington arrived in Macedonia
  22. Ansari, Usman (May 9, 2009). "Pakistan reported developing armed UAV". สืบค้นเมื่อ April 15, 2013.
  23. "U.S. Military Delivers Counterterrorism Equipment to the Philippine Army and Marine Corps". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-31. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16.
  24. "Estonia and Portugal procure AeroVironment small unmanned aircraft systems". The Defence Post. 15 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
  25. Raven numbers – Strategypage.com, February 19, 2013
  26. США передали украинским военным 72 беспилотника
  27. Украина в ближайшее время получит новые разведывательные беспилотные аппараты RQ-11B «Raven»
  28. "Uzbekistan Receives RQ-11 UAV". Forecast International. 12 September 2018. สืบค้นเมื่อ 12 September 2018.
  29. "Uzbekistan; Army Receives RQ-11 UAV". Defence Market Intelligence. 17 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]