ข้ามไปเนื้อหา

เอริช ฟ็อน มันชไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอริช ฟอน มันชไตน์)
เอริช ฟ็อน มันชไตน์
จอมพล เอริช ฟ็อน มันสไตน์ในปีค.ศ. 1938
ชื่อเกิดฟริทซ์ เอริช เกออร์ค เอดูอาร์ท ฟ็อน เลวินสกี
เกิด24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887(1887-11-24)
เบอร์ลิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต9 มิถุนายน ค.ศ. 1973(1973-06-09) (85 ปี)
เอียร์เชินเฮาเซิน รัฐบาวาเรีย, เยอรมนีตะวันตก
รับใช้
ประจำการค.ศ. 1906–1944
ค.ศ. 1949–56
ชั้นยศ จอมพล
การยุทธ์
บำเหน็จกางเขนอัศวินติดใบโอ็คคาดดาบ
งานอื่นที่ปรึกษาทางทหารของเยอรมนีตะวันตก
ลายมือชื่อ

ฟริทซ์ เอริช เกออร์ค เอดูอาร์ท ฟ็อน เลวินสกี (เยอรมัน: Fritz Erich Georg Eduard von Lewinski) หรือเป็นที่รู้จักกันคือ เอริช ฟ็อน มันชไตน์ (เยอรมัน: Erich von Manstein) เป็นนายทหารบกและจอมพลเยอรมัน เป็นผู้บัญชาการทหารแวร์มัคท์ของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนายพลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไรช์ที่สาม หลังสงครามยุติ เขาเป็นที่ปรึกษาทางทหารของเนโท

ภูมิหลัง

[แก้]

มันชไตน์เกิดในตระกูลขุนนางปรัสเซีย ตระกูลเลวินสกีมีประวัติการรับราชการทหารมาอย่างยาวนาน มันชไตน์เข้ารับราชการทหารในช่วงวัยเยาว์และเคยปฏิบัติหน้าที่ในแนวรบด้านตะวันตกและด้านตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และมียศร้อยเอกในตอนที่สงครามยุติ ต่อมาในช่วงเว้นว่างสงคราม มันชไตน์ยังคงประจำการอยู่ในกองทัพ โดยมีส่วนในการฟื้นแสนยานุภาพของเยอรมนี

สงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

กันยายน 1939 การบุกครองโปแลนด์จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะนั้นมันชไตน์มียศพลเอก ตำแหน่งเป็นเสนาธิการกลุ่มทัพใต้ของพลเอกอาวุโสแกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท แผนยุทธศาสตร์ของมันชไตน์ถูกเลือกโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เพื่อใช้ในการบุกครองฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม 1940 ซึ่งต่อมา แผนนี้ถูกขัดเกลาโดยพลเอกอาวุโสฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ และนายทหารคนอื่นในกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน

กองทัพเยอรมันความคาดหมายว่า พวกเขาจะเผชิญการต่อต้านอย่างรุนแรงเมื่อเข้ารุกรานประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้วยเหตุนี้ มันชไตน์จึงคิดแผนยุทธขึ้นใหม่ซึ่งต่อมาเรียกว่า "เคียวตัด" (Sichelschnitt) ซึ่งจะเข้าตีทางป่าอาร์แดนและรีบเจาะไปยังช่องแคบอังกฤษ เพื่อปิดล้อมกองทัพฝรั่งเศสและสัมพันธมิตรที่อยู่ในเบลเยียมและแฟลนเดอส์ ต่อมามันชไตน์เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน 1941 และการล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942) และได้รับยศจอมพลในปี 1942 เขายังได้มีส่วนร่วมในการล้อมเลนินกราด

โชคชะตาของเยอรมนีในช่วงสงครามพลิกกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบในปี 1942 โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความพินาศย่อยยับจากยุทธการที่สตาลินกราด ที่มันชไตน์ได้ล้มเหลวในการบังคัญชาเพื่อการบรรเทาวงล้อม (ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว) ในเดือนธันวาคม ต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันคือ "การตีหลังมือ" (backhand blow) มันชไตน์ได้ทำโจมตีตอบโต้กลับในยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 (กุมภาพันธ์–มีนาคม ค.ศ. 1943) ได้เข้ายึดชิงดินแดนที่สำคัญกลับคืนและส่งผลทำให้เกิดการล้างผลาญของกองทัพโซเวียตไปสามกองทัพและการล่าถอยไปอีกสามกองทัพ เขาได้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการหลักที่ยุทธการที่คูสค์ (กรกฎาคม–สิงหาคม ค.ศ. 1943) หนึ่งในการรบของรถถังที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยความไม่ลงรอยกันอย่างต่อเนืองของเขากับฮิตเลอร์ในการดำเนินสงครามต่อไปจนทำให้เขาต้องถูกปลดออกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 เขาไม่ได้รับคำสั่งอีกเลยและถูกจับกุมเป็นเชลยโดยอังกฤษในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 หลายเดือนหลังความพ่ายแพ้ของเยอรมนี

หลังสงคราม

[แก้]

มันชไตน์เข้าให้ปากคำในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คหลักที่เกี่ยวกับข้อหาอาชญากรสงครามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1946 และได้เตรียมเอกสาร, ที่พร้อมกับความทรงจำของเขาในภายหลัง, ได้ช่วยทำให้เกิดการปลูกฝังตำนานของ "แวร์มัคท์บริสุทธิ์"—เป็นตำนานที่เชื่อว่ากองทัพเยอรมันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี

ในปี 1949 เขาถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีในฮัมบวร์ค ในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามและถูกมีความผิดจากเก้าในสิบเจ็ดข้อหา รวมทั้งการรักษาชีวิตเชลยศึกที่ไม่ดีและความล้มเหลวในการปกป้องชีวิตพลเรือนในพื้นที่ใต้ความควบคุมของเขา เขาถูกพิพากษาโทษจำคุกเป็นเวลา 18 ปี ต่อมาได้รับอภัยลดโทษเหลือ 12 ปี แต่ติดคุกจริงเพียงสี่ปีแล้วจึงได้รับการปล่อยตัวในปี 1953

หลังถูกปล่อยตัว เขาได้เป็นที่ปรึกษาทางทหารให้แก่รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 เขาได้ช่วยสร้างกองทัพขึ้นมาใหม่อีกครั้ง บันทึกของเขา Verlorene Siege (ค.ศ. 1955) ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Lost Victories ("ชัยชนะที่หายไป") มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ภาวะผู้นำของฮิตเลอร์ และการบริหารกับเพียงด้านการทหารในช่วงยามสงคราม โดยไม่คำนึงถึงด้านการเมืองและศีลธรรม มันชไตน์ได้ถึงแก่กรรมใกล้กับมิวนิกในปี 1973

เกียรติยศ

[แก้]

อิสริยาภรณ์เยอรมัน

[แก้]

ยศทหาร

[แก้]
  • มีนาคม 1906: นักเรียนทำการนายร้อย (Fähnrich)
  • มกราคม 1907: ร้อยตรี (Leutnant)
  • มิถุนายน 1914: ร้อยโท (Oberleutnant)
  • กรกฎาคม 1915: ร้อยเอก (Hauptman)
  • กุมภาพันธ์ 1927: พันตรี (Major)
  • เมษายน 1932: พันโท (Oberstleutnant)
  • ธันวาคม 1933: พันเอก (Oberst)
  • ตุลาคม 1936: พลตรี (Generalmajor)
  • เมษายน 1939: พลโท (Generalleutnant)
  • มิถุนายน 1940: พลเอกทหารราบ (General der Infanterie)
  • มีนาคม 1942: พลเอกอาวุโส (Generaloberst)
  • กรกฎาคม 1942: จอมพล (Generalfeldmarschall)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Knopp 2003, p. 139.
ก่อนหน้า เอริช ฟ็อน มันชไตน์ ถัดไป
ไม่มี ผู้บัญชาการกลุ่มทัพดอน
(21 พฤศจิกายน 1942 – 12 กุมภาพันธ์ 1943)
ไม่มี
จอมพล มัคซีมีลีอาน ฟ็อน ไวชส์ ผู้บัญชาการกลุ่มทัพใต้
(12 กุมภาพันธ์ 1943 – 30 มีนาคม 1944)
พลเอกอาวุโส โยฮันเนิส ไฟรส์เนอร์