ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำโจกันจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำโจกันจิ
常願寺川
แม่น้ำโจกันจิกำลังไหลลงสู่อ่าวโทยามะ
ที่ตั้ง
ประเทศ/รัฐประเทศญี่ปุ่น
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำ 
 • ตำแหน่งภูเขาคิตาโนมาตะ
 • ระดับความสูง2,661 m (8,730 ft)
ปากน้ำ 
 • ตำแหน่ง
อ่าวโทยามะ
ความยาว56 km (35 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ368 km2 (142 sq mi)
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย15 m3/s (530 cu ft/s)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำแม่น้ำโจกันจิ

แม่น้ำโจกันจิ เป็นแม่น้ำชั้นปฐมภูมิไหลผ่านเมืองทาเตยามะและเมืองโทยามะ อำเภอนากานิอิคาวะ จังหวัดโทยามะ ก่อนที่จะไหลลงสู่อ่าวโทยามะเป็นลำดับถัดไป นอกจากนั้นชื่อแม่น้ำโจกันจิได้ปรากฏในวรรณคดียุคคามากูระ[1]

ในสมัยโบราณแม่น้ำแห่งนี้ถูกเรียกว่าชินกาวะและมีการเรียกต่างกันตามท้องถิ่น คำว่าชินชินกาวะซึ่งเป็นชื่อเรียกของแม่น้ำโจกันจิในสมัยก่อนเป็นที่มาของชื่ออำเภอชินกาวะในจังหวัดโทยามะด้วย นอกจากที่กล่าวมายังมีอีกหลายชื่อเช่น แม่น้ำโอโมริ แม่น้ำมิซูฮาชิ แม่น้ำอิวากูระ และแม่น้ำอาชิกูระ[1]

แม่น้ำโจกันจิเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักทั้งเจ็ดสายในจังหวัดโทยามะ (แม่น้ำคุโรเบะ แม่น้ำคาตาไก แม่น้ำฮายาสึกิ แม่น้ำโจกันจิ แม่น้ำจินซุ แม่น้ำโชกาวะ และแม่น้ำโอยาเบะ)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ต้นกำเนิดของแม่น้ำโจกันจิมาจากแม่น้ำสองสายได้แก่ แม่น้ำมากาวะ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากภูเขาคิตาโนมาตะในเทือกเขาทาเตยามะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโทยามะ จังหวัดโทยามะ และแม่น้ำยูกาวะมีต้นกำเนิดจากภูเขาและไหลผ่านแอ่งภูเขาไฟมาบรรจบกันกับแม่น้ำมากาวะก่อให้เกิดแม่น้ำโจกันจิ ต่อจากนั้นจะไหลลงมาก่อให้เกิดลำน้ำสาขา เช่น แม่น้ำโชมิโย และแม่น้ำวาดะ [2]

ภูมิประเทศของญี่ปุ่นเกือบ 70% ถูกปกคลุมด้วยภูเขาสูงชัน หมู่เกาะญี่ปุ่นยังได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นและเกิดฝนตกหนักหลายครั้งต่อปี จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาแม่น้ำที่ไม่เคยทำให้เกิดน้ำท่วมซักครั้งเลย ภูเขาในประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะพังทลายลงได้ง่ายทำให้ฝนสามารถพัดพาตะกอนไปยังที่ราบได้เป็นจำนวนมาก ที่ราบส่วนใหญ่จึงเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แต่กระนั้นภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่ก่อเกิดจากแม่น้ำใช้เวลาหลายร้อยหรือหลายพันปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเพียงไม่กี่ทศวรรษหรือหลักร้อยต้น ๆ เหมือนแม่น้ำโจกันจิ [3]

แม่น้ำโจกันจิสายหลักมีความยาวประมาณ 56 กม. และมีพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ 368 ตารางเมตร [1]

ในรัชสมัยของจักรพรรดิเมจิมีบันทึกว่ารัฐบาลได้ส่งนาย โยฮันนิส เดอ ไรจ์เค (Johannis de Rijke) ซึ่งเป็นวิศวกรชาวดัตช์เพื่อมาเพื่อซ่อมแซมแม่น้ำ เมื่อโยฮันนิสพบเห็นแม่น้ำเขากล่าวว่า "ที่นี่ไม่ใช่แม่น้ำแต่มันคือน้ำตก" มีบันทึกว่าคำพูดนี้อาจเกินจริงหรือแปลไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็นเพื่อเพิ่มอรรถรสความน่ากลัวของแม่น้ำ จริง ๆ คำที่โยฮันนิสพูดคือ "แม่น้ำแห่งนี้ช่างไหลเร็วยิ่งนัก"[4] หลังจากการรายงานการประชุมของจังหวัดโทยามะในปี ค.ศ. 2020 ได้รับการยืนยันแล้วว่าแท้จริงแล้วแม่น้ำที่โยฮันนิสกล่าวถึงมิใช่ม่น้ำโจกันจิแต่อย่างใด แต่เขาได้กล่าวถึงแม่น้ำฮายาซึกิต่างหาก[5]

ประวัติ

[แก้]

เป็นหนึ่งแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลเชี่ยวที่สุดในญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและมีการไหลลงด้วยความสูงต่างกันประมาณ 3,000 เมตรบริเวณที่ลุ่มจึงเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งมาเป็นเวลานาน [6]

หลังจากภัยพิบัติน้ำท่วมใน ค.ศ. 1858 มีบันทึกว่าตอนกลางของแม่น้ําโจกันจิและบริเวณโดยรอบพบหินขนาดใหญ่ประมาณ 40 ก้อนมีน้ำหนักตั้งแต่ 100 - 600 ตัน ภัยพิบัติในครั้งนั้นแม่น้ำได้พัดพาทั้งหิน ดิน โคลน จนเป็นที่เปรียบเปรยความรุนแรงของภัยพิบัติในคราวนั้นว่าประดุจดังแม่น้ำโจกันจิได้พัดพาภูเขาลงมาทั้งลูก หลังเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโจกันจิตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในอดีตแม่น้ำจะมีสีน้ําเงินเข้มสามารถให้เรือใบทั้งลำแล่นผ่านไปจนสุดศาลเจ้าโอยามะที่อยู่ตอนบนสุดของที่ราบ แต่หลังจากนั้นเมื่อมีฝนตกหนักจะเกิดการไหลของซากไม้ซากหินกลายเป็นแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราด[3]

ในช่วงก่อนการฟื้นฟูเมจิประมาณ 10 ปีจนถึงสมัยเมจิตอนต้นแม่น้ำโจกันจิมีน้ำท่วมถึง 41 ครั้ง เขื่อนถูกทำลาย 8 รอบ ในช่วงกรอบเวลาของปีเมจิ 15 - 24 หลังจากค.ศ. 1930 พื้นแม่น้ำสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 0.8 เมตรทุกปี [3]

ภัยพิบัติแห่งภูเขาโทบิยามะ

[แก้]

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1858 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บนภูเขาก่อให้เกิดการถล่มทลายของภูเขาโทบิยามะ การถล่มทำให้เกิดตะกอนไหลของทรายและเศษหินจำนวนมาก[1]

กระแสตะกอนไหลสร้างความเสียหายแก่ 18 หมู่บ้านในแคว้นโทยามะ มีผู้เสียชีวิต 140 ราย บาดเจ็บ 8,945 ราย และบ้านเรือน 1,603 หลังถูกทำลาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 常願寺川沿岸用水 水土里ネット富山(富山県土地改良事業団体連合会)、2023年12月3日閲覧。
  2. 常願寺川水系河川整備計画 国土交通省北陸地方整備局 2010年。P.5
  3. 3.0 3.1 3.2 "【序章】山をも流した河 | 常願寺川 農人の記憶―山をも流した河 Jyouganji-River Memory of the Farmers | 富山(常願寺川/立山カルデラ) | 水土の礎". suido-ishizue.jp. สืบค้นเมื่อ 13 October 2024.
  4. 内務省技術顧問 ヨハネス・デ・レーケ เก็บถาวร 2023-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(農林水産省)
  5. 『北日本新聞』2020年8月16日付1面『常願寺川「これは川ではない、滝だ」デ・レイケ発言 実は別人 県に議事録 論争決着か』より。
  6. "日本の川 - 北陸 - 常願寺川 - 国土交通省水管理・国土保全局". www.mlit.go.jp. สืบค้นเมื่อ 12 October 2024.