แมลงทับกลมขาเขียว
แมลงทับกลมขาเขียว | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Coleoptera |
อันดับย่อย: | Polyphaga |
อันดับฐาน: | Elateriformia |
วงศ์ใหญ่: | Buprestoidea |
วงศ์: | Buprestidae |
สกุล: | Sternocera |
สปีชีส์: | S. aequisignata |
ชื่อทวินาม | |
Sternocera aequisignata Saunders, 1866[1] |
แมลงทับกลมขาเขียว หรือ แมลงทับบ้านขาเขียว หรือ แมลงทับเขียว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sternocera aequisignata) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์แมลงทับ (Buprestidae)
มีมีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมาก หัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด ปีกแข็งเป็นสีเขียวเลื่อมเหลือบทองมีความแวววาวสวยงาม มีหนวดเป็นเส้นแบบใบไม้ หัวมีขนาดใหญ่
แมลงทับกลมขาเขียว มีวงจรชีวิตยาวประมาณ 1-2 ปี โดยเป็นตัวหนอน 8-20 เดือน ในดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ในความลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร ในระยะที่ยังเป็นไข่ประมาณ 2-3 เดือน ฟองไข่มีลักษณะกลมรี สีเหลือง
ระยะเป็นดักแด้จะอยู่ในปลอกดินหุ้มลำตัวประมาณ 2-3 เดือน แต่เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะมีอายุประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้น โดยจะผุดขึ้นมาจากดินในช่วงฤดูฝน ที่พื้นดินมีความชุ่มชื้น โดยจะออกหากินทันทีและผสมพันธุ์ตามเรือนยอดไม้ วางไข่ครั้งละ 12 ฟอง ซึ่งจัดว่าน้อยสำหรับแมลงปีกแข็ง
จะกินอาหารจำพวก ยอดไม้ โดยเฉพาะยอดอ่อน ๆ ของพืชหลายชนิด เช่น มะขามเทศ เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ ทั้งใน ป่าละเมาะหรือแม้แต่สวนสาธารณะหรือสวนผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง มักพบเป็นกลุ่มเล็ก ๆ
นับเป็นแมลงทับ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้บ่อยและรู้จักกันดีที่สุดในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิดนั้น คือ แมลงทับกลมขาแดง (S. ruficornis))[2]
เป็นแมลงที่มีความสวยงาม จึงถูกใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จากปีกแข็งที่มีสีเขียวเลื่อม ด้วยการทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งสีของปีกนั้นสามารถคงทนอยู่ได้นานถึง 50 ปี[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
- ↑ จากสนุกดอตคอม
- ↑ "แมลงทับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.