แมตต์ ชรีเยร์
แมทธิว บี. ชรีเยร์ (อังกฤษ: Matthew B. Schrier) เป็นอดีตช่างภาพชาวอเมริกันที่ได้หลบหนีจากอัลกออิดะฮ์
ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ
[แก้]ชรีเยร์มาจากเดียร์พาร์ค รัฐนิวยอร์ก และเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮอฟสตรา ในเอกภาษาอังกฤษรวมถึงได้ศึกษาการผลิตภาพยนตร์[1][2][3] เขาได้เข้าไปในประเทศซีเรียด้วยความช่วยเหลือของกองทัพปลดปล่อยซีเรีย ชรีเยร์ได้ถ่ายภาพของกบฏกองทัพปลดปล่อยซีเรียที่ต่อสู้กับกองกำลังของประธานาธิบดี บัชชาร อัลอะซัด แห่งประเทศซีเรีย[4]
การลักพาตัวโดยแนวร่วมอัลนุสเราะ
[แก้]ปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ชรีเยร์ถูกจับกุมโดยแนวร่วมอัลนุสเราะซึ่งเป็นพันธมิตรอัลกออิดะฮ์ในประเทศซีเรีย ขณะเดินทางบนถนนระหว่างอะเลปโปและชายแดนประเทศตุรกี[5] ซึ่งรถจี๊ปเชอโรกีคันหนึ่งได้แล่นตัดหน้าจากด้านข้างของถนนและมีชายสามคนกระโดดออกมา ชรีเยร์กล่าวกับรายการ 60 มินิตส์ ว่า "หนึ่งในพวกเขาปกปิดร่างกายอย่างสมบูรณ์ในชุดดำ ก็อย่างที่คุณรู้ เหมือนผู้ชายที่อยู่ในภาพยนตร์ -- ที่มีผ้าพันคอรอบใบหน้าของเขา มีปืนเอเค 47 อยู่ในมือ แล้วเขาก็พาผมไป โดยวางผมไว้ที่เบาะหลังของรถเชอโรกี และเขาก็จ่อกระบอกปืนไว้ที่หัวของผม"[4] เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มของนักข่าวอเมริกันที่ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มญิฮาดซีเรีย[6] ซึ่งในที่สุดเขาก็ถูกขังอยู่ในเรือนจำที่ควบคุมโดยกบฏในเมืองอะเลปโปของประเทศซีเรีย[7]
เขาใช้กลยุทธ์เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 ในฐานะกลยุทธ์การเอาตัวรอดเพื่อรับการปฏิบัติที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นกลวิธีที่จบลงด้วยการทำงาน[1]
การหนี
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ชรีเยร์กลายเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่หลบหนีจากอัลกออิดะฮ์ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเขาบีบตัวเองผ่านหน้าต่างเล็ก ๆ ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมห้องขังชื่อปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังแม้จะมีความพยายามของชรีเยร์เพื่อให้เขาออกมา[7][8][9] ในระหว่างการวางแผนการหลบหนีชรีเยร์อ้างว่าเคอร์ติสเคาะประตูเพื่อหยั่งท่าทีพวกยามเกี่ยวกับการหลบหนี ซึ่งเคอร์ติสยอมรับในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ดีไซท์[8]
ผลที่ตามมา
[แก้]ส่วนหนังสือของเขาชื่อ เดอะดาวน์เพรเยอร์ (ออร์ฮาวทูเซอไวฟ์อินอะซีเครตซีเรียนเทอร์เรอริสต์ไพรซัน): อะเมมมัวร์ (ISBN 1944648887) ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2018
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 ชรีเยร์ได้ยื่นฟ้องธนาคารอิสลามกาตาร์ (QIB) ในขณะที่เขาอ้างว่าพวกเขาให้การสนับสนุนอัลกออิดะฮ์[10][11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The New York Times". nytimes.com. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
- ↑ "Syria strife, through a lens darkly - Times Union". timesunion.com. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
- ↑ "Matthew Schrier, of Syosset, returns to U.S. after being held in Syrian prison - News 12 Long Island". longisland.news12.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
- ↑ 4.0 4.1 Pelley, Scott. "210 Days in Captivity". 60 Minutes. สืบค้นเมื่อ September 3, 2014.
- ↑ Baksh, Nazim and Adrienne Arsenault (25 November 2015). "Ex-hostage says there may be Canadian al-Qaeda link". CBC News. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.
- ↑ Pelley, Scott (August 21, 2014). "Escaped Hostage: "Oh My God They Are Collecting Us"". www.cbsnews.com. CBS News. สืบค้นเมื่อ September 3, 2014.
- ↑ 7.0 7.1 Chivers, C.J. "American Tells of Odyssey as Prisoner of Syrian Rebels". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 3, 2014.
- ↑ 8.0 8.1 Berbner, Bastian. "Die Hölle, das ist der andere". Die Zeit. สืบค้นเมื่อ January 28, 2017.
- ↑ Picard, Ken (November 30, 2016). "Former al-Qaeda Prisoner Theo Padnos Reflects on His Ordeal". Seven Days. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Complaint: Plaintiff Matthew Schrier alleges the following in support of his claims" (PDF). United States District Court for the Southern District of Florida. January 2020.
- ↑ "Former American Hostage Sues Qatari Bank For Allegedly His Al-Qaeda Captors, Says Royals Were 'Neck Deep In This'". Newsweek. 5 February 2020.