แพลตฟอร์มไครเมีย
ตราสัญลักษณ์ของแพลตฟอร์มไครเมีย | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2564 |
---|---|
สำนักงานใหญ่ | |
เว็บไซต์ | crimea-platform |
แพลตฟอร์มไครเมีย (ยูเครน: Кри́мська платфо́рма; ตาตาร์ไครเมีย: Qırım platforması) เป็นความคิดริเริ่มทางการทูตของยูเครนและวอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประธานาธิบดียูเครน[1] แพลตฟอร์มได้รับการออกแบบให้เป็นกลไกความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์รัสเซีย–ยูเครนผ่านการย้อนกลับการผนวกไครเมียโดยสหพันธรัฐรัสเซีย พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ การปกป้องสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มตาตาร์ไครเมีย ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการกีดกันทางการค้าในบริเวณทะเลดำและทะเลอะซอฟ ก็เป็นประเด็นที่หารือกันในที่ประชุมสุดยอดครั้งนั้นเช่นกัน[2] การประชุมสุดยอดครั้งแรกของแพลตฟอร์มเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ช่วงก่อนวันครบรอบ 30 ปีแห่งการเป็นเอกราชของยูเครน[3]
การกำเนิดและการส่งเสริม
[แก้]แผนการสำหรับเหตุการณ์เช่นนั้นได้รับการประกาศโดยกระทรวงการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองชั่วคราว[4] และในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 75 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563[5] การกล่าวถึงการริเริ่มโครงการแพลตฟอร์มไครเมียครั้งแรกปรากฏขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เมื่อแอมีแน จาปารอวา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่หนึ่ง นำเสนอโครงการต่อเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและหารือเกี่ยวกับแง่มุมเชิงปฏิบัติในการที่จะให้สหภาพยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ[6] หลังจากนั้นทางการยูเครนได้ดำเนินการรณรงค์เพื่อให้ประเทศตะวันตกมีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มมากขึ้น[7][8][9][10] เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ประธานาธิบดีแซแลนสกึยได้ลงนามในรัฐกฤษฎีกา "ว่าด้วยมาตรการเพื่อขับไล่การยึดครองและการรวมตัวใหม่ของดินแดนที่ถูกยึดครองชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอล" นำมาซึ่งการตัดสินใจก่อตั้งคณะกรรมการจัดงานเพื่อเตรียมการและจัดแพลตฟอร์มไครเมีย ประธานคณะกรรมการจัดงานเพื่อการเตรียมการประชุมสุดยอดของแพลตฟอร์มไครเมียคือ ดมือตรอ กูแลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศยูเครน[11][12][13] แพลตฟอร์มเป็นที่คาดหวังว่าจะได้รับการนำเสนอในสมัชชารัฐสภาแห่งสภายุโรปด้วย[14]
หัวข้อการเจรจาและรูปแบบการทำงาน
[แก้]ดมือตรอ กูแลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงถึงประเด็นสำคัญ 5 ประการในเวทีการเจรจาของแพลตฟอร์มไครเมีย ประการแรก คือความมั่นคง ซึ่งรวมถึงอิสรภาพในการกำหนดทิศทาง ประการที่สอง คือรับประกันประสิทธิภาพของการคว่ำบาตรต่อประเทศที่รุกราน ประการที่สาม คือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกฎหมายด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ประการที่สี่ คือการคุ้มครองทางการศึกษา วัฒนธรรม และสิทธิในการนับถือศาสนา ประการที่ห้า คือการพิชิตผลกระทบด้านลบจากการยึดครองไครเมียชั่วคราวต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การเจรจาจะดำเนินการในประเด็นสำคัญ 5 ประการ คือ
- นโยบายการไม่รับรองความพยายามการผนวกไครเมียโดยรัสเซีย
- การขยายและเสริมสร้างการคว่ำบาตรระหว่างประเทศต่อรัสเซีย
- ความมั่นคงระหว่างประเทศ
- สิทธิมนุษยชน
- ผลกระทบของการยึดครองต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม[15]
นอกจากนี้ นักโทษการเมืองไครเมียบนคาบสมุทรที่ถูกยึดครองจะเป็นประเด็นที่ได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ[16]
หลังจากการประชุมสุดยอด กิจกรรมต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มไครเมียจะยังไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น แต่มีการวางแผนการทำงานสี่รูปแบบ คือ ประธานาธิบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วย และผู้เชี่ยวชาญ ส่วนในระดับระหว่างรัฐบาลจะดำเนินการในรูปแบบของการปรึกษาหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่าง ๆ การประชุมประสานงานของคณะทำงานเฉพาะทางในประเด็นสำคัญ และการประชุมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นไปได้ที่จะจัดการประชุมประจำปีที่จะมุ่งเน้นให้กับการรักษาความปลอดภัยของภูมิภาคทะเลดำและที่อื่น ๆ[17]
สมาคมรัฐสภาระหว่างฝ่ายแพลตฟอร์มไครเมีย (อันประกอบไปด้วยรุสเตม อูเมรอฟ, มุสตาฟา เจมีเลฟ, อาฮ์เตม ชีย์กอซ, แยลือซาแวตา ยัสกอ และวาดึม ฮาลัยชุก) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในรัฐสภายูเครน และกำลังร่างรัฐบัญญัติต่าง ๆ ว่าด้วยคาบสมุทร [ไครเมีย] ที่ถูกผนวกรวมเป็นการชั่วคราว[18][19]
ในเดือนมิถุนายน ได้มีการนำเสนอเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของแพลตฟอร์มไครเมียที่ศูนย์ข่าวของศูนย์สื่อวิกฤตยูเครน ตัวแทนของกลุ่มสิทธิมนุษยชนไครเมีย ปริซึมยูเครน และศูนย์สอบสวนทางข่าวสารได้เข้าร่วมงาน[20] การประชุมก่อตั้งของเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของแพลตฟอร์มไครเมีย พร้อมการเข้าร่วมจากผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศต่าง ๆ สถานทูตต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เกิดขึ้น ณ วันที่ 6 สิงหาคม ในกรุงเคียฟ[21]
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มไครเมียยังคาดว่าจะเป็นตัวแทนในสมัชชารัฐสภาแห่งสภายุโรป[22]
แพลตฟอร์มดังกล่าวจะยังคงดำเนินงานเรื่อยไปจนกว่าคาบสมุทรจะกลับสู่การควบคุมของยูเครน[23]
ผู้เข้าร่วม
[แก้]ผู้นำต่างประเทศได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีและการประชุมสุดยอด ซึ่งรวมทั้งผู้นำของสหรัฐ กรีซ[24][25] และลิทัวเนีย ส่วนประเทศตุรกี สหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักร และมอลโดวา เป็นประเทศกลุ่มแรกที่ประกาศแผนการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสุดยอด[26] นอกจากนี้ อิสราเอลได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมด้วย[27]
สำหรับรัสเซีย ก่อนหน้านี้กระทรวงการต่างประเทศได้อนุญาตการมีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มไครเมีย โดยมีข้อแม้ว่า "หากโครงการนี้วางแผนที่จะหารือถึงการจ่ายน้ำและกระแสไฟฟ้าคืนสู่ไครเมีย โดยยกเลิกการปิดล้อมการค้าขายและการคมนาคมของรัฐบาลยูเครนในคาบสมุทร"[28] ด้านยูเครนปฏิเสธความเป็นไปได้ดังกล่าว[29] ภายหลังรัสเซียกล่าวว่าความพยายามในการยึดไครเมียคืนของรัฐบาลยูเครนนั้น "เป็นไปโดยมิชอบ" และการเข้าร่วมการประชุมริเริ่มของยูเครนโดยประเทศและองค์การใด ๆ ถือว่าเป็น "การรุกล้ำบูรณภาพทางดินแดนของรัสเซียโดยตรง"[30]
รัสเซียยังพยายามบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มและป้องกันไม่ให้รัฐอื่นเข้าร่วมด้วยการกรรโชกและการข่มขู่ ด้วยเหตุนี้ รายชื่อผู้ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดจึงต้องเก็บเป็นความลับ[31][32]
ด้วยเหตุการณ์ทั้งหมดดังกล่าวนี้ ตัวแทนจากทั้งหมด 47 ประเทศและองค์การ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดในวันที่ 23 สิงหาคม
สหรัฐได้ส่งผู้แทนจากคณะรัฐมนตรี การนี้ได้ประกาศโดยจอร์จ เคนต์ อุปทูตสหรัฐประจำประเทศยูเครน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้านกิจการยุโรปและยูเรเชีย ในการให้สัมภาษณ์แก่สถานีเรดีโอลิเบอร์ตี (Radio Liberty)[33]
หลังจากการประชุมสุดยอด ประธานาธิบดีแซแลนสกึยได้มอบเครื่องอิสริยาภรณ์ของเจ้าชายยาโรสลาฟผู้รอบรู้ให้แก่ผู้นำประเทศและรัฐบาลจำนวน 11 คน[34]
ประเทศสมาชิกกลุ่ม 7
[แก้]- แคนาดา - จอร์จ ฟิวรีย์ ประธานวุฒิสภา
- ฝรั่งเศส - ฌ็อง-อีฟว์ เลอ ดรีย็อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- เยอรมนี - เพเทอร์ อัลท์ไมเออร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน
- อิตาลี - เบเนเดตโต เดลลา เวโดวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ญี่ปุ่น - คูไร ทากาชิ เอกอัครราชทูต
- สหราชอาณาจักร - เวนดี มอร์ตัน รัฐมนตรีฝ่ายการยุโรปและอเมริกา
- สหรัฐอเมริกา - เจนนิเฟอร์ แกรนโฮล์ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ประเทศอื่น ๆ
[แก้]- ลัตเวีย - เอกิลส์ เลวิตส์ ประธานาธิบดี[39]
- ลิทัวเนีย - กิตานัส เนาเซดา ประธานาธิบดี[40]
- เอสโตเนีย - เกร์สตี กัลยูไลด์ ประธานาธิบดี[41]
- โปแลนด์ - อันด์แชย์ ดูดา ประธานาธิบดี[42]
- สโลวาเกีย - เอดูอาร์ด เฮเกร์ นายกรัฐมนตรี
- ฮังการี - ยาโนช อาแดร์ ประธานาธิบดี
- มอลโดวา - มายา ซันดู ประธานาธิบดี[43][44]
- สโลวีเนีย - โบรุต ปาฮอร์ ประธานาธิบดี
- ฟินแลนด์ - เซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดี
- โรมาเนีย - บอกดัน อาวูเรสกู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[45]
- โรมาเนีย - ฟลอริน กึตซู นายกรัฐมนตรี[45]
- จอร์เจีย - อีรากลี ฆารีบัชวีลี นายกรัฐมนตรี[46][47]
- โครเอเชีย - อันเดรย์ เปลงกอวิช นายกรัฐมนตรี
- สวีเดน - สเตฟัน เลอเวน นายกรัฐมนตรี[48]
- สวิตเซอร์แลนด์ - อันเดรอัส เอบี ประธานสภาแห่งชาติ
- เช็กเกีย - มิโลช วิสตร์ชิล ประธานวุฒิสภา
- ตุรกี - เมฟลึท ชาวูโชลู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- สเปน - ฆวน กอนซาเลซ-บาร์บา เปรา เลขาธิการฝ่ายกิจการสหภาพยุโรป
- เบลเยียม - ซอฟี วีลแม็ส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ลักเซมเบิร์ก - ฌ็อง อัสเซิลโบร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ออสเตรีย - อเล็คซันเดอร์ ชัลเลินแบร์ค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- เนเธอร์แลนด์ - โตม เดอ เบรยน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและการพัฒนา
- ไอร์แลนด์ - ไซมอน โคฟนีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- เดนมาร์ก
- บัลแกเรีย - สแวตลัน สตอแอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- มอนเตเนโกร - จอร์จ ราดูลอวิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- มาซิโดเนียเหนือ - บูยาร์ ออสมานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- โปรตุเกส - ฌูเวา โกมึช กราวีญู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นอร์เวย์ - Audun Halvorsen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นิวซีแลนด์ - Si'alei van Toor เอกอัครราชทูต
- มอลตา - ก็อดวิน มอนตานาโร เอกอัครราชทูต
- ออสเตรเลีย - บรูซ เอดเวิดส์ เอกอัครราชทูต
- ไซปรัส - หลุยส์ เทเลมาคัส เอกอัครราชทูต
- กรีซ - วาซีลีโอส บอร์โนวัส เอกอัครราชทูต
- ไอซ์แลนด์ - Eidun Atlason เอกอัครราชทูต
- แอลเบเนีย - Olta Xhaçka รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ลีชเทินชไตน์[49]
- เนโท - Mircea Geoană รองเลขาธิการ
- สหภาพยุโรป (คณะมนตรียุโรป) - ชาร์ล มีแชล ประธานาธิบดี
- สหภาพยุโรป (คณะกรรมาธิการยุโรป) - วัลดิส โดมโบรฟสกิส รองประธาน
- สภายุโรป - Marija Pejčinović Burić เลขาธิการ
- องค์การกวามเพื่อประชาธิปไตยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ - อัลทัย แอแฟนดีเยฟ เลขาธิการ
สำนักงานของแพลตฟอร์มไครเมีย
[แก้]ในวันประชุมสุดยอด ผู้เข้าร่วมได้เปิดสำนักงานใหญ่ของแพลตฟอร์มไครเมียซึ่งตั้งอยู่ที่เลขที่ 2 ถนนลึปสกา ในกรุงเคียฟ ภาระงานส่วนหนึ่งของสำนักงานคือการเฝ้าระวังสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มรดกทางวัฒนธรรม และอื่น ๆ ในคาบสมุทรตลอดเวลา เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การขับไล่การครอบครองและการผนวกรวมใหม่ของไครเมีย ตลอดจนชี้แจงและสื่อสารกับประชาชนชาวยูเครนจากไครเมียที่มีคู่ครองต่างชาติ เป็นต้น หัวหน้าของสำนักงานคือ อันตอน กอรือแนวึช ผู้แทนถาวรประธานาธิบดียูเครนประจำสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย[50]
มีการวางแผนที่จะเปิดสำนักงานของแพลตฟอร์มไครเมียเพิ่มเติมในประเทศอื่น ๆ ที่เป็นประเทศผู้ลงนามในคำประกาศ[51]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Crimea Platform: Ukraine's Initiative to Raise the Costs of Russia's Occupation". Jamestown (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
- ↑ "THE CRIMEAN PLATFORM WILL BECOME A FOREIGN POLICY INSTRUMENT OF THE DE-OCCUPATION STRATEGY | UA: Ukraine Analytica". UA: Ukraine Analytica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
- ↑ "Festivities dedicated to the 30th anniversary of Ukraine's independence will last for 3 days - Volodymyr Zelenskyy". Official website of the President of Ukraine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "Резніков про міжнародний майданчик для переговорів щодо Криму: "Все в процесі"". Крим.Реалії. 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
- ↑ "Президент Зеленський в ООН закликав взяти участь у створенні міжнародної платформи з деокупації Криму". Крим.Реалії. 23 September 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
- ↑ "Еміне Джапарова презентувала послам країн-членів ЄС ініціативу "Кримська платформа" і обговорила практичні аспекти залучення Євросоюзу до її діяльності". МЗС України. 17 November 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
- ↑ "«Кримська платформа» в 2021 році стане епіцентром гібридної війни України та Росії – Кулеба". Крим.Реалії. 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
- ↑ "Україна представила ЄС концепцію Кримської платформи". Слово і Діло. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "Джапарова презентувала Кримську платформу в ОБСЄ". Укрінформ. 1 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "Кримська платформа: Джапарова запросила на саміт держави-члени ЮНЕСКО". Укрінформ. 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "Зеленський створив оргкомітет Саміту Кримської платформи". УП. 26 February 2021. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
- ↑ "Президент створив Організаційний комітет з підготовки установчого Саміту Кримської платформи". Президент України. 26 February 2021. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
- ↑ Указ Президента України від 26 лютого 2021 року № 78/2021 «Про окремі заходи, спрямовані на деокупацію та реінтеграцію тимчасово окупованої території Автономної Республіки Крим та міста Севастополя»
- ↑ "Мезенцева: "Кримська платформа працюватиме на базі ПАРЄ"". LB.ua. 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "У МЗС оголосили напрямки роботи Кримської платформи". Слово і Діло.
- ↑ ""Кримська платформа" розгляне питання політв'язнів на окупованому півострові – МЗС". Прямий.
- ↑ "Виступ першої заступниці міністра Еміне Джапарової на Всеукраїнському форумі "Україна 30. Міжнародна політика"". Міністерство закордонних справ України.
- ↑ "У Раді створили міжфракційне об'єднання "Кримська платформа"". Укрінформ.
- ↑ "У Раді розробляють пакет законопроектів "Кримська платформа"". Інтерфакс-Україна.
- ↑ "Презентували експертну мережу Кримської платформи". Український кризовий медіа-центр.
- ↑ "У Києві стартував установчий форум експертної мережі "Кримської платформи" (трансляцію завершено)". Крим.Реалії.
- ↑ "Мезенцева: "Кримська платформа працюватиме на базі ПАРЄ"". LB.ua.
- ↑ ""Кримська платформа" завершить свою роботу тоді, коли на півострів повернеться прапор України – Кориневич". Крим.Реалії.
- ↑ "Зеленский пригласил президента Греции на 30-летие независимости Украины - Последние новости сегодня". pressorg24.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Зеленский пригласил президента Греции на празднование 30-летия независимости Украины". Интерфакс-Украина (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ ""Кримська платформа". "Маячня" чи реальний крок для деокупації Криму?". Радіо Свобода.
- ↑ "Zelensky invites Israel to join Crimea Platform summit declaration".
- ↑ "МЗС Росії назвало умову, за якої російська сторона візьме участь у Кримській платформі". Суспільне Крим.
- ↑ "Кулеба запросив Росію взяти участь в саміті Кримської платформи: "На порядку денному буде тільки одне питання"". zn.ua.
- ↑ "Росія назвала "Кримську платформу" нелегітимною і пригрозила учасникам". УП.
- ↑ "Окупанти пообіцяли "болючі наслідки" через "Кримську платформу"". Ракурс.
- ↑ "Чому учасників "Кримської платформи" тримають в секреті, пояснила Джапарова". kanaldom.tv.
- ↑ "Встреча Байдена и Зеленского, Крым и Донбасс: интервью Джорджа Кента". Крым.Реалии (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-08-02.
- ↑ "The President presented state awards to the participants of the Crimea Platform summit".
- ↑ "44 держави та організації: Кулеба назвав повний склад саміту "Кримської платформи"". УП.
- ↑ "Ще одна країна НАТО підтвердила участь у саміті Кримської платформи". УП.
- ↑ "Делегацію США на Кримській платформі очолить міністерка енергетики". УП.
- ↑ "Остання країна НАТО приєдналася до Кримської платформи". УП.
- ↑ "President of Ukraine held talks with the President of Latvia after the Crimea Platform Summit".
- ↑ "Зеленский пригласил президента Литвы на 30-летие независимости Украины - Последние новости сегодня". pressorg24.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Три украинских дня Кальюлайд: встреча с Зеленским, "Крымская платформа" и военный парад". 22 August 2021.
- ↑ "Oficjalna strona Prezydenta Rzeczypospolitej Polskiej / Aktualności / Wizyty zagraniczne / Kijów | Spotkanie Prezydentów Polski i Ukrainy". www.prezydent.pl. 23 August 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
- ↑ "Зеленский пригласил Санду на празднование 30-летия Независимости Украины". www.ukrinform.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Зеленский пригласил Санду на 30-летие независимости Украины". Интерфакс-Украина (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ 45.0 45.1 Florea, Daniel (23 August 2021). Constantin, Anamaria (บ.ก.). "Premier Citu pays visit to Ukraine, to attend Crimean International Platform's launch summit". Agerpres. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- ↑ "PM Garibashvili Addresses Crimea Platform Summit". Civil.ge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
- ↑ "Ukrainian president awards Georgian PM with order of merit". Agenda.ge. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.
- ↑ "Volodymyr Zelenskyy met with the Prime Minister of Sweden".
- ↑ "Ще одна держава приєдналась до Кримської платформи". pravda.com.ua. สืบค้นเมื่อ 2022-02-20.
- ↑ "Президент України та учасники саміту Кримської платформи оглянули головний офіс ініціативи в Києві". Президент України. 23 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
- ↑ "Офіси Кримської платформи відкриють в інших країнах - Президент". Укрінформ. 2021-08-22. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.