ข้ามไปเนื้อหา

ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แผ่นแปะคุมกำเนิด)
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง
Ortho Evraยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนังยี่ห้อ Ortho Evra
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนและโปรเจสติน)
เริ่มใช้ครั้งแรกพ.ศ.​2545
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง0.3%
เมื่อใช้แบบทั่วไป9%
การใช้
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์
ระยะการพบแพทย์ทุก 3-6 เดือน
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน
น้ำหนักไม่มี
ประจำเดือนควบคุม อาจมาน้อยลงและปวดน้อยลง
ข้อดีได้รับผลกระทบจากยาฆ่าเชื้อน้อยกว่ายาเม็ดคุมกำเนิด
ความเสี่ยงอัตราเกิดเส้นเลือดตีบลึก (DVT) เท่า ๆ กับยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง (อังกฤษ: contraceptive patch)[1] หรือ แผ่นแปะคุมกําเนิด เป็นยาคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Combined pill โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะสัปดาห์ละ 1 แผ่น ในระหว่างที่ใช้แผ่นแปะ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ เช่น อาบน้ำ ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย โดยไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา จึงเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ง่าย สะดวก ลดปัญหาการลืมทานยาเม็ด

กลไกในการป้องกันการตั้งครรภ์

[แก้]

ทำให้เมือกที่บริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น ซึ่งทำให้อสุจิผ่านเข้ามาผสมกับไข่ได้ยากขึ้น และมีผลทำให้เยื่อบุมดลูกบางลง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของไข่ นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งการตกไข่

วิธีการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง

[แก้]

ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ใน 1 กล่อง มีแผ่นแปะ 3 แผ่น ซึ่ง 3 แผ่นนี้จะใช้แปะผิวหนังใน 1 รอบเดือน (รอบเดือนปกติของสตรีจะมีระยะเวลาประมาณ 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์) โดยใน แผ่นของยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ จะแปะผิวหนังได้นาน 1 สัปดาห์ และต้องใช้ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ของรอบเดือน ส่วนสัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ไม่มีการใช้ยา สรุป คือ ใน1 รอบเดือน ให้แปะแผ่นยาคุมกำเนิด 3 สัปดาห์ และหยุดแปะ 1 สัปดาห์

เริ่มแปะแผ่นยาในวันแรกที่มีประจำเดือน โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันแรกที่รอบเดือนมา ซึ่งเริ่มใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดภายใน 24 ชั่วโมงในวันแรกที่รอบเดือนมา และนับวันที่แปะแผ่นคุมกำเนิดในวันนี้เป็นวันที่หนึ่งของการใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งวันเปลี่ยนแผ่นยาจะตรงกับวันที่แปะแผ่นยาคุมกำเนิดวันนี้ในทุกสัปดาห์ และมีผลในการคุมกำเนิดทันที่ ไม่ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย

เริ่มแปะแผ่นยาในวันอาทิตย์ ระหว่างสัปดาห์ที่มีประจำเดือนมา โดยเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันอาทิตย์ ส่วนรอบต่อไปก็เปลี่ยนแผ่นแปะทุกวันอาทิตย์ ทั้งนี้ในช่วง 7 วันแรก ควรใช้การคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย

บริเวณที่เหมาะสมในการแปะแผ่นยาคุมกำเนิด คือ สะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก หรือ แผ่นหลังช่วงบน แต่ห้ามแปะบริเวณหน้าอก[2]

ข้อควรปฏิบัติ

[แก้]
ข้อควรปฏิบัติในกรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาคุมกำเนิด
  • กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์แรกของรอบเดือน ให้แปะยาแผ่นใหม่ทันที่ที่นึกขึ้นได้ วันเปลี่ยนแผ่นยาจะเปลี่ยนใหม่จะเป็นวันใหม่นี้แทน และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น สวมถุงยางอนามัยใน 7 วันแรก
  • กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
  • หากลืมน้อยกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะแผ่นยาใหม่ทันทีที่นึกได้ และวันเปลี่ยนแผ่นยาคงเป็นวันเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
  • หากลืมมากกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะยาแผ่นใหม่ทันทีที่นึกขึ้นได้ ให้นับยาแผ่นใหม่ที่แปะนี้เป็นยาแผ่นแรกของรอบการใช้ยาแผ่นใหม่ทันที และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก
ข้อควรปฏิบัติในกรณีแผ่นยาคุมกำเนิดหลุดลอก
  • กรณีแผ่นยาหลุดน้อยกว่า 1 วัน แปะยาแผ่นใหม่ทันที แล้วเปลี่ยนแผ่นยาใหม่ในวันเปลี่ยนแผ่นยาตามกำหนด
  • กรณีลืมแผ่นหลุดนานเกิน 1 วัน ผู้ใช้ควรหยุดรอบการนับการใช้แผ่นยาเดิม และให้เริ่มต้นการใช้แผ่นยาคุมกำเนิดรอบใหม่ทีนที และนับวันนี้เป็นวันแรกของการใช้รอบใหม่ และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก

อาการอันไม่พึงประสงค์

[แก้]
  • คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
  • อาจพบอาการคันเล็กน้อยในตำแหน่งที่แปะในแผ่นแรกของการใช้ยา ซึ่งอาการคันจะทุเลาลงใน 3-4 วัน
  • อาจพบเลือกออกกะปริดกะปรอยได้ในรอบเดือนแรกของการใช้ยา
  • ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดจะลดลง เมื่อใช้กับสตรีที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม[3] [4] [5]

ตัวอย่างของยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง

[แก้]

ORTHO EVRA® ลักษณะแผ่นแปะผิวหนังจะเป็นแผ่นบาง มีขนาด 20 ตารางเซนติเมตร ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ Ethinyl estradiol และ Norelgestromin โดยฮอร์โมนจะถูกปล่อยออก และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างต่อเนื่องโดยไม่ผ่านตับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Piyasirisilp R, Taneepanichskul S. A Clinical Study of Transdermal Contraceptive Patch in Thai Adolescence Women. J Med Assoc Thai 2008; 91 (2) : 137-41
  2. Taneepanichskul S. Norelgestromin/Ethinyl Estradiol Transdermal System. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Suppl.2) : S82-4.
  3. Piyasirisilp R, Taneepanichskul S. A Clinical Study of Transdermal Contraceptive Patch in Thai Adolescence Women. J Med Assoc Thai 2008; 91 (2) : 137-41
  4. Herndon EJ, Zieman M. New Contraceptive Options. AMERICAN FAMILY PHYSICIAN 2004; 69: 854-60.
  5. Smallwood GH, Meador ML, Lenihan JP, Shangold GA, Fisher AC, Creasy GW. Efficacy and safety of a transdermal contraceptive system. Obstet Gynecol 2001; 98: 799-805.