ถุงยางอนามัยสตรี
ถุงยางอนามัยสตรีหรือถุงยางอนามัยผู้หญิง (อังกฤษ: female condom, femidom, internal condom) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดแบบสิ่งขีดขวางที่ใช้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ โรคซิฟิลิส และเอชไอวี ถึงแม้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและป้องกันการตั้งครรภ์จะน้อยกว่าถุงยางอนามัยชาย[1] ถุงยางอนามัยสำหรับสตรีคิดค้นโดยแพทย์ชาวเดนมาร์ก Lasse Hessel ใช้โดยการใส่ภายในร่างกายผู้หญิงเพื่อเป็นอุปกรณ์ป้องกันทางกายภาพจากน้ำอสุจิหรือของเหลวอื่น และยังสามารถส่วมใสโดยผู้รับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก[2][3]
ถุงยางอนามัยสำหรับสตรีบาง นิ่ม หลวมและมีวงแหวนที่ยืดได้ทั้งสองฝั่ง และมีหลายขนาด สำหรับพวกเขาจะเข้ามาในหลากหลายขนาดนี้ สำหรับช่องคลอดส่วนใหญ่จะใช้ถุงยางอนามัยที่มีขนาดปานกลาง แต่ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดควรลองขนาดใหญ่ก่อน ควงแหวนด้านในที่ด้านท้ายสุดของปลอกใช้ใส่ถุงยางอนามัยภายในช่องคลอดและยึดไว้ในตำแหน่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ วงแหวนนอกที่ปลายเปิดของปลอกยังคงอยู่นอกช่องคลอดและครอบคลุมส่วนของอวัยวะเพศภายนอก
ถุงยางอนามัยหญิงได้รับการพัฒนาขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 (ถุงยางอนามัยชายถูกใช้มานานหลายศตวรรษแล้ว) เแรงจูงใจหลักของการสร้างคือการปฏิเสธของผู้ชายบางคนในการใช้ถุงยางอนามัยเนื่องจากการสูญเสียความรู้สึกและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการแข็งตัวขององคชาติและโดยนัยที่ชายสามารถส่งต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[4][5]
รุ่นและวัสดุ
[แก้]รุ่นแรก เอฟซีหนึ่ง (FC1) ทำมาจากโพลียูรีเทน และรุ่นที่สองเรียกว่า เอฟซีสอง(FC2) ทำจากไนไตรสังเคราะห์[6]การเปลี่ยนวัสดุถูกประกาศเมื่อกันยายน ค.ศ. 2005[7] และเริ่มผลิตในเดือนตุลาคม ค.ศ.2009[8]ถุงยางไนไตรล์รุ่นใหม่ลดเสียงย่น ทั้งยังเพิ่มความปลอดภัย ประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย เอฟซีสองผลิตโดยบริษัทสุขภาพผู้หญิง(The Female Health Company) องค์การอนามัยโลกได้อนุมัติการซื้อเอฟซีสองโดยองกรณ์สหประชาชาติและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ[9] มีขายภายใต้ชื่อแบรนด์หลากหลายเช่น เรียลลีตี้ เฟมิดอม โดมินิค เฟมี มายเฟมี โพเท็คทีพ และแคร์
โครงการสุขภาพที่ไม่หวังผลกำไรโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (PATH) ได้พัฒนาถุงยางอนามัยหญิงที่เหมาะสำหรับการใช้งานในประเทศกำลังพัฒนา ผลิตโดย Shanghai Dahua Medical Apparatus ในประเทศจีน[10]
การใช้ที่เหมาะสม
[แก้]วิธีการใส่เอฟซีสอง
- ทาสารหล่อลื่นด้านนอกของปลายปิด
- หาตำแหน่งที่สบาย (ยืนด้วยขาข้างเดียวบนเก้าอี้แล้วนั่งบนขอบเก้าอี้ นอนลง หรือสควอท)
- บีบด้านข้างของวงแหวนด้านในของปลายปิดของเอฟซีสองและแทรกเข้าไปในช่องคลอดเหมือนการใส่ผ้าอนามัยแบบสอด
- เลื่อนแหวนด้านในเข้าไปในช่องคลอดเท่าที่มันสามารถเข้าไปได้ จนกระทั่งถึงปากมดลูก
- เอานิ้วมือออกและปล่อยให้แหวนข้างนอกห้อยอยู่ประมาณหนึ่งนิ้วจากช่องคลอด
ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เป็นปกติที่ถุงยางจะเครื่องไปมาด้านข้าง หยุดการมีเพศสัมพันธ์หากองคชาติหลุดไประหว่างผนั่งช่องคลอดหรือ แหวนด้านนอกหลุดเข้าไปในช่องคลอด ตราบใดที่คู่นอนยังไม่หลั่งอสุจิ ถุงยางสามารถถอดออกและใส่น้ำยาฆ่าอสุจิหรือสารหล่อลื่นและใส่เข้าไปใหม่ ผู้ใช้บางคนใช้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักแม้ว่าจะยังไม่ถูกทดสอบหรืออนุมัติโดยFDA
วิธีการถอดเอฟซีสอง
- บีบและบิดเแหวนด้านนอกของเอฟซีสองเพื่อให้อสุจิยังอยู่ในถุงยาง
- ค่อยๆดึงออกจากช่องคลอดหรือทวารหนัก
- ทิ้งขยะ ห้ามทิ้งในชักโครก
ไม่แนะนำให้ใช้ซ้ำ[11]
ประสิทธิผล
[แก้]เมื่อใช้อย่างถูกต้องถุงยางอนามัยหญิงมีอัตราความล้มเหลว 5% การใช้งานไม่ถูกต้องมีอัตราความล้มเหลว 21% [12]
ประโยชน์ของถุงยางอนามัยหญิงที่มีมากกว่าวิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ ได้แก่[13]
- ผู้หญิงมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เข้าถึงได้ง่าย (เมื่อเทียบกับวิธีการที่ต้องไปพบแพทย์) และสามารถซื้อได้ในร้านขายยาและซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง
- ปลอดภัยสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้น้ำยาง
- สามารถใช้กับสารหล่อลื่นที่ใช้น้ำได้ (ไม่เหมือนถุงยางอนามัยยาง) และสารหล่อลื่นน้ำมัน
- ไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนตามธรรมชาติของผู้หญิง
- สามารถซื้อได้โดยไม่มีใบสั่งยา
- เพิ่มประสบการณ์ร่วมเพศของทั้งชาติและหญิง เพราะถุงยางทั้งกระตุ้นปุ่มกระสันและองคชาติระหว่างร่วมเพศ
- ไม่ต้องพึงพาการแข็งตัวขององคชาต
ข้อเสียของถุงยางอนามัยสตรี[14]
- อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศของทั้งสองเพศ (รวมทั้งการระคายเคืองของช่องคลอด อวัยวะเพศหรือทวารหนัก)
- มันอาจลื่นเข้าไปในช่องคลอดหรือทวารหนักในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ในช่องคลอดหรือทวารหนัก
- มันอาจจะลดความรู้สึกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ MedlinePlus Encyclopedia Female condoms
- ↑ Female condoms for anal sex archive 20090430
- ↑ "How to Put on a Female Condom (For Anal Sex)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
- ↑ National Health Service (United Kingdom), "What if my partner won't use condoms?", July 16, 2014, http://www.nhs.uk/Conditions/contraception-guide/Pages/partner-wont-use-condoms.aspx, retrieved February 8, 2017.
- ↑ Angelica Geter and Richard Crosby, "Condom Refusal and Young Black Men: the Influence of Pleasure, Sexual Partners, and Friends", Journal of Urban Health, vol. 91, 2014, pp. 541–546, https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4074317/, retrieved 8 February 2017.
- ↑ "Product". Femalehealth.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-03. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
- ↑ "Female Health Company Announces International Availability of Second — Generation Female Condom at Significantly Lower Price" (PDF) (Press release). Female Health Company. September 29, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-12. สืบค้นเมื่อ 2006-08-03.(PDF)
- ↑ "Female Health Company". Female Health Company. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
- ↑ "UNFPA". UNFPA. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
- ↑ "PATH's woman's condom". Path.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-22. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
- ↑ "How do I Use Female Condoms?". Planned Parenthood. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.
- ↑ "Female Condoms". Planned Parenthood. สืบค้นเมื่อ 2015-08-24.
- ↑ "What Are the Benefits of Female Condoms?". Planned Parenthood. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.
- ↑ "What Are the Disadvantages of Female Condoms?". Planned Parenthood. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.