แผงกั้นควบคุมฝูงชน
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/73/Female_riot_police_officer.jpg/280px-Female_riot_police_officer.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/fc/London_Marathon_2014_-_First_aiders_%2803%29.jpg/300px-London_Marathon_2014_-_First_aiders_%2803%29.jpg)
แผงกั้นควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: crowd control barriers หรือเรียกอีกอย่างว่า เครื่องกีดขวางควบคุมฝูงชน (crowd control barricade) บางรุ่นเรียกว่าเฟรนช์แบริเออร์ (French barrier) หรือไบค์แร็ค (bike rack) ในสหรัฐ และมิลล์แบริเออร์ (mills barrier) ในฮ่องกง[1]) มักใช้งานในงานสาธารณะต่าง ๆ ปรากฎเห็นบ่อยในงานกีฬา, ขบวนพาเหรด, การชุมนุมทางการเมือง, การเดินขบวน และเทศกาลกลางแจ้ง ผู้จัดงาน ผู้จัดการสถานที่ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยใช้งานเครื่องกีดขวางเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการจัดการฝูงชน
ประวัติ
[แก้]นาดาร์
[แก้]จูลส์ อันสปาช นายกเทศมนตรีเมืองบรัสเซลส์ให้เครดิตในการประดิษฐ์แผงกั้นควบคุมฝูงชน (crowd control barrier) ในโอกาสที่นาดาร์ ช่างภาพชาวฝรั่งเศสเดินทางมายังเมืองบรัสเซลล์ พร้อมกับบอลลูน Géant เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2407 จูลส์ อันสปาชได้สร้างแผงกั้นเคลื่อนที่เพื่อกันฝูงชนให้อยู่ในระยะปลอดภัย[2] จนกระทั่งทุกวันนี้ แผงกั้นควบคุมฝูงชนเป็นที่รู้จักทั้งในภาษาเฟลมิชและภาษาเบลเยี่ยมฝรั่งเศสว่า Nadar barrier[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "Newly designed mills barriers". Press releases. Hong Kong Government. 23 January 2002. สืบค้นเมื่อ 26 November 2014.
- ↑ Cinq journées avec Charles Baudelaire à Bruxelles par Georges Barral (extraits)
- ↑ Nadarafsluiting at www.cornille-mct.be
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Commons-logo.svg/30px-Commons-logo.svg.png)