การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้
การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (อังกฤษ: illusion of control) เป็นแน้วโน้มที่เรามีในการประเมินค่าสูงเกินไปว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ คือ เราอาจจะคิดว่าเราควบคุมเหตุการณ์อะไรบางอย่างได้ แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้มีส่วนควบคุม[1] ชื่อของปรากฏการณ์นี้ตั้งขึ้นโดย ศ.ญ. ดร. เอ็ลเล็น แลงเกอร์ ของคณะจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นปรากฏการณ์ที่ทำซ้ำได้ในสถานการณ์หลายอย่าง[2] ปรากฏการณ์นี้เชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการเล่นการพนัน และความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ[3] พร้อมกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภท "ความเหนือกว่าแบบลวง" (illusory superiority) และความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) ปรากฏการณ์นี้เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก
นักทฤษฎีทางจิตวิทยาเน้นความสำคัญของความรู้สึกว่า เราสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตได้ นักวิชาการพวกแรก ๆ รวมทั้งนักจิตวิทยาชาวออสเตรียแอลเฟร็ด แอ็ดเลอร์เสนอว่า เราจะพยายามเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ (proficiency) ต่าง ๆ ในชีวิต ส่วนนักจิตวิทยา (ชาวออสเตรียเหมือนกัน) ฟริตซ์ ไฮเดอร์ เสนอว่า เรามีแรงจูงใจที่มีกำลังที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อม และนักจิตวิทยาไวต์[ใคร?] ตั้งสมมติฐานว่า เราจะสนองแรงจูงใจพื้นฐานในการสร้างความสามารถ (competence) โดยทำการเพื่อควบคุมผลต่าง ๆ ส่วนนักจิตวิทยาเชิงสังคมเบอร์นาร์ด ไวเนอร์ ผู้สร้างทฤษฎี Attribution ได้เพิ่มการควบคุมได้โดยเป็นองค์ เข้ากับทฤษฎีเดิมของเขาเกี่ยวกับแรงจูงใจที่จะสร้างความสำเร็จ นักจิตวิทยาเชิงสังคมชาวอเมริกันแฮโรลด์ เค็ลลีย์ เสนอว่า ความล้มเหลวในการตรวจจับเหตุอื่น ๆ อาจจะมีผลให้เรายกตนเองว่าเป็นเหตุ ของผลที่จริง ๆ ควบคุมไม่ได้ หลังจากนั้น เล็ฟคอร์ต[ใคร?] เสนอว่า ความรู้สึกว่าควบคุมได้ ซึ่งเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดว่าตนสามารถเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ได้ มีบทบาทที่ชัดเจน และเป็นผลบวกในการดำรงชีวิต พึ่งเมื่อไม่นานนี้ นักจิตวิทยาวชาวอเมริกันเทย์เลอร์และบราวน์[4] เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก รวมทั้งการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ สนับสนุนอุปถัมภ์สุขภาพจิต[5]
การแปลผลผิดชนิดนี้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในสถานการณ์ที่คุ้นเคย และในสถานการณ์ที่เราทราบผลที่เราต้องการ[6] ผลตอบสนองที่เน้นแสดงความสำเร็จ ไม่เน้นความล้มเหลว สามารถเพิ่มกำลังของปรากฏการณ์ได้ ในขณะที่ผลตอบสนองที่เน้นความล้มเหลว ก็สามารถลดกำลังของปรากฏการณ์ได้[7] ปรากฏการณ์จะมีกำลังอ่อนกว่าสำหรับผู้มีภาวะซึมเศร้า และแรงกว่าสำหรับผู้มีความต้องการโดยอารมณ์ที่จะควบคุมผลที่ออกมา[6] ปรากฏการณ์จะมีกำลังขึ้นในสถานการณ์ที่เครียดหรือมีการแข่งขัน รวมทั้งการค้าขายในตลาดการเงิน[8]
แม้ว่า เรามีโอกาสที่จะคิดว่าสามารถควบคุมเหตุการณ์ที่จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นโดยสุ่มได้ แต่ก็ยังมักจะประเมินการควบคุมเหตุการณ์ที่จริง ๆ แล้วควบคุมได้ ในระดับต่ำเกินไป ซึ่งขัดกับแนวคิดทางทฤษฎีหลายอย่าง และขัดกับความเป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมสิ่งแวดล้อม (adaptiveness) ของปรากฏการณ์นี้[9]
นอกจากนั้นแล้ว เรายังจะประสบกับการแปลสิ่งเร้าผิดอย่างนี้ในระดับที่สูงขึ้น เมื่อมีความคุ้นเคยกับงานโดยการฝึกซ้อม เมื่อต้องเลือกทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนผลที่จะเกิดเช่นการโยนลูกเต๋า และต้องทำการเลือกแทนที่จะมีคนอื่นทำให้แม้ว่าผลจากทั้งสองวิธีจะมีความเป็นไปได้เหมือน ๆ กัน (เช่นการโยนลูกเต๋าเอง แทนที่จะให้เครื่องโยนให้) เรามักจะมีความรู้สึกว่าควบคุมได้เพิ่มยิ่งขึ้น ถ้าสามารถตอบคำถามในส่วนเบื้องต้นได้ถูกมากกว่าในส่วนเบื้องท้าย แม้ว่า จริง ๆ แล้ว จะตอบคำถามถูกต้องได้เท่า ๆ กันโดยรวม[5]
ปรากฏการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะเราไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้โดยการพินิจภายใน (introspection) ว่าเราสามารถควบคุมเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ได้จริง ๆ หรือไม่ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การแปลการพินิจภายในผิด (introspection illusion) คือเราจะตัดสินว่าสามารถควบคุมอะไรได้หรือไม่ ผ่านกระบวนการทางประชานที่บ่อยครั้งเชื่อถือไม่ได้ ทำให้เข้าใจผิดว่า เราเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ที่จริง ๆ แล้วไม่มีความเป็นเหตุผลเนื่องกันเรา
ในงานศึกษาหนึ่ง มีการทดสอบนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยใช้ความเป็นจริงเสมือนเกี่ยวกับการใช้ลิฟต์ โดยมีกลุ่มทดลอง 4 กลุ่ม ต่างกันโดยการควบคุมลิฟต์ได้และไม่ได้จริง ๆ และโดยการบอกให้คิดว่าควบคุมลิฟต์ได้และไม่ได้ ในกลุ่มที่เข้าใจว่าสามารถควบคุมลิฟต์ได้ แม้ว่าจริง ๆ จะไม่ได้ นักศึกษารู้สึกเหมือนว่าสามารถควบคุมได้ เท่า ๆ กับกลุ่มที่สามารถควบคุมลิฟต์ได้จริง ๆ ส่วนกลุ่มที่ควบคุมลิฟต์ไม่ได้และมีการบอกว่าควบคุมไม่ได้ ก็มีความรู้สึกว่าตนควบคุมลิฟต์ได้ในระดับต่ำ[10]
โดยตัวแทน
[แก้]บางครั้งบางคราว เราพยายามที่จะเข้าไปควบคุมเหตุการณ์ โดยมอบหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับผู้ที่เก่งกว่าหรือ "โชคดี" กว่า คือ มอบการควบคุมโดยตรงให้กับผู้อื่น ที่ทำให้เรารู้สึกว่าผลจะออกมาดีที่สุด การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้โดยตัวแทน (illusion of control by proxy) เป็นการขยายแบบจำลองของทฤษฎีการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้
เป็นความจริงว่า เราอาจจะมอบหน้าที่ให้คนอื่นที่มีความรู้ดีกว่า มีความเชี่ยวชาญกว่า เช่นในทางการแพทย์ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญจริง ๆ ในกรณีเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องสมเหตุผลที่จะมอบหน้าที่ให้คนอื่นเช่นแพทย์ แต่ว่า เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เป็นไปโดยสุ่ม (คือควบคุมไม่ได้) การให้คนอื่นทำการตัดสินใจแทน (หรือวางเดิมพันแทน) เพราะว่าคนนั้นโชคดีกว่า เป็นความคิดที่ไม่สมเหตุผล และไม่สมกับความต้องการที่จะควบคุมเหตุการณ์ในเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งเป็นความต้องการที่ปรากฏชัดเจนแล้วในงานทดลองอื่น ๆ
การกระทำไม่สมเหตุผลเช่นนี้อาจเป็นไปได้เพราะโดยรวม ๆ แล้ว เราอาจจะคิดได้ว่าเราเองโชคดี และจะมุ่งใช้โชคนั้นเพื่อเดิมพันในเกมที่เป็นไปโดยสุ่ม ดังนั้น จึงไม่เป็นเรื่องแปลกสักเท่าไรที่เราจะเห็นว่า คนอื่นโชคดีและสามารถควบคุมเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้
ในกรณีศึกษาจริง ๆ งานหนึ่ง กลุ่มนักเล่นสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ทำงานบริษัท จะเลือกว่าใครเป็นคนเลือกเบอร์ที่เล่น และจะซื้อลอตเตอรี่ตามเบอร์นั้น ๆ โดยขึ้นอยู่กับประวัติเบอร์ที่แทงถูกและผิดของสมาชิกแต่ละคน สมาชิกที่มีประวัติดีที่สุด จะกลายเป็นผู้แทนซื้อลอตเตอรี่จนกระทั่งมีการแทงผิดเกินจำนวน หลังจากนั้น สมาชิกที่มีประวัติที่ดีกว่าก็จะได้รับเลือกให้เลือกเบอร์ที่แทง แม้ว่า จริง ๆ แล้ว จะไม่มีสมาชิกคนไหนที่เก่งกว่าคนอื่น เพราะว่า การแทงถูกผิดเป็นไปแบบโดยสุ่ม แต่ว่า สมาชิกก็ยังต้องการที่จะให้คนที่ตนรู้สึกว่าโชคดีกว่า ทำหน้าที่แทนตนในการเลือกเบอร์
ในกรณีศึกษาเรื่องจริงอีกงานหนึ่ง ในเกมสุดท้ายของฮอกกี้โอลิมปิกทีมหญิงชายปี ค.ศ. 2002 ทีมแคนาดาชนะทีมสหรัฐอเมริกา แต่ต่อมามีความเชื่อเกิดขึ้นว่า ที่ชนะได้ก็เพราะมีการใส่เหรียญดอลล่าร์แคนาดานำโชคไว้ใต้ลานน้ำแข็งก่อนเกม มีนักกีฬาในทีมแคนาดาเท่านั้นที่รู้ว่ามีเหรียญอยู่ใต้น้ำแข็ง ภายหลังเหรียญนั้นได้นำไปไว้ที่ห้องเกียรติคุณฮอกกี้ ที่มีการเปิดให้ชมและผู้มาชมสามารถแตะเหรียญนั้นได้ มีคนที่เชื่อว่า เขาสามารถจะได้โชคจากเหรียญโดยการแตะเหรียญ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโชคชะตาของตนเอง แม้ว่า เหรียญนี้จะไม่ได้นำโชค และจะไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับคนที่มาชมโดยประการทั้งปวง แต่ก็ยังมีคนเชื่อว่า นำโชคมาให้ ซึ่งเป็นความคิดที่ไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิง[11]
หลักฐาน
[แก้]ปรากฏการณ์นี้มีหลักฐานให้เห็นในสถานการณ์ 3 อย่างคือ[12]
- การทดลองในห้องแล็บ
- การสังเกตพฤติกรรมในเกมที่เป็นไปโดยสุ่มและเป็นที่คุ้นเคยกันต่าง ๆ เช่นการเล่นลอตเตอรี่
- พฤติกรรมในสถานการณ์จริง ๆ ที่ผู้ทำเป็นผู้แจ้งเอง
การทดลองในห้องแล็บแบบหนึ่งใช้ไฟสองดวงที่ติดป้ายไว้ว่า "ได้คะแนน" และ "ไม่ได้คะแนน" ผู้ร่วมการทดลองต้องพยายามทำการควบคุมว่า ไฟดวงไหนจะติด ในแบบหนึ่งของการทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองสามารถกดปุ่มสองปุ่ม ปุ่มใดปุ่มหนึ่ง[13] ส่วนอีกแบบหนึ่งมีแค่ปุ่มเดียว ซึ่งผู้ร่วมการทดลองต้องตัดสินใจว่า จะกดปุ่มหรือไม่ในการทดสอบแต่ละครั้ง[14] ผู้ร่วมการทดลองจะมีระดับการควบคุมไฟต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับว่า ปุ่มกับไฟนั้นต่อกันอย่างไร แต่ว่า จะมีการแจ้งไว้ตั้งแต่ต้นว่า การกดปุ่มและการเปิดปิดของไฟนั้น อาจจะไม่สัมพันธ์อะไรกันเลย[14] ผู้ร่วมการทดลองจะต้องประเมินว่า ตนสามารถควบคุมไฟได้แค่ไหน และปรากฏว่า ค่าประเมินเหล่านี้ไม่สัมพันธ์กับระดับการควบคุมไฟได้จริง ๆ ของผู้ร่วมการทดลอง แต่กลับสัมพันธ์กับไฟที่มีป้ายว่า "ได้คะแนน" ว่าติดบ่อยครั้งแค่ไหน คือแม้ว่า การเลือกกระทำของผู้ร่วมการทดลองจะไม่มีผลอะไรเลย แต่ก็ยังรายงานว่า ตนมีส่วนในการควบคุมไฟ[14]
งานวิจัยของ ดร. แลงเกอร์ แสดงว่า เรามีโอกาสที่จะมีพฤติกรรม เหมือนกับควบคุมสถานการณ์ที่เป็นไปโดยสุ่มได้มากกว่า ถ้ามี skill cues (ตัวบ่งทักษะ)[15][16] skill cues หมายถึงลักษณะบางอย่างของสถานการณ์ที่ปกติจะเป็นตัวบ่งการใช้ทักษะความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น การต้องทำการเลือก การแข่งขัน ความคุ้นเคยกับสิ่งเร้า และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตัวอย่างง่าย ๆ ของปรากฏการณ์นี้พบได้ในกาสิโน (บ่อนการพนัน) คือเมื่อโยนลูกเต๋าในเกมที่เรียกว่า craps ผู้เล่นมักจะโยนลูกเต๋าแรงกว่าเมื่อต้องการเลขสูง และเบากว่าเมื่อต้องการเลขต่ำ[2][17]
ในงานทดลองหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองต้องพยากรณ์ผลของการโยนเหรียญ 30 ครั้ง ผลของการโยนเหรียญนั้นจริง ๆ แล้วมีการจัดให้ถูกตามคำพยากรณ์ครึ่งหนึ่งพอดี กลุ่มการทดลองต่าง ๆ มีลักษณะต่างกันเพียงแค่ว่า ช่วงที่มีการพยากรณ์ถูกนั้น จะเกิดขึ้นที่ตอนไหน บางพวกถูกในตอนต้น ๆ บางพวกถูกอย่างกระจายไปทั่วในการทดลอง 30 ครั้ง มีการสำรวจภายหลังว่า ผู้ร่วมการทดลองคิดว่าตนทำการพยากรณ์ได้ดีแค่ไหน ผู้ร่วมการทดลองที่พยากรณ์ "ถูก" ในช่วงต้น ๆ ประเมินว่า ตนทำสำเร็จเป็นจำนวนครั้งมากเกินไป และมีความคาดหวังที่สูงกว่าว่า ตนจะทำการเดาอย่างนี้ได้ดีในเกมต่อ ๆ ไปในอนาคต[2][16] ผลงานทดลองนี้คล้ายกับ "ปรากฏการณ์ให้ความสำคัญในอันดับแรกที่ไร้เหตุผล" (irrational primacy effect) ที่เราให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เกิดขึ้นในส่วนต้น ๆ[2] ผู้ร่วมการทดลองถึง 40% เชื่อว่า การพยากรณ์ของตนในเหตุการณ์ที่เป็นไปโดยสุ่มนี้ จะดีขึ้นถ้ามีการฝึกซ้อม และ 25% บอกว่า ตัวกวนสมาธิจะทำให้ทำงานได้แย่ลง[2][16]
มีงานวิจัยอีกงานหนึ่งของ ดร. แลงเกอร์ ที่มีการทำซ้ำโดยนักวิจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับลอตเตอรี่ ในการทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองบางพวกได้รับเบอร์ลอตเตอรี่โดยสุ่ม บางพวกจะเลือกเบอร์เอง และผู้ร่วมการทดลองสามารถแลกเบอร์ลอตเตอรี่กับผู้อื่นเพื่อเพิ่มโอกาสถูกลอตเตอรี่ได้ ปรากฏว่า ผู้ที่เลือกเบอร์ของตนเองลังเลมากกว่าในการแลกเบอร์ นอกจากนั้นแล้ว ใบลอตเตอรี่ที่มีสัญลักษณ์ที่คุ้นเคย มีโอกาสน้อยกว่าที่จะรับแลกกับใบอื่นที่มีสัญลักษณ์ที่ไม่คุ้นเคย และแม้ว่าจริง ๆ แล้ว ผลคือการถูกลอตเตอรี่จะเป็นไปโดยสุ่ม ผู้ร่วมการทดลองกลับมีพฤติกรรมเหมือนกับว่า การเลือกเบอร์ของตนจะมีอิทธิพลต่อผล[15][18] ผู้ที่เลือกเบอร์ของตนเองมีความน่าจะเป็นน้อยกว่าที่จะแลกเบอร์ลอตเตอรี่ แม้แต่กับเบอร์ที่มีโอกาสถูกสูงกว่า[5]
อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ศึกษาความรู้สึกว่าควบคุมได้ ก็คือการถามคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์สมมุติ ยกตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับโอกาสที่ตนจะมีอุบัติเหตุทางรถยนต์ คือ โดยเฉลี่ยแล้ว คนขับรถพิจารณาว่า ในสถานการณ์ที่ "ควบคุมได้สูง" เช่นเมื่อตนเป็นผู้ขับรถ อุบัติเหตุมีโอกาสเกิดน้อยกว่าในสถานการณ์ที่ "ควบคุมได้ต่ำ" เช่นเมื่อตนเป็นผู้โดยสารนั่งข้าง ๆ คนขับ นอกจากนั้นแล้วยังมีการพิจารณาอีกด้วยว่า อุบัติเหตุที่ควบคุมได้สูงเช่นการขับรถชนท้ายคันข้างหน้า มีโอกาสน้อยกว่าอุบัติเหตุที่ควบคุมได้ต่ำเช่นถูกชนท้าย[12][19][20]
คำอธิบาย
[แก้]ดร. เอ็ลเล็น แลงเกอร์ ผู้เป็นนักวิชาการท่านแรกที่แสดงปรากฏการณ์นี้ อธิบายสิ่งที่พบว่าเป็นความสับสน ระหว่างสถานการณ์ที่ต้องใช้ทักษะและสถานการณ์ที่เป็นไปโดยสุ่ม เธอเสนอว่า เราจะตัดสินใจว่าสามารถควบคุมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ "skill cues" (ตัวบ่งทักษะ) ซึ่งเป็นลักษณะของสถานการณ์ที่ปกติสัมพันธ์กับเกมที่ต้องใช้ทักษะ เช่นการแข่งขัน ความคุ้นเคย และการต้องเลือกทำ ถ้าตัวบ่งทักษะเหล่านี้มีมาก ปรากฏการณ์นี้ก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น[7][8][21]
ส่วนนักวิชาการอีกคณะหนึ่งแย้งว่า คำอธิบายของ ดร. แลงเกอร์ ไม่สมบูรณ์พอที่จะอธิบายนัยต่าง ๆ ที่พบในปรากฏการณ์ พวกเขาเสนอโดยเป็นคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งว่า การตัดสินใจว่าควบคุมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระบวนกานที่เรียกว่า "control heuristic" (ฮิวริสติกเกี่ยวกับการควบคุม)[7][22] ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เสนอว่า การตัดสินใจว่าควบคุมได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์สองอย่างคือ ความตั้งใจที่จะทำให้เกิดผล และความสัมพันธ์กันระหว่างการกระทำและผล แต่ในเกมที่เป็นไปโดยสุ่ม องค์สองอย่างนี้มักจะไปด้วยกัน คือนอกจากจะมีความตั้งใจที่จะชนะแล้ว ก็ยังมีการกระทำ เช่นการโยนลูกเต๋าหรือการดึงแขนของเครื่องเล่นสล็อตแมชชีน แล้วมีผลที่ตามมาทันทีอีกด้วยแม้ว่าจะเป็นไปโดยสุ่ม เมื่อครบองค์เช่นนี้ ทฤษฎี control heuristic ก็จะพยากรณ์ว่า คนเล่นจะมีความรู้สึกว่าผลควบคุมได้ในระดับหนึ่ง[21]
ทฤษฎีการบังคับตนเอง (Self-regulation theory) สามารถใช้เป็นคำอธิบายได้อีกแนวหนึ่ง คือ เพราะว่าเรามีจุดมุ่งหมายในใจ (internal goals) ที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เราจะพยายามทำการควบคุมสถานการณ์ที่วุ่นวาย ไม่แน่นอน หรือทำให้เครียด วิธีหนึ่งในการบรรเทาความรู้สึกว่าควบคุมไม่ได้ ก็คือถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า ตนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้[8]
มีคำอธิบายที่สามารถใช้ได้อีกแนวหนึ่ง คือ ผลประเมินที่ได้จาก core self-evaluations (ตัวย่อ CSE แปลว่าการประเมินแกนในของตน) สามารถใช้เป็นตัวแทนบุคลิกภาพที่มีเสถียรภาพของบุคคล ซึ่งเป็นการประเมินองค์ต่าง ๆ โดยพื้นฐาน ของจิตใต้สำนึก รวมทั้งการประเมินตนเอง ความสามารถ และความควบคุม ผู้มีคะแนนสูงจะคิดถึงตนในเชิงบวกและมีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง ผู้มีคะแนนต่ำจะคิดถึงตนเองในแนวลบและจะไม่มีความมั่นใจในตน[23] นอกจากนั้นแล้ว ผู้มีคะแนนสูงมีโอกาสสูงกว่าที่จะเชื่อว่า ตนสามารถควบคุมสถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ (คือมี internal locus of control)[24] และดังนั้น คะแนนที่สูงมากอาจนำไปสู่การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้
ผลดีและผลเสีย
[แก้]เทย์เลอร์และบราวน์เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (positive illusion) ซึ่งรวมการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ เป็นพฤติกรรมเชิงปรับตัว (ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสังคมและการดำเนินชีวิต) เพราะว่าเป็นแรงดลใจให้เราอดทนในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่มีอาจทำให้เลิกล้มงานนั้นไป[4] เป็นข้อเสนอที่ได้รับการสนับสนุนจาก ดร. แอลเบิร์ต แบนดูรา ผู้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณทางจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้อ้างว่า
การประเมินความสามารถของตนเองในแง่ดี แม้ว่าจะไม่ได้ทำแยกจาก (ความสามารถ)ที่อาจเพียงเป็นไปได้อย่างเหมาะสม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เทียบกับการประเมินที่ตรงกับความจริง ซึ่งอาจจะเป็นการจำกัดตนเอง[25]
คำของ ดร. แบนดูรา เป็นการชี้การปรับตัว ของความเชื่อในแง่ดีเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมและผลงานการกระทำ ในเหตุการณ์ที่ควบคุมได้ ไม่ใช่ความรู้สึกว่าควบคุมได้ในเหตุการณ์ที่ผลเกิดขึ้นโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคคล
ดร. แบนดูรา ยังเสนอเป็นความคิดในนัยตรงข้ามอีกด้วยว่า
(แต่)ในสถานการณ์ที่การทำงานอย่างไม่ผิดพลาดมีเขตจำกัด และการก้าวล่วงออกจากเขตนั้นสามารถทำให้เกิดผลราคาแพงหรือทำให้เกิดความบาดเจ็บ ความผาสุขของตนจะเป็นไปได้ดีที่สุดถ้าสามารถประเมินอิทธิผล (ของตน) อย่างแม่นยำในระดับสูง[26]
เทย์เลอร์และบราวน์เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกเป็นพฤติกรรมเชิงปรับตัว (ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสังคมและการดำเนินชีวิต) เพราะมีหลักฐานว่า เกิดขึ้นในบุคคลผู้มีสุขภาพจิตดีบ่อยกว่าผู้มีภาวะซึมเศร้า แต่ว่า มีนักวิชาการกลุ่มอื่น (Pacini, Muir และ Epstein) ที่แสดงว่า นี่อาจจะเป็นเพราะผู้ซึมเศร้าใช้ความคิดโดยเหตุผลมากเกินไปในสถานการณ์ที่เป็นเรื่องเล็กน้อย เพื่อทดแทนการแปลผลโดยรู้เองที่มีการปรับตัวเสียหาย (maladaptive intuitive processing) โดยเป็นการทดแทนอย่างเกินส่วน (คือมักคิดในเชิงลบ แต่คิดถูกในสถานการณ์เล็กน้อย เพราะใช้ความคิดโดยเหตุผลมาก) และให้ข้อสังเกตว่า ในสถานการณ์ที่สำคัญ ความแตกต่างกับผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้านั้นไม่มี[27]
อย่างไรก็ดี ก็ยังมีหลักฐานทางการทดลองด้วยว่า การประเมินอิทธิผลของตนในระดับสูง ก็สามารถเป็นการปรับตัวที่ไม่ดีได้ในบางสถานการณ์ ในงานศึกษาใช้บทละคร นักวิจัยพบว่า ผู้ร่วมการทดลองที่ถูกชักจูงให้มีการประเมินอิทธิผลของตนในระดับสูง มีโอกาสสูงกว่าอย่างสำคัญ ที่จะเพิ่มพันธะข้อผูกพันของตนกับแนวทางการกระทำที่นำไปสู่ความล้มเหลว (คือมั่นใจอิทธิผลของตนมากเกินไป จึงเพิ่มการกระทำ/การใช้จ่าย/ความผูกพัน กับแนวทางการกระทำที่ไม่ดี)[28]
มีนักวิจัยกลุ่มอื่นอีกที่[29]
- แสดงความไม่เห็นด้วยกับนิยามของคำว่าสุขภาพจิต (mental health) ที่ใช้โดยเทย์เลอร์และบราวน์
- เสนอว่า การปราศจากปรากฏการณ์นี้สัมพันธ์กับบุคลิกภาพที่ว่ากล่าวแนะนำได้ (non-defensive personality) ซึ่งเอนไปทางการศึกษาและการพัฒนาตน โดยมีส่วนได้ส่วนเสียทางอัตตาน้อย ในผลที่จะออกมา
- แสดงหลักฐานว่า ผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ (self-determined) ไม่ค่อยประสบปรากฏการณ์เช่นนี้
ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีกลุ่มนักวิจัยที่แสดงว่า ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีความเห็นที่แม่นยำกว่าผู้ไม่มีภาวะเศร้าซึม โดยใช้บททดสอบที่วัดปรากฏการณ์นี้[30] ซึ่งคงเป็นจริงแม้ว่าภาวะเศร้าซึมนั้น จะเป็นภาวะที่เปลี่ยนแปลงจัดการโดยงานทดลอง (คือไม่ได้มีเองเปลี่ยนเองโดยธรรมชาติ) แต่ว่างานวิจัยในปี ค.ศ. 2005 และ 2007 ที่ทำซ้ำผลงานวิจัยพบว่า การประเมินการควบคุมได้มากเกินไปในผู้ไม่มีภาวะเศร้าซึม จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อช่วงเวลาระหว่างการกระทำและการประเมินผลมีระยะยาวพอ ซึ่งบอกเป็นนัยว่า การประเมินเกินเกิดขึ้นเพราะผู้ไม่มีภาวะเศร้าซึมรวมลักษณะต่าง ๆ ของสถานการณ์เข้าเพื่อการประเมิน มากกว่าผู้มีภาวะเศร้าซึม[31][32] นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยในปี ค.ศ. 1989 ยังแสดงด้วยว่า ผู้มีภาวะเศร้าซึมเชื่อว่าตนไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ที่ความจริงตนสามารถ ดังนั้น การรับรู้และความเข้าใจของผู้มีภาวะเศร้าซึมจึงไม่ได้แม่นยำกว่าโดยองค์รวม[33]
ในปี ค.ศ. 2007 มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่เสนอว่า ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "สัจนิยมเหตุซึมเศร้า" (depressive realism) ที่ผู้มีภาวะเศร้าซึมดูเหมือนจะประเมินความควบคุมได้ของตนตรงกับความเป็นจริงโดยไม่มีการแปลสิ่งเร้าผิด เป็นเรื่องที่อธิบายได้โดยความที่ผู้มีภาวะเศร้าซึมมีโอกาสสูงกว่าอยู่แล้วที่จะปฏิเสธว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แม้ว่าจริง ๆ แล้วจะสามารถ[34] ซึ่งก็หมายถึงว่าปรากฏการณ์นี้จริง ๆ แล้วไม่มี
มีงานวิจัยหลายงานที่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกว่าควบคุมได้กับสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงวัย[35] มีนักวิชาการหลายกลุ่ม[8][36] ที่เสนอว่า แม้ว่า การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้จะโปรโหมตความพยายามเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย แต่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อำนวยให้ทำการตัดสินใจที่ดี เพราะว่า อาจก่อให้เกิดความไม่แยแสต่อคำแนะนำคำวิจารณ์ของผู้อื่น ขัดขวางการเรียนรู้ และทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงมากยิ่งขึ้น (เพราะว่า ตนเองคิดว่าไม่เสี่ยงเพราะเหตุแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎี
[แก้]ศาสตราจารย์จิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ดร. แดเนียล เว็กเนอร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมเหตุการณ์ภายนอกได้ เป็นมูลฐานความเชื่อเกี่ยวกับการใช้พลังจิตเพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุ (psychokinesis) ซึ่งเป็นความสามารถเหนือธรรมชาติที่อ้างว่า สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุโดยใจได้[37] ดร. เว็กเนอร์ ได้ยกเป็นหลักฐานกลุ่มการทดลองเกี่ยวกับความคิดเชิงไสยศาสตร์ (magical thinking) ที่ผู้ร่วมการทดลองถูกหลอกให้คิดว่า ตนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ภายนอก ในงานทดลองหนึ่ง ซึ่งให้ผู้ร่วมการทดลองดูนักกีฬาบาสเกตบอลทำการชู้ตลูกโทษ ถ้ามีการให้ผู้ร่วมการทดลองสร้างมโนภาพของนักกีฬาทำการชู้ตลูกโทษ ผู้ร่วมการทดลองจะรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลต่อการชู้ตลูกโทษได้สำเร็จ[38]
อีกงานวิจัยหนึ่งตรวจสอบคนซื้อขายหุ้น ผู้ทำงานที่ธนาคารเพื่อการลงทุนในนครลอนดอน มีการให้ผู้ซื้อขายหุ้นต่างคนต่างดูกราฟที่กำลังวาดบนจอคอมพิวเตอร์ คล้ายกับกราฟเวลาจริงที่ปกติใช้กับราคาหุ้นหรือดัชนี งานของผู้ซื้อขายก็คือ ต้องพยายามทำให้ค่ากราฟขึ้นสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยใช้ปุ่มคอมพิวเตอร์สามปุ่ม มีการเตือนล่วงหน้าว่า พวกเขาจะเห็นค่าที่เป็นไปตามสุ่ม แม้ว่า ปุ่มอาจจะทำให้เกิดผลอะไรบ้าง แต่จริง ๆ แล้ว ปุ่มไม่ได้ทำอะไรเลยเกี่ยวกับค่าต่าง ๆ กันของกราฟ[8][20] การให้คะแนนตนเองว่ามีผลสำเร็จแค่ไหน เป็นค่าวัดความไวของผู้ซื้อขายต่อปรากฏการณ์นี้ มีการเปรียบเทียบค่าวัดนี้ กับผลงานจริง ๆ ของผู้ซื้อขายหุ้น ผู้ที่ไวต่อปรากฏการณ์นี้ทำงานได้ผลดีน้อยกว่าอย่างสำคัญในเรื่องการวิเคราะห์ การจัดการความเสี่ยง และการทำผลกำไรให้แก่บริษัท และตนเองก็ได้เงินตอบแทนน้อยกว่าด้วย[8][20][39]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Thompson 1999, pp. 187, 124
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Plous 1993, p. 171
- ↑ Vyse 1997, pp. 129–130
- ↑ 4.0 4.1 Taylor, Shelley E.; Brown, Jonathon D. (1988). "Illusion and well-being: A social psychological perspective on mental health" (PDF). Psychological Bulletin. 103 (2): 193–210. doi:10.1037/0033-2909.103.2.193. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-19. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Presson PK, Benassi VA (1996). "Illusion of control: A meta-analytic review". Journal of Social Behavior & Personality. 11 (3).
- ↑ 6.0 6.1 Thompson 1999, p. 187
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Thompson 1999, p. 188
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Fenton-O'Creevy M, Nicholson N, Soane E, Willman P (2003). "Trading on illusions: Unrealistic perceptions of control and trading performance". Journal of Occupational and Organizational Psychology. 76 (1): 53–68. doi:10.1348/096317903321208880.
- ↑ Gino, Francesca; Zachariah Sharek; Don A. Moore (2010). "Keeping the illusion of control under control: Ceilings, floors, and imperfect calibration". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 114 (2): 104–114. doi:10.1016/j.obhdp.2010.10.002. สืบค้นเมื่อ 2011-04-23.
- ↑ Hobbs CN, Kreiner DS, Honeycutt MW, Hinds RM, Brockman CJ (2010). "The Illusion of Control in a Virtual Reality Setting". North American Journal of Psychology. 12 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-01. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.
- ↑ Wohl MJ, Enzle ME (March 2009). "Illusion of control by proxy: placing one's fate in the hands of another". The British Journal of Social Psychology. 48 (Pt 1): 183–200. doi:10.1348/014466607x258696. PMID 18034916.
- ↑ 12.0 12.1 Thompson 2004, p. 116
- ↑ Jenkins, H.H.; Ward, W.C (1965). "Judgement of contingency between responses and outcomes". Psychological Monographs. 1 (79).
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 14.0 14.1 14.2 Allan, L.G.; Jenkins, H.M. (1980), "The judgment of contingency and the nature of the response alternatives", Canadian Journal of Psychology, 34: 1–11, doi:10.1037/h0081013
- ↑ 15.0 15.1 Langer, Ellen J. (1975), "The Illusion of Control", Journal of Personality and Social Psychology, 32 (2): 311–328, doi:10.1037/0022-3514.32.2.311
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Langer, Ellen J.; Roth, Jane (1975), "Heads I win, tails it's chance: The illusion of control as a function of the sequence of outcomes in a purely chance task", Journal of Personality and Social Psychology], 32 (6): 951–955, doi:10.1037/0022-3514.32.6.951
- ↑ Henslin, J. M. (1967), "Craps and magic", American Journal of Sociology, 73: 316–330, doi:10.1086/224479
- ↑ Thompson 2004, p. 115
- ↑ McKenna, F. P. (1993), "It won't happen to me: Unrealistic optimism or illusion of control?", British Journal of Psychology, British Psychological Society, 84 (1): 39–50, doi:10.1111/j.2044-8295.1993.tb02461.x, ISSN 0007-1269
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Hardman 2009, pp. 101–103
- ↑ 21.0 21.1 Thompson 2004, p. 122
- ↑ Thompson SC, Armstrong W, Thomas C (March 1998). "Illusions of control, underestimations, and accuracy: a control heuristic explanation". Psychological Bulletin. 123 (2): 143–161. doi:10.1037/0033-2909.123.2.143. PMID 9522682.
- ↑ Judge TA, Locke EA, Durham CC (1997). "The dispositional causes of job satisfaction: A core evaluations approach". Research in Organizational Behavior. Vol. 19. pp. 151–188. ISBN 978-0-7623-0179-9.
- ↑ Judge TA, Kammeyer-Mueller JD (2011). "Implications of core self-evaluations for a changing organizational context" (PDF). Human Resource Management Review. 21 (4): 331–341. doi:10.1016/j.hrmr.2010.10.003.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Bandura, A. (1989), "Human Agency in Social Cognitive Theory", American Psychologist, 44 (9): 1175–1184, doi:10.1037/0003-066x.44.9.1175,
optimistic self-appraisals of capability, that are not unduly disparate from what is possible, can be advantageous whereas veridical judgements can be self-limiting
- ↑ Bandura, A (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company. ISBN 978-0-7167-2850-4.
In activities where the margins of error are narrow and missteps can produce costly or injurious consequences, personal well-being is best served by highly accurate efficacy appraisal.
- ↑ Pacini, Rosemary; Muir, Francisco; Epstein, Seymour (1998). "Depressive realism from the perspective of cognitive-experiential self-theory". Journal of Personality and Social Psychology. 74 (4): 1056–1068. doi:10.1037/0022-3514.74.4.1056.
To explain why the depressive realism effect has been found in trivial, artificial laboratory but not in more realistic or emotionally engaging situations, the authors hypothesized that depressed people overcompensate for a tendency toward maladaptive experiential (intuitive) processing by exercising excessive rational control in trivial situations. In more consequential situations, they are unable to control their maladaptive experiential processing because it is excessive, or their rational control is insufficient, or both.
- ↑ Whyte, Glen; Saks, Alan M.; Hook, Sterling (1997). "When success breeds failure: the role of self-efficacy in escalating commitment to a losing course of action". Journal of Organizational Behavior. 18 (5): 415–432. doi:10.1002/(SICI)1099-1379(199709)18:5<415::AID-JOB813>3.0.CO;2-G. ISSN 0894-3796.
- ↑ Knee CR, Zuckerman M (1998). "A Nondefensive Personality: Autonomy and Control as Moderators of Defensive Coping and Self-Handicapping" (PDF). Journal of Research in Personality. 32 (2): 115–130. doi:10.1006/jrpe.1997.2207.
- ↑ Abramson, Lyn Y.; Alloy, Lauren B. (1980). "The judgment of contingency: Errors and their implications.". ใน Baum, A.; Singer, J. E. (บ.ก.). Advances in Environmental Psychology: Volume 2: Applications of Personal Control. Psychology Press. pp. 111–130. ISBN 978-0898590180.
- ↑ Msetfi RM, Murphy RA, Simpson J (2007). "Depressive realism and the effect of intertrial interval on judgements of zero, positive, and negative contingencies". The Quarterly Journal of Experimental Psychology. 60 (3): 461–481. doi:10.1080/17470210601002595. PMID 17366312.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Msetfi RM, Murphy RA, Simpson J, Kornbrot DE (2005). "Depressive realism and outcome density bias in contingency judgments: the effect of the context and intertrial interval" (PDF). Journal of Experimental Psychology. General. 134 (1): 10–22. doi:10.1037/0096-3445.134.1.10. PMID 15702960. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Dykman, B.M., Abramson, L.Y., Alloy, L.B., Hartlage, S. (1989). "Processing of ambiguous and unambiguous feedback by depressed and nondepressed college students: Schematic biases and their implications for depressive realism". Journal of Personality and Social Psychology. 56 (3): 431–445. doi:10.1037/0022-3514.56.3.431. PMID 2926638.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Allan LG; Siegel S; Hannah S (2007). "The sad truth about depressive realism" (PDF). The Quarterly Journal of Experimental Psychology. 60 (3): 482–495. doi:10.1080/17470210601002686. PMID 17366313.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Plous 1993, p. 172
- ↑ Gollwitzer, P.M.; Kinney, R.F. (1989), "Effects of Deliberative and Implemental Mind-Sets On Illusion of Control", Journal of Personality and Social Psychology, 56 (4): 531–542, doi:10.1037/0022-3514.56.4.531
- ↑ Wegner DM (2008). "Self is Magic" (PDF). ใน Baer J, Kaufman JC, Baumeister RF (บ.ก.). Are we free?: psychology and free will. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518963-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.
- ↑ Pronin E, Wegner DM, McCarthy K, Rodriguez S (August 2006). "Everyday magical powers: the role of apparent mental causation in the overestimation of personal influence" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 91 (2): 218–231. CiteSeerX 10.1.1.405.3118. doi:10.1037/0022-3514.91.2.218. PMID 16881760. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05.
{{cite journal}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Fenton-O'Creevy M, Nicholson N, Soane E, Willman P (2005). Traders - Risks, Decisions, and Management in Financial Markets. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-926948-8.
บรรณานุกรม
[แก้]- Baron J (2000). Thinking and deciding (3rd ed.). New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-65030-4. OCLC 316403966.
- Hardman D (2009). Judgment and decision making: psychological perspectives. Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-2398-3.
- Plous S (1993). The Psychology of Judgment and Decision Making. McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-050477-6. OCLC 26931106.
- Thompson SC (1999). "Illusions of Control: How We Overestimate Our Personal Influence". Current Directions in Psychological Science. 8 (6): 187–190. doi:10.1111/1467-8721.00044. JSTOR 20182602. S2CID 145714398.
- Thompson SC (2004). "Illusions of control". ใน Pohl RF (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 115–125. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
- Vyse SA (1997). Believing in Magic: The Psychology of Superstition. Oxford University Press US. ISBN 978-0-19-513634-0.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Fast NJ, Gruenfeld DH, Sivanathan N, Galinsky AD (April 2009). "Illusory control: a generative force behind power's far-reaching effects". Psychological Science. 20 (4): 502–508. doi:10.1111/j.1467-9280.2009.02311.x. PMID 19309464. S2CID 6480784.
- Baraniuk C (16 April 2015). "Press me! The buttons that lie to you". bbc.com.