สัจนิยมเหตุซึมเศร้า
ทฤษฎี สัจนิยมเหตุซึมเศร้า (อังกฤษ: Depressive realism) เป็นสมมติฐาน[1] ว่าบุคคลที่รู้สึกซึมเศร้าทำการอนุมานที่ตรงกับความจริงมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้สึกซึมเศร้า แม้จะเชื่อกันโดยทั่วไปว่า บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีความเอนเอียงทางประชานแบบลบ (negative cognitive bias) ที่มีผลเป็นความคิดเชิงลบอัตโนมัติที่ปรากฏบ่อย ๆ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และความเชื่อผิดปกติเกี่ยวกับโลก[2][3][4] แต่สมมติฐานนี้เสนอว่า ความคิดเชิงลบเหล่านี้ อาจจะสะท้อนการประเมินความจริงเกี่ยวกับโลกที่ถูกต้องแม่นยำกว่า และว่าบุคคลที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีการประเมินความจริงที่เอนเอียงไปทางบวก[5] ทฤษฎีนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในระดับสูง เพราะว่า ถ้าเป็นจริงแล้ว กลไกทางประสาทที่การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) สำหรับโรคซึมเศร้า ทำการเปลี่ยนแปลง ก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน[6] แม้ว่าจะมีหลักฐานที่สนับสนุนความถูกต้องของทฤษฎีนี้ ปรากฏการณ์นี้อาจจะจำกัดอยู่ในเหตุการณ์เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น[7]
หลักฐานสนับสนุน
[แก้]มีหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้โดยประการต่าง ๆ รวมทั้ง
- ในการทดลองเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ ผู้ร่วมการทดลองจะทำการกดปุ่มไฟ โดยมีไฟเปิดปิดที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปุ่มกด เมื่อมีการให้ผู้ร่วมการทดลองกดปุ่ม และให้คะแนนว่าตนเองสามารถควบคุมการเปิดปิดของไฟได้เท่าไร ผู้มีภาวะซึมเศร้าให้คะแนนที่ถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า[8]
- ส่วนอีกงานทดลองหนึ่ง ที่ให้ผู้ร่วมการทดลองทำงานอย่างหนึ่ง แล้วให้คะแนนผลงานของตนโดยไม่ได้รับความคิดเห็นอะไรจากผู้ทำการทดลอง ผู้มีภาวะซึมเศร้าให้คะแนนแก่ตนเองเหมาะสมกับผลงานดีกว่าผู้ไม่มี[9][10][11][12]
- ส่วนในอีกการทดลองหนึ่งที่ผู้ร่วมการทดลองทำงานหลายอย่างเป็นชุด โดยที่ผู้ทำการทดลองมีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานเมื่อเสร็จงานแต่ละอย่าง และผู้ร่วมการทดลองจะให้คะแนนตนเองโดยองค์รวมเมื่องานทั้งหมดเสร็จแล้ว ผู้มีภาวะซึมเศร้าก็ยังให้คะแนนตนเองได้แม่นยำถูกต้องกว่าผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้า[13][14][15][16][17][18]
- เมื่อมีการให้คะแนนตนเองทันทีหลังจากทำงานอย่างหนึ่งเสร็จ หรือว่า รอสักพักหนึ่งแล้วค่อยให้คะแนน ผู้มีภาวะซึมเศร้าก็ยังให้คะแนนตนเองถูกต้องแม่นยำในทั้งสองกรณีมากกว่าผู้ไม่มี[19]
โดยที่สุดแม้ในการทดลองที่เช็คการทำงานของสมองโดย fMRI คนไข้ภาวะซึมเศร้าก็แจ้งความที่ตนเป็นเหตุก่อให้เกิดเหตุการณ์ทางสังคมทั้งที่เป็นเชิงลบและเชิงบวก ได้แม่นยำกว่าคนปกติที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าผู้มักจะมีความเอนเอียงเชิงบวก[20] ความแตกต่างของการทำงานในสมองนั้นเห็นที่
- เครือข่ายสมองกลีบหน้า-กลีบขมับ มีระดับการทำงานที่สูงกว่าในสองกรณี คือ
- ในผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อบอกเหตุ (ที่ก่อเหตุการณ์) โดยที่ไม่ได้เข้าข้างตนเอง
- ในผู้มีภาวะซึมเศร้า เมื่อบอกเหตุ แม้ที่เข้าข้างตนเอง
- การทำงานเชื่อมต่อกันระหว่าง dorsomedial prefrontal cortex seed region และระบบลิมบิก ที่ลดลง เมื่อคนไข้ภาวะซึมเศร้าบอกเหตุเข้าข้างตนเอง
หลักฐานคัดค้าน
[แก้]มีหลักฐานต่าง ๆ ที่คัดค้านแนวคิดบางอย่างในทฤษฎีนี้รวมทั้ง
- เมื่อมีการให้คะแนนกับผลงานทั้งของตนและของผู้อื่น ผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีความเอนเอียงเชิงบวกเกี่ยวกับตน แต่ไม่มีความเอนเอียงเมื่อให้คะแนนผู้อื่น ในนัยตรงกันข้ามกัน ผู้มีภาวะซึมเศร้าไม่มีความเอนเอียงเมื่อให้คะแนนตนเอง แต่มีความเอนเอียงเชิงบวกเมื่อให้คะแนนผู้อื่น[21][22][23]
- เมื่อมีการประเมินความคิดของตนโดยเป็นสาธารณะหรือโดยเป็นส่วนตัว ผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีการมองในแง่ดีในความคิดที่เป็นสาธารณะมากกว่าที่เป็นส่วนตัว ส่วนผู้มีภาวะซึมเศร้ามีนัยตรงกันข้าม[24][25][26][27]
- เมื่อมีการให้คะแนนกับผลงานของตนทันทีหรือรอเวลาสักพักหนึ่ง ผู้มีภาวะซึมเศร้าแม่นเมื่อให้คะแนนทันที แต่ว่าโน้มไปทางเชิงลบเมื่อรอเวลาสักพักหนึ่ง ส่วนผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้าเข้าข้างตนเองทั้งทันทีและรอเวลาสักพักหนึ่ง[28][29]
- แม้ว่าผู้มีภาวะซึมเศร้าจะมีการตัดสินใจที่แม่นยำกว่าว่า ตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อตนไม่สามารถควบคุมได้จริง ๆ แต่ว่า ความรู้สึกว่าควบคุมไม่ได้ก็ยังเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ตนเองจริง ๆ แล้วสามารถควบคุมได้ ซึ่งแสดงว่า ทัศนวิสัยของผู้มีภาวะซึมเศร้าไม่ได้แม่นยำกว่าโดยรวม ๆ[30]
- เมื่อทำการศึกษาในสถานการณ์จริง ๆ นอกห้องแล็บ ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีความแม่นยำในการประเมินน้อยกว่า และมั่นใจมากเกินไปในคำพยากรณ์ของตนเกี่ยวกับอนาคต มากกว่าผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้า[31]
- การหาเหตุก่อเหตุการณ์ที่แม่นยำของผู้ร่วมการทดลอง อาจจะสัมพันธ์กับสไตล์ในการหาเหตุ (attributional style) โดยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่กับอาการซึมเศร้าที่ตนมีหรือไม่มี[32]
คำวิจารณ์ต่อหลักฐาน
[แก้]มีนักวิชาการบางท่านที่เสนอว่า ไม่มีหลักฐานที่สามารถสรุปได้จริง ๆ เพราะว่า ไม่มีมาตรฐานในเรื่อง "ความจริง" ของโลก ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับการประเมินความจริงไม่น่าเชื่อถือ และผลที่แสดงอาจจะไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์จริง ๆ ในโลก[33] เพราะว่า งานวิจัยเป็นจำนวนมากมักจะให้ผู้ร่วมการทดลองแจ้งอาการซึมเศร้าด้วยตนเอง (self-report) ดังนั้น คำวินิจฉัยว่ามีภาวะซึมเศร้าหรือไม่อาจจะไม่เป็นจริงเพราะว่า การรายงานถึงตนเองมักจะมีความเอนเอียง ที่จริง ๆ แล้ว ควรจะใช้วิธีที่เป็นกลาง ๆ (เป็นปรวิสัย) อย่างอื่นในการวัดความซึมเศร้า เนื่องจากว่า การออกแบบงานศึกษาเหล่านี้ไม่ได้เลียนแบบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในโลก ความเป็นจริงในโลกของสมมติฐานนี้ก็ยังไม่ชัดเจน[โปรดขยายความ] และยังมีความข้องใจอีกด้วยว่า ปรากฏการณ์นี้อาจเป็นผลข้างเคียงของผู้มีภาวะซึมเศร้า ที่อยู่ในสถานการณ์ที่เผอิญมีความเป็นไปตรงกับความเอนเอียงเชิงลบของตน[34][35][36]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Alloy,L.B., Abramson,L.Y. (1988). Depressive realism: four theoretical perspectives.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Beck,A.T. (1967). Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects. Vol. 32. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.
- ↑ Beck,A.T. (บ.ก.). Cognitive therapy of depression. Guilford Press.
- ↑ Beck, A.T., Brown, G., Steer, R.A., Eidelson, J.I., Riskind, J.H. (1987). "Differentiating anxiety and depression: a test of the cognitive content-specificity hypothesis". Journal of abnormal psychology. 96 (3): 179. doi:10.1037/0021-843x.96.3.179.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Alloy,L.B., Abramson,L.Y. (1988). Depressive realism: four theoretical perspectives.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Michael Thomas Moore, David Fresco (2012). "Depressive Realism: A Meta-Analytic Review". Clinical Psychology Review. 32 (1): 496–509. doi:10.1016/j.cpr.2012.05.004.
- ↑ Michael Thomas Moore, David Fresco (2012). "Depressive Realism: A Meta-Analytic Review". Clinical Psychology Review. 32 (1): 496–509. doi:10.1016/j.cpr.2012.05.004.
- ↑ Alloy, L.B., Abramson, L.Y. (1979). "Judgment of contingency in depressed and nondepressed students: Sadder but wiser?". Journal of Experimental Psychology: General. 108: 441–485. doi:10.1037/0096-3445.108.4.441.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Alloy, L.B., Abramson, L.Y., Kossman, D.A. (1985), "The judgment of predictability in depressed and nondepressed college students", ใน Brush,F.R., Overmeir,J.B. (บ.ก.), Affect, conditioning, and cognition: Essays on the determinants of behavior, Hillsdale,NJ: Erlbaum, pp. 229–246
{{citation}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Alloy, L.B., Abramson, L.Y., Viscusi, D. (1981). "Induced mood and the illusion of control". Journal of Personality and Social Psychology. 41 (6): 1129–1140. doi:10.1037/0022-3514.41.6.1129.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Musson,R.F.,Alloy, L.B. (1989). "Depression, self-consciousness, and judgments of control: A test of the self-focused attention hypothesis". unpublished.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Vasquez, C.V. (1987). "Judgment of contingency: Cognitive biases in depressed and nondepressed subjects". Journal of Personality and Social Psychology. 52: 419–431.
- ↑ DeMonbreun, B.G., Craighead, W.E. (1977). "Distortion of perception and recall of positive and neutral feedback in depression". Cognitive Therapy and Research. 1: 311–329. doi:10.1007/bf01663996.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Dennard, D.O., Hokanson, J.E. (1986). "Performance on two cognitive tasks by dysphoric and nondysphoric students". Cognitive Therapy and Research. 10: 377–386. doi:10.1007/bf01173473.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gotlib, I.H. (1983). "Perception and recall of interpersonal feedback: Negative bias in depression". Cognitive Therapy and Research. 7: 399–412. doi:10.1007/bf01187168.
- ↑ Lobitz, W.C., Post, R.D. (1979). "Parameters of self-reinforcement and depression". Journal of Abnormal Psychology. 88: 33–41. doi:10.1037/0021-843x.88.1.33.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Nelson, R.E., Craighead, W.E. (1977). "Selective recall of positive and negative feedback, self-control behaviors and depression". Journal of Abnormal Psychology. 86: 379–388. doi:10.1037/0021-843x.86.4.379.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Rozensky, R.H., Rehm, L.P., Pry, G., Roth,D. (1977). "Depression and self-reinforcement behavior in hospitalized patients". Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry. 8: 35–38. doi:10.1016/0005-7916(77)90102-1.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Wenzlaff, R.M., Berman, J. S. (August 1985), "Judgmental accuracy in depression", The Meeting of the American Psychological Association, Los Angeles
{{citation}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Seidel, E.M.; Satterthwaite, T.D.; Eickhoff, S.B.; Schneider, F.; Gur, R.C.; Wolf, D.H.; ... & Derntl, B. (2012). "Neural correlates of depressive realism—An fMRI study on causal attribution in depression". Journal of affective disorders. 138: 268–376. doi:10.1016/j.jad.2012.01.041.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gotlib, I.H., Meltzer, S.J. (1987). "Depression and the perception of social skill in dyadic interaction". Cognitive Therapy and Research. 11: 41–54. doi:10.1007/bf01183131.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Javna, C.D. (1981), "Depressed and nondepressed college students' interpretations of and memory for feedback about self and others", Unpublished doctoral dissertation, The Ohio State University, Columbus, OH
- ↑ Pyszczynski, T., Holt, K., Greenberg, J. (1987). "Depression, self-focused attention, and expectancies for positive and negative future life events for self and others". Journal of Personality and Social Psychology. 52: 994–1001. doi:10.1037/0022-3514.52.5.994.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Benassi, V.A., & Mahler, H.I.M. (1985). "Contingency judgments by depressed college students: Sadder but not always wiser". Journal of Personality and Social Psychology. 49: 1323–1329. doi:10.1037/0022-3514.49.5.1323.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Sacco, W.P., Hokanson, J.E. (1978). "Expectations of success and anagram performance of depressives in a public and private setting". Journal of Abnormal Psychology. 87: 122–130. doi:10.1037/0021-843x.87.1.122.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Sacco, W. P., & Hokanson, J. E. (1982). "Depression and self-reinforcement in a public and private setting". Journal of Personality and Social Psychology. 42: 377–385. doi:10.1037/0022-3514.42.2.377.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Strack, S., Coyne, J.C. (1983). "Social confirmation of dysphoria: Shared and private reactions". Journal of Personality and Social Psychology. 44: 798–806. doi:10.1037/0022-3514.44.4.798.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ DeMonbreun, B.G., Craighead, W.E. (1977). "Distortion of perception and recall of positive and neutral feedback in depression". Cognitive Therapy and Research. 1: 311–329. doi:10.1007/bf01663996.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Nelson, R.E., Craighead, W.E. (1977). "Selective recall of positive and negative feedback, self-control behaviors and depression". Journal of Abnormal Psychology. 86: 379–388. doi:10.1037/0021-843x.86.4.379.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Dykman, B.M., Abramson, L.Y., Alloy, L.B., Hartlage, S. (1989). "Processing of ambiguous and unambiguous feedback by depressed and nondepressed college students: Schematic biases and their implications for depressive realism". Journal of Personality and Social Psychology. 56 (3): 431–445. doi:10.1037/0022-3514.56.3.431. PMID 2926638.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Dunning D, Story AL. (1991). "Depression, realism, and the overconfidence effect: are the sadder wiser when predicting future actions and events?" (PDF). Journal of personality and social psychology. 61 (4): 521–532. doi:10.1037/0022-3514.61.4.521. PMID 1960645. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-19. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
- ↑ Michael Thomas Moore, David Fresco (2007). "Depressive realism and attributional style: implications for individuals at risk for depression" (PDF). Behavior Therapy. 38 (2): 144–154. doi:10.1016/j.beth.2006.06.003. PMID 17499081.
- ↑ Moore, Michael Thomas; Fresco, David (2012). "Depressive Realism: A Meta-Analytic Review". Clinical Psychology Review. 32 (1): 496–509. doi:10.1016/j.cpr.2012.05.004.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Alloy, L.B., Abramson, L.Y. (1979). "Judgment of contingency in depressed and nondepressed students: Sadder but wiser?". Journal of Experimental Psychology: General. 108: 441–485. doi:10.1037/0096-3445.108.4.441.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Langer, E.J. (1975). "The illusion of control". Journal of Personality and Social Psychology. 32: 311–328. doi:10.1037/0022-3514.32.2.311.
- ↑ Msetfi RM, Murphy RA, Simpson J, Kornbrot DE (2005). "Depressive realism and outcome density bias in contingency judgments: the effect of the context and intertrial interval" (PDF). Journal of Experimental Psychology. General. 134 (1): 10–22. doi:10.1037/0096-3445.134.1.10. PMID 15702960. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Rachel Adelson (April 2005). "Probing the puzzling workings of 'depressive realism'". APA Monitor. 36 (4): 30.
- Cummins, R.A., Nistico, H. (2002). "Maintaining life satisfaction: The role of positive cognitive bias". Journal of Happiness Studies. 3: 37–69. doi:10.1023/A:1015678915305.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - Taylor, S.E., Armor, D.A. (1996). "Positive Illusions and Coping With Adversity". Journal of Personality. 64 (4): 873–898. doi:10.1111/j.1467-6494.1996.tb00947.x. PMID 8956516.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)