ความเอนเอียงโดยการรายงาน
ในวิทยาการระบาด ความเอนเอียงโดยการรายงาน (อังกฤษ: reporting bias) มีนิยามว่า เป็นการเลือกที่จะเปิดเผยหรือปิดบังข้อมูลในบางเรื่อง (เช่นประวัติคนไข้ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ประสบการณ์ทางเพศ)[1]
ส่วนในการทดลองอาศัยหลักฐานโดยทั่ว ๆ ไป คำนี้อาจใช้หมายถึงความโน้มเอียง ที่จะไม่รายงานผลการทดลองที่ไม่คาดฝันหรือไม่ต้องการ โดยโทษว่า มีความคลาดเคลื่อนทางสถิติหรือในการวัดผล ในขณะที่มีความโน้มเอียงที่จะรายงานผลที่คาดหวัง หรือเป็นผลที่ต้องการ แม้ว่าความจริงการทดลองทั้งสองที่มีผลต่างกัน ต่างก็สามารถมีความคลาดเคลื่อนแบบเดียว ๆ กัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเอนเอียงอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่นักวิจัยหลายพวก พบและทิ้งหลักฐานและการทดลองที่เหมือน ๆ กัน และนักวิจัยต่อ ๆ มา ก็พบและทิ้งหลักฐานที่เหมือน ๆ กันต่อ ๆ ไป โดยอ้างว่า นักวิจัยพวกก่อน ๆ พบหลักฐานที่เป็นไปอีกทางหนึ่ง ดังนั้น อุบัติการณ์ของความเอนเอียงนี้แต่ละครั้ง อาจเพิ่มโอกาสให้เกิดความเอนเอียงขึ้นอีกในอนาคต[2][3]
มีนักสังคมวิทยาที่กล่าวถึงการเลือกรายงานเกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของสื่อว่า เป็นการสื่อประเด็นข่าวประกอบด้วยความเอนเอียง ที่สนับสนุนผลประโยชน์รายได้ของบริษัท แต่ลดความสำคัญ วิจารณ์ใส่ความ หรือไม่ให้ความสนใจในประเด็นปัญหาและกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นขัดแย้ง[4]
ในงานวิจัย
[แก้]งานวิจัยสามารถเพิ่มพูนความรู้ได้ก็ต่อเมื่อผู้ทำการวิจัยสื่อผลไปยังชุมชนที่สนใจ วิธีการสื่อผลหลักที่ยอมรับกันก็คือ การตีพิมพ์ผลงานที่แสดงระเบียบวิธีการศึกษา และผลการศึกษา ในบทความของวารสารทางวิทยาศาสตร์ บางครั้ง นักวิจัยจะเลือกแสดงสิ่งที่พบในงานประชุมทางวิทยาศาสตร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโดยปาฐกถา หรือจะเป็นเพียงใบปิดประกาศแสดงบทคัดย่อ (abstract) แต่สิ่งที่แสดงในงานประชุมรวมทั้งบทคัดย่อ อาจจะเข้าถึงไม่ได้โดยวิธีอื่น เช่น ผ่านห้องสมุดหรือทางอินเทอร์เน็ต
บางครั้งนักวิจัยจะไม่ตีพิมพ์ผลของการศึกษาทั้งหมด ดังนั้น Declaration of Helsinki[5] และระเบียบวิธีที่ได้การยอมรับอื่น ๆ ได้ร่างโครงหน้าที่ทางจริยธรรม ที่ผู้วิจัยควรจะตีพิมพ์ผลงานวิจัยทางคลินิกทั้งหมด เพื่อให้เข้าถึงได้อย่างเป็นสาธารณะ
ความเอนเอียงโดยการรายงานเกิดขึ้น เมื่อมีการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผลที่ได้[6] โดยเฉพาะงานวิจัยที่มีผลบวก
มีวิธีการที่ใช้หลายวิธีในอดีต เพื่อลดอิทธิพลของความเอนเอียง เช่นการปรับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยวิธีทางสถิติ[7] แต่ว่าก็ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดี จึงต้องยอมรับกันว่า ความเอนเอียงจะแก้ได้ก็ต่อเมื่อให้ลงทะเบียนงานวิจัยล่วงหน้า (เพื่อสามารถหาผลงานวิจัยทั้งหมดที่ทำในประเด็น) และส่งเสริมให้ใช้หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการตีพิมพ์ที่เหมาะสม ดังนั้น จนกว่าปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้ ผลประเมินจากการรักษาพยาบาลในงานที่ตีพิมพ์อาจจะมีความเอนเอียง
กรณีศึกษา
[แก้]การฟ้องบริษัทไฟเซอร์ในศาล โดยผู้บริโภคและบริษัทประกันสุขภาพในปี ค.ศ. 2004 เพราะวิธีการฉ้อฉลขายยา gabapentin สำหรับรักษาโรคที่ไม่ได้รับอนุมัติ ได้เปิดโปงกลยุทธ์การตีพิมพ์ที่ใช้อย่างกว้างขวาง ที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ของความเอนเอียงนี้[8] คือ มีการปั่นสื่อต่าง ๆ เพื่อเน้นการค้นพบแสดงผลดีของยา และเพื่ออธิบายปัดการค้นพบที่มีผลลบ กลยุทธ์ที่ใช้รวมทั้ง การเน้นผลรองเหนือผลหลักซึ่งไม่น่าชอบใจ การตั้งผลหลักขึ้นมาใหม่ การไม่แยกแยะระหว่างผลหลักและผลรอง และการไม่รายงานผลหลักดังที่กำหนดโดยกฎเกณฑ์วิธี[9]
การตัดสินใจเพื่อจะพิมพ์ผลงานในวารสารบางวารสาร ก็เป็นกลยุทธ์การตีพิมพ์อีกวิธีหนึ่ง[8] คือ การทดลองที่พบผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีโอกาสที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ขายดีกว่า สูงกว่าการทดลองที่ไม่พบผลที่มีนัยสำคัญ แม้แต่ช่วงเวลาที่ตีพิมพ์ผลงานก็ยังได้รับอิทธิพล เพราะว่า บริษัทพยายามเลือกช่วงเวลาระหว่างการตีพิมพ์ผลงานศึกษาสองอย่างให้ได้ผลที่สุด การทดลองที่ไม่พบนัยสำคัญจะตีพิมพ์สลับกัน เพื่อไม่ให้มีผลงานทดลองที่ตีพิมพ์ต่อ ๆ กันโดยไม่พบนัยสำคัญ และนักเขียนนามแฝงก็เป็นปัญหาอีกอย่าง คือนักเขียนการแพทย์มืออาชีพที่รับร่างรายงานที่ได้ตีพิมพ์ กลับไม่ได้รับเครดิต
จนถึงปี ค.ศ. 2014 คือ 10 ปีให้หลัง บริษัทไฟเซอร์ก็ยังยุติประเด็นปัญหาในเรื่องนี้ไม่เสร็จ[10]
ประเภท
[แก้]ความเอนเอียงในการตีพิมพ์
[แก้]ความเอนเอียงในการตีพิมพ์ (publication bias) เป็นการเลือกที่จะพิมพ์หรือไม่พิมพ์ผลงานวิจัย ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผล แม้ว่า ผู้ทำงานวิจัยจะยอมรับว่า มีปัญหาเกี่ยวกับความเอนเอียงโดยการรายงาน เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว[11] แต่ว่า ก็ไม่มีการตรวจสอบแหล่งกำเนิดและขนาดของปัญหา จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20[12]
ในสองทศวรรษที่ผ่านมา มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า การไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย รวมทั้งงานวิจัยทางคลินิกที่ตรวจสอบอิทธิผลของการรักษาพยาบาล เป็นปัญหาที่มีอยู่ทั่วไป[12] ปัญหาเกี่ยวกับการตีพิมพ์เกือบทั้งหมด เกิดจากผู้ทำงานวิจัยไม่ส่งผลงาน (ต่อวารสารวิชาการเป็นต้น)[13] มีเพียงแต่ส่วนน้อยที่ไม่ได้พิมพ์เพราะถูกปฏิเสธโดยวารสาร[14]
หลักฐานชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับความเอนเอียงประเภทนี้ในวงการแพทย์ มาจากงานวิจัยที่ศึกษางานวิจัยอื่น ๆ สำรวจในช่วงที่ได้ทุนหรือได้รับอนุมัติทางจริยธรรม[15] คือ พบว่า "ผลบวก" เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตีพิมพ์ผลงาน เพราะว่า นักวิจัยบอกว่า เหตุที่ตนไม่เขียนและส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ ปกติก็เพราะว่า ตน "ไม่สนใจ" ผลที่ได้ ซึ่งหมายความว่า การไม่พิมพ์ผลงาน โดยปกติไม่ใช่เพราะว่าถูกปฏิเสธโดยวารสาร
แม้นักวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเบื้องต้น เป็นบทคัดย่อ (abstract) สำหรับงานประชุม ก็ยังมีโอกาสน้อยกว่าที่จะพิมพ์ผลงานที่สมบูรณ์ ถ้าผลไม่แสดงนัยสำคัญ[16] นี้เป็นเพราะว่า ข้อมูลที่แสดงในบทคัดย่อมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้น หรือในท่ามกลาง ดังนั้น อาจจะไม่ได้เป็นตัวแทนที่ดีของข้อมูลทั้งหมดที่ได้ในการทดลอง[17] นอกจากนั้นแล้ว บทคัดย่อไม่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ไม่ว่าจะโดยผ่าน MEDLINE (ฐานข้อมูลการแพทย์ที่เข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีค่าใช้จ่าย) หรือฐานข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายอื่น ๆ เพราะว่า บทเหล่านั้นเผยแพร่ทางเอกสารงานประชุม หรือทางแผ่นซีดี ซึ่งมีให้สำหรับผู้ร่วมงานประชุมเท่านั้น
ปัจจัยหลักของการไม่พิมพ์ผลงานก็คือ การได้ผลลบหรือว่าง (null)[18] การทดลองมีกลุ่มควบคุมที่มีข้อมูลสมบูรณ์ จะตีพิมพ์รวดเร็วกว่าถ้าแสดงผลบวก[17] ความเอนเอียงนี้ทำให้งานวิเคราะห์อภิมาน (meta-analyis) ประเมินผลของการรักษาพยาบาลเกินความจริง ซึ่งสามารถทำให้แพทย์และผู้มีอำนาจตัดสินใจอื่น ๆ เชื่อว่า การรักษาพยาบาลนั้นได้ผลเกินความจริง
เป็นเรื่องที่ชัดเจนแล้วว่า ความเอนเอียงประเภทนี้สัมพันธ์กับแหล่งเงินทุนของงานศึกษานั้น[19]
ความเอนเอียงโดยเวลาล่า
[แก้]ความเอนเอียงโดยเวลาล่า (Time lag bias) เป็นความรวดเร็วและความชักช้าของการตีพิมพ์ผลงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผลที่ได้ งานปริทัศน์เป็นระบบ (systematic review) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2007 พบว่า โดยทั่วไปแล้ว งานทดลองที่มีผลบวก (คือมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มทดลอง) จะตีพิมพ์ประมาณ 1 ปี ก่อนงานที่ลองที่ "มีผลว่างหรือผลลบ" (คือไม่มีนัยสำคัญ หรือมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มควบคุม)[17]
ความเอนเอียงโดยการตีพิมพ์หลายรอบ
[แก้]ความเอนเอียงโดยการตีพิมพ์หลายรอบ (Multiple publication bias) เป็นความเอนเอียงที่เกิดขึ้นเมื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัยรอบเดียว หรือหลายรอบ ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผล นักวิจัยอาจจะพิมพ์ผลงานเดียวกันหลายรอบ โดยใช้รูปแบบของการตีพิมพ์ซ้ำหลายอย่าง[20] การตีพิมพ์ซ้ำบ่อยครั้งทำในส่วนเพิ่มเติมของวารสาร (journal supplement) ซึ่งอาจเข้าถึงได้ยาก และเพราะว่า ผลบวกพิมพ์ซ้ำกันบ่อยครั้งกว่า ดังนั้น ค่าประเมินผลของการรักษาพยาบาลอาจจะเกินความเจริง
ความเอนเอียงโดยตำแหน่ง
[แก้]ความเอนเอียงโดยตำแหน่ง (Location bias) เป็นการพิมพ์ผลงานในวารสารที่มีความเข้าถึงได้ง่ายต่าง ๆ กัน หรือที่มีระดับการสร้างดัชนีในฐานข้อมูลต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผลที่ได้ คือมีหลักฐานที่แสดงว่า โดยเปรียบเทียบกับผลลบหรือผลว่าง ผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติมักจะตีพิมพ์ในวารสารที่มีอิทธิพล (impact factor) สูงกว่า[21] และการตีพิมพ์ในแหล่งวรรณกรรมหลัก (mainstream literature) สัมพันธ์กับผลบวก สูงกว่าการตีพิมพ์ในแหล่งวรรณกรรมอื่น ๆ (grey literature)[22]
ความเอนเอียงโดยการอ้างอิง
[แก้]ความเอนเอียงโดยการอ้างอิง (Citation bias) เป็นความเอนเอียงในการอ้างอิงหรือไม่อ้างอิงผลงานวิจัย ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผลที่ได้ ผู้วิจัยต่าง ๆ มักจะอ้างอิงผลงานที่มีผลบวก มากกว่างานที่มีผลลบหรือผลว่าง ซึ่งเป็นจริงในสายวิชาต่าง ๆ กันมากมาย[23][24][25][26][27][28] การอ้างอิงที่มีความเอนเอียงเช่นนี้ อาจนำไปสู่ความเข้าใจว่า การรักษาพยาบาลหนึ่ง ๆ มีอิทธิผลที่ไม่ตรงกับความจริง และอาจมีผลเป็นการใช้ข้อมูลงานที่มีผลบวกในงานปริทัศน์เป็นระบบ (systematic review) มากเกินไป โดยเฉพาะถ้างานที่ไม่มีการอ้างอิงเข้าถึงได้ยาก
การรวบรวมผลที่ไม่ทั่วถึงในงานวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) เป็นรูปแบบความเอนเอียงที่ค่อนข้างน่ากลัว ที่สามารถมีอิทธิพลสูงต่อความรู้ความเข้าใจ และเพื่อลดความเอนเอียงให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด การรวบรวมผลจากงานวิจัยที่คล้ายกันแต่ต่างกัน ต้องเกิดจากการค้นหาที่ทั่วถึงของงานวิจัยทั้งหมดที่ตรงกับประเด็น นั่นก็คือ การวิเคราะห์อภิมานต้องอาศัยข้อมูลจากการปริทัศน์ทั้งระบบ ไม่ใช่เป็นเพียงการปริทัศน์จากงานวิจัยบางพวกที่มีผลบวกเท่านั้น
ความเอนเอียงโดยภาษา
[แก้]ความเอนเอียงโดยภาษา (Language bias) เป็นความเอนเอียงที่จะพิมพ์ผลงานวิจัยในภาษาใดภาษาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผลที่ได้ คือมีคำถามมานานแล้วว่า นักวิจัยมีความเอนเอียงในการตีพิมพ์ผลลบในวารสารที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และตีพิมพ์ผลบวกในวารสารภาษาอังกฤษหรือไม่ มีงานวิจัยที่บอกว่า การจำกัดผลงานวิจัยที่ใช้ในการปริทัศน์เป็นระบบโดยภาษา สามารถเปลี่ยนผลของงานปริทัศน์ได้[29] แต่ก็มีงานอื่นที่บอกว่าไม่เป็นเช่นนั้น[30]
ความเอนเอียงในการรายงานผล
[แก้]ความเอนเอียงในการรายงานผล (Outcome reporting bias) เป็นความเอนเอียงที่จะรายงานผลบางอย่าง แต่ไม่รายงานผล (outcome) บางอย่าง ขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผลที่ได้[31] คือแม้ว่างานวิจัยหนึ่งอาจจะตีพิมพ์ตามปกติ แต่ผลบางอย่างที่แม้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น อาจจะไม่กล่าวถึง หรืออาจจะกล่าวถึงแบบให้เข้าใจผิด[32][9] ประสิทธิศักย์ (Efficacy) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีโอกาสที่จะได้รับการตีพิมพ์สูงกว่าประสิทธิศักย์ที่ไม่มีนัยสำคัญ
การรายงานแบบเลือกของอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล ที่สงสัยก็ดี ที่มีหลักฐานยืนยันก็ดี เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะสามารถทำอันตรายต่อคนไข้ ในงานวิจัยที่ศึกษาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา ที่แจ้งต่อองค์การยาของประเทศสแกนดิเนเวีย พบว่า งานวิจัยที่ตีพิมพ์มีโอกาสน้อยกว่าที่จะแจ้งอาการที่ไม่พึงประสงค์จากยา เทียบกับงานวิจัยที่ไม่ตีพิมพ์ (เช่น 56% เทียบกับ 77% ในการทดลองเกี่ยวกับยาที่ทำงานในระบบประสาท)[33] ความสนใจที่เพิ่มขึ้นเร็ว ๆ นี้ทั้งในสื่อวิทยาศาสตร์และสื่อทั่วไป เกี่ยวกับการไม่แจ้งอาการที่ไม่พึงประสงค์จากยาอย่างถูกต้อง (เช่นจากยา selective serotonin uptake inhibitor, rosiglitazone, และโรฟีคอกซิบ) มีผลให้เกิดงานวิจัยอีกหลายงาน ที่แสดงว่า มีการเลือกที่จะไม่รายงานอาการที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งอาการที่รู้อยู่แล้ว และอาการที่สงสัย
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Porta, Miquel, บ.ก. (2008-06-05). A Dictionary of Epidemiology. Oxford University Press. p. 275. ISBN 978-0-19-157844-1. สืบค้นเมื่อ 2013-03-27.
- ↑ Green, S; Higgins, S (บ.ก.). "Cochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions 4.2.5". องค์กรความร่วมมือคอเครน. Glossary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-09. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ doi:10.1186/1745-6215-11-37
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand บทความเต็มPDF - ↑ Doob, C. B. (2013). Social inequality and social stratification in US society. Upper Saddle River, NJ: Pearson.
- ↑ "Declaration of Helsinki". World Medical Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-29. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadlink=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Higgins, JPT; Green, S (2008). "Cochrane Handbook for Systematic Review of Interventions". สืบค้นเมื่อ 2015-01-02.
- ↑ Rosenthal, R (1979). "The file drawer problem and tolerance for null results". Psychological Bulletin. 86 (3).
- ↑ 8.0 8.1 Vedula, SS; Goldman, PS; Rona, IJ; Greene, TM; Dickersin, K (2012). "Implementation of a publication strategy in the context of reporting biases. A case study based on new documents from Neurontin litigation". Trials. 13 (136). doi:10.1186/1745-6215-13-136. PMID 22888801.
- ↑ 9.0 9.1 Vedula, SS; Bero, L; Scherer, RW; Dickersin, K (2009). "Outcome reporting in industry-sponsored trials for gabapentin for off-label use". N Eng J Med. 361 (120): 1963–1971. doi:10.1056/NEJMsa0906126. PMID 19907043.
- ↑ Stempel, Jonathan (2014-06-02). "Pfizer to pay $325 million in Neurontin settlement". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 2014-08-24.
- ↑ Editorial (1909). "The reporting of unsuccessful cases". Boston Medical and Surgical Journal. 161: 263–264. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
- ↑ 12.0 12.1 Dickersin, K. (2005). "Publication bias: Recognizing the problem, understanding its origins and scope, and preventing harm". ใน Rothstein, H.R.; Sutton, A.J.; Borenstein, M. (บ.ก.). Publication bias in meta-analysis: prevention, assessment, and adjustments. London: Wiley. pp. 11-13. ISBN 0470870141.
- ↑ Godlee, F.; Dickersin, K. (2003). "Bias, subjectivity, chance, and conflict of interest in editorial decisions". ใน Godlee, F.; Jefferson, T. (บ.ก.). Peer review in health sciences (2nd ed.). London: BMJ Books. ISBN 978-0727916853.
- ↑ Olson, CM; Rennie, D; Cook, D; Dickersin, K; Flanagin, A; Hogan, JW; Zhu, Q; Reiling, J; Pace, B (2002). "Publication bias in editorial decision making". JAMA. 287 (21): 2825–2828. PMID 12038924.
- ↑ Song, F; Parekh, S; Hooper, L; Loke, YK; Ryder, J; Sutton, AJ; Hing, C; Kwok, CS; Pang, C; Harvey, I (2010). "Dissemination and publication of research findings: an updated review of related biases". Health Technol Assess. 14 (8): iii, ix–xi. PMID 20181324.
- ↑ Scherer, RW; Langenberg, P; von Elm, E (2007). "Full publication of results initially presented in abstracts". Cochrane Database Syst Rev. 2: MR000005. doi:10.1002/14651858.MR000005.pub3. PMID 17443628.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Hopewell, S; Clarke, MJ; Stewart, L; Tierney, J (2007). "Time to publication for results of clinical trials". Cochrane Database Syst Rev. 2: MR000011. doi:10.1002/14651858.MR000011.pub2. PMID 17443632.
- ↑ Hopewell, S; Loudon, K; Clarke, MJ; Oxman, AD; Dickersin, K (2009). "Publication bias in clinical trials due to statistical significance or direction of trial results". Cochrane Database Syst Rev. 1: MR000006. doi:10.1002/14651858.MR000006.pub3. PMID 19160345.
- ↑ Lundh, A; Sismondo, S; Lexchin, J; Busuioc, OA; Bero, L (2012). "Industry sponsorship and research outcome". Cochrane Database Syst Rev. 12: M R000033. doi:10.1002/14651858.MR000033.pub2.
- ↑ Von Elm, M; Poglia, G; Walder, B; Tramer, MR (2004). "Different patterns of duplicate publication. An analysis of articles used in systematic reviews". JAMA. 291 (8): 974–980. PMID 14982913.
- ↑ Easterbrook, PJ; Berlin, JA; Gopalan, R; Matthews, DR (1991). "Publication bias in clinical research". Lancet. 337 (8746): 867–872.
- ↑ Hopewell, S; McDonald, S; Clarke, MJ; Egger, M (2007). "Grey literature in meta-analyses of randomized trials of health care interventions". Cochrane Database Syst Rev. 2: MR000010. doi:10.1002/14651858.MR000010.pub3. PMID 17443631.
- ↑ Gøtzsche, PC (1987). "Reference bias in reports of drug trials". BMJ. 295 (65998): 654–656. PMID 3117277.
- ↑ Ravnskov, U (1992). "Frequency of citation and outcome of cholesterol lowering trials". BMJ. 305 (6855): 717.
- ↑ Ravnskov, U (1995). "Quotation bias in reviews of the diet-heart idea". J Clin Epidemiol. 48 (5): 713–719. PMID 7730926.
- ↑ Kjaergard, LL; Gluud, C (2002). "Citation bias of hepato-biliary randomized clinical trials". J Clin Epidemiol. 55 (4): 407–410. PMID 11927219.
- ↑ Schmidt, LM; Gøtzsche, PC (2005). "Of mites and men: reference bias in narrative review articles: a systematic review". J Fam Pract. 54 (4): 334–338. PMID 15833223.
- ↑ Nieminen, P; Rucker, G; Miettunen, J; Carpenter, J; Schumacher, M (2007). "Statistically significant papers in psychiatry were cited more often than others". J Clin Epidemiol. 60 (9): 939–946. PMID 17689810.
- ↑ Pham, B; Klassen, TP; Lawson, ML; Moher, D (2005). "Language of publication restrictions in systematic reviews gave different results depending on whether the intervention was conventional or complementary". J Clin Epidemiol. 58 (8): 769–776. PMID 16086467.
- ↑ Juni, P; Holenstein, F; Sterne, J; Bartlett, C; Egger, M (2002). "Direction and impact of language bias of controlled trials: An empirical study". Int J Epidemiol. 31 (1): 115–123.
- ↑ Sterne, J.; Egger, M.; Moher, D. (2008). "Addressing reporting biases". ใน Higgins, J. P. T.; Green, S. (บ.ก.). Cochrane handbook for systematic reviews of interventions. Chichester: Wiley. pp. 297–334. ISBN 978-0-470-69951-5.
- ↑ Chan, AW; Krleža-Jerić, K; Schmid, I; Altman, D (2004). "Outcome reporting bias in randomized trials funded by the Canadian Institutes of Health Research". CMAJ. 171 (7): 735–740. PMID 15451835.
- ↑ Hemminki, E (1980). "Study of information submitted by drug companies to licensing authorities". BMJ. 280 (6217): 833–836. PMID 7370687.