แบม
แบม | |
---|---|
นคร | |
แบมใน ค.ศ. 2002 | |
พิกัด: 29°06′22″N 58°21′25″E / 29.10611°N 58.35694°E | |
ประเทศ | อิหร่าน |
จังหวัด | เคร์มอน |
เทศมณฑล | แบม |
อำเภอ | กลาง |
ความสูง | 1,061 เมตร (3,481 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2016) | |
• เขตเมือง | 127,396[1] คน |
เขตเวลา | UTC+03:30 (เวลามาตรฐานอิหร่าน) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+04:30 (เวลาออมแสงอิหร่าน) |
แบมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
พิกัด | 29°07′01″N 58°22′07″E / 29.11694°N 58.36861°E |
ประเทศ | อิหร่าน |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (ii), (iii), (iv), (v) |
อ้างอิง | 1208bis |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2004 (คณะกรรมการสมัยที่ 28) |
ในภาวะอันตราย | 2004–2013 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
แบม (เปอร์เซีย: بم) เป็นนครและเมืองหลักของเทศมณฑลแบม จังหวัดเคร์มอน ประเทศอิหร่าน จากสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2006 เมืองมีประชากร 73,823 คน จาก 19,572 ครอบครัว[2] ก่อนเหตุแผ่นดินไหวปี ค.ศ. 2003 ข้อมูลประชากรอย่างเป็นทางการมีราว 43,000 คน[3] เมืองเคยมีชื่อเสียงด้านสิ่งทอและเสื้อผ้า
ป้อมปราการของเมืองที่ชื่อแอร์เกแบม มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงเมื่อ 2,000 ปีก่อนถึงจักรวรรดิพาร์เธีย (248 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 224) แต่สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างในสมัยราชวงศ์ซาฟาวิด แต่เมืองส่วนใหญ่ถูกปล่อยให้รกร้างเนื่องจากการรุกรานของชาวปาทานในปี ค.ศ. 1722 จากนั้นมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ และถูกปล่อยร้างเป็นครั้งที่สองหลังการรุกรานจากชีรอซ
เมืองใหม่ของแบมได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ในฐานะศูนย์กลางกสิกรรมและอุตสาหกรรม เมืองเติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเกิดแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 2003 เมืองมีชื่อเสียงเรื่องอินทผลัมและพืชสกุลส้มที่ปลูกโดยเครือข่ายทดน้ำจากกะนาต (qanat) เมืองยังมีรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นจากผู้ที่มาเที่ยวชมโบราณสถานในปีหลัง ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.amar.org.ir/english
- ↑ "สำมะโนของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน, 1385 (2006)". สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Excel)เมื่อ 2011-11-11.
- ↑ "Cold is the main health threat after the Bam earthquake". BMJ. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.