แบบจำลองแบบแพร่
แบบจำลองแบบแพร่ (diffusion model) หรือ แบบจำลองความน่าจะเป็นแบบแพร่ (diffusion probability model) ในสาขาการเรียนรู้ของเครื่อง คือแบบจำลองตัวแปรแฝงประเภทหนึ่ง เป็นลูกโซ่มาร์คอฟที่ได้รับการฝึกโดยใช้วิธีแบบเบส์แบบแปรผัน[1] เป้าหมายของแบบจำลองแบบแพร่คือการเรียนรู้โครงสร้างแฝงของชุดข้อมูลโดยการสร้างแบบจำลองพฤติกรรมของจุดข้อมูลแต่ละจุดที่แจกแจงในปริภูมิแฝง ในสาขาคอมพิวเตอร์วิทัศน์ ได้มีการใช้แบบจำลองแบบแพร่สร้างโครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งฝึกให้เรียนรู้ที่จะย้อนกลับกระบวนการการแพร่เพื่อการลดสัญญาณรบกวนออกจากภาพที่ถูกทำให้เบลอด้วยสัญญาณรบกวนแบบเกาส์[2][3]
แบบจำลองแบบแพร่ได้รับการคิดค้นขึ้นมาในปี 2015 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากอุณหพลศาสตร์แบบไม่สมดุล[4][5]
แบบจำลองแบบแพร่สามารถนำไปใช้กับการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การลดสัญญาณรบกวนของภาพ, การซ่อมแซมภาพ, การเพิ่มความละเอียดภาพ การสร้างภาพ และการบีบอัดข้อมูล ตัวอย่างเช่น แบบจำลองการสร้างภาพสามารถสร้างภาพที่ดูเป็นธรรมชาติขึ้นมาใหม่ได้จากการใช้ภาพสัญญาณรบกวนแบบสุ่มเป็นค่าเริ่มต้น แล้วเรียนรู้กระบวนที่ตรงกันข้ามกับการแพร่ของภาพธรรมชาติ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้แบบจำลองแบบแพร่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ตัวแบบสำหรับสร้างภาพจากข้อความ เช่น DALL-E 2 ของโอเพนเอไอ และ สเตเบิลดิฟฟิวชัน เป็นต้น DALL-E 2 ใช้แบบจำลองแบบแพร่สำหรับทั้งการแจกแจงก่อนของแบบจำลองสร้างภาพ และตัวถอดรหัสสำหรับการสร้างภาพขั้นสุดท้าย[6][7] การบีบอัดข้อมูลโดยใช้แบบจำลองแบบแพร่มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องเข้ารหัส และมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการบีบอัดประสิทธิภาพสูงสุดแบบดั้งเดิม[7]
หลักการทางคณิตศาสตร์
[แก้]การสร้างภาพ
[แก้]พิจารณาปัญหาการสร้างภาพ โดยให้ เป็นรูปภาพ และฟังก์ชันความหนาแน่นความน่าจะเป็นบนปริภูมิรูปภาพคือ ถ้ารู้ ก็จะสามารถระบุความน่าจะเป็นที่ภาพแต่ละชนิดจะถูกสร้างขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว เป็นการยากที่จะทราบความน่าจะเป็นนั้น
ในกรณีส่วนใหญ่ เราไม่สนใจความน่าจะเป็นเฉพาะที่ภาพหนึ่ง ๆ จะถูกสร้างขึ้น แต่ที่สนใจกว่าก็คือว่า ภาพนั้นมีแนวโน้มที่จะถูกสร้างขึ้นมากเพียงใดเมื่อเทียบกับภาพใกล้เคียง ตัวอย่างเช่น หากมีรูปภาพแมวที่มีหนวด 2 หนวด ปัญหาคือภาพนั้นมีแนวโน้มที่จะถูกสร้างขึ้นแค่ไหนเมื่อเทียบกับภาพที่คล้ายกัน เช่น รูปภาพแมวที่มีหนวด 3 หนวด หรือรูปภาพที่ถูกเติมสัญญาณรบกวนแบบเกาส์เข้าไป
ดังนั้นเป้าหมายที่สนใจไม่ใช่ตัว นั้นเอง แต่เป็น การพิจารณาแบบนี้มีข้อดีคือ
- ประการแรก ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นมาตรฐาน แต่ใช้ในรูป ได้ ในที่นี่ เป็นค่าคงที่ตามที่ต้องการ และค่าที่แน่ชัดจะไม่มีผลต่อการคำนวณ
- ประการที่สอง สามารถเปรียบเทียบ กับความน่าจะเป็นของภาพใกล้เคียง ในรูป ได้
ให้ฟังก์ชันคะแนนเป็น แล้ว จะสามารถสุ่มตัวอย่างจาก โดยใช้พลศาสตร์อนุญาตให้สุ่มตัวอย่างโดยใช้พลศาสตร์ล็องฌ์แว็งความชันแบบเฟ้นสุ่ม (stochastic gradient Langevin dynamics) นี่เป็นรูปแบบที่เล็กที่สุดของวิธีมอนเตการ์โลลูกโซ่มาร์คอฟ[2]
รูปแบบต่าง ๆ
[แก้]การชี้นำโดยตัวจำแนก (classifier guidance)
[แก้]แทนที่จะสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มของรูปภาพทั้งหมด เราสามารถพิจารณาสุ่มเอาตัวอย่างแค่จากช่วงขอบเขตที่กำหนดโดยคำอธิบายภาพ เช่น แทนที่จะดึงออกมาจากกลุ่มรูปภาพทั่วไป ให้ดึงมาเฉพาะภาพที่สอดคล้องกับคำอธิบายว่า "แมวสีดำตาสีแดง" เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วนี่จะเป็นการสุ่มตัวอย่างบนการแจกแจง ในที่นี้รูปภาพ จะได้มาจากช่วงของภาพทั้งหมด ในขณะที่ขอบเขตของรูปภาพ จะถูกจำกัดอยู่ที่รูปภาพจำเพาะประเภท
จากมุมมองของแบบจำลองช่องสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน กระบวนการนี้สามารถเข้าใจได้ดังนี้ เมื่อต้องการจะสร้างภาพ ภายใต้เงื่อนไขตามคำอธิบาย ผู้ที่ต้องการสร้างภาพจะสร้างภาพขึ้นมานั้น จริง ๆ แล้วกำลังวาดภาพ อยู่ แต่เนื่องจากว่าภาพนั้นผ่านช่องสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน จึงเกิดการผิดเพี้ยนของตัวอักษร จนจินตนาการไปว่าได้รับสัญญาณเป็นคำอธิบาย ในกรณีนี้ การสร้างภาพในที่นี้เป็นแค่การทำนายภาพ ที่ถูกจินตนาการไว้แต่แรกโดยบุคคลที่ต้องการสร้างภาพนั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การสร้างภาพแบบมีเงื่อนไขนั้นเป็นเพียงการแปลภาษาที่อธิบายด้วยข้อความให้กลายเป็นภาษาที่อธิบายด้วยภาพ ดังนั้น เช่นเดียวกับแบบจำลองช่องสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน เราสามารถใช้ทฤษฎีบทของเบส์ได้ว่า
นั่นคือหากมีแบบจำลองที่ดีสำหรับปริภูมิรูปภาพทั้งหมด () และตัวแปลคุณภาพสูงสำหรับแปลง"รูปภาพ → ประเภท" (ไม่สามารถแยกวิเคราะห์ได้ (SVG (สามารถเปิดใช้งาน MathML ผ่านปลั๊กอินของเบราว์เซอร์): การตอบสนองที่ไม่ถูกต้อง ("Math extension cannot connect to Restbase.") จากเซิร์ฟเวอร์ "http://localhost:6011/th.wikipedia.org/v1/":): {\displaystyle p(y|x)} ) นั่นหมายความว่าเราสามารถจะได้ตัวแปล "ประเภท → รูปภาพ" ได้โดยไม่ต้องลำบากนัก
พลศาสตร์ล็องฌ์แว็งความชันแบบเฟ้นสุ่มใช้สมการต่อไปนี้
ในที่นี้ คือฟังก์ชันคะแนนที่เรียนรู้ตามที่อธิบายไว้ข้างต้น โดย ได้มาจากการใช้ตัวจำแนกรูปภาพที่หาอนุพันธ์ได้
การชี้นำโดยไร้ตัวจำแนก (classifier-free guidance, CFG)
[แก้]แม้ในกรณีที่ไม่มีตัวจำแนก ก็สามารถสกัดเอาตัวจำแนกจากตัวแบบจำลองรูปภาพเองได้ดังนี้[8]
แบบจำลองดังกล่าวนั้นมักจะฝึกสอนโดยป้อนให้ทั้ง และ แล้วสร้างแบบจำลอง และ ขึ้นพร้อมกัน
CFG ได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับแบบจำลองต่าง ๆ เช่น GLIDE[9], DALL-E[10] และ Google Imagen[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ho, Jonathan; Jain, Ajay; Abbeel, Pieter (19 June 2020). "Denoising Diffusion Probabilistic Models". arXiv:2006.11239.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 2.0 2.1 Song, Yang; Sohl-Dickstein, Jascha (2021-02-10). "Score-Based Generative Modeling through Stochastic Differential Equations". arXiv:2011.13456 [cs.LG].
- ↑ Gu, Shuyang; Chen, Dong (2021). "Vector Quantized Diffusion Model for Text-to-Image Synthesis". arXiv:2111.14822 [cs.CV].
- ↑ Sohl-Dickstein, Jascha; Weiss, Eric; Maheswaranathan, Niru; Ganguli, Surya (2015-06-01). "Deep Unsupervised Learning using Nonequilibrium Thermodynamics" (PDF). Proceedings of the 32nd International Conference on Machine Learning (ภาษาอังกฤษ). PMLR. 37: 2256–2265.
- ↑ "Introduction to Image Generation - Introduction to Image Generation". Coursera (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ Ramesh, Aditya; Dhariwal, Prafulla (2022). "Hierarchical Text-Conditional Image Generation with CLIP Latents". arXiv:2204.06125 [cs.CV].
- ↑ 7.0 7.1 岡野原 2023.
- ↑ Ho, Jonathan; Salimans, Tim (2022-07-25). "Classifier-Free Diffusion Guidance". arXiv:2207.12598 [cs.LG].
- ↑ Nichol, Alex; Dhariwal, Prafulla (2022-03-08). "GLIDE: Towards Photorealistic Image Generation and Editing with Text-Guided Diffusion Models". arXiv:2112.10741 [cs.CV].
- ↑ Ramesh, Aditya; Dhariwal, Prafulla (2022-04-12). "Hierarchical Text-Conditional Image Generation with CLIP Latents". arXiv:2204.06125 [cs.CV].
- ↑ Saharia, Chitwan; Chan, William (2022-05-23). "Photorealistic Text-to-Image Diffusion Models with Deep Language Understanding". arXiv:2205.11487 [cs.CV].