แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง
แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง | |
---|---|
ကရင်နီပြည်လူမျိုးပေါင်းစုံပြည်သူ့လွတ်မြောက်ရေးတပ်ဦး | |
ธงของแนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง (KNPLF) | |
ผู้นำ | U Tun Kyaw[1] |
ปีที่ปฏิบัติการ | ค.ศ. 1978 –ค.ศ. 2009 , ค.ศ. 2023–ปัจจุบัน |
กองบัญชาการ | ชุมชนปานกานเมืองลอยกอประเทศพม่า[2] |
ภูมิภาคปฏิบัติการ | รัฐกะยา ชายแดนพม่า–ไทย |
แนวคิด | ลัทธิมากซ์–เลนิน[3] กะเหรี่ยง ชาตินิยม ระบอบสหพันธรัฐ |
ขนาด | 2,000 (2021)[4] |
พันธมิตร | รัฐพันธมิตร:
รัฐที่ไม่ใช่พันธมิตร พันธมิตรอื่นๆ
|
ฝ่ายตรงข้าม | รัฐฝ่ายตรงข้าม
รัฐที่ไม่ใช่ฝ่ายตรงข้าม
|
การต่อสู้และสงคราม | ความขัดแย้งภายในพม่า |
แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง (KNPLF หรือชื่อเต็มว่า Karenni National People's Liberation Front) (พม่า: ကရင်နီပြည်လူမျိုးပေါင်းစုံပြည်သူ့လွတ်မြောက်ရေးတပ်ဦး) เป็นกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และอุดมการณ์ชาตินิยมกะเหรี่ยง ประจำการอยู่ที่รัฐกะยา ประเทศพม่า กลุ่ม KNPLF ได้ยินยอมที่จะเป็นกองกำลังรักษาชายแดนที่รัฐบาลสนับสนุนในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 อย่างไรก็ตาม KNPLF ยังไม่ถูกยุบในนาม KNPLF[9] เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2023 กลุ่ม KNPLF ได้ตัดสินใจเปลี่ยนฝ่ายไปอยู่ฝ่ายของ กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (KNLA) และกองทัพกะเหรี่ยงแดง (KA) กองกำลังป้องกันชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (KNDF) และกองกำลังพิทักษ์ประชาชนประเทศพม่า (PDF) และต่อสู้กับระบอบการปกครองทหาร
ประวัติ
[แก้]KNPLF ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ในตอนที่กลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายแยกตัวออกจากกองทัพกะเหรี่ยงแดง (KA) เนื่องจากมีอุดมการณ์ไม่เหมือนกัน กลุ่ม KNPLF รักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (CPB) ได้รับการฝึกและเสบียงและการสนับสนุนการอาวุธจากกลุ่มจนกระทั่งลดอาวุธลงในปี ค.ศ. 1989[10]
ในปี ค.ศ. 1989 มีการเจรจาข้อตกลงให้หยุดยิงระหว่าง สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SLORC) กับ KNPLF ซึ่งสรุปแล้วในปี ค.ศ. 1994[11] ตั้งแต่นั้นมากลุ่ม KNPLF ได้ช่วยเหลือทหารของรัฐบาลในการต่อสู้กับกลุ่มกองกำลังอาวุธกลุ่มอื่นๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มนี้ได้ช่วยทหารรัฐบาลต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพกะเหรี่ยงแดง (KA) และในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 กลุ่มนี้ตกลงที่จะเปลี่ยนผ่านเป็น "กองกำลังรักษาชายแดน"[12]
KNPLF เคยถูกกล่าวหาว่าใช้ทหารเด็กและกับระเบิดในอดีต[13]กับเด็กที่ชื่อว่า Koo Reh ตอนอายุ 13 ปีว่า
“ | ผมกำลังดูหนัง (ในโรงหนัง) และเขา (คนที่ชวน Koo Reh เข้า) นั่งและคุยกับผมว่าถ้าผมเข้าผมจะมีความสุขและได้เงินเดือนและเครื่องแบบ ผมจำชื่อเข้าไม่ได้แต่เขามาจาก KNPLF ผมตกลงที่จะเข้าร่วม เขาพูดกับหลายๆคน หนึ่งต่อหนึ่ง 20 หรือ 25 คน ผู้ใหญ่ สตรี เด็กชาย ประมาณ 6 คนที่ไปกับเขาที่มีอายุมากกว่ามีอายุ 16 หรือ 17 อายุน้อยกว่า อายุ 11 12 หรือ 13 ปี ผมกลับบ้านแต่ไม่ได้บอกแม่ของผม จากนั้นผมก็ไปกับเขา [14] | ” |
เหตุการณ์ล่าสุด
[แก้]ทหารของ KNPLF และ BGF ถูกฆาตกรรมประมาณ 45 คนในช่วงการสังหารหมู่ Mo So โดยกองทัพพม่าในวันคริสต์มาสอีฟของปี ค.ศ. 2021 บุคลากรของ KNPLF และ BGF พยายามที่จะหยุดกองทัพพม่าจากการเผาประชาชนทั้งเป็นแทนที่จะยิงประชาชนตรงศีรษะ [15][16][17]
KNPLF ก็ได้รับอาวุธจากกองทัพรวมแห่งรัฐว้า (UWSA) หลังการรัฐประหารในประเทศเมียนมาร์ในปี ค.ศ. 2021 และก็ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการต่อต้านกองทัพพม่า แม้จะเปลี่ยนผ่านเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน[18]ก็ตาม ชิต ตุน สมาชิกระดับสูงของ KNPLF ถูกแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสองรองรัฐมนตรีด้านการสหพันธสหภาพ ในรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่า (NUG) ซึ่งเป็นรัฐบาลคู่ขนานที่ก่อตั้งโดยผู้ร่างกฎหมายที่ได้รับเลือกและสมาชิกรัฐสภาที่ถูกโค่นล้มในการรัฐประหาร KNPLF ประกาศว่าจะสนับสนุน NUG และสมาชิกระดับล่างของ KNPLF ต่อสู้เคียงข้าง KNDF เพื่อต่อต้านกองทัพพม่า[19][20]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 KNPLF ได้ทำการย้ายฝ่ายไปกองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารและสนับสนุนกแองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (KNLA) และกองทัพกะเหรี่ยงแดง (KA) กองกำลังป้องกันชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (KNDF) และกองกำลังพิทักษ์ประชาชนประเทศพม่า (PDF) และได้ปฎิบัติการเริ่มโจมตีที่มั่นของกองทัพพม่า[21] กองกำลังต่อต้านที่รวมกันเข้ายึดด่านหน้าของรัฐบาลทหารและเข้ายึดเมืองเมเซ ในรัฐกะยาทางทิศตะวันออก[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "KNPLF Says No Fake Peace". BNI (ภาษาอังกฤษ). 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 June 2023.
- ↑ "KNPLF celebrates 25 years of ceasefire in Loikaw". Ministry Of Information (ภาษาอังกฤษ). Myanmar Ministry of Information. สืบค้นเมื่อ 11 May 2020.
- ↑ Beng, Ooi Kee (2014). ISEAS Perspective: Selections 2012–2013 (ภาษาอังกฤษ). Institute of Southeast Asian Studies. p. 107. ISBN 978-981-4519-26-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 May 2020.
- ↑ Khin, Aung; Aung, Nyan Lin (9 December 2021). "ကရင်နီကာကွယ်ရေးတပ်ဖွဲ့". Voice of America (ภาษาพม่า). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ "Intense clash in Mese, Karenni State". Democratic Voice of Burma (ภาษาพม่า). 20 June 2023.
- ↑ "The 4K, the clash in Mese, and the military movement of Karenni State". People's Spring (ภาษาพม่า). 20 June 2023.
- ↑ Davis, Anthony (2022-02-22). "Wa an early winner of Myanmar's post-coup war". Asia Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-24.
- ↑ J, Esther (10 November 2023). "After attacking military target in Karenni State, KNDF and KNPLF announce launch of 'Operation 1107'". Myanmar Now. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2023. สืบค้นเมื่อ 10 November 2023.
- ↑ "Karenni National People's Liberation Front". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 February 2016.
- ↑ "Karenni National People's Liberation Front". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 February 2016.
- ↑ "Karenni National People's Liberation Front". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 February 2016.
- ↑ Murray, Lucy; Byardu, Beh Reh (25 March 2005). "Karenni rebels dig in for last stand". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2005. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "Geneva Call – Karenni National Peoples Liberation Front (KNPLF)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 27 February 2016.
- ↑ "Sold to be Soldiers: The Recruitment and Use of Child Soldiers in Burma: VI. Child Soldiers in Non-State Armed Groups". www.hrw.org. Human Rights Watch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
- ↑ J, Esther (25 December 2021). "ဖရူဆိုတွင် အစုအပြုံလိုက် မီးရှို့ခံထားရသည့်ထဲတွင် ကလေးငယ်ပင်ပါဝင်". Myanmar Now (ภาษาพม่า). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ J, Esther (7 January 2022). "စစ်ကောင်စီ ဖုံးသမျှပေါ်နေသည့် ယာဉ်နှင့်လူများ မီးပုံရှို့မှု". Myanmar Now (ภาษาพม่า). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ Phoe Khwar, Saw (1 March 2022). "မိုဆိုရွာ သတ်ဖြတ်မှု စစ်တပ်လက်ချက်လို့ NUG အထောက်အထားတွေ ထုတ်ပြန်". Radio Free Asia (ภาษาพม่า). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ Davis, Anthony (22 February 2022). "Wa an early winner of Myanmar's post-coup war". Asia Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ "NUG နဲ့ အတူ ဘယ်သူတွေ ရပ်တည်နေကြသလဲ". The Irrawaddy (ภาษาพม่า). 25 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ "Kayah State Resistance Groups Reject Ceasefire with Myanmar Junta". The Irrawaddy. 17 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ J, Esther (23 June 2023). "Karenni BGF battalions confirm role in recent raids on junta outposts". Myanmar Now (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2023. สืบค้นเมื่อ 28 June 2023.
- ↑ "Myanmar Junta Outposts Fall to Karenni Resistance in Kayah State". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษ). 26 June 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 22, 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2023.