แต้บุ๋น
แต้บุ๋น (เจิ้ง เหวิน) 鄭文 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขุนพลแห่งวุยก๊ก | |||||||||||||
ถึงแก่กรรม | ค.ศ. 234 | ||||||||||||
สถานที่ถึงแก่กรรม | เขากิสาน | ||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 鄭文 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 鄭文 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ยุคในประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก |
แต้บุ๋น มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เจิ้ง เหวิน (จีน: 鄭文; พินอิน: Zhèng Wén) เป็นตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก เป็นขุนพลแห่งรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีนและเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของสุมาอี้
แต้บุ๋นเป็นตัวละครสมมติในนวนิยายสามก๊ก ไม่ปรากฏชื่อในบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]แต้บุ๋นปรากฏเป็นตัวละครในนวนิยายสามก๊กตอนที่ 102[a] ตามความในนวนิยายสามก๊ก เมื่อจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กนำทัพบุกขึ้นเหนือครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 234 สุมาอี้สั่งให้แต้บุ๋นแสร้งทำเป็นไม่พอใจจีนล่งที่เป็นขุนพลวุยก๊กอีกคน แล้วแปรพักตร์มาเข้าด้วยจูกัดเหลียง แต้บุ๋นสังหารจีนล่งตัวปลอมซึ่งแท้จริงแล้วเป็นจีนเบ้ง (秦明 ฉิน หมิง) น้องชายของจีนล่ง เพื่อแสดงความจริงใจต่อจูกัดเหลียง แต่จูกัดเหลียงมองแผนการออกจึงให้จับกุมแต้บุ๋น แต้บุ๋นร้องขอชีวิต จูกัดกัดเหลียงจึงสั่งให้แต้บุ๋นเขียนจดหมายถึงสุมาอี้เพื่อลวงให้สุมาอี้ยกมาปล้นค่าย สุมาอี้ให้จีนล่งคุมกองหน้าไปปล้นค่ายทัพจ๊กก๊ก แต่ถูกซุ่มโจมตี จีนล่งถูกสังหารและสุมาอี้ถอยทัพไป จูกัดเหลียงกลับมาค่ายหลังได้รับชัยชนะและสั่งให้นำตัวแต้บุ๋นไปประหารชีวิต[2][1]
หลี่ จื้อ (李贄) นักปรัชญาปลายยุคราชวงศ์หมิงวิจารณ์เรื่องราวนี้ที่ปรากฏในนวนิยายสามก๊กว่า "ซานกั๋วจื้อทงสูเหยี่ยนอี้ (三国志通俗演义; สามก๊ก) ถูกเรียบเรียงโดยโดยคนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้หนังสือ แม้ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอื่น เฉพาะเรื่องการยอมสวามิภักดิ์ของแต้บุ๋น ขนาดเด็กน้อยอายุสามขวบก็คิดไม่จะทำเรื่องแบบนี้ แต่ซือหม่า จ้งต๋า[b]กลับทำ ขนาดเด็กน้อยอายุสามขวบยังรู้ทันเรื่องนี้ ที่จูกัดขงเบ้ง[c]รู้ทันเรื่องนี้มันจะแปลกอะไร อ่านมาถึงตรงนี้แล้วจึงรู้ซึ้งว่าล่อกวนตงลำเอียง เป็นคนต่ำผู้โง่เขลาซึ่งมักทำผิดพลาดในนามของตนเอง น่าชิงชังเสียจริง!”
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 77[1]
- ↑ หมายถึงสุมาอี้ (ซือหม่า อี้) จ้งต๋าเป็นชื่อรองของสุมาอี้
- ↑ หมายถึงจูกัดเหลียง ขงเบ้งเป็นชื่อรองของจูกัดเหลียง