กระเฉด
กระเฉด | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Fabales |
วงศ์: | Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | Mimosoideae |
เผ่า: | Mimoseae |
สกุล: | Neptunia |
สปีชีส์: | N. oleracea |
ชื่อทวินาม | |
Neptunia oleracea Lour. | |
ชื่อพ้อง | |
|
กระเฉด เป็นพืชล้มลุก ลำต้นลอยน้ำหรือเลื้อยแผ่ใกล้ฝั่ง มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ ผักหละหนอง (แม่ฮ่องสอน), ผักกระเสดน้ำ (ยโสธร, อุดรธานี, ภาคอีสาน), ผักหนอง (ภาคเหนือ), ผักฉีด (ภาคใต้), ผักรู้นอน (ภาคกลาง)[1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]กระเฉดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลมเนื้อนิ่ม ใบประกอบคล้ายใบกระถิน ใบจะหุบลงในเวลากลางคืน จึงเรียกว่า"ผักรู้นอน" ระหว่างข้อมีปล้องเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้น ช่วยพยุงให้กระเฉดลอยน้ำได้และช่วยดึงไนโตรเจนจากอากาศไปเลี้ยงยอด[2] เรียกว่า "นมผักกระเฉด" มีรากงอกออกตามข้อ ดอกเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลืองเป็นพืชที่มีโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต และมีแร่ธาตุ วิตามินหลายชนิด ผลเป็นฝัก มีลักษณะแบน มีเมล็ด 4–10 เมล็ด
การปรุง
[แก้]กระเฉด เป็นผักที่ใช้ปรุงในเมนูอาหารไทยได้หลากหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด หรือเป็นส่วนประกอบในยำ, แกงส้ม หรือผัดผักกระเฉด[3] ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด คือ ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ และปริมาณเนื้อที่ปลูกทั้งจังหวัด 2,500 ไร่[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2010.
- ↑ 2.0 2.1 "สารคดีเกษตร: ปลูกผักกระเฉด". ช่อง 7. 19 ธันวาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2014.
- ↑ "Nutritional composition of traditional Thai foods used local vegetables" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2014.
บรรณานุกรม
[แก้]- วุฒิ วุฒิธรรมเวช (1997). กระเฉด. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย (1 ed.). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ISBN 974-277-385-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การปลูกผักกระเฉด farmthailand.com