ข้ามไปเนื้อหา

แกแล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกแล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Moraceae
เผ่า: Moreae
สกุล: Maclura
สปีชีส์: M.  cochinchinensis
ชื่อทวินาม
Maclura cochinchinensis
(Lour.) Corner

แกแล (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maclura cochinchinensis Corner) มีเกิดตามป่าโปร่งทางภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ มีชื่ออื่น แกก้อง (แพร่) แกแล สักขี เหลือง (กลาง) แกล แหร (ใต้) เข (นครราชสีมา) ช้างงาต้อก (ลำปาง) น้ำเคี่ยโซ่ (ปัตตานี) หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์) กะเลอะเซอะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

แกแลเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ตามเถามีหนามตลอดเถา เนื้อไม้สีค่อนข้างขาว มียางขาว เปลือกลำต้นสีเทา แก่นเป็นสีเหลือง ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1 - 3.5 ซม. ยาว 2 - 9 ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม ผล เป็นผลรวม ผลแก่สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง เมล็ดกลม สีน้ำตาล

สรรพคุณ

[แก้]

แก่น มีรสขม ใช้แก่นแก้ไข้รากสาด แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง บำรุงเลือด แก้พุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ [1] และสารสกัดด้วยเฮกเซนและคลอโรฟอร์มจากรากของสมุนไพรแกแล สามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ[2]ใช้แก่นซึ่งให้สีเป็นสีเหลืองสดเหมาะแก่การย้อมไหมเป็นสีเหลือง ในอินโดนีเซียใช้ย้อมผ้า ย้อมเสื่อ ใบอ่อนรับประทานเป็นผัก

อ้างอิง

[แก้]
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3: พืชให้สีย้อมและแทนนิน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 110 - 111