ข้ามไปเนื้อหา

น้ำเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำเหลือง
แผนภาพแสดงการไหลของน้ำเหลืองจากสารน้ำแทรก (ในภาพระบุด้วยคำว่า "Tissue fluid") จะเห็นว่าของเหลวจะเข้าสู่ปลายตันของหลอดน้ำเหลืองฝอย (แสดงด้วยลูกศรสีเขียวเข้ม)
รายละเอียด
ระบบระบบน้ำเหลือง
จากเกิดจากสารน้ำแทรก
ตัวระบุ
ภาษาละตินLympha
MeSHD008196
TA98A12.0.00.043
TA23893
FMA9671
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

น้ำเหลือง (อังกฤษ: Lymph) คือของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ในระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อสารน้ำแทรก (ของเหลวซึ่งมีอยู่ตามร่องของเนื้อเยื่อ[1]) มารวมกันผ่านหลอดน้ำเหลืองฝอย แล้วถูกส่งต่อผ่านท่อน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลืองก่อนที่ในท้ายที่สุดจะถูกผสมรวมกับเลือดที่บริเวณหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายหรือขวา องค์ประกอบของน้ำเหลืองจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้เลือดและเซลล์ต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนองค์ประกอบกับสารน้ำแทรก (ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำเลือดเพียงแต่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว) ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ประกอบ น้ำเหลืองจะคืนโปรตีนและสารน้ำแทรกส่วนเกินไปยังกระแสเลือด น้ำเหลืองอาจจับพาแบคทีเรียไปยังต่อมน้ำเหลืองเพื่อกำจัด เซลล์มะเร็งเนื้อร้ายอาจถูกจับพาโดยน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ น้ำเหลืองอาจจับพาไขมันจากทางเดินอาหารอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]