ข้ามไปเนื้อหา

เอ็มเอส ซานดัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือเอ็มเอส ซานดัม ในอุทยานแห่งชาติอ่าวกลาเซีย (Glacier Bay) รัฐอะลาสกา
ประวัติ
เนเธอร์แลนด์
ชื่อซานดัม
เจ้าของบมจ.คาร์นิวัล (Carnival Corporation & plc)
ผู้ให้บริการสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา
ท่าเรือจดทะเบียนเนเธอร์แลนด์ รอตเทอร์ดัม[1]
อู่เรือบ. ฟินกันติเอริ (Fincantieri)
มูลค่าสร้าง$300 ล้านเหรียญสหรัฐ[3]
Yard numberมาร์เกรา (Marghera), 6036
ปล่อยเรือ26 มิถุนายน พ.ศ. 2541[1]
เดินเรือแรก29 เมษายน พ.ศ. 2542
Christened4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดย แมรี-เคต และ แอชลีย์ โอลเซน (Mary-Kate Olsen & Ashley Olsen)[2]
สร้างเสร็จ6 เมษายน พ.ศ. 2543[1]
รหัสระบุ
สถานะกักกันโรค
ลักษณะเฉพาะ (เมื่อแรกสร้าง)
ชั้น: เรือสำราญ ชั้นรอตเทอร์ดัม (Rotterdam-class)
ขนาด (ตัน):
  • 60,906 ตันกรอส[4]
  • 31,457 ตันเน็ต
  • 6,150 ตันระวางขับน้ำ
ความยาว: 202 เมตร (663 ฟุต)[4]
ความกว้าง: 32.25 เมตร (105.8 ฟุต)[4]
ความสูง: 48 เมตร (157 ฟุต)[5]
กินน้ำลึก: 11 เมตร (36 ฟุต)[4]
ดาดฟ้า: 10 ชั้น
ระบบพลังงาน: ดีเซล-ไฟฟ้า Sulzer 12ZAV40S 8,640 กิโลวัตต์ 5 เครื่อง[5]
ระบบขับเคลื่อน: สองใบจักร แบบปีกปรับมุมบิดได้[4]
ความเร็ว: 23 นอต (43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 26 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ความจุ: ผู้โดยสาร 1,432 คน
ลูกเรือ: 615 คน
ลักษณะเฉพาะ (หลังซ่อมบำรุง 1 มกราคม 2548)
ขนาด (ตัน):
  • 61,396 ตันกรอส[1]
  • 31,224 ตันเน็ต
  • 7,321 ตันระวางขับน้ำ
ความยาว: 237 เมตร (778 ฟุต)[1]
ความกว้าง: 32.28 เมตร (105.9 ฟุต)[1]
กินน้ำลึก: 8.1 เมตร (27 ฟุต)[1]

เอ็มเอส ซานดัม (MS Zaandam) เป็นเรือสำราญ ที่เป็นเจ้าของและดำเนินการโดยสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อเมือง ซานดัม (ดัตช์: Zaandam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือใกล้กับกรุงอัมสเตอร์ดัม เรือถูกต่อเป็นลำที่เจ็ดให้กับสายการเดินเรือโดยบริษัทต่อเรือ ฟินกันติเอริ ในเมืองมาร์เกรา ประเทศอิตาลีและส่งมอบในปี พ.ศ. 2543 เรือซานดัม เป็นเรือลำที่สามของเรือชั้นรอตเทอร์ดัม (Rotterdam-class) และมีเรือพี่น้องคือ เอ็มเอส โฟเลนดัม (MS Volendam), เอ็มเอส รอตเทอร์ดัม (MS Rotterdam) และเอ็มเอส อัมสเตอร์ดัม (MS Amsterdam)

จนถึงปัจจุบัน สายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา มีเรือสามลำที่ได้ใช้ชื่อซานดัม โดยมีสองลำก่อนหน้าลำปัจจุบันคือ เรือกลไฟเอสเอส ซานดัม (SS Zaandam, ค.ศ. 1882–1897)[5] และเรือเอ็มวี ซานดัม (MV Zaandam, ค.ศ.1938–1942) ซึ่งถูกจมโดยตอร์ปิโดของเรือดำน้ำเยอรมันในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[6]

การออกแบบและรายละเอียด

[แก้]
เรือเอ็มเอส ซานดัม ในอู่แห้งที่เกาะแกรนด์บาฮามา พ.ศ. 2548

เอ็มเอส ซานดัม มีระวางน้ำหนักของเรือ 61,396 ตันกรอส (GT), ระวางน้ำหนักสุทธิ 31,224 ตันเน็ต (NT) และระวางบรรทุกสูงสุด 7,321 เดดเวตตัน (tons deadweight, DWT) เรือลำนี้กินน้ำลึก 8.3 เมตร (27 ฟุต 1 นิ้ว) มีความยาว 237.7 เมตร (780 ฟุต) ส่วนกว้างสุด 32.4 เมตร (106 ฟุต 5 นิ้ว)[][7][8] เมื่อแรกสร้างเรือมีระวางน้ำหนักของเรือ 60,906 ตันกรอส (GT) และระวางบรรทุกสูงสุด 6,150 เดดเวตตัน (DWT) มีความยาวทั้งหมด 237 เมตร (777 ฟุต 7 นิ้ว) และความยาว 202.8 เมตร (665 ฟุต 4 นิ้ว) ในแนวตั้งฉากกับคานของส่วนกว้างสุดของเรือ ซึ่งมีขนาด 32.3 เมตร (106 ฟุต)[9]

เรือขับเคลื่อนด้วยระบบดีเซล-ไฟฟ้าส่งกำลังไปยังสองเพลาขับ มีกำลัง 37,500 กิโลวัตต์ (50,300 แรงม้า)[10] สิ่งนี้ทำให้ซานดัม ทำความเร็วสูงสุดได้ 23 นอต (43 กม./ชม. หรือ 26 ไมล์ต่อชั่วโมง)[7] เรือสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,432 คนและมีลูกเรือ 607 คน[][7][10] ห้องโดยสาร 716 ห้องมีขนาดตั้งแต่ขนาด 10.5-104.6 ตารางเมตร (113–1,126 ตารางฟุต) ซึ่ง 197 ห้องมีระเบียง ซานดัม มีรูปแบบการตกแต่งในแนวดนตรี และประดับด้วยสิ่งประดิษฐ์และของที่ระลึกจากแนวดนตรีที่หลากหลายเช่น ดัตช์ออร์แกนแบบบารอก และกีตาร์ที่มีลายเซ็นของ วงเดอะโรลลิงสโตนส์, การ์โลส ซันตานา และวงควีน[10] หนึ่งในบันไดกลางมีแซกโซโฟนที่มีลายเซ็นของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน บนส่วนที่ใช้ปากเป่า[10][11]

การต่อเรือและการเดินเรือ

[แก้]
เรือซานดัม เทียบท่าเรือนาเซะนากาฮามะ เกาะอามามิ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2555

เรือสำราญลำนี้สร้างโดยบริษัท ฟินกันติเอริ กันติเอริ นาวาลิ อิตาเลียนา (Fincantieri Cantieri Navali Italiana SpA) ที่เมืองมาร์เกรา ประเทศอิตาลีโดยมีเลขที่อู่ 6036 วางกระดูกงูเรือในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2541, ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2543[9] ซานดัม มีพิธีตั้งชื่อเรือโดยฝาแฝด มารี-เคต และ แอชลีย์ โอลเซน (Mary-Kate และ Ashley Olsen) ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543[7] เรือจดทะเบียนในเนเธอร์แลนด์ และเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา[12]

ซานดัม ปัจจุบันแล่นผ่านบริเวณประเทศแคนาดา และเขตนิวอิงแลนด์ ในช่วงฤดูร้อน และในช่วงฤดูหนาวแล่นเรือบริเวณประเทศเม็กซิโก และรัฐฮาวาย ในเดือนธันวาคมและมกราคม ซานดัม ล่องเรือในเขตทวีปแอนตาร์กติกา และชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้[13]

ปูมเรือที่สำคัญ

[แก้]

ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริการายงานว่ามีผู้ป่วย 73 รายในเรือซานดัม เนื่องจากการระบาดของโนโรไวรัส ขณะเรืออยู่ระหว่างการเดินทางจากซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ถึงรัฐอะแลสกา[14]

การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19)

[แก้]

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2563 เอ็มเอส ซานดัม ออกจากท่าเรือเมืองบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา แล่นมุ่งไปยังเมืองซานอันโตนิโอ ประเทศชิลี[15][16] เรือติดอยู่นอกชายฝั่งของชิลี หลังจากถูกปฏิเสธคำขอเข้าเทียบท่าเรือ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม จากบนเรือ 1,829 คน (1,243 ผู้โดยสาร, 586 ลูกเรือ) มีผู้โดยสาร 13 คนและลูกเรือกว่า 100 คนป่วยด้วย "อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่"[17] ณ วันที่ 24 มีนาคมเรือแล่นไปยังท่าเรือ พอร์ตเอเวอร์เกลดส์ (Port Everglades) รัฐฟลอริดา โดยคาดว่าจะเทียบท่าในวันที่ 30 มีนาคม จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 77 คน ณ วันที่ 24 มีนาคม[18] ผู้โดยสารสี่คนเสียชีวิตระหว่างรอการขออนุญาตแล่นผ่านคลองปานามา และมีจำนวนผู้ป่วยบนเรือเพิ่มสูงขึ้นถึง 148 คน สายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ส่งเรือเอ็มเอส รอตเทอร์ดัม เพื่อช่วยเหลือเรือซานดัม โดยนำส่งเวชภัณฑ์, เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพิ่มเติม และชุดทดสอบโรค COVID-19 รวมทั้งมีความมุ่งหมายในการถ่ายโอนผู้โดยสารที่มีสุขภาพดีไปสู่เรือรอตเทอร์ดัม[15]

วันที่ 27 มีนาคม เรือซานดัมถูกปฏิเสธคำขอเดินเรือผ่านคลองปานามา เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่อยู่บนเรือ[19] ต่อมาในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563 ทั้งเรือซานดัม และเรือรอตเทอร์ดัมที่มาให้การช่วยเหลือ ได้รับการประสานงานโดยกระทรวงสาธารณสุขปานามา เพื่ออนุญาตให้เดินเรือผ่านคลองปานามาไปยังจุดหมายปลายทางในฟลอริดา[20] เรือรอตเทอร์ดัม ได้แล่นติดตามเรือซานดัม ผ่านคลองปานามาโดยมีจุดหมายปลายทางไปยังท่าเรือ พอร์ตเอเวอร์เกลดส์ ในเมืองฟอร์ตลอเดอร์เดล รัฐฟลอริดา ผู้โดยสารจากเรือซานดัม ที่ไม่ถูกระบุว่าติดเชื้อได้ถูกย้ายไปยังเรือรอตเทอร์ดัม ในวันที่ 28 มีนาคม[21][22][23] ในเวลานั้นลูกเรือของซานดัม มีแพทย์สี่คนและพยาบาลสี่คน ขณะที่ในบัญชีรายชื่อของเรือรอตเทอร์ดัม รวมแพทย์สองคนและพยาบาลสี่คน[24]

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 จำนวนรายงานว่า "ป่วย" เพิ่มขึ้นเป็น 193 ราย[25] เรือรอตเทอร์ดัมได้อพยพผู้คนซึ่งไม่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ออกจากเรือซานดัมไปเกือบ 1,400 คน ทำให้เหลือผู้โดยสาร 450 คนและลูกเรือ 602 คนยังคงอยู่บนเรือซานดัม[26]

ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563 สายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จอดเทียบท่าเรือทั้งสองลำที่เมืองฟอร์ตลอเดอร์เดล ตามแผนที่วางไว้ ตามรายงานของแอสโซซิเอตเตทเพรส (AP), ดีน ทรานตาลิส (Dean Trantalis) นายกเทศมนตรีของเมืองกล่าวว่า "เขาไม่ต้องการให้เรือจอดเทียบท่าใกล้กับเมืองอย่างน้อยถ้าไม่มีการเฝ้าระวังที่ครอบคลุม"[27][28] ผู้ว่าการรัฐฟลอริดาก็ลังเลที่จะยอมรับให้เรือซานดัมจอดที่ฟอร์ตลอเดอร์เดล เพราะรัฐมีกรณีที่ต้องจัดการจำนวนมากในการรับมือกับโรคระบาดในช่วงนั้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ยังคงไม่มีการตัดสินใจ ประธานของสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ทำคำร้องต่อสาธารณะเพื่อขอให้ยอมรับเรือเข้าเทียบท่า และแสดงความกังวลว่าท่าเรือต่าง ๆ ในหลายประเทศลังเลที่จะจัดหาอาหารและเวชภัณฑ์[29]

ในระหว่างการแถลงข่าวของผู้ว่าการรัฐฟลอริดาในวันที่ 30 มีนาคม เขากล่าวว่าทางออกที่ดีที่สุดอาจส่งความช่วยเหลือทางการแพทย์ไปที่เรือ[30] ในวันที่ 1 เมษายนผู้ว่าการรัฐมีท่าทีผ่อนคลายลงโดยกล่าวว่า พลเมืองของรัฐฟลอริดาสามารถขึ้นฝั่งได้โดยเรือต้องแล่นออกจากรัฐ ผู้โดยสารและลูกเรือ 190 คนรายงานอาการ "คล้ายไข้หวัดใหญ่" และมีผลทดสอบสำหรับ COVID-19 เป็นบวก 8 ราย[31]

ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ว่า "เราต้องช่วยเหลือผู้คน" [บนเรือ] และการหารือกำลังดำเนินการเกี่ยวกับที่ แคนาดาและสหราชอาณาจักรจะ "จัดเที่ยวบินเพื่อรับพลเมืองของประเทศตนออกจากเรือ" หลังจากได้รับอนุญาตให้เทียบท่า ผู้โดยสารเก้าคนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลท้องถิ่น แต่อีก 45 คนที่ป่วยจะไม่ถูกนำขึ้นฝั่ง สายการเดินเรือระบุว่าพวกเขาจะยังคงอยู่บนเรือ ได้รับการรักษาพยาบาลจนกว่าพวกเขาจะเข้าเงื่อนไข "แนวทางของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) สำหรับกรณีที่เหมาะสมที่สามารถเดินทาง" ไม่มีลูกเรือจากเรือลำนี้ หรือจากเรือรอตเทอร์ดัมขึ้นฝั่ง[32] สายการเดินเรือกำลังเตรียมการสำหรับผู้โดยสารจากประเทศอื่น ๆ เพื่อออกจากฟลอริดาผ่านสายการบินเช่าเหมาลำ[33]

รายงานเมื่อวันที่ 4 เมษายนระบุว่า "14 คนที่มีอาการป่วยวิกฤต" ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในพื้นที่ขณะที่คนอื่น ๆ จะได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งเมื่อเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางของพวกเขาพร้อมแล้ว[34]

เชิงอรรถ

[แก้]
๑. เว็บไซต์ของสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ระบุความยาวคานเรือที่ 32.2 เมตร (105 ฟุต 8 นิ้ว)[7], ขณะที่เว็บไซต์ Equasis ของกระทรวงการขนส่งฝรั่งเศส ระบุระวางบรรทุกสูงสุดหลังซ่อมบำรุง 6,150 ตันเท่ากับตอนแรกสร้าง[12]
๒. ข้อมูลในหนังสือ Berlitz Complete Guide to Cruising & Cruise Ships 2020 ระบุจำนวนลูกเรือ 650 คน[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Zaandam (9156527)". LR Class Direct. Lloyd's Register. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  2. "Virtual Ship Tours >> Zaandam". Cruise Wonderland. สืบค้นเมื่อ 6 April 2020.
  3. "ms Zaandam". CruiseMapper. สืบค้นเมื่อ 6 April 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Zaandam (9156527)". Leonardo info. Registro Italiano Navale. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Zaandam Luxury Cruise Ship". ship-technology.com. Verdict Media. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.
  6. "MV Zaandam (+1942)". Wrecksite.eu. สืบค้นเมื่อ 6 April 2020.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "Fast Fact Sheet – MS Zaandam" (PDF). Holland America. สืบค้นเมื่อ 6 April 2020.
  8. "Zaandam (4746)". Port State Information Exchange. United States Coast Guard. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  9. 9.0 9.1 "Zaandam (9156527)". Miramar Ship Index. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Ward, Douglas (29 October 2019). Berlitz Complete Guide to Cruising & Cruise Ships 2020 (28th ed.). Singapore: Berlitz. pp. 2469–2474. ISBN 978-1-78573-250-8.
  11. "Zaandam Ship Details". Cruiseabout. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2009.
  12. 12.0 12.1 "Zaandam (9156527)". Equasis. French Ministry for Transport. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  13. "South America & Antarctica Cruises & Vacations". hollandamerica.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2018.
  14. "73 sickened on cruise ship that left Seattle for Alaska". King5.com. Associated Press. 24 June 2018. สืบค้นเมื่อ 25 June 2018.
  15. 15.0 15.1 Harris, Alex (27 March 2020). "Four passengers died on Zaandam cruise ship with 148 people sick with flu-like symptoms". Bradenton Herald. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  16. McCormick, Erin (27 March 2020). "'Stranded at sea': cruise ships around the world are adrift as ports turn them away". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  17. Harris, Sophia (23 March 2020). "'Get us the hell off': Canadians on board stranded cruise ship with 42 sick passengers, crew". CBC News.
  18. Dolven, Taylor (24 March 2020). "A cruise ship with 77 sick on board hopes to dock in Port Everglades on March 30". Miami Herald.
  19. "Zaandam cruise ship denied crossing Panama Canal due to quarantine". Prensa Latina. 27 March 2020.
  20. Hines, Morgan (28 March 2020). "Coronavirus: Holland America's Zaandam, Rotterdam get permission to transit Panama Canal". USA Today.
  21. Hines, Morgan (28 March 2020). "Coronavirus: Holland America's Zaandam, Rotterdam get OK to transit Panama Canal for Florida". USA Today. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  22. Silverman, Hollie (30 March 2020). "A cruise ship headed to Florida has reported more sick people on board after 4 die and 2 test positive for Covid-19". CNN.
  23. "Coronavirus: Cruise ship off Panama coast transfers passengers". BBC. 29 March 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  24. Winsa, Patty (28 March 2020). "Passengers on cruise ship in Panama transferred to new vessel". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  25. "More COVID-19 cases on stranded cruise ship with 4 dead. Cruise line pleads for help". Canadian Broadcasting Corporation. 31 March 2020.
  26. Gomez, Adriana Gomez & Kennedy, Kelli (31 March 2020). "Florida Docking Plan in the Works for Ill-Fated Cruise Ships". NBC New York. Associated Press.
  27. "Authority: Stranded ships begin transiting Panama Canal". WFLA News Channel 8. Associated Press. 30 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-31. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  28. Neal, David J. & Dolven, Taylor (30 March 2020). "Fort Lauderdale mayor not ready to accept the coronavirus-hit Zaandam at Port Everglades". Miami Herald.
  29. "More COVID-19 cases on stranded cruise ship with 4 dead. Cruise line pleads for help". CBC News. 31 March 2020.
  30. "Cruise ship with coronavirus outbreak sails to uncertain Florida welcome". National Post. 31 March 2020.
  31. Sanchez, Ray; Flores, Rosa & Weisfeldt, Sara (1 April 2020). "Florida governor: We'll take state residents only from Zaandam cruise ship". CNN.
  32. "Cruise ships are still scrambling for safe harbor". CNN. 3 April 2020.
  33. Burke, Minyvonne (2 April 2020). "Cruise ship with sick passengers and sister ship will be allowed to dock in Florida". NBC News.
  34. Anderson, Curt (4 April 2020). "Another cruise ship with virus victims docks in Florida". Belleville News-Democrat. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]