เอ็มบราเออร์ อีเจ็ต อี2
เครื่องบินตระกูลอีเจ็ต อี2 อี175-อี2 / อี190-อี2 / อี195-อี2 | |
---|---|
อี190-อี2 ของพอร์เตอร์แอร์ไลน์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ |
ชาติกำเนิด | บราซิล |
บริษัทผู้ผลิต | เอ็มบราเออร์ |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | พอร์เตอร์แอร์ไลน์ อาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์ เคแอลเอ็มซิตีฮอปเปอร์ เฮลเวติกแอร์เวย์ |
จำนวนที่ผลิต | 127 ลำ (สิงหาคม ค.ศ. 2024)[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 2013–ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | 24 เมษายน ค.ศ. 2018 โดยวีเดอเรอ[2] |
เที่ยวบินแรก | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2016[3] |
พัฒนาจาก | เอ็มบราเออร์ อีเจ็ต |
เอ็มบราเออร์ อีเจ็ต อี2 (อังกฤษ: Embraer E-Jet E2) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบที่ออกแบบและผลิตโดยเอ็มบราเออร์ เครื่องบินตระกูลอีเจ็ต อี2 เป็นการพัฒนาต่อมาจากเครื่องบินตระกูลอีเจ็ต เอ็มบราเออร์เปิดตัวโครงการนี้ครั้งแรกในงานปารีสแอร์โชว์เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 เครื่องบินตระกูลอีเจ็ต อี2 มีการปรับปรุงหลายประการจากตระกูลอีเจ็ตดั้งเดิม โดยเฉพาะการใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แพตต์แอนด์วิตนีย์ พีดับเบิลยู1700จี ที่มีอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงสูงกว่ารุ่นก่อนหน้า เครื่องบินตระกูลนี้ประกอบด้วยอากาศยานสามรุ่นที่มีลักษณะลำตัวเครื่องบินเหมือนกันโดยมีความยาวต่างกัน มีปีกรูปแบบใหม่สามแบบ ระบบควบคุมแบบฟลายบายไวร์ ระบบการบินใหม่ และห้องโดยสารที่ใหม่ เครื่องบินรุ่นต่าง ๆ มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดตั้งแต่ 44.6 ถึง 62.5 ตัน (98,000 ถึง 138,000 ปอนด์) และมีพิสัยการบินระหว่าง 2,000–3,000 ไมล์ทะเล (3,700–5,600 กม.)
เอ็มบราเออร์ อี190-อี2 รุ่นแรกของตระกูลอีเจ็ตอี 2 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 การทดสอบการบินดำเนินไปตามกำหนดการโดยมีปัญหาเพียงเล็กน้อย เครื่องบินรุ่นนี้ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 ก่อนที่จะเริ่มให้บริการกับลูกค้ารายแรกอย่างวีเดอเรอเมื่อวันที่ 24 เมษายน เครื่องบินรุ่นอี195-อี2 ที่ใหญ่กว่าได้รับการรับรองในเดือนเมษายน ค.ศ. 2019 และเริ่มดำเนินการกับอาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์ ส่วนรุ่นอี175-อี2 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีขนาดเล็กที่สุดนั้นเดิมมีกำหนดส่งมอบในปี 2021 แต่ล่าช้าจนเลื่อนออกไปจนถึงปี 2027 เนื่องจากความต้องการในรุ่นไม่เพียงพอ สายการบินระดับภูมิภาคในสหรัฐหลายสายเป็นลูกค้ารายใหญ่ของอี175 รุ่นดั้งเดิม แต่ด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ ทำให้สายการบินเหล่านั้นไม่สามารถสั่งซื้อรุ่นอี175-อี2 ได้ เพราะมีน้ำหนักเครื่องมากกว่า เครื่องบินตระกูลอีเจ็ต อี2 ได้รับการอนุมัติสำหรับ ETOPS 120 จากหน่วยงานกำกับดูแลของบราซิล สหรัฐ และยุโรปในปี 2024
รุ่นอี190-อี2 และอี195-อี2 แข่งขันโดยตรงกับเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ220 โดย ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 มีคำสั่งซื้อสำหรับเครื่องบินตระกูลอีเจ็ต อี2 ทั้งหมด 306 ลำ โดยส่งมอบแล้วและให้บริการอยู่ 114 ลำ ยอดขายของโครงการค่อนข้างช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงปัญหาเรื่องน้ำหนักของรุ่นอี175-อี2
รุ่น
[แก้]อี175-อี2
[แก้]เอ็มบราเออร์ อี175-อี2 (อีเอ็มบี 190-500) เป็นรุ่นที่เล็กที่สุดของตระกูล โดยมีขนาดยาวขึ้นจากรุ่นอี175 เดิม 60 เซนติเมตร (24 นิ้ว) เพิ่มแถวที่นั่งหนึ่งแถวและเพิ่มความจุสูงสุดเป็น 90 คน โดยในปี 2013 เครื่องบินคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 46.8 ล้านเหรียญ[4]
ถึงแม้รุ่นอี175 เดิมจะมีการใช้งานมากในสายการบินระดับภูมิภาคสัญชาติสหรัฐ แต่ด้วยน้ำหนักที่มากขึ้นของรุ่นอี175-อี2 นี้ ส่งผลให้คำสั่งซื้อน้อยลง เพราะข้อตกลงเงื่อนไขขอบเขตระหว่างสายการบินหลักและสหภาพนักบินที่ไม่อนุญาตให้สายการบินทำสัญญากับสายการบินระดับภูมิภาคในการให้บริการเครื่องบินที่มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเกิน 39,000 กิโลกรัม (86,000 ปอนด์) เครื่องบินอี175-E2 ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ 5,400 กิโลกรัม (12,000 ปอนด์) จากเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่หนักกว่า[5][6]
เครื่องบินอี175-อี2 ลำต้นแบบลำแรกทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2019 โดยทำการบิน 2 ชั่วโมง 18 นาที เป็นการเริ่มต้นโครงการทดสอบเพื่อรับการรับรองซึ่งจะใช้เวลา 24 เดือนและจะมีการใช้เครื่องบินทดสอบเพิ่มเติมสองลำ[7] ในเวลานั้นเอ็มบราเออร์กล่าวว่าทางผู้ผลิตเชื่อว่าจะมีความต้องการเครื่องบินรุ่นนี้นอกทวีปอเมริกาเหนืออย่างมาก[7] แต่ข้อมูลเมื่อ 2023[update] เอ็มบราเออร์ยังคงไม่ได้รับคำสั่งซื้อใดๆ ในรุ่นนี้
คำสั่งซื้อแรกเดิมจะมีกำหนดส่งมอบในปี 2021[6] แต่มีการเลื่อนการพัฒนาซ้ำแล้วซ้ำเล่า และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 เอ็มบราเออร์ได้ประกาศว่าจะหยุดพัฒนาเครื่องบินรุ่นอี175-อี2 เป็นเวลาสามปี โดยคาดว่าจะเริ่มส่งมอบได้ระหว่างปี 2027 ถึง 2028[8]
อี190-อี2
[แก้]เอ็มบราเออร์ อี190-อี2 (อีเอ็มบี 190-300) เป็นรุ่นแรกของตระกูลที่ถูกผลิตและวางตลาด โดยมีขนาดใกล้เคียงกับรุ่นอี190 เดิม เพียงแต่มีปีกที่กว้างกว่าถึง 5 เมตร (16 ฟุต) โดยมีความจุผู้โดยสารสูงสุด 114 ที่นั่งในการจัดเรียงแบบหนึ่งชั้นโดยสาร[9][10][11][12] รุ่นนี้ได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ในรุ่นนี้จะมีการใช้เครื่องยนต์พีดับเบิลยู1900จี ที่มีแรงผลักดัน 98 กิโลนิวตัน (22,000 ปอนด์ฟอร์ซ) ใบพัดขนาด 190 ซม. (73 นิ้ว) และมีอัตราส่วนบายพาส 12:1 อี190-อี2 มีปีกอะลูมิเนียมที่มีความยาวเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 33.7 เมตร (111 ฟุต) ถือเป็นเครื่องบินโดยสารที่มีอัตราส่วนความกว้างปีกสูงสุด ส่วนปีกนั้นถูกออกแบบให้เคลื่อนไปทางด้านหน้ามากขึ้นเพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงของเครื่องบิน ซึ่งจะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้ 1.5% ล้อลงจอดส่วนหัวถูกออกแบบใหม่ โดยจะใช้ระบบกันสะเทือนแบบเทรลิงอาร์มเพื่อลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลง 1% และเพิ่มความสูงของเครื่องบินขึ้น 51 ซม. (20 นิ้ว) เพื่อให้มีระยะห่างจากพื้นเพียงพอสำหรับเครื่องยนต์ใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า เอ็มบราเออร์ใช้ชิ้นส่วนใหม่บนรุ่นอี 2 เพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า 75% โดยใช้ระบบควบคุมแบบวงปิดแบบฟลายบายไวร์ แทนระบบโอเพนลูปที่ใช้ในรุ่นอี1 เดิม ซึ่งส่งผลให้มีช่วงการบำรุงรักษาที่ดีขึ้น สำหรับนักบินที่,iใบอนุญาตสำหรับการบินสำหรับรุ่นอี1 จะต้องทำการอบรมเป็นเวลา 2.5 วัน โดยไม่ต้องใช้เครื่องจำลองการบินเต็มรูปแบบ ในการที่จะทำการบินในรุ่นอี2 นี้ได้ ทั้งสองรุ่นใช้อุปกรณ์การบิน ฮันนีเวลล์ ปริมุซ อีพิก 2 ที่คล้ายกัน[13]
ในปี 2013 อี190-อี2 มีราคาต่อลำอยู่ที่ 53.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเอ็มบราเออร์ได้รับการรับรองรุ่นนี้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 ซึ่งผ่านการทดสอบภาคพื้นดิน 46,000 ชั่วโมงและระหว่างบิน 2,200 ชั่วโมง[13] เนื่องจากผลการทดสอบการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ดีเกินคาดไว้ ส่งผลให้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 เอ็มบราเออร์เพิ่มพิสัยการบินเป็น 2,880 ไมล์ทะเล (5,330 กม.) ซึ่งต่อมาบอมบาร์เดิเอร์จะใช้พิสัยของรุ่นอี2 นั้นในการพาดพิงในคำร้องการทุ่มตลาดเครื่องบินซีซีรีย์ของโบอิง เนื่องจากซีซีรีย์มีพิสัยการบินถึง 2,900 ไมล์ทะเล (5,400 กม.) ได้[14] อี190-อี2 เข้าประจำการครั้งแรกกับวีเดอเรอเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2018 โดยในปีเดียวกันนั้น อี190-อี2 หนึ่งลำมีมูลค่า 34 ล้านเหรียญ ซึ่งมากกว่ารุ่นอี190 เดิม สามล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าจะลดลง 20 ล้านเหรียญในเจ็ดปีในอัตรา 40% เปรียบเทียบกับ 30% ของเอ320นีโอในระยะเวลาเดียวกัน[15]
อี195-อี2
[แก้]เอ็มบราเออร์ อี195-อี2 (อีเอ็มบี 190-400) เป็นรุ่นที่เล็กที่สุดของตระกูล โดยมีขนาดยาวขึ้นจากรุ่นอี195 เดิม 2.85 m (9.4 ft) เพิ่มแถวที่นั่งสามแถวและเพิ่มความจุสูงสุดเป็น146 ที่นั่ง โดยในปี 2013 เครื่องบินมีมูลค่า 60.4 ล้้านเหรียญ
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 เอ็มบราเออร์ประกาศว่าบริษัทได้ตัดสินใจที่จะเพิ่มความกว้างปีกของอี195-อี2 เป็น 1.4 เมตร (4.6 ฟุต) เพื่อเพิ่มแรงยก รวมถึงเพิ่มน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดอีก 2 ตัน (4,400 ปอนด์) เพื่อเพิ่มพิสัยการบินอีก 450 ไมล์ทะเล (830 กม.) ที่ระดับน้ำทะเล และ 250 ไมล์ทะเล (460 กม.) ในสภาพอากาศร้อนและสูง[16][17] รุ่นนี้แข่งขันโดยตรงกับแอร์บัส เอ220-300[18] โดยที่มีราคาต่อหน่วยน้อยกว่า นอกจากนี้แล้ว เอ็มบราเออร์ยังอ้างว่าต้นทุนการเดินทางของอี195-อี2 นั้นต่ำกว่าแอร์บัส เอ320นีโอที่มีความจุ 154 ที่นั่งถึง 22% และต่ำกว่าโบอิง 737 แมกซ์ 8 ที่มีความจุ 160 ที่นั่งถึง 24% แต่สายการบินต่างๆ ต่างก็เลือกที่จะติดตั้งที่นั่งเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนต่อที่นั่งเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เอ็มบราเออร์ระบุซึ่งอยู่ที่ 6% และ 8% ตามลำดับ
เอ็มบราเออร์เปิดตัวรุ่นอี195-อี2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2017 และยืนยันว่าอาซูลจะเป็นลูกค้าเปิดตัวของรุ่น[19] รุ่นนี้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2017 ก่อนหน้ากำหนดเดิมครึ่งปี[20] เอ็มบราเออร์ได้จัดแสดงเครื่องบินลำต้นแบบดังกล่าวในงานปารีสแอร์โชว์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 และวางแผนให้เริ่มให้บริการภายในครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. 2019[21] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 ผลการทดสอบการบินแสดงให้เห็นว่า อี195-อี2 อาจจะมีคุณสมบัติสูงกว่าข้อกำหนดเล็กน้อย[22] โดยได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2019 โดยมีอัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงลดลง 1.4% จากที่กำหนดไว้เดิม หรือลดลง 25.4% ต่อที่นั่งเมื่อเทียบกับอี195 รุ่นก่อนหน้า[23] บินเตอร์กานาเรียสเป็นลูกค้าเปิดตัวในยุโรป โดยได้รับมอบในช่วงปลายปี 2019[24]
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2019 เอ็มบราเออร์ได้ส่งมอบเครื่องบินอี195-อี2 ลำแรกให้กับอาซูลผ่านทางบริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบินอย่าง AerCap โดยเครื่องบินรุ่นนี้มีที่นั่ง 136 ที่นั่งในชั้นโดยสารเดียว[25] ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 อี195-อี2 ได้ทำการลงจอดที่ท่าอากาศยานลอนดอนซิตีเป็นครั้งแรก[26] รุ่นนี้ได้รับการรับรอง EASA ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023[27] เป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ที่สุดที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการจากท่าอากาศยานขนาดเล็กได้[ต้องการอ้างอิง]
ผู้ให้บริการ
[แก้]ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 มีเอ็มบราเออร์ อีเจ็ต อี2 ทั้งหมด 126 ลำให้บริการกับ 14 สายการบิน โดยผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ พอร์เตอร์แอร์ไลน์ (38) อาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์ (23) และเคแอลเอ็มซิตีฮอปเปอร์ (18)[28][29]
รายชื่อผู้ให้บริการ
[แก้]ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 มีผู้ให้บริการเครื่องบินตระกูลเอ็มบราเออร์ อีเจ็ต อี2 ดังนี้:[30]
สายการบิน | อี175-อี2 | อี190-อี2 | อี195-อี2 | รวม |
---|---|---|---|---|
แอร์อัสตานา | — | 3 | — | 3 |
แอร์พีซ | — | — | 5 | 5 |
อาซูลบราซิลเลียนแอร์ไลน์ | — | — | 23 | 23 |
บินเตอร์กานาเรียส | — | — | 10 | 10 |
เฮลเวติกแอร์เวย์ | — | 8 | 4 | 12 |
เคแอลเอ็มซิตีฮอปเปอร์ | — | — | 18 | 18 |
ลอตโปลิชแอร์ไลน์ | — | — | 1 | 1 |
ไพออแนร์ออสเตรเลีย | — | 1 | — | 1 |
ปลาการ์ลีญัสอาแอเรียส | — | 1 | — | 1 |
พอร์เตอร์แอร์ไลน์ | — | — | 38 | 38 |
รอยัลจอร์แดเนียนแอร์ไลน์ | — | 2 | 2 | 4 |
สายการบินสกู๊ต | — | 2 | — | 2 |
ทูอีฟลายเบลเยียม | — | — | 3 | 3 |
วีเดอเรอ | — | 3 | — | 3 |
รวม | — | 20 | 107 | 127 |
คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
[แก้]รุ่น | คำสั่งซื้อ | การส่งมอบ | ยอดค้างส่งมอบ |
---|---|---|---|
อี175-อี2 | — | — | — |
อี190-อี2 | 44 | 21 | 20 |
อี195-อี2 | 302 | 93 | 189 |
รวม | 343 | 114 | 209 |
อ้างอิง: สมุดคำสั่งซื้อของเอ็มบราเออร์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2024[31]
2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | 2023 | 2024 | รวม | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การส่งมอบ | 4 | 14 | 11 | 21 | 19 | 39 | 6 | 114 |
อ้างอิง: สมุดคำสั่งซื้อของเอ็มบราเออร์เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2024[32]
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]รุ่น | อี175-อี2[35] | อี190-อี2[36] | อี195-อี2[37] |
---|---|---|---|
นักบิน | สองคน | ||
ความจุผู้โดยสารทั่วไป | 80 (12J + 68Y) | 97 (9J + 88Y) | 120 (12J + 108Y) |
ความจุผู้โดยสารสูงสุด | 90 | 114 | 146 |
ความกว้างที่นั่ง | 46 เซนติเมตร (18.3 นิ้ว)[38] | ||
ความยาว | 32.40 เมตร (106 ฟุต 4 นิ้ว) | 36.25 m (118 ft 11 in) | 41.51 เมตร (136 ฟุต 2 นิ้ว) |
ความสูง | 9.98 เมตร (32 ฟุต 9 นิ้ว) | 10.96 เมตร (35 ฟุต 11 นิ้ว) | 10.91 เมตร (35 ฟุต 10 นิ้ว) |
ความกว้างปีก | 31.39 เมตร (103 ฟุต 0 นิ้ว) | 33.72 เมตร (110 ฟุต 8 นิ้ว) | 35.12 เมตร (115 ฟุต 3 นิ้ว) |
พื้นที่ปีก | 82 ตารางเมตร (880 ตารางฟุต) | 103 ตารางเมตร (1,110 ตารางฟุต) | |
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 44,600 กิโลกรัม (98,300 ปอนด์) | 56,400 กิโลกรัม (124,300 ปอนด์) | 62,500 กิโลกรัม (137,800 ปอนด์)[39] |
น้ำหนักการบินเครื่องเปล่า | 33,000 กิโลกรัม (73,000 ปอนด์) | 35,700 กิโลกรัม (78,705 ปอนด์) | |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด | 10,600 กิโลกรัม (23,400 ปอนด์) | 13,500 กิโลกรัม (29,800 ปอนด์) | 16,150 กิโลกรัม (35,600 ปอนด์) |
ความจุเชื้อเพลิง | 8,522 กิโลกรัม (18,788 ปอนด์) | 13,690 กิโลกรัม (30,180 ปอนด์) | |
ระยะการขึ้นบิน | 1,730 เมตร (5,680 ฟุต) | 1,615 เมตร (5,299 ฟุต) | 1,840 เมตร (6,040 ฟุต) |
ระยะการลงจอด | 1,300 เมตร (4,300 ฟุต) | 1,215 เมตร (3,986 ฟุต) | 1,290 เมตร (4,230 ฟุต) |
ความเร็วสูงสุด | มัค 0.82 (542 นอต; 1,005 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 624 ไมล์ต่อชั่วโมง) ที่ 35,000 ฟุต (11,000 เมตร) | ||
ความเร็วขณะบิน | มัค 0.78 (516 นอต; 956 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 594 ไมล์ต่อชั่วโมง) ที่ 35,000 ฟุต (11,000 เมตร) | ||
พิสัยการบิน | 2,000 ไมล์ทะเล (3,700 กิโลเมตร; 2,300 ไมล์) | 2,850 ไมล์ทะเล (5,280 กิโลเมตร; 3,280 ไมล์) | 3,000 ไมล์ทะเล (5,600 กิโลเมตร; 3,500 ไมล์)[39] |
เพดานบิน | 12,000 m (41,000 ft) | ||
เครื่องยนต์ (2×) | แพตต์แอนด์วิตนีย์ พีดับเบิลยู1700จี | แพตต์แอนด์วิตนีย์ พีดับเบิลยู1900จี | |
เส้นผ่านศูนย์กลางใบพัด | 140 เซนติเมตร (56 นิ้ว) | 190 เซนติเมตร (73 นิ้ว) | |
แรงผลักดัน (2×) | 67 กิโลนิวตัน (15,000 pound-force) | 85–102 กิโลนิวตัน (19,000–23,000 pound-force) |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Orders and Deliveries Embraer". 3 August 2023. สืบค้นเมื่อ 15 July 2024.
- ↑ "Norway's Widerøe completes first revenue flight of an Embraer E190-E2" (Press release). Embraer. 24 April 2018.
- ↑ Yeo, Ghim-Lay (24 May 2016). "Embraer completes first flight of E-Jet E2". Washington DC: Flightglobal.
- ↑ Baldwin, Mary-Anne (11 August 2013). "The E2: Embraer's next generation of EJets". Airline Fleet Management. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ Trimble, Stephen (2 December 2016). "Scope clause freeze pushes E175-E2 back to 2021". Flight Global.
- ↑ 6.0 6.1 Wolfsteller, Pilar (29 April 2021). "Embraer delays E175-E2 service entry one year". Flightglobal.
- ↑ 7.0 7.1 Hemmerdinger, Jon (12 December 2019). "Embraer's first E175-E2 takes to the skies in Sao Jose dos Campos". Flightglobal.
- ↑ "Embraer E175-E2 further delayed until 2027". AirInsightGroup. 19 February 2022.
- ↑ Embraer ERJ 190-300 is commercially named as "EMBRAER 190-E2" or “E190-E2” From https://www.aviation.govt.nz/assets/aircraft/type-acceptance-reports/embraer-erj-190-series.pdf
- ↑ https://www.flyembraer.com/irj/go/km/docs/download_center/Anonymous/Ergonomia/Home%20Page/Documents/APM_E-JetsE2.PDF เก็บถาวร 2018-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [bare URL PDF]
- ↑ https://www.embraercommercialaviation.com/wp-content/uploads/2017/02/APM_E190.pdf [ลิงก์เสีย]
- ↑ "E190-E2 Commercial Jet".
- ↑ 13.0 13.1 Wuerfel, Tim (7 March 2018). "Embraer's E2 Advances E-Jet Without Sacrificing Commonality". Aviation Week & Space Technology.
- ↑ Lampert, Allison (23 January 2018). "Bombardier seeks to enmesh Embraer in trade spat before ruling". Reuters.
- ↑ "Disappointing E2 Orders Could Impact Residual Values". Aircraft Value News. 10 December 2018.
- ↑ Trimble, Stephen (24 February 2016). "Embraer announces design revamp of E195-E2". Flightglobal.
- ↑ "EJet-E2 ranged upped by 450nm". Leeham News. 24 February 2016.
- ↑ "Embraer challenges Bombardier's CSeries with orders for second generation E-Jets". CAPA - Centre for Aviation. 28 June 2013.
- ↑ Karp, Aaron (9 March 2017). "Embraer E195-E2 to enter service in 2019 with Azul". Air Transport World. Aviation Week.
- ↑ Karp, Aaron (29 March 2017). "Embraer E195-E2 achieves first flight ahead of schedule". Air transport World. Aviation Week.
- ↑ "Embraer brings E195-E2 flight test forward". Flightglobal. 7 March 2017.
- ↑ Flottau, Jens; Bruno, Michael (25 January 2019). "Embraer Hopes For E2 Sales Surge In 2019". Aviation Week & Space Technology.
- ↑ Hemmerdinger, Jon (15 April 2019). "Embraer's E195-E2 receives type certification". Flightglobal.
- ↑ "Spain's Binter Canarias takes first E195-E2", ch-aviation, 25 November 2019
- ↑ "Embraer Delivers its First E195-E2 to AerCap and Azul" (Press release). Embraer. 12 September 2019.
- ↑ "Embraer E195-E2 Becomes the Largest Airliner to Touch Down at London City". airwaysmag.com. 23 July 2022.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (10 November 2023). "E195-E2 secures steep-approach clearance for London City airport". Flightglobal.
- ↑ "Backlog & Deliveries 1Q24". Embraer. 19 April 2024. สืบค้นเมื่อ 20 April 2024.
- ↑ "Embraer E2 Production List". Planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 20 April 2024.
- ↑ "Embraer E2 Operators". www.planespotters.net.
- ↑ "Backlog & Deliveries 1Q24". Embraer. 19 April 2024. สืบค้นเมื่อ 3 June 2024.
- ↑ "Embraer E2 Production List". Planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 20 April 2024.
- ↑ "E-Jets E2 Folder" (PDF). Embraer. 13 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 14 June 2018.
- ↑ "E-Jets E2 Airport Planning Manual" (PDF). Embraer. 11 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2024-08-09.
- ↑ "E175-E2". embraer.com. April 2024.
- ↑ "E190-E2". embraer.com. April 2024.
- ↑ "E195-E2". embraer.com. April 2024.
- ↑ "The Single Aisle Cabin War Reaches its Climax". Airways International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2020. สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.
- ↑ 39.0 39.1 "Embraer Reveals Upgrades Across its Commercial E-Jet Range". embraer.com. 23 July 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- "An Ingenious Plane Design That Makes Room for Your Carry-Ons". ไวร์ด. 29 July 2014.
- "E-Jets E2 Airport Planning Manual" (PDF). เอ็มบราเออร์. 11 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2024-08-09.
- All articles with bare URLs for citations
- Articles with bare URLs for citationsตั้งแต่March 2022
- Articles with PDF format bare URLs for citations
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่February 2022
- บทความที่มีข้อความที่อาจล้าสมัยตั้งแต่ 2023
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่November 2023
- เอ็มบราเออร์ อีเจ็ต อี2
- อากาศยานเชิงพาณิชย์
- เครื่องบินเอ็มบราเออร์
- อากาศยานสัญชาติบราซิล
- อากาศยานที่บินครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559
- อากาศยานสองเครื่องยนต์