เอี่ยม ทองใจสด
เอี่ยม ทองใจสด | |
---|---|
เอี่ยม ใน พ.ศ. 2563 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ ชาติไทย ความหวังใหม่ ไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | กนกนุช ทองใจสด |
เอี่ยม ทองใจสด (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2484) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 10 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ
[แก้]เอี่ยม ทองใจสด เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เป็นบุตรของนายเอี่ยมแท้ง และนางริ้ง ทองใจสด มีพี่น้อง 10 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สมรสกับนางกนกนุช ทองใจสด มีบุตร 5 คน อาทิ นายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ คนปัจจุบัน และนางสาวเทียนทอง ทองใจสด ส.อบจ.เพชรบูรณ์
งานการเมือง
[แก้]อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ 2 สมัย (พ.ศ. 2523 - 2528) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยที่เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม 10 มกรา และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมาทุกครั้ง ในสังกัดพรรคชาติไทย และพรรคความหวังใหม่ตามลำดับ ยกเว้นปี พ.ศ. 2544 ลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย พ่ายให้กับนายแก้ว บัวสุวรรณ จากพรรคความหวังใหม่
เอี่ยม เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[1]
เมื่อปี พ.ศ. 2552 ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กรีดรถนักข่าวภายในอาคารจอดรถของสวนสัตว์ดุสิต ตรงข้ามอาคารรัฐสภา แต่เจ้าตัวปฏิเสธ[2]
ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 9 ก่อนที่จะย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในปี พ.ศ. 2562 พร้อมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนมากที่มีนายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นแกนนำ และได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัย ที่ 10
ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2566 ได้ประกาศวางมือทางการเมือง เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น จึงส่งไม้ต่อยังนายอัคร ทองใจสด ส.อบจ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นหลานชายของตน และบุตรชายของนายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ ในเขตเลือกตั้งของตน ซึ่งก็ได้รับเลือกเช่นกัน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เอี่ยม ทองใจสด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 10 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์
- ↑ "เอี่ยม ทองใจสด"รับเครียดกลายเป็นผู้ต้องสงสัยกรีดรถนักข่าว-ขรก.ในที่จอดรถรัฐสภา ยันไม่ได้ทำ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายเอี่ยม ทองใจสด เก็บถาวร 2018-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเอี่ยม ทองใจสด[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายเอี่ยม ทองใจสด), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2484
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดเพชรบูรณ์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคชาติไทย
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.