ข้ามไปเนื้อหา

เอสพี ศุภมิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสพี ศุภมิตร
บริษัทแม่บีอีซีเวิลด์
ก่อตั้ง2532 (2532)
ผู้ก่อตั้งประชา มาลีนนท์
ปิดกิจการ2537 (2537)
จัดจำหน่าย
  • ออนป้า
  • จีพีซี แมกเนท
ประเทศต้นกำเนิดประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร

เอสพี ศุภมิตร [note 1] เป็นค่ายเพลงในอดีตของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532 โดย นายกองเอก ประชา มาลีนนท์ มี เจริญ เอี่ยมพึ่งพร และ กิตติ โรจน์ชลาสิทธิ์ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนในระยะแรก บริหารงานโดย คุณจิรเดช ชินสุวพลา และ ไบรอันลินด์เซ มาร์การ์[1] โดยเป็นค่ายเพลงที่รวบรวมคนเบื้องหลังและคนเบื้องหน้าที่มีความสามารถ รวมทั้งดารานักแสดงในสังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่เข้าหาโอกาสทางด้านเสียงเพลงออกสู่ท้องตลาด ได้ชื่อว่าเป็น ค่ายเพลงในเครือสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ จึงทำให้การโปรโมทผลงานเพลงของบริษัทออกอากาศทางช่อง 3 เป็นหลัก และทางช่องอื่นได้เป็นบางรายการ

นักร้องคนแรกของค่าย

โดยศิลปินเบอร์แรก คือ อภิญญา มาลีนนท์ (ต้อม) ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ในขณะนั้น

เริ่มแรก เอสพีฯ ได้ให้ ออนป้า เป็นผู้จัดจำหน่าย แต่ด้านหลังของกล่องเทปสลักโลโก้ของเอสพีฯ เพื่อสร้างความจดจำแก่ผู้บริโภค แต่ในปลายปี พ.ศ. 2534 ได้เปิดบริษัท จีพีซี แมกเนท รับผลิตและจัดจำหน่ายเทปเพลงของศิลปินหลากหลายแนวเพลงควบคู่กัน โดยเริ่มด้วยเทปเพลงของ ปวีณา ชารีฟสกุล ซึ่งย้ายจากครีเอเทียแล้วมาเซ็นสัญญากับช่อง 3 จนค่ายเอสพีฯ ปิดตัวลงในกลางปี พ.ศ. 2537 อาจเนื่องมาจากปัญหาการบริหารดำเนินงานไม่เป็นที่น่าพอใจ

รายชื่อศิลปิน[แก้]

นก จริยา นักร้องที่เรียกความฮือฮาอย่างมากของค่ายในระยะแรก

โปรดิวเซอร์[แก้]

หลังการปิดค่ายเอสพี ศุภมิตร[แก้]

ค่ายเพลงใหม่ของไบรอันลินด์เซ มาร์การ์[แก้]

หลังจากการปิดค่าย เอสพี ศุภมิตร ไบรอันลินด์เซ มาร์การ์ หนึ่งในผู้บริหารของเอสพี ศุภมิตร ได้ก่อตั้ง บริษัท เวิลด์มีเดียซัพพลายส์ จำกัด และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ก่อตั้งค่าย เทโร เรคคอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้ร่วมทุนกับบีอีซีเวิลด์ของช่อง 3 เปลี่ยนชื่อเป็น บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้เทโร เรคคอร์ด กลายเป็นค่ายเพลงส่วนหนึ่งของช่อง 3 ไปโดยปริยาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสากลเมื่อ โซนี่ มิวสิค ไทยแลนด์ ได้ร่วมทุน และควบรวมเปลี่ยนชื่อเป็น โซนี่ มิวสิค & บีอีซี-เทโร ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 บีอีซี เทโร ได้ถอนหุ้นไปในช่วงหนึ่ง โดย โซนี่ มิวสิค ได้ควบกับ บีเอ็มจี กลายเป็น โซนี่ บีเอ็มจี ก่อนที่ บีเอ็มจี จะล้มละลายไป จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และในปี พ.ศ. 2556 บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ได้ทำการควบรวมกับ โซนี่มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ อีกครั้ง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บีอีซี-เทโร มิวสิค ก่อนที่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 กลุ่มบีอีซีเวิลด์จะขายหุ้นในบีอีซี-เทโร กลับไปให้ไบรอันลินด์เซ มาร์การ์ ทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็น เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ส่งผลให้ค่ายเพลงในเครือซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทโร มิวสิค ในคราวเดียวกัน พ้นจากการเป็นค่ายเพลงในเครือช่อง 3 ไปโดยปริยาย

ศิลปินคนแรกของค่ายเทโรก่อนที่จะควบรวมทั้งสองช่วงคือ วรรธนา วีรยวรรธน ต่อมามีศิลปินที่เคยทำงานเบื้องหลังและศิลปินที่มีชื่อเสียงเช่น เชษฐา ยารสเอก, มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร, รามจิตติ หงสกุล, วงซับใน (ดุสิตา อนุชิตชาญชัย เป็นนักร้องนำ), จิรศักดิ์ ปานพุ่ม, เทเรซ่า อาร์กีล่า, ธนะยศ จิวานนท์ (ออดี้), ทาทา ยัง, ฝันดี-ฝันเด่น, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, ศุ บุญเลี้ยง, ฤทธิพร อินสว่าง, ไกรภพ จันทร์ดี, ป้อม ออโต้บาห์น, สุนารี ราชสีมา, ปราโมทย์ วิเลปะนะ, ธรากร สุขสมเลิศ, แอนนี่ บรู๊ค, สล็อตแมชชีน ฯลฯ

ค่ายเพลงใหม่ของช่อง 3[แก้]

ส่วนช่อง 3 ได้ก่อตั้งค่ายเพลงเฉพาะในส่วนเพลงประกอบละคร ต่อมากลายเป็นค่ายเพลงเต็มรูปแบบ โดยใช้ชื่อว่า แชนเดอเลียร์มิวสิก ในปี พ.ศ. 2557[2] โดยมี ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ จากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ดูแลการผลิตและนั่งแท่นบริหาร นับเป็นการก่อตั้งค่ายเพลงครั้งที่ 2 ในรอบ 19 ปีของช่อง 3 โดยศิลปินเบอร์แรกของค่ายแชนเดอร์เลียร์คือ พีค กองทัพ หรือชื่อในวงการคือ กองทัพ พีค บุตรชายของนักแสดงรุ่นใหญ่ ปราบ ยุทธพิชัย

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2567 ปิ่นกมล มาลีนนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของกลุ่มบีอีซีเวิลด์ ได้แยกการดำเนินงานเพลงเชิงธุรกิจออกจากค่ายแชนเดอเลียร์มิวสิก มาจัดตั้งเป็นค่ายเพลงใหม่ และบริหารงานในลักษณะคล้ายกับเอสพี ศุภมิตรในอดีต ชื่อว่า บีอีซี มิวสิค โดยนำนักแสดงช่อง 3 มาพัฒนาเป็นศิลปิน ทำให้ค่ายแชนเดอเลียร์มิวสิกลดบทบาทกลับไปทำเพลงประกอบละครให้กับช่อง 3 เช่นเดิม

ส่วนเกี่ยวข้อง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. บ้างก็เขียนชื่อเป็น เอส.พี. ศุภมิตร

แรกชื่อ เอส.พี.ศุภมิต ไม่มีร.เรือ ต่อมาเข้าปีที่สอง พระอาจารย์ที่คุณประชา มาลีนนท์ ( ผู้ก่อตั้ง ) นับถือ ได้อนุญาตให้เพิ่มร.เรือเข้าไปจึงเป็น เอส.พี.ศุภมิตร

อ้างอิง[แก้]

  1. นิตยสาร กรุงเทพฯ 30 ปีที่ 3 ฉบับที่ 31 พฤษภาคม 2532 : หน้า 82
  2. 'แชงเกอเลียฯ'ค่ายเพลงช่อง3