ข้ามไปเนื้อหา

เอลิซาเบธ โฮล์ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอลิซาเบธ โฮล์ม
โฮล์มในงานTechCrunch Disruptที่ซานฟรานซิสโก, ค.ศ. 2014
เกิดเอลิซาเบธ แอนน์ โฮล์ม
(1984-02-03) 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 (40 ปี)
วอชิงตันดีซี สหรัฐ
สัญชาติอเมริกัน
การศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (ยังไม่ได้รับปริญญา)
อาชีพผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัปสุขภาพ-เทคโนโลยี
ปีปฏิบัติงาน2003–2018
ตำแหน่งผู้ก่อตั้งและอดีตประธานกรรมการบริหารบริษัทเธราโนส
คู่สมรสบิลลี อีแวนส์ (สมรส 2019)
คู่รักราเมศ บัลวานี (ค.ศ. 2003–2016)
บุตร1

เอลิซาเบธ แอนน์ โฮล์ม (อังกฤษ: Elizabeth Anne Holmes; เกิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984) เป็นอดีตนักธุรกิจหญิงชาวอเมริกันที่เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงของเธราโนส บริษัทเทคโนโลยีสุขภาพที่ถูกยุบแล้ว โดยมีการประเมินมูลค่าเธราโนสพุ่งสูงขึ้นหลังบริษัทอ้างว่าได้ทำการปฏิวัติการตรวจเลือดผ่านการทดสอบที่ใช้เลือดเพียงน้อยนิด เช่นเลือดเจาะจากปลายนิ้ว[1][2] ใน ค.ศ. 2015, ฟอบส์ยกให้โฮล์มเป็นเศรษฐีนีที่เด็กสุดและร่ำรวยที่สุดในสหรัฐจากมูลค่าบริษัทของเธอที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] ในปีถัดมา หลังการพบการฉ้อโกงที่อาจเป็นไปได้ในข้ออ้างของบริษัท ฟอบส์ จึงแก้ไขมูลค่าสินทรัพย์สุทธิโดยประมาณของโฮล์มไปเป็นศูนย์[4] และฟอร์ชูนยกให้เธอเป็นหนึ่งใน"ผู้นำที่น่าผิดหวังที่สุดในโลก"[5]

จุดเสื่อมถอยของเธราโนสเริ่มต้นใน ค.ศ. 2015 เมื่อชุดการสอบสวนด้านวารสารศาสตร์และกฎระเบียบเปิดเผยข้อสงสัยเกี่ยวกับข้ออ้างทางเทคโนโลยีของบริษัท และไม่ว่าโฮล์มส์จะหลอกนักลงทุนและรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม ใน ค.ศ. 2018 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐได้ตั้งข้อหาเธราโนสกับโฮล์มว่าหลอกลวงนักลงทุนผ่าน"การฉ้อโกงครั้งใหญ่"ด้วยข้ออ้างอันเป็นเท็จหรือเกินจริงเกี่ยวกับความถูกต้องของเทคโนโลนีตรวจเลือดของบริษัท โดยโฮล์มต้องจ่ายค่าปรับ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ คืนหุ้นของบริษัท 18.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปลดเธอจากการควบคุมบริษัท และห้ามดำรงตำแหน่งข้าราชการหรือผู้อำนวยการของบริษัทสาธารณะเป็นเวลา 10 ปี[6]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 คณะลูกขุนของรัฐบาลกลางฟ้องโฮล์มและราเมศ บัลวานี อดีตประธานฝ่ายปฏิบัติการเธราโนสต่อเก้าศาลในข้อหาการฉ้อโกงทางสาย และสองศาลในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกงทางสายเพื่อจำหน่ายผลตรวจเลือดที่มีผลเป็นเท็จแก่ผู้บริโภค[7][8] คดี สหรัฐ ปะทะ โฮล์ม และอื่น ๆ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2021[9] ซึ่งจะใช้เวลาถึง 13 สัปดาห์หรือมากกว่า ถ้ามีความผิดจริง จะทำให้โฮล์มถูกจำคุกในเรือนจำกลางสูงถึง 20 ปี และอาจชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ

อาชีพ จุดรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของบริษัท และผลกระทบที่ตามมาของโฮล์มถูกกล่าวถึงในหนังสือเลือดชั่ว: เรื่องลับและคำลวงเบื้องหลังบริษัทดาวรุ่งแห่งซิลิคอนแวลลีย์โดยจอห์น แคร์รีรู ผู้สื่อข่าวจากเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล และภาพยนตร์สารคดีThe Inventor: Out for Blood in Silicon ValleyของHBO

อ้างอิง

[แก้]
  1. Levine, Matt (March 14, 2018). "The Blood Unicorn Theranos Was Just a Fairy Tale". Bloomberg View. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2018. สืบค้นเมื่อ March 14, 2018.
  2. Abelson, Reed (April 24, 2016). "Theranos's Fate Rests With a Founder Who Answers Only to Herself". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2018. สืบค้นเมื่อ April 30, 2016.
  3. "Forbes Announces Inaugural List Of America's 50 Richest Self-Made Women". Forbes. May 27, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2018. สืบค้นเมื่อ September 8, 2018.
  4. Herper, Matthew (June 1, 2016). "From $4.5 Billion To Nothing: Forbes Revises Estimated Net Worth Of Theranos Founder Elizabeth Holmes". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.
  5. "The World's 19 Most Disappointing Leaders". Fortune. March 30, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2016. สืบค้นเมื่อ December 2, 2016.
  6. "SEC.gov | Theranos, CEO Holmes, and Former President Balwani Charged With Massive Fraud". www.sec.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.
  7. Johnson, Carolyn Y. (June 15, 2018). "Elizabeth Holmes, founder of blood-testing company Theranos, indicted on wire fraud charges". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2019. สืบค้นเมื่อ June 16, 2018.
  8. "Theranos founder Elizabeth Holmes steps down as CEO". Reuters. June 15, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2019. สืบค้นเมื่อ June 16, 2018.
  9. "Theranos founder Elizabeth Holmes 'lied and cheated', trial hears". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-09-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]