ข้ามไปเนื้อหา

วอชิงตัน ดี.ซี.

พิกัด: 38°54′17″N 77°00′59″W / 38.90472°N 77.01639°W / 38.90472; -77.01639 (District of Columbia)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วอชิงตันดีซี)
วอชิงตัน ดี.ซี.

Washington, D.C.
เขตโคลัมเบีย
District of Columbia
ตามเข็มนาฬิกาจากบนขวา: อาคารรัฐสภาสหรัฐ, อนุสาวรีย์วอชิงตัน, ทำเนียบขาว, สถาบันสมิธโซเนียน, อนุสรณ์สถานลินคอล์น และอาสนวิหารแห่งชาติวอชิงตัน
ธงของวอชิงตัน ดี.ซี.
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของวอชิงตัน ดี.ซี.
ตรา
คำขวัญ: 
Justitia Omnibus   ("ยุติธรรมแก่ทุกคน")
ที่ตั้งของวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนีย
ที่ตั้งของวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนีย
พิกัด: 38°54′17″N 77°00′59″W / 38.90472°N 77.01639°W / 38.90472; -77.01639 (District of Columbia)
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
สถาปนา16 กรกฎาคม ค.ศ. 1790
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีMuriel Bowser (D)
 • ประธานสภาเมืองPhil Mendelson
พื้นที่
 • เมืองหลวงสหพันธ์และเขตสหพันธ์177.0 ตร.กม. (68.3 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน159.0 ตร.กม. (61.4 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ18.0 ตร.กม. (6.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2012)[1]
 • เมืองหลวงสหพันธ์และเขตสหพันธ์632,323 คน
 • ความหนาแน่น3,977 คน/ตร.กม. (10,298 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล5.3 ล้าน คน
เขตเวลาUTC−5 (EST)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−4 (EDT)
เว็บไซต์www.dc.gov

วอชิงตัน ดี.ซี. (อังกฤษ: Washington, D.C.)[2] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตโคลัมเบีย (อังกฤษ: District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า วอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี. (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ[3] วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน[4] โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมาก อาทิ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น[5] กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน[6][7]

การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 มีเนื้อหาสาระสำคัญในการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย กล่าวคือ อนุมัติการจัดตั้งเขตการปกครองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโปโตแมคบนชายฝั่งตะวันออกของประเทศ โดยรัฐธรรมนูญสหรัฐได้ให้ไว้สำหรับเขตปกครองของรัฐบาลกลาง ภายใต้เขตอำนาจศาลของรัฐสภา และเขตไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐใด สำหรับเขตที่ดินของรัฐบาลกลางในรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นรัฐข้างเคียงของเขตปกครองพิเศษโคลัมเบียนั้น เป็นที่ดินของประชาชนที่บริจาคเพื่อจัดตั้งเป็นเขตการปกครองของรัฐบาลกลาง ซึ่งรวมถึงการตั้งถิ่นฐานที่มีอยู่ก่อนหน้าของจอร์จทาวน์และอเล็กซานเดรีย เมืองวอชิงตันเริ่มทำการก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2334 เพื่อเป็นที่ตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ของสหรัฐ

วอชิงตัน ดี.ซี. มีประชากรประมาณ 693,972 คน (ข้อมูลเมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2560) โดยผู้เดินทางจากรัฐแมริแลนด์และรัฐเวอร์จิเนียจะเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองมากขึ้นถึงหนึ่งล้านคนในระหว่างวันทำงาน พื้นที่มหานครวอชิงตันซึ่งเป็นเมืองสำคัญของเมืองมีประชากรมากกว่า 6 ล้านคนซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่หกในประเทศ

ทั้งสามอำนาจของรัฐบาลกลางสหรัฐมีศูนย์กลางอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทั้งรัฐสภาสหรัฐ (อำนาจนิติบัญญัติ) ประธานาธิบดี (อำนาจบริหาร) และศาลสูงสุดสหรัฐ (อำนาจตุลาการ) วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ชาติหลายแห่ง ที่ตั้งอยู่เป็นส่วนใหญ่โดยรอบเนชันแนลมอลล์ (National Mall) วอชิงตันมีสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศจำนวน 177 ประเทศ รวมทั้งที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศ สหภาพการค้า องค์กรไม่แสวงผลกำไร กลุ่มล็อบบียิสต์ และสมาคมวิชาชีพหลายแห่ง ทั้งนี้ กรุงวอชิงตันยังเป็นที่ตั้งขององค์การนานารัฐอเมริกัน, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก, ฮิวแมนไรตซ์แคมเปญ และสภากาชาดสหรัฐ

วอชิงตันเริ่มทำการจัดการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย และสภาสมาชิกเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย 13 คน ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตาม รัฐสภาสหรัฐยังคงรักษาอำนาจสูงสุดเหนือนายกเทศมนตรีเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย และสภาสมาชิกเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย 13 คน และมีสิทธิ์คว่ำกฎหมายท้องถิ่นของเขตปกครองพิเศษ และมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่ออกเสียงผู้แทนสภาในการเลือกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ เขตปกครองพิเศษไม่มีอำนาจในการเป็นตัวแทนสมาชิกวุฒิสภา และเขตปกครองพิเศษยังได้รับสิทธิพิเศษในการลงคะแนนการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ถึงสามรอบในหนึ่งครั้ง จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ ครั้งที่ 23 เมื่อ พ.ศ. 2504

ประวัติ

[แก้]

ดูเพิ่มได้ที่ ประวัติกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และ เหตุการณ์ต่าง ๆ ของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ภูมิประเทศ

[แก้]

ดูเพิ่มได้ที่ ภูมิประเทศของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ตั้งอยู่ในภูมิภาคกลางมหาสมุทรแอตแลนติกของชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ

ลักษณะของเมือง

[แก้]

ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อถนนและทางหลวงในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.; รายชื่อเขตในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.; รายชื่อตึกที่มีความสูงที่สุดในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ผังเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งออกแบบโดยปีแอร์ ชารล์ส ลา เอนแฟนท์ สถาปนิกผู้ออกแบบผังเมือง โดยผังเมืองนี้ได้มีการแก้ไข เมื่อ พ.ศ. 2335 โดยแอนดรูว์ เอลลิคอร์ท

วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองที่ได้วางแผนการก่อสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2334 โดยประธานาธิบดี จอร์จ วอชิงตัน ได้มอบหมายให้ปีแอร์ ชารล์ส ลา เอนแฟนท์ ซึ่งเป็นสถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวฝรั่งเศส ทำการออกแบบเมืองหลวงแห่งใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากอเล็กซานเดอร์ ราล์สตัน นักสำรวจรังวัดชาวสกอตแลนด์ในการจัดวางผังเมือง[8] โดยผังเมืองของเอนแฟนท์ที่ได้ออกแบบไว้ มีความโดดเด่น คือ ถนนที่แผ่กระจายออกมาจากแนวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้มีภูมิทัศน์ที่มีพื้นที่เปิดโล่ง[9] ซึ่งผังเมืองของเขากลายเป็นต้นแบบในการออกแบบผังเมืองอื่น ๆ ในภายหลัง เช่น กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์, คาร์ลสรูเออ ประเทศเยอรมนี, และมิลาน ประเทศอิตาลี เป็นต้น[10] การออกแบบของลา เอนแฟนท์ยังแสดงให้เห็นว่าถนนใหญ่ได้เรียงรายไปด้วยสวนยาวประมาณ 1 ไมล์ (1.6 กม.) และยาว 400 ฟุต (120 เมตร) ในพื้นที่ที่เป็นลานคนเมือง ซึ่งต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2335 ประธานาธิบดีวอชิงตันได้ให้ลา เอนแฟนท์พ้นจากการเป็นสถาปนิกออกแบบผังเมือง เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการสามคนที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อกำกับดูแลการก่อสร้างเมืองหลวง และได้มอบหมายให้นายแอนดรูว์ เอลลิคอร์ท ผู้ซึ่งเคยร่วมงานในการออกแบบและสำรวจผังเมืองกับลา เอนแฟนท์ ดำเนินการออกแบบผังเมืองต่อ แม้ว่า เอนแฟนทจะทำการปรับปรุงแก้ไขผังเมืองบางส่วน แต่ยังคงการวางแนวของถนน และภาพรวมของผังเมืองส่วนใหญ่ที่ลา เอนแฟนท์ได้ออกแบบไว้คงเดิม[2]

อาคารอพาร์ทเมนท์คาริโอ ซึ่งมีความสูง 12 ชั้น ซึ่งได้ทำการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2437 ได้กระตุ้นข้อจำกัดด้านความสูงของอาคารในเขตปกครองพิเศษ

ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 การก่อสร้างอาคารในเมืองหลวงตามผังเมืองที่ลา เอนแฟนท์ ที่ได้วางไว้ ได้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องด้วยการสร้างอาคารแบบสุ่มรวม รวมไปถึงการสร้างสถานีรถไฟบนลานคนเมือง รัฐสภาจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อความสวยงามของวอชิงตันโดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อผังเมืองแมคมิแลน โดยมีการจัดสวนบริเวณอาคารรัฐสภาและลานคนเมือง และรื้อถอนชุมชนแออัดรวมถึงการจัดอุทยานเมืองใหม่ ซึ่งการปรับปรุงเมืองตามผังเมืองแมคมิแลน ได้สำเร็จใน พ.ศ. 2444 ซึ่งได้ออกแบบโดยลา เอนแฟนท์ และผังเมืองฉบับนี้ก็ได้ถูกเก็บรักษาอย่างดีจนถึงปัจจุบัน[11]

รัฐบัญญัติความสูงของอาคาร พ.ศ. 2453 กำหนดให้อาคารสามารถสูงกว่าความกว้างของถนนได้ไม่เกิน 20 ฟุต (6.1 เมตร)[12] แม้จะมีความเชื่อว่า สหรัฐไม่จำกัดความสูงของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น อนุสาวรีย์วอชิงตัน ที่มีความสูงถึง 559 ฟุต (6.1 เมตร)[13] ซึ่งยังคงเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดในวอชิงตันเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งมีนักวิชาการหลายแขนงที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อจำกัดด้านความสูงของอาคารเป็นเหตุผลว่าเหตุใดเขตปกครองจึงมีที่อยู่อาศัยที่มีความสูงเกินกำหนดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกิดปัญหาการจราจรเนื่องด้วยการสร้างอาคารที่พักอาศัยสูง จากการขยายเมือง[12]

วอชิงตัน มีอาณาเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 16 กิโลเมตร โดยใจกลางของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วอชิงตัน ที่อยู่ระหว่างทำเนียบขาวและอาคารรัฐสภาสหรัฐ และได้ทำการแบ่งส่วนของเมืองเป็นสี่ส่วน ซึ่งแต่ละเขตจะมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน ได้แก่ เขตนอร์ธเวสท์วอชิงตัน เขตนอร์ธอีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์อีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์เวสท์วอชิงตัน โดยมีแกนทั้งสี่ทิศอยู่ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐ[14] ถนนทั้งหมดของเมืองจะตั้งอยู่ในรูปแบบตารางที่มีถนนตะวันออก-ตะวันตกที่มีชื่อเป็นตัวอักษร (เช่น C Street SW) ถนนทางตอนเหนือ-ใต้ที่มีตัวเลข (เช่นถนน 4th Street NW) และถนนในแนวทแยงซึ่งหลายแห่งตั้งชื่อตามรัฐต่างๆ (ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อถนนที่เป็นชื่อรัฐต่างๆ ในวอชิงตัน ดี.ซี.) [14]

สถาปัตยกรรม

[แก้]
ทำเนียบขาว เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่สถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งสหรัฐ ยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมยอดนิยมของสหรัฐเป็นอันดับที่ 2

สถาปัตยกรรมในกรุงวอชิงตัน ได้ติดอันดับถึง 6 ใน 10 ที่สถาบันสถาปนิกอเมริกันยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมยอดนิยมของสหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2550[15] อันประกอบไปด้วย ทำเนียบขาว มหาวิหารแห่งชาติวอชิงตัน อนุสรณ์สถานเจฟเฟอร์สัน อาคารรัฐสภาสหรัฐ อนุสรณ์สถานลินคอล์น และ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม ในรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก, จอร์เจีย, กอทิก และ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ซึ่งสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส เช่น อาคารที่ทำการฝ่ายบริหารเก่า[16]

ทั้งนี้ บริเวณชานเมืองของวอชิงตัน มีสถาปัตยกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบควีนแอนน์ แบบริชาร์ดโซเนียน แบบจอร์เจียน แบบวิจิตรศิลป์ แบบวิคตอเรีย เป็นต้น โดยเฉพาะรูปแบบวิคตอเรีย ที่พบเห็นมากในบริเวณที่พักอาศัย ภายหลังจากเหตุการณ์สงครามกลางเมือง[17] ซึ่งบริเวณจอร์จทาวน์ เป็นหนึ่งในบริเวณที่มีบ้านหินเก่าที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2308 ทำให้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าที่สุดในจอร์จทาวน์[18] อาคารมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2332 มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบโรมาเนสก์ผสมกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก[16] อาคารโรนัลด์เรแกน เป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวอชิงตัน ด้วยเนื้อที่ 3.1 ล้านตารางฟุต (288,000 ตารางเมตร)[19]

ประชากร

[แก้]

ดูเพิ่มได้ที่ ประชากรในวอชิงตัน ดี.ซี.

เศรษฐกิจ

[แก้]
สามเหลี่ยมเฟเดอรัล ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเพนซิลเวเนีย; รัฐบาลกลางสหรัฐคิดอัตรางานในวอชิงตันเป็นร้อยละ 25 ของสหรัฐ

ดูเพิ่มที่ หมวดหมู่:สินค้าที่ผลิตในวอชิงตัน ดี.ซี. และ

วอชิงตัน มีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่หลากหลาย และมีการจ้างงานในธุรกิจระดับผู้บริหารเพิ่มมากขึ้น[20] โดยการคำนวณยอดมวลรวมผลิตภัณฑ์ของรัฐที่มากที่สุด เมื่อ พ.ศ. 2553 วอชิงตัน มียอดมวลรวมเป็นจำนวน 103.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (330.2 พันล้านบาท) ซึ่งเป็นอันดับที่ 34 จาก 50 รัฐ[21] และยอดมวลรวมผลิตภัณฑ์ในมหานครวอชิงตัน เมื่อ พ.ศ. 2557 วอชิงตัน มียอดมวลรวม 435 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (13.9 หมื่นล้านบาท) ทำให้วอชิงตัน กลายเป็นมหานครที่มีความหนาแน่นทางเศรษฐกิจ เป็นอันดับที่ 6 ในสหรัฐ[22] ระหว่าง พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2559 ค่าจีดีพีต่อหัวประชากรในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับต้นของสหรัฐ[23] ใน พ.ศ. 2559 ค่าจีดีพีของประชากรต่อหัวในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เฉลี่ยอยู่ที่ 160,472 ดอลลาร์สหรัฐ (5.1 ล้านบาท) ซึ่งมีค่าจีดีพีต่อหัวมากกว่ารัฐแมสซาซูเซตส์ซึ่งมีค่าหัวจีดีพีต่อประชากร เป็นอันดับที่ 2 ของสหรัฐ ถึงสามเท่าตัว[23] และเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 มหานครวอชิงตัน มีอัตราการว่างงานคิดเป็นร้อยละ 6.2 ของทั้งมหานคร ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดเป็นอันดับที่สองในบรรดามลรัฐทั้ง 50 แห่งในประเทศ[24] และในขณะเดียวกัน เขตปกครองพิเศษโคลอมเบียมีอัตราการว่างงานร้อยละ 9.8 เช่นกัน[25]

ใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลกลางสหรัฐ คิดอัตรางานในวอชิงตันเป็นร้อยละ 25 ของงานทั้งหมดในสหรัฐ[26][27] ซึ่งเป็นความคิดที่จะทำให้วอชิงตัน รอดจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของประเทศ[28] มีหลายองค์กร เช่น บริษัทกฎหมาย ผู้รับเหมาอิสระ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร บริษัทล็อบบี้ยิสต์ สหภาพการค้า กลุ่มการค้าอุตสาหกรรม และสมคมวิชาชีพ มีสำนักงานใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ทำการของรัฐบาล[29]

สำหรับด้านการท่องเที่ยว วอชิงตันเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐ ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในวอชิงตันประมาณ 18.9 ล้านคน คิดเป็นเงิน 1.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.54 แสนล้านบาท) โดยประมาณ (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2555)[30] วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งสถานทูตประมาณ 200 ประเทศ และยังเป็นที่ตั้งองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างทวีปอเมริกา องค์การสุขภาพแห่งภาคพื้นอเมริกา วอชิงตันมีจำนวนคณะทูตานุทูตมากกว่า 10,000 คน โดยสร้างรายได้ให้วอชิงตันปีละประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12,000 ล้านบาท) (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2551)[31]

วอชิงตันยังมีองค์กรที่ไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาล โดยเฉพาะองค์กรทางการศึกษา เศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ และสำรวจวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน โรงพยาบาลศูนย์วอชิงตัน ศูนย์การแพทย์เด็กแห่งสหรัฐ และมหาวิทยาลัยฮอร์วาร์ด เป็นมีองค์กรที่ไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่เป็น 5 อันดับแรกในวอชิงตัน (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2552)[32] ตามสถิติเมื่อ พ.ศ. 2554 มีบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐจำนวน 4 แห่ง จาก 500 แห่ง ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวอชิงตัน[33] ดัชนีศูนย์กลางทางการเงินโลกประจำปี 2560 วอชิงตันได้รับการจัดอันดับให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในโลก เป็นอันดับที่ 12 และเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในสหรัฐ อันดับที่ 5 รองจาก นครนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก ชิคาโก และบอสตัน[34]

วัฒนธรรม

[แก้]
อนุสรณ์สถานลินคอล์น เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว มีผู้มาเยี่ยมชมปีละประมาณ 6 ล้านคน

หัวข้อหลัก: วัฒนธรรมในวอชิงตัน ดี.ซี.

สถานที่สำคัญ

[แก้]

ดูเพิ่มได้ที่: รายชื่อสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์แห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี., รายชื่ออนุสรณ์สถานแห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี และ รายชื่อพิพิธภัณฑ์ในวอชิงตัน ดี.ซี.

วอชิงตันมีพื้นที่ขนาดใหญ่และเป็นสวนแบบเปิดกลางเมืองวอชิงตัน คือ เนชันแนลมอลล์ (National Mall) ซึ่งอยู่ระหว่างอนุสรณ์สถานลินคอล์น และ อาคารรัฐสภาสหรัฐ โดยเป็นสถานที่สำหรับจัดการประท้วงทางการเมือง คอนเสิร์ต เทศกาลทางการเมือง และพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี สำหรับอนุสาวรีย์วอชิงตัน และหลักศิลาเจฟเฟอร์สัน ตั้งอยู่ใกล้เนชันแนลมอลล์และทางทิศใต้ของทำเนียบขาว นอกจากนี้บริเวณเนชันแนลมอลล์ ยังเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณทิศตะวันออกของสระน้ำอนุสรณ์สถานลินคอล์น เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานสงครามเกาหลี และอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม[35]

วอชิงตันยังมีสวนญี่ปุ่นบริเวณทางทิศใต้ของเนชันแนลมอลล์ ชื่อว่า ไทดัลเบซิน (Tidal Basin) โดยสวนดังกล่าว มีลักษณะเป็นต้นเชอร์รี่ญี่ปุ่นเรียงแถว ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้มอบเป็นของขวัญให้สหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2455[36] โดยมีสถานที่สำคัญตั้งอยู่รอบๆ ไทดัลเบซินหลายแห่ง เช่น อนุสรณ์สถานแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ อนุสรณ์สถานจอร์จ เมสัน อนุสรณ์สถานเจฟเฟอร์สัน อนุสรณ์สถานมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ และอนุสรณ์สถานสงครมกลางเมือง เป็นต้น[35]

วอชิงตันยังมีสถานที่เก็บเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สหรัฐถึงสามแห่ง คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งเก็บรักษา[[คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ] รัฐธรรมนูญสหรัฐ และบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง[37] และหอสมุดรัฐสภา ซึ่งเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนหนังสือในห้องสมุดที่มากถึง 147 ล้านเล่ม รวมถึงเอกสารทางประวัติศาสตร์ต้นฉบับ และโสตถวัสดุอื่นๆ[38] และหอสมุดศาลสูงสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารศาลสูงสหรัฐ โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ซึ่งรวบรวมหนังสือด้านกฎหมายและประวัติศาสตร์ของสหรัฐ และงานวิจัยด้านกฎหมายในรูปแบบหนังสือมากกว่า 600,000 เล่ม และโสตวัสดุมากกว่า 200,000 ม้วน[39]

พิพิธภัณฑ์

[แก้]
สถาบันสมิธโซเนียน เป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ระดับโลก โดยมีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และสวนสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของสถาบันถึง 19 แห่ง[40]

วอชิงตันมีสถาบันวิจัยด้านพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และสวนสัตว์ในวอชิงตันโดยเฉพาะ คือ สถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งก่อตั้งโดยสภาคองเกรส เมื่อ พ.ศ. 2389 โดยทางรัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนสถาบันเป็นบางส่วน โดยมีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และสวนสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของสถาบันถึง 19 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณเนชันแนลมอลล์ และพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย[41] โดยพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบัน มีนักท่องเที่ยวเข้าชมรวมทุกแห่งแล้วทั้งสิ้นประมาณ 30 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2560) โดยพิพิธภัณฑ์ที่มีนักท่องเที่ยวเข้าชมมากที่สุดคือพิพิธภัณฑ์ยานบินและยานอวกาศแห่งสหรัฐ ซึ่งมีผู้เข้าชมทั้งปีรวมประมาณ 7 ล้านคน[42] ทั้งนี ยังมีพิพิธภัณฑ์และสถานที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอีกหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งสหรัฐ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแอฟริกันแห่งสหรัฐ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อเมริกันแห่งสหรัฐ พิพิธภัณฑ์ชาวอินเดียนแห่งสหรัฐ หอศิลป์อาร์เธอร์ เอ็ม.แซคเกอร์ หอศิลป์เฟียร์ พิพิธภัณฑ์เฮอร์ชอร์นและสวนประติมากรรม อาคารศิลปะและอุตสาหกรรม ศูนย์เอส ดิลลัน ริพลีย์ และปราสาทสมิธโซเนียน ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของสถาบัน[43] และยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในอาคารสำนักงานจดสิทธิบัตร(เดิม) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณไชน่าทาวน์ คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันสมิธโซเนียน และ หอศิลป์ภาพเหมือนแห่งสหรัฐ[44] หอภาพเรนวิค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันสมิธโซเนียน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้กับทำเนียบขาว พิพิธภัณฑ์แอนาคอสเตีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวอชิงตัน พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์แห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟวอชิงตัน และสวนสัตว์แห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้สวนวูดเล่ย์[43]

หอศิลป์สหรัฐ เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งของหอศิลป์แห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่บนเนชั่นแนลมอลล์ซึ่งใกล้กับรัฐสภาสหรัฐ โดยจัดแสดผลงานทางศิลปะแนวอเมริกันและยุโรป ซึ่งงานศิลปะที่จัดแสดงทั้งหมด เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลสหรัฐและหอศิลป์แห่งนี้ ไม่ได้ขึ้นตรงต่อสถาบันสมิธโซเนียน[45]รวมไปถึงเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจัตุรัสตุลาการ ก่อตั้งโดยสภาคองเกรส จัดแสดงผลงานด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ[46]

วอชิงตันยังมีหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ที่เอกชนเป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งจัดแสดงสิ่งสะสมหรือนิทรรศการต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปินสตรี และพิพิธภัณฑ์ฟิลลิป ซึ่งตั้งอยู่บนวงเวียนดูปองต์ โดยเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งแรกในสหรัฐ[47]รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ข่าว พิพิธภัณฑ์มูลนิธิโอสตรีท พิพิธภัณฑ์สายลับระหว่างประเทศ พิพิธภัณฑ์สมาคมเนชั่นแนลจีโอกราฟิก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มาเรียนกอชแลนด์ และพิพิธภัณฑ์คัมภีร์ไบเบิล รวมทั้งพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานแห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเนชั่นแนลมมอลล์ โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการ เอกสาร และสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[48]

ศิลปะ

[แก้]

ดูเพิ่มได้ที่: รายชื่อโรงละครในวอชิงตัน ดี.ซี. และ ดนตรีในวอชิงตัน ดี.ซี.

สถาบันจอห์น เอฟ. เคนเนดีเพื่อศิลปะการแสดง เป็นสถานที่ตั้งของ วงอุปรากรวอชิงตันแห่งสหรัฐ และวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งสหรัฐ

วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นที่ตั้งของศูนย์ศิลปะด้านต่างๆ อาทิ สถาบันจอห์น เอฟ. เคนเนดีเพื่อศิลปะการแสดง ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งสหรัฐ วงอุปรากรวอชิงตันแห่งสหรัฐ และเดอะวอชิงตันบัลเล่ต์ และวอชิงตัน ดี.ซี. ยังเป็นสถานที่มอบรางวัลเดอะเคเนดีเซ็นเตอร์ฮอร์นอร์ (Kennedy Center Honors) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับศิลปินหรือนักแสดงที่สร้างอิทธิพลต่อสังคมหรือวัฒนธรรมชาวอเมริกัน[49][50]วอชิงตันยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงละครฟอร์ดซึ่งเป็นสถานที่ลอบสังหารอับราฮัม ลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยังคงเปิดใช้งานอยู่[51]

วอชิงตันยังเป็นที่ตั้งของหน่วยทหารทางทะเล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับแคปิตอลฮิลล์ โดยเป็นที่ตั้งของวงนาวิกโยธินสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2341 โดยเป็นสถาบันทางดนตรีที่มีประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของสหรัฐ[52]โดยดนตรีในวอชิงตันเริ่มเข้าเผยแพร่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2423 ถึง พ.ศ. 2435 นำโดย จอห์น ฟิลลิป โซซา และนักดนตรีชาวอเมริกันอีกหลายคน[53]สำหรับวงราชนาวีสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 ตั้งอยู่บริเวณอู่ต่อเรือวอชิงตัน โดยจัดแสดงตามคอนเสิร์ตสาธารณะทั่วไป[54]วอชิงตันเป็นเมืองที่มีความแข็งแกร่งทางด้านธุกิจโรงละคร นับตั้งแต่โรงละครอารีน่าสเตจก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 ซึ่งประสบความสำเร็จ และก่อให้เกิดธุรกิจโรงละครอิสระต่างๆ เช่น บริษัทโรงละครเชคสเปียร์ บริษัทโรงละครวูลี่แมมมอธ รวมไปถึงโรงละครสตูดิโอทั่วไปด้วย[55]นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงโรงละครอารีน่าสเตจครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2553[56]รวมทั้งศูนย์ศิลปะการแสดงลาตินแห่งสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในโรงละครกาล่า ในเมืองโคลอมเบียไฮเจสท์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519[57]

วอชิงตันได้รับการขนานนามว่าเป็นวอชิงตันแบล็คบอร์ดเวย์ เนื่องด้วยวอชิงตันเป็นที่ตั้งของโรงละครบรอดเวย์หลายแห่ง โดยเฉพาะย่านถนนโอสตรีท อาทิ โรงละครโฮวาร์ด เดอะโบฮีเมียนคาเวิร์นส์ โรงละครลินคอล์น เป็นต้น วอชิงตันยังเป็นที่แจ้งเกิดของนักร้องชาวอเมริกันหลายคนด้วย อาทิ ดุค เอลลิงตัน จอห์น โคลเทรน ไมล์ส เดวิส เป็นต้น[58]ประกอบกับวอชิงตันมีแนวพื้นเมืองเป็นของตนเอง เช่น สไตล์โก-โก สไตล์อะโพสต์-ฟังค์ โดยเฉพาะจังหวะบลูที่ได้รับความนิยมในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970[59]

วอชิงตันยังเป็นแหล่งรวมของวัฒนธรรมอินดี้ในสหรัฐ โดยเฉพาะผลงานเพลงอินดี้ของค่ายดิสชอร์ดเรคคอร์ดส นำโดยเอียน แมคเคย์ โดยเป็นที่นิยมในวงการเพลงพังค์ในยุคคริสต์ทสวรรษ 1980[60]โดยมีสถานที่จัดแสดงเพลงอินดี้ที่สำคัญบริเวณถนนยูสตรีท[61]

กีฬา

[แก้]
สนามเบสบอลเนชั่นแนลพาร์ค เป็นที่ตั้งของทีมเบสบอลวอชิงตันเนชั่นแนล

ดูเพิ่มได้ที่: กีฬาในวอชิงตัน ดี.ซี.

วอชิงตันเป็นหนึ่งในสิบสามเมืองของสหรัฐที่มีทีมกีฬาที่สำคัญถึงสี่ทีม (เบสบอล, ฮ็อกกี้, ฟุตบอล และบาสเกตบอล) รวมถึงเป็นเมืองที่ตั้งของทีมกีฬาเพศหญิงที่สำคัญอีกเมืองหนึ่ง เช่น เดอะวอชิงตันวิซาร์ดส์ (สมาคมบาสเกตบอลแห่งสหรัฐ), เดอะวอชิงตันแคปปิทอล (สมาคมฮ็อกกี้แห่งสหรัฐ), และเดอะวอชิงตันมิสทิคส์ (สมาคมบาสเกตบอลหญิงแห่งสหรัฐ) โดยทั้งสามทีมนี้จะแข่งขันกันที่แคปปิตอลวันอารีน่า ย่านไชน่าทาวน์ ส่วนสนามเนชั่นแนลพาร์คเป็นที่ตั้งของทีมเบสบอลวอชิงตันเนชั่นแนล ทีม ดี.ซี.ยูไนเต็ด ใช้สนามออดี้ฟิลด์ และทีมวอชิงตันเรดสกินส์ ใช้สนามเฟดเอ็กซ์ฟิลด์

สื่อ

[แก้]

หัวข้อหลัก: สื่อในวอชิงตัน ดี.ซี.

ดูเพิ่มได้ที่: รายชื่อหนังสือพิมพ์ในวอชิงตัน ดี.ซี. และ รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในวอชิงตัน ดี.ซี.

อาคารที่ทำการหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจัตุรัสแฟรงกลิน

วอชิงตัน ดี.ซี เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2420 โดยเป็นหนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่และมียอดผู้อ่านมากที่สุดใน วอชิงตัน ดี.ซี. หรือเรียกกันทั่วไปว่า "เดอะโพสต์" โดยมีชื่อเสียงจากการเปิดเผยคดีวอเตอร์เกต[62]และยังเป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐ จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2561[63]และยังได้มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันแจกฟรี ซึ่งมีเนื้อหาด้านกีฬาและบันเทิงอีกด้วย

อีกหนึ่งหนังสือพิมพ์ที่นิยมในวอชิงตัน คือ "เดอะวอชิงตันไทมส์" โดยเป็นหนังสือพิมพ์ยอดนิยมอันดับ 2 ในวอชิงตัน โดยมีบทความส่วนใหญ่ไปทางการเมืองด้านอนุรักษ์นิยม และยังมีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่นิยมในวอชิงตัน คือ "วอชิงตันซิตี้เปเปอร์"[64][65]

วอเตอร์เกตคอมเพล็กซ์ สถานที่เกิดเหตุคดีวอเตอร์เกต จนนำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีนิกสัน

อย่างไรก็ตาม วอชิงตันก็ยังมีการผลิตนิตยสาร ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลัก เช่น วอชิงตันเบลด หรือ เมโทรวีคลี่ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มแอลจีบีที ส่วนวอชิงตันอินฟอร์เมอร์ และ เดอะวอชิงตันแอฟโรแอฟริกัน มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือประชากรผิวสี และยังมีสื่อสิ่งพิมพ์อีกหลายฉบับที่วิเคราะห์การดำเนินงานของรัฐสภาและรัฐบาลกลาง รวมไปถึงนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก[66]

ในมหานครวอชิงตัน เป็นตลาดสื่อโทรทัศน์ที่ใหญ่เป็นอันดับเก้าของสหรัฐ


การเดินทาง

[แก้]

ระบบขนส่งมวลชนในเมืองจะมีระบบรถไฟใต้ดินเรียกว่า รถไฟใต้ดินวอชิงตัน (หรือรู้จักในชื่อ เมโทร) ซึ่งมีทั้งหมด 5 สาย และ 86 สถานี สำหรับระบบรถเมล์ในตัววอชิงตันเองจะมีสองระบบได้แก่ เมโทรบัส และ เซอร์คิวเรเตอร์ โดยนอกจากนี้ระบบรถเมล์เหล่านี้ยังเชื่อมต่อกับเมืองและรัฐข้างเคียง

วอชิงตัน ดี.ซี. มี 2 สนามบินคือ ท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส และ ท่าอากาศยานแห่งชาติวอชิงตัน โรนัลด์ เรแกน ซึ่งทั้งสองสนามบินตั้งอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย

สำหรับรถไฟจะมีรถไฟแอมแทรก MARC และ Virginia Railway Express เข้าสู่สถานีที่ยูเนียนสเตชันเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟใต้ดิน

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของวอชิงตัน ดี.ซี.
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °F (°C) 79
(26.1)
84
(28.9)
93
(33.9)
95
(35)
99
(37.2)
104
(40)
106
(41.1)
106
(41.1)
104
(40)
96
(35.6)
86
(30)
79
(26.1)
106
(41.1)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °F (°C) 43.6
(6.44)
47.2
(8.44)
56.0
(13.33)
66.7
(19.28)
75.5
(24.17)
84.3
(29.06)
88.5
(31.39)
86.7
(30.39)
79.6
(26.44)
68.5
(20.28)
58.0
(14.44)
47.0
(8.33)
66.8
(19.33)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °F (°C) 36.1
(2.28)
39.1
(3.94)
46.9
(8.28)
56.9
(13.83)
66.1
(18.94)
75.3
(24.06)
79.8
(26.56)
78.2
(25.67)
71.1
(21.72)
59.6
(15.33)
49.6
(9.78)
39.8
(4.33)
58.2
(14.56)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °F (°C) 28.7
(-1.83)
30.9
(-0.61)
37.7
(3.17)
47.1
(8.39)
56.6
(13.67)
66.3
(19.06)
71.2
(21.78)
69.8
(21)
62.6
(17)
50.7
(10.39)
41.2
(5.11)
32.5
(0.28)
49.6
(9.78)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °F (°C) -14
(-25.6)
-15
(-26.1)
4
(-15.6)
15
(-9.4)
33
(0.6)
43
(6.1)
52
(11.1)
49
(9.4)
36
(2.2)
26
(-3.3)
11
(-11.7)
-13
(-25)
−15
(−26.1)
หยาดน้ำฟ้า นิ้ว (มม) 2.80
(71.1)
2.58
(65.5)
3.48
(88.4)
3.06
(77.7)
3.99
(101.3)
3.77
(95.8)
3.72
(94.5)
2.92
(74.2)
3.72
(94.5)
3.40
(86.4)
3.17
(80.5)
3.05
(77.5)
39.67
(1,007.6)
ปริมาณหิมะ นิ้ว (ซม) 5.7
(14.5)
5.7
(14.5)
1.3
(3.3)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
.5
(1.3)
2.3
(5.8)
15.6
(39.6)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.01 in) 9.6 9.0 10.5 10.4 11.1 10.7 10.3 8.2 8.3 7.7 8.6 9.7 114.1
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 in) 3.1 2.5 .9 .1 0 0 0 0 0 0 .2 1.5 8.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 145.7 152.6 204.6 228.0 260.4 282.0 279.0 263.5 225.0 204.6 150.0 133.3 2,528.7
แหล่งที่มา: NOAA (1981−2010 normals at Reagan National, extremes 1872−present),[67]Hong Kong Observatory (ค.ศ. 1961−1990)[68]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Annual Estimates of the Population of Metropolitan and Micropolitan Statistical Areas: April 1, 2000 to July 1, 2007" (XLS). United States Census Bureau. 2008-03-27. สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.
  2. 2.0 2.1 Crew, Harvey W.; Webb, William Bensing; Wooldridge, John (1892). Centennial History of the City of Washington, D. C. Dayton, Ohio: United Brethren Publishing House. pp. 101–3.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-10. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
  4. https://www.census.gov/population/www/cen2000/migration/metxmet/a47900.html
  5. Broder, David S. (February 18, 1990). "Nation's Capital in Eclipse as Pride and Power Slip Away". The Washington Post. Retrieved October 18, 2010. In the days of the Truman Doctrine, the Marshall Plan and the creation of NATO, [Clark Clifford] said, we saved the world, and Washington became the capital of the world.
  6. http://www.thisisinsider.com/most-visited-us-cities-2017-12
  7. https://www.bizjournals.com/washington/news/2017/05/09/d-c-breaks-another-domestic-tourism-record.html
  8. Coleman, Christopher Bush (1920). Indiana Magazine of History. Indiana Historical Society. p. 109.
  9. https://www.nps.gov/nr/travel/wash/lenfant.htm
  10. Minta, Anna (2009). Klaus Benesch; Jeffrey L. Meilke; David E. Nye; Miles Orvell, eds. Planning a National Pantheon: Monuments in Washington, D.C. and the Creation of Symbolic Space. Public Space and the Ideology of Place in American Culture. Amsterdam – New York, NY: Rodopi B.V. p. 22. ISBN 978-90-420-2574-5. OCLC 644525117.
  11. https://www.nps.gov/nr/travel/wash/lenfant.htm
  12. 12.0 12.1 http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2007/05/01/AR2007050101939.html
  13. https://www.washingtonpost.com/local/washington-built-on-a-swamp-think-again/2012/03/31/gIQA7BfBpS_story.html?utm_term=.ee5fb9bd9aab
  14. 14.0 14.1 https://www.senate.gov/visiting/index.htm
  15. https://www.npr.org/documents/2007/feb/buildings/150buildings.pdf
  16. 16.0 16.1 https://www.nps.gov/nr/travel/wash/sitelist.htm
  17. https://www.loc.gov/rr/print/adecenter/essays/Scott.html
  18. https://www.nps.gov/nr/travel/wash/dc17.htm
  19. https://web.archive.org/web/20130115081257/http://www.itcdc.com/About-Us/Our-Building.aspx
  20. https://www.nytimes.com/roomfordebate/2011/06/02/double-dip-not-in-washington-dc/what-housing-crisis
  21. https://web.archive.org/web/20100707055321/https://www.bea.gov/regional/gsp/
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
  23. 23.0 23.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
  24. https://www.bls.gov/news.release/archives/empsit_07082011.htm
  25. https://www.bls.gov/news.release/archives/laus_06172011.htm
  26. https://does.dc.gov/sites/default/files/dc/sites/does/publication/attachments/CESdc1Dec17.pdf
  27. "Wage and Salary Employment by Industry and Place of Work" (PDF). District of Columbia Department of Employment Services. 2012. Retrieved April 19, 2012.
  28. Gopal, Prashant (October 14, 2008). "Some Cities Will Be Safer in a Recession". BusinessWeek. Retrieved September 9, 2012.
  29. http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2005/06/21/AR2005062101632.html
  30. https://web.archive.org/web/20131103040727/http://washingtonexaminer.com/d.c.-sets-tourism-record-with-19m-visitors-in-2012/article/2529134
  31. https://www.washingtonian.com/2008/02/01/foreign-affairs-dcs-best-embassies/
  32. https://does.dc.gov/sites/default/files/dc/sites/does/publication/attachments/DOES_Top200.pdf
  33. http://money.cnn.com/magazines/fortune/fortune500/2011/states/DC.html
  34. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-06-11. สืบค้นเมื่อ 2018-05-18.
  35. 35.0 35.1 https://www.nps.gov/nama/learn/historyculture/index.htm
  36. https://www.nps.gov/subjects/cherryblossom/index.htm
  37. https://museum.archives.gov/
  38. https://www.loc.gov/about/general-information/
  39. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-05-23.
  40. https://www.nationalgeographic.com/travel/top-10/museum-galleries/
  41. https://www.si.edu/about/
  42. https://newsdesk.si.edu/about/stats
  43. 43.0 43.1 https://newsdesk.si.edu/factsheets/
  44. https://www.smithsonianmag.com/history/back-to-the-future-122460718/
  45. https://www.nga.gov/about.html
  46. https://www.nbm.org/about/
  47. http://www.phillipscollection.org/about
  48. https://www.ushmm.org/
  49. http://www.kennedy-center.org/pages/SpecialEvents/honors
  50. https://th-th.facebook.com/ReadaSong/posts/the-kenedy-center-honor-%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%8B%E0%B8%B2%E0%B9%86-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80/834408983294545/
  51. https://www.nytimes.com/2009/02/07/arts/design/07linc.html
  52. https://www.marineband.marines.mil/About/Our-History/
  53. Davison, Marjorie Risk (1969). "History of Music in the District of Columbia". Records of the Columbia Historical Society. 66–68: 183. Retrieved August 9,2011.
  54. http://www.navyband.navy.mil/
  55. https://books.google.co.th/books?id=mnRa7u3-T2IC&redir_esc=y
  56. http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2010/09/23/AR2010092307325.html?noredirect=on
  57. https://web.archive.org/web/20090830222103/http://www.galatheatre.org/history.php
  58. https://web.archive.org/web/20110610144435/http://travel2.nytimes.com/2006/09/10/travel/10surfacing.html?ref=travel
  59. Wartofsky, Alona (June 3, 2001). "What Go-Goes Around ...". The Washington Post. p. G01.
  60. https://books.google.co.th/books?id=xpJ0_WQIbZoC&redir_esc=y
  61. https://web.archive.org/web/20110513133855/http://georgetownvoice.com/2004/09/09/black-cat-a-changing-club-with-a-changing-scene-in-a-changing-city/
  62. รายละเอียดของคดีวอเตอร์เกต จากวอชิงตันโพสต์
  63. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
  64. https://www.washingtontimes.com/news/2005/may/18/20050518-120247-7729r/
  65. http://archive.altweeklies.com/aan/Company?oid=oid%3A95
  66. https://chroniclingamerica.loc.gov/search/titles/results/?state=District+of+Columbia&year1=2010&year2=2011
  67. "NowData - NOAA Online Weather Data". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
  68. "Climatological Normals of Washington, DC". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.